วันพุธ, มกราคม 21, 2552

อาจารย์ขาหนูอยากทราบ

ว่าหนังสือเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่อาจารย์เห็นว่ามีประโยชน์ ต่อการศึกษาเล่าเรียนของนิสิตเอาแบบที่อาจารย์ประทับใจ สุดๆขอสัก20เล่มนะคะ ขอยกเว้นหนังสือธรรมะนะคะ และขอยกเว้นหนังสือภาษาไทยนะคะ
โดย หนูอ้วน [22 ม.ค. 2546 , 06:11:47 น.]

ข้อความ 1
หนังสือทุกเล่มอ่านแล้วก็จะเกิดการเรียนรู้ทั้งนั้น เช่นเดียวกับการฟังครูหรือคนอื่นๆ หนังสือดี ตรงใจที่เราอยากรู้ก็จะกลายเป็นเช่นครูอีกคน หรือกัลยาณมิตรในการเรียนรู้ได้ ..หนังสืออะไร ที่คนอื่นชอบไม่สำคัญเท่าหนังสือที่เราชอบ คนเรานั้นเรียนรู้ในแนวทางที่ต่างกัน แต่ควร ตรงกันในเป้าหมายเพื่อชีวิตที่ดีงามเหมือนๆกัน ขอเริ่มที่การบ่นพึมพำก่อนนะครับ ผมกำลังกลายเป็น "เหยื่อ" คนเดียวในเว็บวิชาการนี้ แล้วหรือ? อาจารย์ผู้ริเริ่มก็หายเข้ากลีบเมฆไปเสียนาน ครูประชาบาล ก็แว็บมาเป็นพักๆ ส่วนพวกครูนิรนาม ก็ไม่เหลือร่องรอยเมื่อเว็บนี้เปลี่ยน url ใหม่ เว็บไซท์ ของคณะก็ยังไม่เสร็จสักที ลิงค์เก่าที่ทำไว้เดิม ก็ลบไป พวกเราที่รู้เลยเข้ามาเสวนาในเว็บบอร์ดนี้ก็มีไม่มากนัก โอ้ลั้นหล้า..กอด!..ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ..หนอ? โลกไซเบอร์สเปรส ตรงนี้เป็นโลกจำลองของชุมชน ที่น่าสนใจ เป็นแหล่งเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างศิษย์-อาจารย์ ได้เป็นอย่างดีแหล่งหนึ่ง ..หากทุกท่านมีความจริงใจ และมีใจที่โปร่งแจ้ง เช่นโง่ก็บอก ..ฉลาดก็บอก ฯลฯ ใส่ใจเรื่องของพรหมวิหารธรรมไว้เสมอๆ ชุมชนก็เป็นสุข ขยายโยงใยมหาวิทยาลัยและโลกทั้งมวลเป็นสุขได้แน่นอน เฮ้อ..จะใช้ยาดองเหล้าอะไร? ให้เสพแล้วมาติดกันในชุมชนนี้ได้ ใครรู้บ้าง...ช่วยบอกที "ความเป็นเลิศทางวิชาการ" คืออะไร? เห็นสายบริหารมหาวิทยาลัยกำลังโดนดันก้นกันมาเป็นทอดๆ โดนประสาทหลอนกันเพี๊ยบ ...อนิจจาวัฎฏสังขาราจริงๆครับ (เพราะเขียนยาวจึงต้องมี...ต่อ)
โดย เพื่อนอาจารย์ [22 ม.ค. 2546 , 12:50:17 น.]

ข้อความ 2
กลับมาเป็นเหยื่อของกระทู้นี้ ..หลังจากพล่ามบ่นจนพอทำเนาแล้ว สำหรับหนังสือสถาปัตยกรรมภาษาฝรั่ง โดยเฉพาะพวกแนวความคิด ของบรรดาสถาปนิกฝรั่งทั้งหลาย ผมไม่ค่อนสนใจตามรู้เท่าไรนัก แต่ก่อนตอนเป็นหนุ่มก็ติดตามอยู่บ้าง โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนแปลง แนวคิดจากโมเดร์นเป็นโพสต์โมเดอร์น เพราะมีโอกาสได้สอน วิชา design criteria and concepts ตอนหลังโดนเขาถีบไปสอน วิชา cons. เลยไม่ได้ติดตาม ครั้นต่อมาไปเรียนต่อ อ่านหนังสือที่ พวกพระเอกสถาปนิกโม้กันไว้ในหนังสือ อ่านทีไรเลี่ยนทุกที พักหลังอ่านแล้วจะอ๊วกแตก เกิดอาการไม่ดีกับสุขภาพมาก เลย หันไปอ่านพวกเรื่อง "วิธีการ" มากแทน ขยายไปอ่านนอกสาขาวิชา อ่านแล้วชอบ เพราะรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นพวก "พหูสูตร" มากขึ้น ได้มาพ่นโม้กับลูกศิษย์ได้แปลกและประหลาดต่างจาก ครูอื่นๆมากขึ้น ..ใครจะงงตั๊ก สับสน ..คิดกันแคบๆ คิดกันแค่ในกะลา ไม่ใช่ธุระของผม..เพราะผมไม่อยากเป็นเช่นนั้น แต่ถ้าพวกเราสนใจ มาไถ่ถามกัน ก็จะเกิดอารมณ์อยากตามรู้บ้าง เช่นเคยกลับไปอ่านพวกลัทธิดีคอน อ่านแล้วก็ยังมีอาการอ๊วก แบบเดิมๆ เลยไถลไปตามอ่านปรัชญาต้นเรื่องของความคิดดีคอน ก็พอเข้าใจบ้างว่าแนวคิดมันเกิดบ้าบอขึ้นมาได้อย่างไร ส่วนจะ ตามไปรู้เรื่องโม้กันกับพวกนี้ ผมไม่อยากเล่นมากนัก เพราะดูเหมือน จะออกนอกสัจจธรรม ของความเป็น "สับปายะแห่งสถาปัตยกรรม" โดยนัยพุทธศาสนาไปทุกที แล้วห่างไกลในกำพืดไทยของตนเองมากขึ้น เลยต้องหยุดหนังสือพวกนี้ไว้ก่อน มาอ่านปรัชญาอันเป็นต้นตอความคิด โดยเฉพาะปรัชญาหลักของพุทธศาสนา ต้องอ่าน เพราะผมถือเป็น บริบทที่สำคัญยิ่งในความรู้ทั้งหลายที่คนไทยควรรู้กัน ส่วนในแง่วิทยาการเทคโนโลยีก็ชอบอ่านตามรู้ โดยเฉพาะในแง่ "กระบวนการ" หรือ "วิธีการ" ไม่สนใจเรื่อง "ผล" หรือ "เนื้อหา" ที่ปรากฏเป็นสถาปัตยกรรมที่พวกเราชอบจับต้องกัน ผมเชื่อว่า ถ้าเรียนรู้กันเรื่องของ "กระบวนการ" หรือ "วิธีการ" แล้ว โดย เฉพาะในเรื่องทักษะการคิด เช่น การเรียนรู้แบบจินตนาการของ โครงการณ์ (Project-based learning) ที่ต้องเป็นจริง ตรงกับโลกและ ชีวิตที่เป็นจริงในเวลานี้ หรือกระบวนการและวิธีการแก้ปัญหา (Problem-based learning) ที่ใช้ออกแบบสถาปัตยกรรม และก็ต้อง โยงต่อไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงให้ได้ด้วย หรือกระบวน การและวิธีการคิดแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry-based learning) เพื่อการสืบค้นจาก "อะไร" ต่อไปถึงมันเป็นความรู้มาได้ "อย่างไร" หรือกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจในเรื่อง Virtual Reality นั้น ต่างจาก แบบจำลองความจริงเดิมทั้งหลายหรือแตกต่างจาก ความจริง ในชั้นปรมัตถธรรมของพุทธศาสนานั้นเป็นอย่างไร ..ทักษะที่ได้รับ การฝึกฝนกันทำนองนี้ จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญนำไปใช้ในการแสวง หาความรู้ของตนเองได้ตลอดชีวิต ไม่จบกันแค่ในห้องเรียนเท่านั้น และต้องช่วยให้การดำเนินชีวิตทุกคนมีสุขและสมหวังตลอดไป นอก เหนือการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เราอาจยึดกันเป็นอาชีพสถาปนิก ทัศนคตินี้ ..น่าจะต้องการหนังสือพวก Educational Innovation ทั้ง หลาย ที่พวกฝรั่งกำลังทำกันในการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งผมว่าเป็น "ทางตรง" กว่าที่นักการศึกษาไทยกำลังวิ่งไปคนละทาง มนุษย์ที่แสวงหาการเรียนรู้นั้น จะหนีไปไม่พ้นในเรื่องของ "ฉันทะ" อันเป็นรากฐานของ การใฝ่รู้ ..การใฝ่ดี-กระทำดี และ การใฝ่สร้างสรรค์ -เพื่อการสร้างปัญญา การพัฒนาเรื่องฉันทะดังกล่าว จะช่วยพัฒนา ความสุขชนิดใหม่ๆ เกิดชีวิตที่ดีงามตลอดไป การอ่านหนังสือเพื่อ เป้าหมายเช่นนี้ ไม่ว่าหนังสือฝรั่งหรือไทย จัดว่าเป็นการอ่านที่ทำให้ เป็นคนที่จะก้าวหน้าสู่การศึกษา เพื่อการเดินหน้าไปสู่ชีวิตที่ดีงาม ถ้าจะถามว่าผมอ่านหนังสืออะไร โดยเฉพาะหนังสือสถาปัตยกรรม ผมขอบอกว่าจะอ่านหนังสือที่ไม่สนองเพื่อการเสพสม แต่จะอ่านที่ สนองเพื่อการสร้างสรรค์ ..งานคือสุข เพราะจะสมใจเมื่อได้ทำ ไม่ใช่ แค่ใฝ่เสพ อันทำให้งานเป็นทุกข์ เพราะต้องทำ เพื่อจะได้เสพกันอีก หนังสือที่ว่าชื่ออะไรนั้น ไม่สำคัญเท่าหนังสืออะไรที่เราหยิบมาอ่าน แล้วตรงใจเราเพื่อเสพ หรือเพื่อสร้างสรรค์ เราก็จะรู้ได้เอง เมื่ออ่านแล้ว เกิดอาการอ๊วกหรือเกิดอาการเป็นสุขที่ต้องอ่านแล้วอ่านอีก ..ก็ ต้องเลือกกันเอง ..ของใครของมัน ..กินอ่านตามกันไม่ได้ ฯลฯ อ่านที่ผมพล่ามถึงตรงนี้ น่าจะรู้ว่าผมแนะนำควรอ่านหนังสือ ประเภทไหนนะครับ โปรดอย่าตั้งกรอบที่แคบว่าต้องอ่านหนังสือ ภาษาใดภาษาหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดความรู้กันเพียงในกะลา จะ พลาดหนังสือดีๆ ที่อยู่ใกล้แค่เอื้อมมือ แต่ดันตาบอดมองไม่เห็น อ่านเพื่อการเสพ เพื่อตามก้นฝรั่งก็ ต้องตามให้ทันจับก้นฝรั่ง แล้ว ต้องเดินเลยก้นนั้นไปให้ได้ ไม่งั้นจะต้องดมตดฝรั่งไปจนตลอดชีวิต อ่านความเห็นเรื่องหนังสือของผมแล้ว ...แสบๆคันๆกันไม่ครับ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการตอบแบบ ..Inquiry-based learning ..นะครับ อ่านแล้วอ๊วกหรือสร้างสรรค์? โปรดอย่าลืมคติฝรั่งที่ว่า ..... Tell me, I forget ....Show me, I remember ...Let me participate, I understand ...นี่เป็นการจับก้นฝรั่ง หรือดมตดฝรั่งกันแน่..?
โดย ขออีกที [22 ม.ค. 2546 , 12:51:45 น.]

ข้อความ 3
Architecture of the Jumping Universe ของCharles Jenck น่าอ่านมากครับ แต่ต้องมีฐานภาษาอังกฤษนิดหน่อย(ไม่นิดแหละ เยอะเลย) และต้องเคยอ่านหนังสือมาเยอะพอสมควร เช่น หนังสือจำพวกปรัชญา ศิลปะ อะไรเงี้ย อืม ถ้าเป็นหนังสือไทยขอแนะนำ สรรพสาระทฤษฎีสถาปัตยกรรม ของ ดร. ฐานิศวร เล่มเล็กๆสีเขียวพกสะดวก สำหรับคนที่ต้องการทำงานสถาปัตยกรรมที่มีเนื้อมีหา น่าจะลองอ่านดู รวมทุกทฤษฎีสถาปัตยกรรมตั้งแต่classicจนdeconไว้ครบ ผมว่านะ น่าจะลองอ่านหนังสือที่ไม่ใช่เกี่ยวกับสถาปัตย์ไว้บ้าง ศึกษางานดนตรี งานศิลปะ งานปรัชญา อะไรไว้เยอะๆก็จะดีนะครับ สถาปัตยกรรม คือ สังคม คือ มนุษย์ครับ ดังนั้นมันจึงน่าจะมีอะไรที่มากกว่าการมานั่งเขียนแบบก่อสร้าง
โดย จญิมโณเภดัย๒ [22 ม.ค. 2546 , 15:28:48 น.]

ข้อความ 4
หนังสือที่นิสิตแนะนำมา อาจารย์ควรต้องตามไปอ่าน หวังว่าคงมีในห้องสมุดนะครับ จะได้ประหยัดเงินซื้อได้มาก อ่านแล้วถ้าชอบ ก็จะได้ตัดสินใจ ว่าจะซื้อมาไว้เพื่ออ่านซ้ำๆได้สะดวกขึ้นหรือไม่? หนังสือในตู้ของผมขณะนี้ก็มีสะสมไว้มาก ครึ่งหนึ่งจะเป็นหนังสือพวกจิตวิทยาและ ปรัชญามากกว่าหนังสือสถาปัตยกรรมโดยตรง หนังสือของ Charles Jenck เล่มเก่าๆก็พอมี แต่ก็อ่านยังไม่จบเล่ม เกี่ยวกับพวกงาน วิจัยทางสถาปัตยกรรมก็มี ส่วนมากอ่าน ไม่จบสักที ระยะนี้จะว่างคงได้กลับไปตามอ่าน อีก ยิ่งเรื่องที่พวกเราสนใจ ก็ต้องตามไปรู้ทันให้ได้ ครับ ...ขอบคุณที่แนะนำกันมานะครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [23 ม.ค. 2546 , 16:49:45 น.]

4 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณนะค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมาก ๆๆๆ สำหรับข้อมูลค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ