โดย ปี 5 [24 ก.ค. 2546 , 22:39:10 น.]
ข้อความ 1
เรื่องนี้..ผมอ่านพบทีแรก ก็คอ่นข้าง..งงๆ แต่พอศึกษาหรืออ่านเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ทฤษฎีฟิสิกส์ใหม่ ...โดยเฉพาะเรื่องความ ซับซ้อนของจักรวาล ...มิติที่ซ้อนทับของเรื่อง ราวและเวลา เช่น หนังสือที่โด่งดังของฮอร์คิง มีสถาปนิกหลายคนเอามาใช้ในการออกแบบ สถาปัตยกรรม เช่น ไอเซ็นแมน หรือ เกอร์รี เป็นต้น ..ลองดูงานออกแบบ Gugenhiem Museum (สะกดไม่แน่ใจ) ใหม่ ของเกอร์รี่ ที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว ซึ่งไม่ใช่มิติที่เราคุ้นนัก ..หรือลองศึกษางานชนิด ที่เขาเรียกกันว่า Folded Architecture ของพวก สถาปนิกยุคใหม่ๆ
เรามักชินกับรูปทรงทางเรขาคณิตแบบยูคลิด หรือโครงสร้างเส้นตรงแนวตั้งแนวนอน ดังนั้น รูปทรงอาคารที่ออกแบบจึงอยู่ในรูป ๓ มิติ ก้าว หน้ามานิดคือสร้างการเลื่อนไหลของที่ว่างหรือ ผิวอาคาร เช่นการใช้กระจกในแบบบาวเฮาว์ เลียนแบบภาพ ๔ มิติของปิคาสโซ...ฯลฯ
ผมมองเห็นว่า..แม้เราจะจินตการรูปทรงให้เกิน สามหรือสี่มิติได้ ..แต่เราก็จะจนแต้มเรื่องโครงสร้าง ดังนั้น เราจึงต้องศึกษาเรื่องโครงสร้างอาคารให้เกิน มิติแบบเดิมๆออกไป เช่น spatial structure types หรือโครงสร้างในรูปแบบของ synergetic concepts แบบที่ Fuller ได้เคยนำเสนอมาแล้ว
ด้วยความก้าวหน้าของเท็คโนโลยี ที่มีผลมาจาก การประยุกต์จากทฤษฎีวิทยาศาสตร์ใหม่ ที่เสนอ การค้นพบว่า มิติของจักรวาล มีมากถึง ๑๕ มิติ ด้วยซ้ำไป
สถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตทางเท็คโนโลยี หากถ้าเราออกแบบอยู่บนฐานความคิดเดิม หรือ กฏเกณฑ์ฟิสิกส์เดิมๆ คือเป็นแบบ euclidian เราก็คงเข้าใจมิติที่เกิน ๔ มิติ ไปได้ยากจริงๆ นะครับ ...นี่เป็นเรื่องย่อที่ผมเข้าใจครับ
เรื่องนี้..ผมอ่านพบทีแรก ก็คอ่นข้าง..งงๆ แต่พอศึกษาหรืออ่านเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ทฤษฎีฟิสิกส์ใหม่ ...โดยเฉพาะเรื่องความ ซับซ้อนของจักรวาล ...มิติที่ซ้อนทับของเรื่อง ราวและเวลา เช่น หนังสือที่โด่งดังของฮอร์คิง มีสถาปนิกหลายคนเอามาใช้ในการออกแบบ สถาปัตยกรรม เช่น ไอเซ็นแมน หรือ เกอร์รี เป็นต้น ..ลองดูงานออกแบบ Gugenhiem Museum (สะกดไม่แน่ใจ) ใหม่ ของเกอร์รี่ ที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว ซึ่งไม่ใช่มิติที่เราคุ้นนัก ..หรือลองศึกษางานชนิด ที่เขาเรียกกันว่า Folded Architecture ของพวก สถาปนิกยุคใหม่ๆ
เรามักชินกับรูปทรงทางเรขาคณิตแบบยูคลิด หรือโครงสร้างเส้นตรงแนวตั้งแนวนอน ดังนั้น รูปทรงอาคารที่ออกแบบจึงอยู่ในรูป ๓ มิติ ก้าว หน้ามานิดคือสร้างการเลื่อนไหลของที่ว่างหรือ ผิวอาคาร เช่นการใช้กระจกในแบบบาวเฮาว์ เลียนแบบภาพ ๔ มิติของปิคาสโซ...ฯลฯ
ผมมองเห็นว่า..แม้เราจะจินตการรูปทรงให้เกิน สามหรือสี่มิติได้ ..แต่เราก็จะจนแต้มเรื่องโครงสร้าง ดังนั้น เราจึงต้องศึกษาเรื่องโครงสร้างอาคารให้เกิน มิติแบบเดิมๆออกไป เช่น spatial structure types หรือโครงสร้างในรูปแบบของ synergetic concepts แบบที่ Fuller ได้เคยนำเสนอมาแล้ว
ด้วยความก้าวหน้าของเท็คโนโลยี ที่มีผลมาจาก การประยุกต์จากทฤษฎีวิทยาศาสตร์ใหม่ ที่เสนอ การค้นพบว่า มิติของจักรวาล มีมากถึง ๑๕ มิติ ด้วยซ้ำไป
สถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตทางเท็คโนโลยี หากถ้าเราออกแบบอยู่บนฐานความคิดเดิม หรือ กฏเกณฑ์ฟิสิกส์เดิมๆ คือเป็นแบบ euclidian เราก็คงเข้าใจมิติที่เกิน ๔ มิติ ไปได้ยากจริงๆ นะครับ ...นี่เป็นเรื่องย่อที่ผมเข้าใจครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [25 ก.ค. 2546 , 16:48:16 น.]
ข้อความ 2
อยากขอขยายความเพิ่มเติมอีกสักนิด ...
วิทยาศาสตร์ใหม่ได้ค้นพบ Complexity Science ได้ก้าวหน้ากว่าเดิมมากทีเดียว โดยเฉพาะทฤษฎี และผลงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ เช่น Benoit Mandelbrot (Fractal Dimension), Lorence (Butterfly effect) และ Rene Thom (Catastrophe theory) เป็นต้น
แนวคิดสถาปนิกที่อิง Fractal Dimension เช่นงาน ของ Bruce Geoff และ Guggenheim Museum at Bilbao ของ Frank O. Gehry เช่นเดียวกับกระบวนการออกแบบ Cardiff Bay Opera House ของ Greg Lynn ที่เป็น ลักษณะ Self-similarity นำเอารูปทรง Polyp ที่ดู คล้ายสิ่งที่มีชีวิตในทะเล และเห็นได้ชัดใน plan ของอาคาร
Folding Architecture ของ Eisenman เป็นผลลัพท์ ของกระบวนการของ Fold ไม่เหมือนการพับกระดาษ ตามความหมายตรงๆแบบเดิม (Origani) ของญี่ปุ่น ผลงานของ Greg Lynn วางอยู่บนรูปทรงที่เรียกว่า Blob-form คล้ายตัวประหลาดในภาพยนต์เรื่อง The Blob พัฒนามาจากงานเขียนของ D'Arcy Thompson ...On Growth and Form (1917)
เรื่องมิติที่ไปไกลเกินมิติทั้ง 3 ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วย ประสาทสัมผัสธรรมดาของเรา หากแต่เป็น Hyper- objects ที่เกิดจากเงาสะท้อนย้อนกลับลงไปที่มิติที่ เรารับรู้ได้ เช่น Hyper-objects ในมิติที่ 4 เป็นเงา ที่ถูกฉายกลับมายังมิติที่ 3 นั่นเอง รูปทรงนี้เกิดจาก แนวคิทางวิทยาศาสตร์ของ Hyperspace ซึ่ง Peter Eisenman นำมาทดลองใช้ในงานที่ไม่ได้สร้าง... Carnegie Research Institute ในรูปทรงของ Hypercube
รูปทรงในมิติหลากหลายดังกล่าวนี้ เราสามารถ สัมผัส และค้นหาได้ ด้วยความหมายที่ผ่านทาง จอคอมพิวเตอร์เท่านั้น ...ไม่ใช่ในแนวทางเดิมๆ หรือในฐานความคิดแบบวิทยาศาสตร์เดิม ที่เป็น Euclidian Geometry ....นะครับ
รายละเอียดเรื่องพวกนี้หาอ่านได้ใน Palimpset 2 เรื่อง Architectures and Scientific Inscription ซึ่ง ผมได้รับอภินันทนาการมาจากศิษย์...ตะวัน..ซึ่ง เป็นผู้ใฝ่รู้ที่หายากยิ่งในปัจจุบัน...นะครับ
ป.ล. ประสบการณ์เรื่องทำนองนี้ ..ทำให้ผมหวล คำนึงถึง "วิปัสสนาญาณ" ในทางพุทธศาสนา ที่ ให้"ปัญญา" รู้ที่ไกลต่างมิติที่เราระลึกรู้และเข้าใจ ได้ในชีวิตปัจจุบันเลยทีเดียว...ครับ
อยากขอขยายความเพิ่มเติมอีกสักนิด ...
วิทยาศาสตร์ใหม่ได้ค้นพบ Complexity Science ได้ก้าวหน้ากว่าเดิมมากทีเดียว โดยเฉพาะทฤษฎี และผลงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ เช่น Benoit Mandelbrot (Fractal Dimension), Lorence (Butterfly effect) และ Rene Thom (Catastrophe theory) เป็นต้น
แนวคิดสถาปนิกที่อิง Fractal Dimension เช่นงาน ของ Bruce Geoff และ Guggenheim Museum at Bilbao ของ Frank O. Gehry เช่นเดียวกับกระบวนการออกแบบ Cardiff Bay Opera House ของ Greg Lynn ที่เป็น ลักษณะ Self-similarity นำเอารูปทรง Polyp ที่ดู คล้ายสิ่งที่มีชีวิตในทะเล และเห็นได้ชัดใน plan ของอาคาร
Folding Architecture ของ Eisenman เป็นผลลัพท์ ของกระบวนการของ Fold ไม่เหมือนการพับกระดาษ ตามความหมายตรงๆแบบเดิม (Origani) ของญี่ปุ่น ผลงานของ Greg Lynn วางอยู่บนรูปทรงที่เรียกว่า Blob-form คล้ายตัวประหลาดในภาพยนต์เรื่อง The Blob พัฒนามาจากงานเขียนของ D'Arcy Thompson ...On Growth and Form (1917)
เรื่องมิติที่ไปไกลเกินมิติทั้ง 3 ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วย ประสาทสัมผัสธรรมดาของเรา หากแต่เป็น Hyper- objects ที่เกิดจากเงาสะท้อนย้อนกลับลงไปที่มิติที่ เรารับรู้ได้ เช่น Hyper-objects ในมิติที่ 4 เป็นเงา ที่ถูกฉายกลับมายังมิติที่ 3 นั่นเอง รูปทรงนี้เกิดจาก แนวคิทางวิทยาศาสตร์ของ Hyperspace ซึ่ง Peter Eisenman นำมาทดลองใช้ในงานที่ไม่ได้สร้าง... Carnegie Research Institute ในรูปทรงของ Hypercube
รูปทรงในมิติหลากหลายดังกล่าวนี้ เราสามารถ สัมผัส และค้นหาได้ ด้วยความหมายที่ผ่านทาง จอคอมพิวเตอร์เท่านั้น ...ไม่ใช่ในแนวทางเดิมๆ หรือในฐานความคิดแบบวิทยาศาสตร์เดิม ที่เป็น Euclidian Geometry ....นะครับ
รายละเอียดเรื่องพวกนี้หาอ่านได้ใน Palimpset 2 เรื่อง Architectures and Scientific Inscription ซึ่ง ผมได้รับอภินันทนาการมาจากศิษย์...ตะวัน..ซึ่ง เป็นผู้ใฝ่รู้ที่หายากยิ่งในปัจจุบัน...นะครับ
ป.ล. ประสบการณ์เรื่องทำนองนี้ ..ทำให้ผมหวล คำนึงถึง "วิปัสสนาญาณ" ในทางพุทธศาสนา ที่ ให้"ปัญญา" รู้ที่ไกลต่างมิติที่เราระลึกรู้และเข้าใจ ได้ในชีวิตปัจจุบันเลยทีเดียว...ครับ
โดย ขออีกที [26 ก.ค. 2546 , 23:56:11 น.]
ข้อความ 3
ขอบคุณมากครับ สนใจตรงที่ เราคงต้องเรียนรู้ เรื่องโครงสร้างและวัสดูมากกว่านี้ เพราะตอนที่ไปดู Bilboaก็เห็นปัญหาเหมือนกัน
โดย ครูประชาบาล [18 มิ.ย. 2546 , 22:06:15 น.]
ขอบคุณมากครับ สนใจตรงที่ เราคงต้องเรียนรู้ เรื่องโครงสร้างและวัสดูมากกว่านี้ เพราะตอนที่ไปดู Bilboaก็เห็นปัญหาเหมือนกัน
โดย ครูประชาบาล [18 มิ.ย. 2546 , 22:06:15 น.]
ข้อความ 4
เผอิญผ่านมา เห็นกระทุ้หนุกๆ รู้สึกเรื่องที่ เพื่อนอาจารย์ พูด(เร็ว) ตอนท้ายๆจะอยู่ในหนังสือ อาจารย์ พรหมมินท์ เล่ม2 (meaning) ใครอยากขยายความไปหาอ่านดูได้
เอ แต่ตอนนี้เหมือนมันผ่านยุคของ theory ไป แล้วหรือป่าวคับ ทำไมมันดูเลือนลางไปเรื่อยๆ อย่างน้อยก็ยังอยากให้มีหนังสือแนวนี้อยู่ ให้เด็กๆซื้อมาอ่าน แม่จะไม่รุ้เรื่องก็ตาม
เผอิญผ่านมา เห็นกระทุ้หนุกๆ รู้สึกเรื่องที่ เพื่อนอาจารย์ พูด(เร็ว) ตอนท้ายๆจะอยู่ในหนังสือ อาจารย์ พรหมมินท์ เล่ม2 (meaning) ใครอยากขยายความไปหาอ่านดูได้
เอ แต่ตอนนี้เหมือนมันผ่านยุคของ theory ไป แล้วหรือป่าวคับ ทำไมมันดูเลือนลางไปเรื่อยๆ อย่างน้อยก็ยังอยากให้มีหนังสือแนวนี้อยู่ ให้เด็กๆซื้อมาอ่าน แม่จะไม่รุ้เรื่องก็ตาม
โดย M&e [16 ธ.ค. 2546 , 00:09:03 น.]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น