วันอังคาร, มกราคม 20, 2552

พิพิธภัณฑ์เด็กกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย



หายไปเกือบอาทิตย์ครับอาจารย์ผมไปดูพิพิธภัณฑ์เด็กของชาวบางกอกมาหลังจากที่ไปด้อมๆมองๆมาหลายที รู้สึกว่าถ้าเป็นเด็กกว่านี้คงจะรู้สึกสนุกมากกว่านี้(ตอนนี้แก่แล้วไม่สามารถที่จะปีนไปที่เครื่องเล่นได้ กลัวเด็กคนอื่นจะโทษว่าทำเครื่องพัง) ทราบมาว่าอาจารย์เคยเป็นที่ปรึกษาของงานวิทยานิพนธ์หัวข้อพิพิธภัณฑ์เด็กของนิสิตอยู่เหมือนกัน อยากรู้ว่าอาจารย์คิดเห็นยังไงกับสิ่งเราควรออกเพื่อเพื่อเด็ก..เช่นว่า...รูปทรงทางสถาปัตยกรรมอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นของเครื่องเล่นสีสันสดใสเท่านั้นที่จะทำให้เด็กรู้สึกสนใจเมื่อเด็กมอง...อาจจะออกแบบเป็นdeconstructionเพราะรู้สึกน่าสนใจกว่า....อะไรแบบนี้น่ะครับ ส่วนตัวแล้ว(ด้วยความด้อยทางปัญญาของผม)ผมคิดว่าในเรื่องของพื้นที่ภายในพิพิธภัณฑ์มันดูเรียบร้อยเกินไป(ผมมองในแง่การออกแบบแล้วนำไปสร้างจริงน่ะครับ)อาจจะด้วยงบประมาณหรือแง่ความสามารถของช่างก็แล้วแต่ ผมดูแล้วยังไม่สนุกเหมือนกิจกรรมข้างนอกที่เป็นกิจกรรมสันทนาการ อาจจะเพราะด้วยเป็นการจัดนิทรรศการที่อ้างอิงความเป็นสาระของหลักสูตรการเรียนการสอนเลยต้องการให้เด็กได้ความรู้มากกว่ากระมังในความเป็นจริงแล้วผมว่าน่าจะเป็นการออกแบบพร้อมกับพื้นที่ไปด้วย อยากให้อาจารย์ลองนึกถึงพิพิธภัณฑ์ guggenheim ที่ออกแบบโดย แฟรงค์ ลอย ไรด์ ที่คำนึงถึงความต่อเนื่องกันระหว่างการดูรูปกับการเดิน...ลักษณะอย่างนี้ผมอยากให้เกิดขึ้นกับการออกแบบสำหรับเด็กในบ้านเราครับ รบกวนท่านอาจารย์และท่านอื่นๆเสนอความเห็นด้วยครับ
โดย นกฮูก 33 [14 ต.ค. 2546 , 11:53:14 น.]

ข้อความ 1
ผมเพิ่งอ่านเรื่องการออกแบบด้วยจินตนาการ เข้าใจว่าจะเกี่ยวกับ scandinavian minimalist น่าสนใจดี และอาจเหมาะกับพิพิธภัณฑ์สำหรับเด็ก จะโพสต์ใส่ไว้ที่เว็บของผม ในอีกสองสามวันนี้ ลองไปอ่านดูนะ แล้วจะบอก url มาให้ทีหลัง นะครับ
โดย อาจารย์ [16 ต.ค. 2546 , 02:47:29 น.]

ข้อความ 2
ขอบคุณมากครับ อยากให้มีเวบที่รวมบทความแบบเวบอาจารย์อีกจังครับ
โดย นกฮูก33 [16 ต.ค. 2546 , 13:44:56 น.]

ข้อความ 3
ลองเข้าไปดูก่อนนะครับที่นี่...... http://www.anderssonart.com/texts/luennot/ottawa/ottawa1.html ฉบับบแปลยังอัปโหลดลงไปไม่ได้ เนื้อหาเป็นการเสนอความคิดในการออกแบบเน้นเรื่องราว (text) ซึ่งมัก เป็นนิยายที่ได้จากสถานที่ แล้วสร้างรายละเอียด ในส่วนอาคารต่างๆให้ตอบสนองเรื่องนิยายนั้นๆ รูปทรงเลือกเอาจากธรรมชาติ หรือสิ่งของที่ คุ้นๆในวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ เป็นงานที่ รวมเอาศิลปินและสถาปนิกทำงานร่วมกัน เน้นที่ศิลปะประยุกต์เป็นสำคัญ ผมว่า น่าจะเหมาะกับ พิพิธภัณฑ์เด็ก นะครับ
โดย อาจารย์ [16 ต.ค. 2546 , 20:15:52 น.]

ข้อความ 4
พอดีกำลังทำทีสิสนี้อยู่ค่ะ ก็ได้ไปคุยกับพี่ๆที่พิพิธภัณฑ์ ที่คุณพี่นกฮูกบอกเรื่องพื้นที่ ก็เห็นด้วยค่ะ ว่าเหมือนออกแบบแยกกัน ระหว่างอาคารกับนิทรรศการ พี่ที่พิพิธภัณฑ์เค้าก็บอกว่า ต้องมาปรับเปลี่ยนเยอะอยู่ แต่มันก็เป็นข้อดีอย่างนึงนะคะ ที่อยู่ชั้นไหนก็มองเห็นกันได้ ทำให้เค้าไม่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยนัก จะมีก็พวกมุมบันไดแหลมๆที่ต้องเอานวมหุ้มไว้ ส่วนเรื่องชุดนิทรรศการที่พี่นกฮูกพูดถึง ได้ยินแล้วพี่อาจจะตกใจ เพราะพี่ที่พิพิธภัณฑ์เค้าบอกว่า ก็สถาปนิกนี่แหล่ะที่เป็นคนคิด ออกแบบ แต่มีน้อยคนเหลือเกิน ประมาณว่าในเมืองไทยนี้ยังไม่ค่อยมีใครทำหน่ะคะ แบบใช่ว่าจะออกแบบเฉยๆเหมือนใครๆก็ทำได้ แต่ออกแบบแล้วเล่นได้จริงรึปล่าว สร้างได้จริงรึป่าว ช่างทำได้รึป่าว มันก็น่าแปลกใจนะคะที่ไม่ค่อยมีคนทำงานนี้เหรอ หรือหนูแปลกใจอยู่คนเดียว... แต่จริงๆแล้วตอนหนูไปเล่น ก็สนุกดีนะคะ
โดย เด็กในกลุ่มอาจารย์ [21 ต.ค. 2546 , 18:02:36 น.]

ข้อความ 5
คุณเด็กในกลุ่มอาจารย์ครับ ผมว่าบางทีสถาปนิกเราก็ไม่มีโอกาศออกแบบลงลึกถึงรายละเอียดได้ทุกๆจุดดังนั้นเราจึงน่าจะออกแบบให้ตัวอาคารสอดคล้องกับตัวชิ้นนิทรรศการในทีเดียวเลยเพื่อเป็นแนวทางให้คนอื่นๆที่เป็นมืออาชีพพอจะสานต่อความคิดได้แต่ก็เหมือนปัญหาโลกแตกน่ะครับยิ่งทำงานกับหลายคนยิ่งมีปัญหาตามมามากมาย.....กรณีพิพิธภัณฑ์เด็กผมไม่กล้าฟันธงว่าทางผู้ออกแบบเขาคิด/ไม่คิดเรื่องพวกนี้บางทีเขาอาจจะเจตนาดีว่าอยากให้เด็กที่เข้าไปแล้วรู้สึกเหมือนบ้านที่เขาอาศัยอยู่ก็เป็นได้......คิดแล้วเป็นใบ้ครับไม่รู้จะไปบอกใครต่อ..แต่ยังไงก็ขอบคุณครับที่แสดงความเห็น ถามถึงวิทยานิพนธ์บ้าง ตอนนี้ทางคุณถึงไหนแล้วครับ ถ้ามีโอกาศอยากจะขอความร่วมมือทางข้อมูลและเรื่องอื่นๆด้วยจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง..แหะ แหะ เพราะตอนนี้ผมเข้าขั้นวิกฤตแล้วครับผม ap_arch@hotmail.com ปล.อาจารย์ครับเวบที่อาจารย์linkมาให้คงมีปัญหาอะไรซักอย่างแน่ๆเลยครับผมเข้าไปดูไม่ได้
โดย นกฮูก33 - [24 ต.ค. 2546 , 16:01:59 น.]

ข้อความ 6
มาแวะถามอีกทีครับว่า มีหนังสืออะไรน่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก+การออกแบบสำหรับเด็กมั่งครับ ตอนนี้อ่านเรื่อง มิติที่ซ่อนอยู่สำหรับเด็กที่อาศัยอยู่ในบ้าน ของอ.กวิน อยู่น่าสนใจมากครับ
โดย นกฮูก33 [24 ต.ค. 2546 , 17:47:57 น.]

ข้อความ 7
ผมเพิ่งลองเข้าไปอีก ...ก็ได้นี่ครับ ยังไงลองไปอ่านเรื่องแปลในเว็บผมนะ ในหัวข้อเรื่อง สถาปัตยกรรมจินตนาการ ส่วนเรื่องสถาปัตยกรรมพอเพียง กำลังเพิ่มเรื่องของ Ando และ Pawson คงเปลี่ยนเติมในเว็บได้เร็วๆนี้....นะครับ ผมไม่แน่ใจว่าเป็นโครงการเดียวกัน กับที่เคยเห็นที่บริเวณสวนจตุจักร ถ้าใช่พิพิธภัณฑ์เด็กที่พูดถึงกัน ผมว่าก็งั้นๆแหละครับ เป็นจินตนาการของผู้ใหญ่มากกว่า ผมคิดว่า จะเป็นสถาปนิกให้ดี ต้องกล้าและใจถึง คิดแปลกแยกให้ได้ บางทีเรียนเป็นสถาปนิกจากโรงเรียน มันทำให้จินตนาการที่เคยมีฝ่อลง ดูอย่าง Ando ไม่เคยเรียนและรับรู้อะไรจากสถาปนิกอื่น เลยกล้าคิดกล้าทำจนสถาปนิกอื่นเห็นแล้วอ้าปากค้างกันทั่ว กรณีเช่นนี้ทำให้ผมแน่ใจว่า ระบบการศึกษาสถาปัตยกรรมต้องทบทวนวิธีการสอนทั้งหมด ไม่งั้นก็น่าจะเลิกเรียนเลิกสอนกันไปเลยนะ
โดย อาจารย์ [26 ต.ค. 2546 , 23:27:54 น.]

ข้อความ 8
เห็นด้วยอย่างแรงครับอาจารย์ ที่ผมวิจารณ์ตั้งแต่ต้นคือพิพิธภัณฑ์เด็กที่อาจารย์เห็นนั่นแหละครับ คือว่าผมเคยได้ยินมาจากหลายคนครับ ว่าสถาปนิกที่เก่งที่สุดคือสถาปนิกที่ไม่ดูแมกกาซีน(magazine)จริง/ไม่จริงมิอาจทราบได้ แต่เท่าที่เรียนมา(จนแก่)ผมสังเกตุปรากฎการณ์บางอย่าง กับนักศึกษาสถาปัตยกรรม(เท่าที่ได้เคยเห็นงานในคณะนะครับ)งานที่คนออกแบบบอกว่าฉีกแล้วหลุดออกจากกรอบเดิมๆแล้วแต่ไม่รู้ทำไมยังมีกลิ่นอายของmagazine architectหลายคน(เช่น ปีเตอร์ ไอเซนแมน,ริชาร์ด ไมเออร์,ซาฮ่า ฮาดิด,ทาดาโอะอันโดะ)ถึงแม้ว่าจะถามผู้ออกแบบแล้วว่าลอกมารึเปล่าก็ได้คำตอบที่น่าพอใจว่าไม่ได้มาจากการลอกงานแน่ๆ..แต่เหมือนกับว่าบางทีสิ่งที่เราคิดว่ามันเป็นoriginalแล้ว แต่กลับมีคนที่คิดมาก่อนเรา(ตั้งนานแล้ว)อันนี้ไม่แน่ใจว่าผมด่วนตัดสินคนอื่นเกินไปรึเปล่า.....แต่เวลาคนอื่นบอกผมว่าเหมือนงานของคนโน้นคนนี้ผมก็รู้สึกแบบนี้ทุกครั้งเลยครับ
โดย นกฮูก33 [27 ต.ค. 2546 , 00:49:29 น.]

ข้อความ 9
เผอิญ ตั้งใจจะไปโหลดบทความแปลที่รวบรวม มาจากเว็บต่างๆ ที่เกี่ยวกับ mimimalist architecture โดยเฉพาะงานของ ando และ pawson แต่ยังขัดข้องอยู่ พอมาอ่านที่คุณนกฮูกคุยมา เลยขอโม้ต่อ ผมไม่แน่ใจว่า เราจะปิดรับการรับรู้เรื่องภายนอก จากสื่อ โดยเฉพาะหนังสือที่อวดงานของสถาปนิกต่างๆได้หรือไม่? การที่ถูกต่อว่า ว่างานของเราไปคล้ายกับงาน ที่โน่นที่นี่ ที่พวกเขารับรู้มา แม้เราไม่เคยเห็นก็ตาม ผมว่าอาจเป็นเพราะเราไม่เห็นมาก่อนก็ได้ เราเลยเสียเวลาเริ่มทำในสิ่งที่อาจมีคนอื่นทำมาแล้ว ผู้รู้เรื่องใดลึกซึ้งนั้น เขาต้องศึกษางานของคนอื่นมาก่อน สิ่งที่เหมือนในสิ่งที่ตนเองสนใจด้วยนะครับ ไม่งั้นจะสืบ ความรู้เรื่องนั้นๆไปไม่ได้ โดยสรุป ผมว่าเราต้อง ดูงานคนอื่นในหนังสือต่างๆเหมือนกัน เพียงแต่อย่าไปติดยึดในทั้งหมด อย่าเลือกเอา application ที่เขาตีความมาใช้ทั้งหมด สิ่งที่ควรกระทำ คือศึกษางานของเขาให้ลึกซึ้ง ว่าฐานความคิด ของเขาเหล่านั้นมาจากแหล่งไหน เช่น บน ฐานปรัชญาอะไร แล้วเราไปศึกษาที่ต้นตอของแหล่งนั้น การตีความในงานสถาปัตยกรรมของเรา ก็ อาจไม่เหมือน application ของเขาก็ได้ อย่างเช่นที่ผมคิดจะทำคือ การศึกษาเรื่อง minimalist architecture ซึ่งผมขอใช้คำว่า สถาปัตยกรรมพอเพียง ผมคิดว่า แนวคิดนี้ มาจากปรัชญาตะวันตก ของ reductionst philosophy เรื่องแนวคิดของความสันโดษ ""ทีนี้เราลองศึกษา เปรียบเทียบกันดูกับปรัชญาตะวันออก โดยเฉพาะ ปรัชญาทางพุทธศาสนา ซึ่งเราพอมีตำราหาอ่านได้ง่าย หรือไม่ก็นิกายพุทธอื่น เช่น ลัทธิเซน เราก็อาจ สร้างปรัชญาความพอเพียงของเราเองได้ แล้วก็สามารถนำไป apply กับแนวคิดทางสถาปัตยกรรมของเรา บางทีงานออกแบบของเรา ก็จะเป็นสิ่งใหม่ ให้ผู้อื่นสนใจก็ได้นะครับ ผมสังเกตว่า การเรียนรู้ของเรา ยังเกี่ยจคร้าน ที่จะสืบสาวหาต้นตอ แล้วสร้างองค์ความรู้ในเรื่องใด เรื่องหนึ่งให้เป็นของเราเองล้วนๆ งานออกแบบของพวกเรา เลยไม่ดัง หรือเป็นที่ประหลาดใจกับผู้อื่นได้มากนัก การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนบูรณาการความรู้ทั้งหลาย ให้เป็นองค์ความรู้ของผู้เรียนแต่ละคนให้ได้นั้น เป็นภาระและเป้าหมายที่สำคัญสูงสุดในวงการศึกษาบ้านเรา ภาระนี้เป็นของทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็นศิษย์ หรือาจารย์ ....นะครับ
โดย อาจารย์ [29 ต.ค. 2546 , 15:12:12 น.]

ลองอ่าน,,Minimalist & Imaginative architecture

ในบล็อกนี้....ทบทวนดูนะ....โดย อาจารย์