วันพุธ, กุมภาพันธ์ 16, 2548

เวลาของการ present ขายงาน












ผมมีปัญหาค้างคาใจมานานแล้ว คือ เมื่อเวลาผมpresentงานของผมกับอาจารย์ สุดท้ายผมมักจะพูดในส่วนที่มันยังเป็นจุดอ่อน ปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ผมยังแก้ได้ไม่หมด แต่เวลาหมดก่อน ไปด้วย ผล ทั้งเพื่อนและอาจารย์ บอกว่า จะพูดจุดอ่อนของเราไปทำไมวะ เดี๋ยวขายงานไม่ได้ การที่เราบอกอย่างนั้นไปแย่หรือครับ ที่เราบอกในส่วนที่งานยังมีปัญหา หรือว่า ช่างแม่ง งานขายได้แล้ว ให้ลูกค้าเผชิญกับความจริงเอง ผมยังสับสน โดย เด็กฝึกงาน [14 เม.ย. 2546 , 10:32:26 น.] ข้อความ 1 การสารภาพบาป.. ต้องกระทำต่อหน้า "พระ" หรือ กัลยาณมิตร ถึงจะได้ผล หากไปทำกับคนอื่นที่ไร้ เมตตาธรรม ไม่สนใจเอาทุกข์คนอื่นมาเป็นทุกข์ ของตนเพื่อช่วยเหลือ ...ก็ป่วยการที่จะไปสารภาพ การนำเสนองานให้ "ลูกขุน" ในการเรียนสถาปัตย์ฯนั้น โดย"ธรรมเนียม" เขามาเสนอความ "เก่ง" ที่เพียร สร้างมาในขั้นแบบร่าง เพื่อให้คนอื่นเห็นความสามารถ และอธิบายความคิดของเราที่เป็นรูปธรรม ว่าตั้งแต่เริ่ม เรียนรู้มาในคณะนี้นั้น มีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ..คือคิดเป็น คิดถูก คิดดี ว่างั้นนะ ส่วนมากพวกลูกขุน มักชอบชี้โทษกันอยู่แล้ว ความบกพร่องในงานไม่ต้องบอก เขาชอบหากันอยู่แล้ว การตรวจสอบอย่างนี้ หากมีเหตุผลบอกความบกพร่อง ให้ผู้เรียน ..ก็จะเกิดประโยชน์ ช่วยการเรียนรู้ได้ แต่ถ้าไม่สร้างความเข้าใจได้ เพราะผู้ตรวจสอบ เอาแต่ใช้อารมณ์ มีอัตตาในตนเองสูง ก็จะมีผลเสีย ทางด้านจิตวิทยาในการเรียนรู้ ..คือสร้างกรอบ ความคิดหรือทัศนะคติที่เลวให้กับผู้เรียนต่อๆไปได้ การชมเชยในการนำเสนอของผู้เรียน ..จำเป็นน่าจะมีนะ ตรวจหาความดีกันบ้าง ..ก็น่าช่วยเสริมกำลังใจกัน แต่ "ผู้ใหญ่" เมืองไทย มักไม่ค่อยเห็นดี เพราะ เกรงว่าเด็กจะเหลิง ..ซึ่งก็อาจจริง อย่างไรก็ตาม "ครูเลว" ชมอะไรที่เป็นเท็จ หรือติอะไรที่ไม่จริง ก็เป็นผลเสีย แก่ผู้เรียนทั้งสิ้น ..ดูอย่าง องคุลิมาล เคยเก่งมาก่อน หลังสอบผ่านเข้ามาเรียน ...เละตุ้มเปะ เพราะเจอครูเลว ตอบมาแบบปรับทุกข์กันนะ..ดูไม่ค่อยเป็นวิชาการเท่าไร เพราะไม่อยากให้ "กลุ้ม" ในสิ่งที่ไม่เป็นเรื่อง เรื่องบางเรื่อง ..บางทีก็ต้องเลือกที่จะละเสียบ้าง ตัดสินใจคิดทำอย่างนี้ ..รู้ว่าเป็น "กุศล" แน่นอน เช่นความซื่อสัตย์ในตัวเอง ..ใครจะว่าอย่างไร ก็...ช่างแม่ง..มัน ก็น่าจะหมดกลุ้มได้นะครับ ผมอยากลงท้ายว่า ..อันความรู้นั้นมีมากมาย พอๆกับขยะ ..กองไหนที่เรานำมาใช้แล้วเกิด เป็น "ปัญญา" ส่งผลให้เรามีความสุขความเจริญ โดยไม่เบียดเบียนใครหรือสัตว์ใด ..อันนั้นเป็น ความรู้ "จริง" ไม่อย่างงั้น ก็เป็นขยะเลวๆนี่เอง โดย เพื่อนอาจารย์ [15 เม.ย. 2546 , 09:39:38 น.]

คนไทยด้อยกว่าต่างชาติตรงไหน?


จากสายตาเด็ก(เคย)นานาชาติอย่างผม บอกได้เลยครับ ว่าต่างกันอย่างเห็นได้ชัดที่ความคิด คนไทยไม่(ค่อยอยาก)รู้จัก ไม่ยอมรับ รากของตน แต่กลับพิศวงกับค่านิยมต่างประเทศ ทั้งญี่ปุ่นหรือแถบตะวันตก ทั้งๆที่ประชาชนในประเทศนั้นเขานับถือรากตนเอง และถือว่าประเทศตนเองนั้นเหนือกว่าใคร คนไทยเราไม่ค่อยมีตรงนี้ อย่างTadao Andoเค้าออกแบบงานแนวใหม่ แต่ก็ไม่ได้ละเลยความเป็นShinto เป็นเซนในงานเค้า เพราะมันทำให้เป็นเขา เป็นชาวญี่ปุ่น เป็นงานที่เขาเท่านั้นออกแบบได้ พอเราๆมาเห็น ก็...ก็อปงานเขามา หารู้เนื้อหาสาระในนั้นไม่ นี่แหละ ที่แตกต่าง... โดย Chiaroscuro aka Gloria [18 มิ.ย. 2547 , 15:15:11 น.] ข้อความ 1 เพราะว่ามันมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องกันซะจิง คนไทยนับถือฝรั่งมากกว่าคนไทยด้วยกันเองนี่มันก็หมักหมมมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ฝรั่งมีแต่ของดีของเจ๋งมาให้(ซื้อ)ตั้งแต่ปีมะโว้ เราก็ยังตะบี้ตะบันซื้ออยู่จนปัจจุบัน ผิดกะญี่ปุ่นที่เค้าเอามาแล้วก็มาศึกษาจิงจัง คิดเอง พัฒนาเอง บางอย่างดีกว่าฝรั่งอีก อันนี้นี่มันก็สืบเนื่องมาจากวิธีคิดและระบบสังคม วัฒนธรรมโดยแท้ คนไทยอยู่สบายในน้ำมีปลาในนามีข้าว อากาศร้อนกินแล้วก็นอนสบายๆ ใครจะมานั่งคิดประดิษฐ์อะไร แต่จิงๆญี่ปุ่นนี่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ไม่เถียงนะที่แบบว่ายังไม่ลืมราก แต่หันมาดูวัยรุ่นญี่ปุ่นสมัยนี้สิ ก็ดูproฝรั่งมากพอควรเลยนะ อย่างสถาปัตย์นี่ก็ต้องพูดกันอีกต่างหากเรยเพราะว่ายิ่งมีปัจจัยเฉพาะfieldนี้อีกมากมาย ที่ทำให้เค้ายังสามารถถ่ายทอดเอกลักษณ์ชาติออกมาได้ โดย กัมสลากัมสลัมกัมสลามานัม [19 มิ.ย. 2547 , 00:00:05 น.] ข้อความ 2 ผมอยากจะเริ่มตรงที่...พระท่านสอนว่า.. คนเรามักชอบมองเห็นแต่คนอื่นๆ ไม่ ชอบมองกลับมาที่ตนเอง..เลยไม่เห็นตัวตน หรืออาจคิดว่าตัวของเราของๆเรา มาดูเมื่อไร ก็ได้..ตอนนี้เอาเป็นดูหรือเลียนแบบคนอื่นก่อน หากไม่เข้าท่าหรือเบื่อดูคนอื่นแล้ว จึงกลับมาดู ตัวเอง ...ยิ่งคนแก่ใกล้ตาย..จะนึกแต่ของๆตัวเอง บางทีรากเน่าๆก็ยังมัวชื่นชมจนตัวตาย..อัตตานี้ แหละเป็นปัจจัยให้เวี่ยนว่ายกันในวัฏฏไม่สิ้นสุด เผลอๆเราก็อาจเคยเป็นเช่นอันโด๊..อันเด๋กันมาแล้ว เพราะพระท่านเคยบอกว่า คนคนหนึ่งมีเวลาการ เวียนเทียนเกิดตายมานับครั้งไม่ไหว เก็บกระดูกของ แต่ละภพชาติมากองรวมกัน สามารถกองได้สูงไม่ แพ้ความสูงเขาพระสุเมร...อีเวอเรส เรื่องของการติดยึดในเชื้อชาติเผ่าพันธ์..ผมว่าเป็น สัญชาตญาณหนึ่งของมนุษย์ หากเชื่อแน่ว่าตัวมีดี ก็คงอวด แต่ถ้าไม่แน่ใจก็อาจอุบไว้ก่อน เลียนแบบ มนุษย์ฝูงอื่นที่ดังกว่า ..เพราะเผลอๆก็อาจได้เดินตาม ฝูงอื่นๆนั้นได้ การเลียนแบบคนอื่น..ผมว่าทำได้ไม่นาน มันคง ไม่ฟิตกับกำพืดตัวเองสักวันใดก็วันหนึ่ง ...แต่อายุ ยังเยาว์ ก็ต้องชอบลอง ลองเล่นของเล่นคนอื่น มัน อาจเป็นการพัฒนาประสบการณ์ได้เหมือนกันนะ ในทางการเมืองกลุ่มคนที่รักกำพืดตัวเอง มักเป็น ชนชั้นปกครอง ไม่อยากให้คนในฝูงแยกฝูงออกไป ชอบคนฝูงอื่น เพราะพวกตนจะเหงา เลยมักหลอกล่อ ออกอุบายต่างๆนานาให้ช่วยกันรักฝูงรักเผ่าพันธ์ เกิดมาคลานได้เชื่องช้าอย่างไร ก็เอาไว้อย่างนั้น โดนสัตว์อื่นคลานเร็วไปแย่งอาหารได้ก่อน ก็ไม่สน ยอมตายเพื่อรักษากำพืด"คลานช้า"ไว้จนตาย สัตว์พันธ์นี้ ปู่ดาร์วินบอกว่ามักสูญพันธ์ในที่สุด เพราะโม้ไว้ยาว...เลยมีต่อ โดย เพื่อนอาจารย์[21 มิ.ย. 2547 , 10:07:23 น.] ข้อความ 3 เรื่องของกำพืดหรือการติดยึดในคุณค่าต่างๆของเผ่าพันธ์ พระท่านเลี่ยงไปว่า...เป็นเรื่องของสมมุติบัญญัติ ตั้งกันคิดกันเชื่อกันมาเอาเอง ความเป็นจริงไม่มี เพราะถ้าคนไทยยึดกำพืดเดิมๆ..ศาสนาพุทธก็คงรุ่งเรือง อยู่ในเมืองไทยขณะนี้ไม่ได้ โลกมันเปลี่ยนแปลงกันทุกวัน เราก็ควรเปลี่ยนมัน ตามไป อะไรยึดไว้ได้ก็ยึดไว้ ที่ไม่ได้ก็ต้องปล่อยวางบ้าง เรื่องรูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นเรื่องปาหี่ เปรียบ กับสินค้าก็เหมือนการสร้างยี่ห้อ ก็ว่ากันไป ไม่อยาก ให้คนในฝูงหมั่นไส้ ก็รักษากำพืดไว้หน่อย มีแบร์นไทยๆ ส่วนแบบไหน เป็นรากแท้รากเทียม รากที่เป็นสากล รากทางปรมัตตธรรม จะรู้หรือไม่ก็ว่ากันอีกเรื่อง ค้นกันจนกว่าจะค้นพบรากแท้ๆ ของทุกๆคนจริง นั่นแหละ โลกก็จะถึงวันเวลาอวสาน...วันสิ้นโลกจริงๆ ก็คงต้องเล่นปาหี่สถาปัตยกรรม.....กันต่อไปเรื่อยๆ ...นะครับ โดย โม้อีก [21 มิ.ย. 2547 , 10:13:11 น.] ข้อความ 4 เมื่อวานเราคุยกันในชั้นเรียนปีห้า วิชาสัมมนา โดยมีอจ.ดร.รชพร ชูช่วย ให้ข้อคิดของอิทธิพลทางความคิดของ ตะวันตกที่มีต่อการศึกษาและออกแบบ สถาปัตยกรรมในบ้านเรา มีประเด็นที่น่าสนใจหนึ่งคือ องค์ความรู้ ที่เกิดจากการบันทึกหรือรวบรวมความรู้ต่างๆ ของชุมชนหรือของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน อัน จะนำไปพัฒนาเป็นวิทยการอื่นๆต่อไปนั้น ทางประเทศตะวันตกเขากระทำเรื่องนี้กันมาก่อน มหาวิทยาลัยแห่งแรกก็เริ่มกันที่นั่น การเรียนรู้ ก็ได้แพร่หลายไปสู่คนทุกระดับของประเทศ ไม่กระจุกกันในแค่ชนชั้นปกครอง ความรู้เมื่อมีการแพร่ขยายก็มีพัฒนาการ วิทยาการต่างๆเกิดขึ้นตามมา วิชาสถาปัตยกรรม ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง และมีความเชื่อมโยงกับ วิชาการสาขาอื่นๆ ประเทศเราหรือในแทบทุกชุมชนทุกประเทศ ก็มีความรู้ต่างๆ(เพื่อการอยู่รอดของชุมชน)ของตน เกิดขึ้นกันทั้งนั้น แต่เผอิญเราไม่เคยคิดสร้างองค์ความรู้เหล่านี้ไว้เพื่อ ประโยขน์แก่คนอื่นๆในชุมชน หรือเพราะไม่มีวิทยาการการบันทึกที่ดีพอ หรือไม่ชอบการบันทึก ความรู้หลายเรื่องก็เลยถูกลืมและสูญหายไป ครั้น พอทางตะวันตกเกิดแหล่งเรียนรู้ ผู้นำของเราก็จึง ตระหนักถึงความสำคัญนี้ มหาวิทยาลัยเลยเกิดขึ้น แต่เราต้องเรียนรู้ในเรื่องที่เป็นองค์ความรู้ของ ชนชาติอื่น เรียนไปเราก็พัฒนาการเป็นวิทยาการ ไปใช้กันอย่างทุลักทุเลกันตลอดมา โดยเฉพาะทาง ด้านสถาปัตยกรรม เพราะเราสร้างหลักการออกแบบ จากรากเหง้าความรู้ของตะวันตก พอมารู้ตัวและอยากอวดรากเหง้าหรือความรู้ของตนเอง เราก็ไม่รู้เพราะหาความรู้ไม่เจอ เพราะไม่มีองค์ความรู้เรื่องของสถาปัตยกรรมที่ยอมรับทั่วกัน มาก่อน การเรียนรู้เรื่องสถาปัตยกรรมจึงกระจัดกระจาย จับเอาได้เป็นแบบรากแขนงฝอยๆ การปลูกฝัง รากเหง้าความรู้พวกนี้ก็ขาดๆเกินๆ จับหลักประเด็น ได้ยาก ความรู้ความเข้าใจและการแพร่หลาย ก็เลย ไม่หยั่งลึกลงในสำนึกของคนในชาติทั้งมวล ไม่ได้ ผลสรุปที่เป็นแก่นสารและการยอมรับได้โดยทั่วกัน ขณะนี้เรากำลังเริ่มย้อนรอยสร้างองค์ความรู้ โดย เฉพาะสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งเรามีกันมาก่อน แต่ ไม่เคยรวบรวมกันไว้เป็นองค์ความรู้เพื่อการแจก แถม หากมีการกระทำเพื่อสร้างองค์ความรู้นี้ต่อไป แม้ว่าจะได้องค์ความรู้จากรากที่จริงบ้างเท็จบ้าง ก็ยังดี และอาจหลงยึดถือเป็นรากเหง้าสมมุติของเราได้ต่อไป ..กระมัง..ครับ โดย เพื่อนอาจารย์ โม้มาอีก [23 มิ.ย. 2547 , 09:41:44 น.]

ชีวิตหลังเรียนจบสถาปัตย์


อยากให้อาจารย์ เล่าตอนอาจารย์กำลังจะจบว่าอาจารย์เตรียมตัวอย่างไร ในการออกไปเป็นผู้ใหญ่(ทำงาน)ครับ

โดย นิสิต ปี 5 [25 ก.ย. 2546 , 01:01:30 น.]

ข้อความ 1
การวางแผนชีวิตหลังเรียนจบ เป็นเรื่องดี แต่อย่าไปซีเรียสกับความสำเร็จหรือล้มเหลว ในแผนมากนัก การวางแผนที่ดี คือมีแผน ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ในสมัยของผม ...จบแล้วต้องหาเงินเลี้ยงตัวเอง เพราะคนคอยเลี้ยงดูไม่มี และเพราะเรียนในคณะนี้ ได้เห็นแต่สิ่งสวยงาม และฝันค้างของบรรดาครูถึงแดนสิวิไลซ์ ตะวันตก เลยพักนั้น..เพ้อจะไปเมืองนอกให้ได้ จบแล้ว แต่เกรดไม่ดี เพราะรักสนุกมากกว่า รักเรียนแบบบ้าเรียน เลยต้องปิดช่องว่าง เรื่องเกรด หากจะไปเรียนที่เมืองนอก ในสมัยนั้น ต้องเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ท๊อปเทน (ivy-league schools)เท่านั้น ถึงจะแน่จริง
ไปทำงานเพื่อเพิ่มเกรดในสำนักงานสถาปนิกชั้นนำตอนนั้น เพราะรุ่นพี่สนับสนุน ลำพังฝีมือเขียนตีฟที่มีตอนนั้น เขาไม่รับ เพราะยังไม่เข้าขั้นมือเซียน แต่อาศัยตื้อหน้าด้าน ทำไปถึงสามปี พอพบเนื้อคู่จึงลาออก สัญจรไปเมืองนอกทันที ไปที่มหาวิทยาลัย ชั้นนำอย่างว่า เดินไปเคาะประตูห้องคณบดีฝรั่ง เพื่อสมัครเรียน ด้วยความมั่นใจ เพราะมีจดหมายครูของผม ซึ่งเป็นศิษย์ คนโปรดของท่านอยู่ในมือ พอครูฝรั่งอ่านเสร็จ ยิ้มทำเล่นตัวอยู่สักพัก ก็นัดให้มาเรียนกันเลย สมัยนั้นเข้าเรียนที่ ยูเอสเอ ง่ายเหมือนปลอกกล้วย เพราะอยู่ใน ช่วงสงครามเวียตนาม คนหนุ่มๆมะกันไปสงครามกันหมด พวกหนุ่มกระเหรี่ยงเลยสบายทั้งการเรียนและการงาน
แต่ถ้าผมเป็นคุณ..อยู่ในสมัยนี้ ผมจะอยู่เที่ยว ที่เมืองไทย เรียนรู้ชีวิตให้ทะลุปรุโปร่ง ทำ ความรู้จักกับสถาปัตยกรรมและชีวิตคนไทย ให้ครบทุกจังหวัด แล้วจึงค่อยไปชุบตัวเมืองนอก แต่ถ้าครั่นเนื้อครั่นตัวอยากเรียนต่อเอามากๆ ผมแนะนำว่า ..น่าจะไปสมัครเรียนเปรียญธรรมเก้าประโยค มุ่งเป็นสมภารหรืออาจารย์สอนบาลีธรรมให้ได้ ทำได้อย่างนี้..ผมเดาว่าจะมีกระบวนทัศน์ใหม่ ที่ไม่ธรรมดาแน่นอน และจะดำเนินชีวิต ต่อไปอย่างมีความมั่นใจ มีความหมาย และสร้างสรรค์ งานสถาปัตยกรรม ได้ดีกว่าคนรุ่นเก่าๆ อย่างแน่นอน (เพราะตอบยาว...เลยต้องมีต่อ..ครับ)

โดย เพื่อนอาจารย์ [29 ก.ย. 2546 , 17:09:29 น.]

ข้อความ 2
ที่เล่ามาเพราะรู้แก่ใจว่า คุณถามเอามัน ถึงบอกไป คุณก็ไม่เชื่อ เพราะการวางแผน ชีวิตของใครนั้น เชื่อตามกันไม่ได้ และไม่ควรเชื่อ ต้องวางกันเอง ต้องอาศัยพระพรหมเป็นลูกน้อง คอยแก้ไขให้ หากแผนเกิดสดุดหรือมีปัญหา จะได้ไม่ต้องฆ่าตัวตายแบบพวกคนงี่เง่าใจร้อน ตรงนี้..นึกถึงตอนที่ผมไปอ้อนแม่ยายเพื่อขอแต่ง กับลูกสาว คือภรรยาผมในปัจจุบัน ผมบอกแผนการ ชีวิตเสียยืดยาว เพราะตั้งใจเตรียมทำมา และใช้เวลา มากกว่าตอนทำทีสิสด้วยซ้ำ คุณอาจลองเอาคำวิจารณ์แผน ของแม่ยายผม ไปลองพิจารณาก็ได้นะครับ แม่ยายผมวิจารณ์ว่า ...คนเราไม่ต้องวางแผน บ้าแผนบอไปให้มากเรื่อง ...จงอยู่ และมีชีวิตไปวันๆ ให้ดีกับปัจจุบันกาล ก็พอแล้ว...เพราะ ชีวิตย่อม ดำเนินไปตามกรรมของเรา ทำกรรมดี ชีวิตก็จะดำเนินไปทางดี หากทำกรรมชั่ว ชีวิตก็จะดำเนินไปในทางชั่ว
ฟังดูก็ง่ายดี ....แต่คงปฏิบัติได้ยาก เพราะตาม หลักทางพุทธศาสนาแล้ว นี่เป็นอาการของจิต ที่อยู่กับ "ปัจจุบัน" ซึ่งเป็นสาระอันสำคัญยิ่งในการ เจริญภาวนาทางพุทธศาสนา คนวางแผน มักหมกมุ่นกับเวลาของอนาคต ที่ยังมาไม่ถึง และพะวงกับเวลาของอดีตที่ยังคอยหลอกหลอนอยู่ บางคนถึงขั้น...กลัวอนาคตจะไล่ล่าเหมือนท่านนายก ก็มี ผมว่าไม่ต่างอะไรกับคนกลัวผี กลัวตาย กลัวเกิด และ สารพัดกลัวอื่นๆ แต่ถ้ากลับกัน..หันมาฝึกให้สติอยู่กับ ปัจจุบันกาล อย่างน้อยก็น่าจะทำให้ช่องว่างระหว่างอนาคต กับอดีตแคบลงๆ ถ้าฝึกไปเรื่อยๆ ก็อาจบรรลุสถานะปัจจุบันล้วนๆ คือเป็นความไร้กาล ก็ได้...นะครับ
นั่นหมายความว่า..ชีวิตที่ดำเนินไปตามธรรมชาติ และสิ่งที่เราพึงต้องการอย่างกลมกลืนกัน..คือ ด้วยความต้องการบนพื้นฐานที่จำเป็นเท่านั้น ชีวิตทำนองนี้ พระพุทธองค์ ได้ปฏิบัติเป็นแบบจำลอง ให้ทราบกันมาแล้ว ....แต่มีปัญหาเหลืออยู่ตรงที่ คนส่วนมากยังกลัวๆ และไม่กล้าหาญพอที่จะดำเนินรอยตาม ... ก็เลยต้องสร้างโวหารแบบสมมุติกันว่า ..แผนการชีวิตของฉัน .. ควรเป็นเช่นไร? ..วานช่วยบอกที ..แม้ฉันจะไม่เชื่อ ...ก็ตามที

โดย ขออีกที [29 ก.ย. 2546 , 17:11:30 น.]