วันอังคาร, ธันวาคม 21, 2547

ความถนัดทางสถาปัตย์ฯ


ความถนัดทางสถาปัตย์
นั่งคิดย้อนกลับไปตอนสอบเอนทรานซ์ ตอนนี้ก็ปี4แล้ว ก็คิดว่า ข้อสอบตอนนั้นมันก็ไม่เห็นจะเป็นข้อสอบความถนัดที่ดีเลย (แต่ผม ก็จำไม่ค่อยได้แล้วว่าข้อสอบออกอะไรๆชัดเจน) เพราะผมว่า พูดถึงคณะเรา คือ ออกแบบ Idea สร้งสรรค์ แต่ไม่ใช่วาดรูปสวย มือดี ซึ่งผมคิดว่า ความคิดเป็นหลัก แล้วมือที่ดีช่วยส่งเสริม
ผมไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้ข้อสอบเป็นไงแล้ว คุ้นๆที่สอบกันตอนนู้นก็ เขียนtive ที่คะแนนมากสุด ( อย่างการมอง plan front side อันนี้ผมว่าใช่ได้นะ ดูว่าใครมองแบบ 3 มิติ ได้ดี)ผมว่ามันไม่น่าคะแนนมากสุด ผมว่ามันไม่จำเป็น อย่างตอนนี้ผมเห็นเพื่อนผม มือแม่งอย่างห่วยเลย แต่ความคิดมันไม่ใช่ งานมันดีเลยทีเดีบว และ มีสำนึกดีด้วย มันใช่comนะเพราะมือมันไม่ดี ผมดูมันน่าจะเป็น creative ที่ดีได้เลย มัน เอน เข้ามาได้ไงมันก็ไม่รู้ มันเคยเข้ามา ติววาดรูป แล้วมันก็หนีไปเพราะมันอายเพื่อนๆ แถมปัจจุบันมีสื่อมากกว่า การวาดรูป ด้วยไม่รู้ ข้อสอบเป็นยังไงบ้างปีนี้
ผมไม่ได้ ไม่ชอบวาดรูปนะ ผมชอบเลยแหละ
โดย ธุลีscape [8 ม.ค. 2546 , 23:46:49 น.]

ข้อความ 1
เรื่องข้อสอบความถนัด สำหรับการสอบ เอ็นทร้าน ผมไม่อยากวิจารณ์ว่าเหมาะสม หรือไม่อย่างไร เดี๋ยวจะกลายเป็น "การยกตน ข่มท่าน" เป็นสิ่งไม่ดีต่อบัณฑิตที่พึงกระทำ
บอกตามตรง ผมชอบทำข้อสอบที่ไม่ตรงกับ ที่ผมถนัด หรือที่ไม่มีประโยชน์อะไรกับผมเลย ในตอนนั้น เพราะถ้าผมทำข้อสอบนั้นได้ และเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไปพยายาม คิดทำให้เป็นประโยชน์ได้ ..ผมน่าจะเป็น คน..ไม่ธรรมดา ซึ่งผมชอบเป็น แต่ยังไม่เป็น อย่างที่ว่าได้ซักที ..(แต่เป็นหลายทีครับ)..๕๕๕
ผมเห็นด้วยที่ว่าการเขียนรูปสวย ไม่ได้หมายความว่า จะออกแบบได้สวยด้วย แต่ก็มีประโยชน์ในแง่ทักษะการสร้าง หรือ การเห็นภาพในใจ แล้วนำจินตภาพนั้นออกมา จำลองให้สื่อกันได้เข้าใจมากขึ้น
ซึ่งจะสืบนำไปสู่ทักษะการคิดแบบเห็นภาพ หรือ Image Thinking ซึ่งเป็นลักษณะ การคิดที่สำคัญเหมือนกัน เคยมีการทดลอง พบว่านักเรียนสายวิทย์มักบันทึกข้อมูลไว้ ในใจแบบ ตัวเลข ข้อความ หรือเป็นเรื่องราว แบบ verbal information ส่วนพวกนักเรียน สายศิลป์มักตรงกันข้าม บันทึกเป็นภาพ หรือ องค์ประกอบเป็นแบบโครงสร้าง ที่นึกเป็นภาพได้ คือเป็นแบบ non-verbal information
ตัวอย่างที่ใช้ทดลองเช่น โปสเตอร์ ประกาศจับ โจร ที่มักให้ข้อมูลทั้งสองอย่างรวมกันไว้ใน โปสเตอร์คือ ภาพเสก็ตหรือภาพถ่ายจริงผู้สงสัย (non-verbal) และรายละเอียดของข้อความเช่น เพศ ความสูงเชื้อชาติ นำหนัก หรือรายละเอียดรูปพรรณสัญฐาน ต่างๆ (verbal) คนเห็นโปสเตอร์แบบนี้ จะถ่ายทอดข้อมูล ที่เน้นชนิดข้อมูลต่างกัน และก็มีคนที่มีทักษะกระทำได้ ดีทั้งสองอย่าง ...สถาปนิกควรมีทักษะในการรับรู้ข้อมูล ให้ได้ในหลายๆชนิด เช่นเห็นสูตรคณิตศาสตร์ ก็จะนึกเป็น ภาพได้ หรือเห็นภาพก็บอกสูตรสำเร็จได้ นักวิทยาศาสตร์ ที่เป็นอัจฉริยะ จะมีทักษะการรับรู้ทั้งภาษาวิทย์และภาษาศิลป์ สถาปนิกที่จะเป็นอัจฉริยะ ก็ควรเป็นเช่นกัน ..จริงไหม?
ผมเองเป็นนักเรียนบ้านนอก โดนพระเจ้าถีบให้มาเรียน ที่คณะนี้ วาดรูปได้คะแนนสู้พวกนักเรียนสวนกุหลาบ ที่เมืองหลวงไม่ได้เลย ความคิดรสนิยมก็บ้านนอก ไม่ทัน สมัยในทุกเรื่อง ซึ่งความต่างนี้ลดน้อยมากในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยี เช่น ทีวี มีกันได้ทุกจังหวัด ..ถ้ารักการเรียน ก็จะพัฒนาทักษะที่ขาดได้แน่นอน ผมก็พัฒนาจากชั้นเรียน และกับเพื่อนที่วาดรูปเก่ง ยอมตัวเป็นคนรับใช้ติดตามเพื่อน ไปวาดรูปกัน ก็ได้ทักษะหรือได้วิทยายุทธ์เพิ่มเหมือนพวก เรียนวิทยายุทธ์ในหนังจีนกำลังภายในทั่วไป ..
ถ้าไม่ชอบอะไรแรกๆ เช่น การวาดรูป หรืออะไรก็ตามเพราะ เราไม่ถนัด อย่าเพิ่งหนี ลองไปฝึกดูก็อาจเปลี่ยนเป็นชอบ ก็ได้ เพราะการวาดรูปมันเสริมทักษะการคิดแบบเห็นภาพ ก็สำคัญพอๆกับการคิดเห็นสูตรในงานสถาปัตยกรรม คิดให้ได้หลายๆรูปแบบ รวมทั้งคิดเหมือนเครื่องคอมพ์ (virtual reality) ได้ด้วย ผมว่า..จำเป็นสำหรับสถาปนิก ในสหศวรรษใหม่นะครับ
วิชาการหลายแหล่ในคณะฯหรือในอินเทอร์เนท ในห้องสมุด ในร้านขายเอกสารหรือชีทประกอบการสอนของคณะเรา รวมทั้งวิชาที่สอนเรียนกันในห้องเรียน ผมมักเปรียบเหมือน กองขยะ และการเรียนรู้ คือ การฝึกทักษะฝึกเลือกสรรขยะนั่นเอง ผู้เรียนต้องรู้จักเอาเศษขยะเหล่านี้ไปสร้างสรรสิ่งใหม่ๆและ ทำให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของเราแต่ละคนให้ได้ เพราะฉะนั้น อย่าพึงมองข้ามขยะอะไรที่เราอาจนึกว่าไม่มีค่า เช่น การวาดรูป เพราะถ้ามองกันดีๆ ก็จะเห็นประโยชน์ดังกล่าวได้ เพราะที่นี่หรือที่ไหนก็เป็นแหล่งวิชาการ แบบกองขยะแทบทั้งนั้น ให้ดีหน่อยก็เอามาจัดใส่กล่องใส่ถังเป็นหนังสือ หรือการบรรยาย แยกแยะกันออกมาเป็นของใครของมัน ซึ่งอาจทำให้สะดวกกับลูกค้า ได้เลือกสรรขยะ เอาไปแยกแยะ แล้วก็นำไปใช้เป็นขยะความรู้ของ แต่ละคนได้ง่ายขึ้น ..ก็เท่านั้นเอง คิดหรือมีคติอย่างนี้ บางทีอาจทำให้จิตของเราใหญ่พองโตขึ้นบ้างนะครับ
ผมคุยมาตรงที่จะต้องการคุยหรือป่าว? ไม่รู้นะ เพราะเป็นคน ที่ชอบคุยให้ตัวเองฟังเป็นส่วนมากๆ ...ครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [10 ม.ค. 2546 , 16:06:03 น.]

ข้อความ 2
ข้อสอบความถนัดฯ ปีนี้ ก็ง่ายกว่าปีที่แล้วมากๆ ค่ะ ไม่มีการมองแบบเปอร์สเปคทีฟ ส่วนใหญ่จะเป็นการออกแบบ เหมือนว่าจะดูความคิด ข้อสอบก็ แบบว่า มีไม่ไผ่มาแท่งนึง เราจะเอาไปทำอะไรได้บ้าง แบบนี้ล่ะค่ะ อีกข้อก็เป็นแผ่นซีดี แล้วก็มีช่องให้วาดภาพนะคะ แบบว่า มีเส้นโค้งๆ อยู่มุมล่าง มีเส้นตรงๆแนวนอนอยู่ตรงกลาง ให้เราวาดภาพแบบจินตนาการ ให้หัวข้อมา 2 หัวข้อ รู้สึกว่าจะเป็น พักผ่อนหรือฤดูร้อน อะไรนี่ กับ งานเลี้ยง ค่ะ และยังมีแบบว่าให้ออกแบบกรงนกที่เลี้ยงปลาได้ ให้กะคนที่อยู่บ้านเล็กๆ ต้องการความสะดวกสบาย ทำนองนี้ล่ะค่ะ
ก็ยอมรับค่ะ ว่าตัวเองก็วาดรูปไม่เก่ง แต่ว่าเป็นคนที่ชอบออกแบบ ชอบจินตนาการ ก็เลยคิดอยากจะเข้ามาเรียนในคณะนี้ สำหรับคะแนนเอนท์ที่ซุ่มเก็บมาก็พอจะเข้า ม. ในกรุงเทพ ได้ แต่ด้วยเหตุผลส่วนตัวว่า กลัว กลัวสังคม กลัวความเป็นเด็กบ้านนอกของตัวเอง จะทำให้ตัวเองดูแตกต่าง ก็เลยตัดสินใจ เลือก ม. ต่างจังหวัดดีกว่า
โดย กิ๊ฟ [16 มี.ค. 2546 , 15:59:32 น.]

ข้อความ 3
อยากถามอาจารย์อีกนิดนึงฮะ คือพักหลังนี่ จะมีเด็กผู้หญิงสอบเข้ามาได้มากกว่าเด็กผู้ชายเรื่อยๆ อยากทราบว่า เป็นเพราะข้อสอบหรือเปล่าครับ คือ ผมคิดว่าผู้ชายและผู้หญิงมีความถนัดในด้านต่างๆไม่เหมือนกัน อย่างเช่นว่า ผู้ชายถนัดด้านกลไก โครงสร้าง ผู้หญิงถนัดงานละเอียดเช่นพวก textile อะไรอย่างนี้ ข้อสอบความถนัดนี้มีผลในแง่ข้างต้นบ้างหรือเปล่าครับ เช่นเน้นด้านทฤษฏี ท่องจำมากไป หรืออะไรทำนองนี้ หรือเป็นเพราะผมคิดไปเอง แล้วพวกเรื่องผลการเรียนครับ คือผมไม่เห็นว่าพวกที่ได้เกรดมากกว่าจะจำเป็นว่า ต้องเก่งกว่าพวกได้เกรดน้อยในการทำโปรเจคจริงๆเลย พวกจีแพ็คเยอะบางทีก็เป็นพวกนักทฤษฏีสูง เอาเข้าจริงก็ทำงานไม่เห็นได้เรื่องเท่าไหร่ เราควรมีระบบการวัดผลการเรียนที่ดีกว่านี้หรือเปล่าครับ หรือว่าไม่มีทางวัดได้อยู่ดี
โดย นิสิตไอดี [22 มี.ค. 2546 , 14:59:21 น.]

ข้อความ 4
เรื่องการประเมินผล ทดสอบความถนัด คัดสรรคนเข้ามาเรียนในแต่ละคณะฯ
คิดวิธีการใดๆ..ผมว่ายากจะหาความสมบูรณ์ได้ชัดเจน เหมือนการค้นหาทฤษฎีสมบูรณ์ทางวิทยาศาสตร์ จนป่านนี้ก็ยังหากันไม่พบ..บางทีอาจไม่มีก็ได้ แต่คนก็พยายาม..โดยเลี่ยงไปหาทฤษฎีย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกัน..แล้วมาอธิบายความจริงต่างๆ ความเท็จ..ความจริงเลยมั่วกันไปเรื่อยๆ
ผมคิดว่า..เรื่องบางเรื่องอย่าไปหามันให้วุ่น ถ้าจะทดสอบอะไร..ก็จงทำมันไปเถอะ อาจ โดยใช้สัญชาติญาณดิบๆที่ติดตัวมาแต่ชาติก่อน ก็น่าจะใช้ ..ผ่านทดสอบได้ก็ดี..จะได้ไปทำสิ่งอื่นต่อ ไม่ผ่าน..ก็อย่าไปกลุ้ม เพราะคนทดสอบเราไม่ใช่ พระเจ้าแน่นอน..เผลอๆพระเจ้าอาจให้เราไปอยู่ ในที่ๆเหมาะสมกว่า..มีคติอย่างนี้อาจไม่ถูกหรอกนะ แต่ผมว่าทำให้เราสบายใจดีถ้าทำได้..และทำให้ เรายังมีความเชื่อมั่นหรือมีคุณค่าในตัวเองอยู่อีก ผมว่า..เรื่องนี้สำคัญ ต้องมั่นสร้างกำลังใจให้ตนเอง ไว้เสมอนะครับ ..เหตุผลก็มีพิสูจน์ได้เห็นต่างๆนานา เช่นเรียนเก่งได้เกรดดี แต่ทำงานไม่ได้เรื่อง ก็มีเยอะ..บางคนก็ยังทำชั่วติดคุก..ก็มี ฯลฯ แต่การหมั่นทำใจให้บริสุทธิ์ สะอาดและเป็นสุขเข้าไว้ แม้ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าจะได้ไปสวรรค์ในชาติหน้าหรือป่าว แต่ที่แน่ๆคือ..จะอยู่ในสวรรค์ของชาตินี้แน่ๆ และ ก็ต้องแน่นอนที่จะได้พบพานแต่สิ่งดีๆ แน่เลย พลังความดีงาม..เป็นอนุภาคทางบวกนะครับ น่าจะทำให้เอกภพ "พองตัว" เป็นอนันต์ มากกว่า ทำให้ "หดตัว" นะครับ
การวัดผล บางที..เว้นคิดถึงเรื่องที่เรายังควบคุมมันไม่ได้ ก็น่าจะดีกว่านะครับ..รอให้มีปัญญามากขึ้น อำนาจในการควบคุม หรือการมีความรอบรู้ ก็จะพิจารณาเรื่องต่างๆได้โดยง่ายขึ้นกว่า ที่เรากำลังเป็นหรือกำลังวุ่นวาย..อยู่ขณะนี้ นะครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [23 มี.ค. 2546 , 09:12:59 น.]

ข้อความ 5
เรื่อง "เพศหญิง" ได้คัดสรรกันมามากขึ้น ก็พอมีเค้า...ผมว่าดีนะ เพราะบทบาทของผู้ หญิงมีส่วนน้อยกับการปกครองในอดีต โดยเฉพาะในสังคมไทย แม้จะยกย่องกันบ้าง แต่ก็ยังน้อย ...เอกภพพอพองตัวมากเข้า..ก็ จะต้องถึงคราวหดตัวลง ..ผู้หญิงกลับมามีบทบาท มากขึ้นแทนผู้ชาย น่าจะอยู่ในช่วงเอกภพหดตัว ละมัง..ครับ อย่าไปกังวลเรื่องการแบ่งเพศมากนัก ในทางพุทธศาสนา..ไม่มีเพศในชั้นปรมัตต์ คือ ทุกคนที่เป็นมนุษย์สามารถบรรลุธรรมได้เท่ากัน
สัญญาณการหดตัวของเอกภพ อาจขึ้นอยู่กับบทบาท ของสตรีก็ได้นะครับ ดรรชนีความเป็น "ตุ๊ด" อาจ พอเป็นตัวชี้แนะก็ได้เหมือนกัน ...หากผมต้องไปเกิดใหม่ ในช่วงเอกภพกำลังหดตัว ...แม้ผมเป็นเพศชาย แต่ก็อาจมีพฤติกรรมเป็นตุ๊ดก็ได้..who care?
โดย ขออีกที [23 มี.ค. 2546 , 09:29:19 น.]

คุยกันกับศิษย์


ขอบคุณเพื่อนอาจารย์ครับ--------------------------------------------------------------------------------

ที่ผมได้เข้าไปพบวันนี้นะครับ พอดีผมได้ให้อาจารย์ท่านอื่นเซ็นเรียบร้อยแล้วครับ...แต่ที่อาจารย์ถามว่าเราเคยรู้จักกันมาก่อนหรือเปล่า...ผมแทบไม่ค่อยได้คุยกับอาจารย์เลยครับ แต่อ่านเอาจากเวปนี้แหล่ะครับ อ่านที่อาจารย์โพสต์มายาวเฟื้อยนั่น เขียนแซวบ้างบางที ก็เท่านี้แหล่ะครับ...
โดย ลูกศิษย์ [24 ก.พ. 2546 , 16:15:06 น.]

ข้อความ 1
เรื่องจดหมายรับรองที่คุณจะไปเรียน MBA ใช่ไหม? หวังว่าคงได้เรียนเรียบร้อยนะครับ
ส่วนมากเวลาพบนิสิต ที่ไม่ค่อยคุ้นหน้า มักจะแซวเสมอ บางคนทั้งๆที่เคยเรียน ด้วยกัน ก็มักแซวว่ามาจาก ม.ไหน?
ไม่มีเจตนาร้าย ..อยากให้ศิษย์อาจารย์ สนิทกัน ไม่อยากให้แบ่งแยกกันเลย เพราะไหนๆก็มาร่วมสังฆกรรม สถาปัตยกรรม ด้วยกัน ...ว่าแต่ว่าอย่าลืมเรื่องที่บอก ทำเรื่องสถาปัตยกรรมรวมกันกับธุระกิจ ให้ครบวงจรนะครับ ...ทำนองสถาปัตยกรรม เอื้ออาทรนั่นแหละครับ แข่งกับรัฐฯไง?
โดย เพื่อนอาจารย์ [26 ก.พ. 2546 , 17:15:03 น.]

ข้อความ 2
อืม...ยังต้องสัมภาษณ์อีกครับ คัดออกอีกเพียบเลยครับ ยังไม่แน่นอนครับ.....เรื่องสถาปัตยกรรมเอื้ออาทรนั่นเท่าที่ฟังๆดูมา เห็นว่ารัฐยังต้องเข้าไปช่วยอีกหลังละประมาณ แปดหมื่นบาท ถ้าตามนโยบายที่จะสร้างให้ครบล้านยูนิตก็แปดหมื่นล้านบาท...... เวลาฟังข่าวเรื่องนโยบายต่างๆของประเทศเนี่ยผมมีความรู้สึกแปลกๆทุกทีเลย รัฐมีเงินจำนวนมากมายมหาศาลในการทำนู่นทำนี่ แต่ทำไมลุงแก่ๆที่เป็นยามแถวบ้านผมยังมีเงินเดือนไม่ถึงหกพัน... ...ระดับชั้นของสังคมยังมีช่องว่างอีกแยะ บ้านกลางกรุง+บ้านอะไรต่อมิอะไรที่กำลังจะตามมาอีกเพียบในระดับ 4-5 ล้านบาท ... ยามแถวบ้านผม เวลานอนก็นอนในป้อมนั่นแหล่ะครับ
โดย ลูกศิษย์ [27 ก.พ. 2546 , 12:08:34 น.]

ข้อความ 3
เรื่องงานของรัฐฯขณะนี้ ถ้ามองกันในแง่บวก ก็ต้องกล่าวว่าเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ อย่าถือว่าจะเป็นเรื่องจริงจัง ที่ว่า "ท่าน" จะทำให้ความยากจนหายไปจากเมืองไทย ภายในหกปี ...เมื่อมีคนที่สมมุติว่ารวย ก็ ย่อมมีคนสมมุติว่าจนควบคู่กันไปเสมอแหละ ต้องยอมรับว่า "คนไม่รู้" ยังชอบความหวัง ลมๆแล้งๆกันอยู่เสมอ มักใช้เป็นยากล่อม ประสาททางใจ ไม่ต่างกับยาบ้าทางกายนัก เผอิญ..ยังไม่ถึงเวลาของอนาคต ที่จะมีใคร ฆ่าตัดตอนคนขายความหวังลมๆแล้งขณะนี้
การไม่ต้องติด "ยา" แบบนี้ มีทางเดียวที่แก้ คือสร้างความคิดที่เรียกว่า "สันโดษ" เท่านั้น คือหมายถึงความสุขในสิ่งที่ตนมี ซึ่งตรงข้ามกับ ความไม่สันโดษ คือความสุขในสิ่งที่ตนไม่มี แต่ ผู้มี "ปัญญา" นั้นต้องไม่สันโดษในการค้นหา ความ "เป็นจริง" ของโลกที่เป็นของเราขณะนี้ เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า "ครู" ที่ยิ่ง ใหญ่ของพวกเรา (และในทุกศาสนา) ที่ไม่ยอมสันโดษ กับสิ่งที่ท่านบรรลุคือ "ฌาน" หรือเช่นความรวย ของคนที่แสวงกันอยู่ทุกวันนี้ เพราะเป็นสุขที่ไม่จริง
ผมชอบความคิดที่ว่า "พระเจ้า" มักเป็นอะไรก็ได้ ในสิ่งที่เราคาดไม่ถึง แม้แต่ "คนยาม" ที่ยังนอน อยู่ในป้อมยามขณะนี้ ถ้าเผอิญเขานอนอย่างมี "ความสุข" เพราะเมื่อหลับแล้วก็คงไม่ต่างกันกับ คนนอนในที่ไหนๆ ลองพิจารณาตัวอย่างศาสดา ของพวกเรา มักเป็นพระเจ้าในรูปของผู้ยากไร้ เสมอ ...มีทัศนะคติอย่างนี้แหละที่ผมว่าเป็นการ พัฒนาตนไม่ให้เกิดการแบ่งแยกกันในทุกเรื่อง เช่นเดียวกับ ครู-ศิษย์ นั้นในความจริงไม่มี มีแต่ ในความสมมุติกันเท่านั้น ...เพราะ โง่-ฉลาดพอกัน ไม่แตกต่างกับ คนยาม-นายกฯ ฯลฯ ที่รวยจนพอกัน
ว่าแต่ "ความจริง" ของความฉลาดหรือความรวย ที่เรามีความหวังกันนั้น ..มันคืออะไรกันแน่?
อ่านจบ..งงกันไหม? ครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [28 ก.พ. 2546 , 09:37:01 น.]

ข้อความ 4
งงนิดหน่อย...ครับ...55
อาจารย์ครับ ถ้าเจ้าชายสิทธารัตถะไม่ได้เกิดมาเป็นกษัตริย์ ถ้าไม่ได้เกิดมาเพียบพร้อม เค้าจะมองเห็นความเป็นจริงที่ว่าหรือเปล่าครับ...
โดย ลูกศิษย์ [28 ก.พ. 2546 , 20:42:04 น.]

ข้อความ 5
ศาสดาในศาสนาอื่นมักไม่ใช่กษัตริย์ ก็ยังปฏิวัติอำนาจต่างๆได้ ตามในประวัติศาสตร์ ในกรณีของพระพุทธเจ้านั้น ท่านดำรง อยู่ใน "วิถี" ที่ต้องบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ดังนั้นในภพชาติสุดท้าย จึงต้องอยู่ใน "เงื่อนไข" หรือปัจจัย ที่จะต้องเกื้อหนุนเพื่อทำให้บรรลุ เป้าหมายที่ตั้งพระทัยไว้แน่นอน
เงื่อนไขในสมัยพุทธกาล ไม่เหมือนใน สมัยโรมัน หรือในจีน ที่ทำให้เกิด "ศาสดา" เช่นพระไครสต์หรือ เล่าจื้อ ขงจื้อ แต่พระองค์ เกิดอยู่ท่ามกลางความหลงผิดในแง่ความรู้+เชื้อชาติ ในขณะนั้น เช่นลัทธิพระเวท ทั้งหลาย รวม ทั้งการแบ่งชั้นวรรณะ จึงเป็นการปฏิวัติกัน ทางความรู้ความคิดเป็นส่วนใหญ่ ก็คงเหมือน เช่นนักวิทยาศาสตร์หรือนักปรัชญาในยุคนี้ ที่ต้องมีการเรียนรู้วิชาทั้งหลายมาก่อน จึงจะปฏิวัติ หรือสร้างทฤษฎีใหม่ๆได้ ไม่งั้นการยอมรับก็ จะไม่เพรียบพร้อม
กรณีของพระพุทธองค์ ถ้าย้อนศึกษาประสบการณ์ในอดีตแล้ว จะไม่มีข้อกังขาในสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ได้เลย เช่นยศฐาบันดาศักดิ์ หรือความร่ำรวยทั้งหลาย ที่สุดท้ายก็ต้องละ เพราะไม่เป็นความจริงที่ยั่งยืน หรือทำให้เกิดความ "หลุดพ้น" ได้นั่นเอง ตัณหา อุปทาน และสุขในชีวิต คือความทุกข์ทั้งสิ้น จะพ้นความทุกข์ถึงขั้น "วิมุติ" นั้น ต้องเพื่อการละ ทั้งสิ้น
....เรื่องนี้ซับซ้อนจริงๆครับ ปัญญาที่ สะสมกันมาน้อยของพวกเราไม่พอ จำต้องอาศัย กุศลธรรม ที่ต้องสะสมกันต่อไปอีกนานครับ จึงจะเข้าใจ ..ขนาดเกิดมาในกาลที่พระพุทธศาสนา ยังมีปรากฏให้ศึกษากัน ..ก็ยังขยาดไม่ยอมรู้กันเลย
พูดหรือคิดกันเรื่องนี้แล้ว ...จะเหนื่อยเอาการจริงๆ แฮะ.......๕๕๕๕๕๕๕
โดย เพื่อนอาจารย์ [1 มี.ค. 2546 , 15:11:32 น.]


ข้อความ 6
ขอบคุณครับ โดย ลูกศิษย์ [2 มี.ค. 2546 , 11:36:26 น.]

วันอังคาร, ธันวาคม 14, 2547

ธรรมะ คือ คุณากร


ว่างอย่างยิ่ง....

ผู้เห็นสุญตา มัจจุราชตามไม่ทัน ความตายจะไม่ถึงพวกเรา ทำไม
เพราะเราไม่มี มีแต่กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ เท่านั้น
คนอยู่ที่ไหน ไอ้รวงผึ่งนั่นเห็นมั้ย ตัวแม่มันออกไปหมดไปเอารวงมันถูกตัวผึ้งมั้ยล่ะ
นั่นมันว่าง มันก็ถูกแต่ขี้ผึ้งเท่านั้นแหละ ตัวผึ้งไปไหนไม่รู้ เพราะมันไม่อยู่ที่นั่นแล้ว
พระพุทธองค์สอนอย่างนั้น ให้เห็นออกจากตัวตน อย่างนั้น มันหมดปัญหา
ไม่ใช่แต่ปัญหามันหมด เฉลยมันก็ไม่มี ปัญหามันก็ไม่มี ไอ้คนที่จะแก้ปัญหาก็ไม่มี
มันหมดตรงนั้น เรารู้จักของมันหมดมั้ย หมดก็เรียกว่ามันไม่มี...

จากเทปธรรมเทศนาของหลวงพ่อชาฯ ม้วนที่ ๓๖
ในหนังสือแจกธรรมทาน "ความผิดในความถูก"
โดยคุณ : ธรรมะท่านอาจารย์ชาฯ - 15/12/2004 13:29

วันพุธ, ธันวาคม 08, 2547

ศาสนา กับ วิทยาศาสตร์


โวหารสมมุติ...ศาสนากับวิทยาศาสตร์:
ว่าด้วยเรื่องโวหารสมมุติ... เพื่อความเข้าใจในพระพุทธศาสนากันอย่างแท้จริง

ถ้า...นาม-รูป เป็นเหตุปัจจัยหลักของ"สิ่ง"ที่เรียกว่า"จิต" และปรากฏการณ์เกิด-ดับ
ของมันทำให้เกิด"เวลา"ใน"ความมี"ของจิตแล้ว จิต..ก็จะดำเนินไปอย่างกว้างขวาง
จนถึงที่สุดคือ จักรวาลของความมี"ตัวตน"และสิ่งแวดล้อมทั้งมวลอื่นๆ นั่นเอง
บรรจุลงใน"ความว่าง"จนเติมเต็มเป็นโลกสมมุติของแต่ละชีวิต
ที่รวมเรียกกันว่า จักรวาลที่เป็นอนันต์

ฐานสมมุติแห่งนาม-รูป ก็จึงไม่แตกต่างจากความรู้สมมุติในปัจจุบันของ
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะคือฐานสมมุติ"ตัวเลข"ของวิชา
คณิตศาสตร์ นั่นคือ ตัวเลขของ 1-0(หนึ่งกับศูนย์) อันมีการบูรณาการกัน
อย่างไม่มีความสิ้นสุขในการสร้างนวัตกรรมของมนุษย์ แปลงกันจน
เป็น"มายา" เช่น ภาพยนต์ หรือเรื่องราวอื่นๆผ่านให้เห็นกันทางเครื่องรับ
โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์เป็นต้น มนุษย์ ก็คือ นวัตกรรมหนึ่ง ที่เกิด
จากการสรรสร้างของ"จิต" หรือ "พระเจ้า" นั่นเอง มีการบูรณาการใน
เชิงความสัมพันธ์ที่สอดคล้อง หรือในภาวะบรรสานของสรรพสิ่งทั้งมวล

โดยรับความเป็น"มายา"นี้ ผ่านกระบวนการประมวลผล(เช่น
อาศัยขัณฑ์ห้า) ยึดถือกันเป็น"ความจริง" ซึ่งอาจไม่แตกต่างกันนักกับ
การแปลงระหัสด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นซีดี หรือ
เครื่องทีวีปัจจุบันนี้ พีทาโกลัส สร้างสมมุติทางโวหารไว้ว่า...
จักรวาลทั้งมวลประกอบกันขึ้นจากตัวเลขทางคณิตศาสตร์ หรือที่..ดี
โมคริตุส อ้างว่า... จักรวาลประกอบขึ้นจากอะตอม ก็ไม่ต่างจากที่พระ
พุทธเจ้าเทศนาว่า... จักรวาลเกิดขึ้นจากจิตที่ประกอบขึ้นมาจากนาม-
รูป(นามกับรูป)นั่นเอง ชีวิตเป็นเพียง"มายา" ..น่าจะ.. เกิด
จากจิตที่ประมวลกันของนาม-รูป สร้างโลกที่ประกอบกันเป็นตัวเรา
ล้วนเป็นโลกของมายา เลื่อนลอยไปตามอำนาจของจิตที่มีนาม-รูปเป็น
เหตุปัจจัยต่อกันและกัน เรียกกันให้ชัดก็คือ เกิดเป็นโลกเสมือนจริง หรือ
virtual world ในโวหารของภาษาคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้

เมื่อเรายอมรับการใช้โวหารสมมุตินี้กันแล้ว ก็ ลองมาเปรียบเทียบกับการ
อ่านข้อเขียนบางตอนของคุณ สมชาย วสันตวิสุทธิ์ เขียนไว้ในคอลัมน์ "
คิดนอกเส้น" เรื่อง... "เราสร้างโลกและจักรวาลนี้จากตัวเลขได้หรือไม่?
ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ ฉบับที่ 937 ดังนี้

"พีทาโกลัสบอกว่า พิ้นฐานของตัวเลข คือพื้นฐานของทุกสิ่ง และจักรวาลนี้
แท้ที่จริงแล้วคือตัวเลขและภาวะบรรสาน หรือ harmony หรือความ
สอดคล้องของสรรพสิ่ง สามารถอธิบายได้ด้วยค่าตัวเลขทาง
คณิตศาสตร์ เช่น เลขคู่หรือเลขคี่ เลข ตรรกยะ หรือเลข อตรรกยะ หรือเลข
ที่มีเหตุผล และเลข ที่ไม่มีเหตุผล นั่นคือเลขที่สามารถหาจำนวนเต็มและ
เป็นเศษส่วนได้ กับเลขที่ไม่สามารถเขียนเป็นเศษส่วนได้ แม้เลขที่เป็น
เศษส่วนกลับของเลขจำนวนเต็ม เช่น เศษหนึ่งส่วนสอง หรือเศษหนึ่งส่วน
สาม เศษหนึ่งส่วนสี่ ฯลฯ เลขเหล่านี้ล้วนมีบรรสานกันและกัน
โลกที่เรามีชีวิตอยู่ หากเป็นโลกมายาที่ยอมรับเป็นความแท้จริงแล้ว ก็ไม่
น่าจะต่างจากโลกเสมือนจริง เช่นในภาพยนต์ที่ถูกเก็บไว้ในแผ่นดิสก์ เช่น
ในเรื่อง the matrix ที่เฉลยไว้ว่า.. โลกที่เราดำเนินชีวิตกันอยู่นี้เกิดจาก
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ยักษ์หรือแมทตริกที่
คอยบงการ ซึ่งอำนาจนี้ ก็ไม่น่าต่างจาก"จิต"ของเราเท่าไรนัก
ตัวอย่างหนังที่เก็บไว้ในแผ่นวีซีดีหรือดีวีดี ทั้งหลายล้วนเป็นแผ่นข้อมูลของ
เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น มันบรรจุ"ข้อมูล"ที่เป็นเลขฐานสอง คือเป็นตัว
เลข "หนึ่งกับศูนย์" ด้วยกระบวนการเก็บที่เป็น"ร่อง"หรือ"หลุม"ขนาด
จิ๋วบนผิวของแผ่นดิสก์ เมื่อส่องด้วยแสง"เลเซอร์"จากหัวอ่านของเครื่อง
เล่นก็จะสะท้อนแสงบ้างไม่สะท้อนบ้าง เกิดการติดกับดับ ซึ่งหมายถึง "
เลขหนึ่งกับศูนย์" เมื่อไปแปลงค่าในแผ่นวงจร"ไอซี" ให้กลายเป็น
สัญญาณไฟฟ้าที่ไปควบคุมหลอดภาพของทีวีหรือจอพลาสมาทีวีอีกที
(อวัยวะสมองของเราก็น่าจะทำหน้าที่ทำนองนี้)

นั่นคือภาพยนต์ที่เป็นภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่องเป็นเรื่องเป็นราวเสมือน
จริงขึ้น ซึ่งสามารถแปลงมาเป็นกฎตัวเลข คือเลขฐานสอง ซึ่งก็คือตัวเลข
หนึ่งกับศูนย์นั่นเอง แล้วตัวเลขก็สามารถแปลงกลับไปเป็นเรื่อราว
ต่างๆเป็นโลกเสมือนจริง เช่นในภาพยนต์ด้วยหลักวิธีดังกล่าว ซึ่ง
ต่อๆไปก็สามารถสร้างหนังด้วยตัวเลขล้วนๆได้ ดังเช่นหนังการ์ตูน
เรื่อง"นีโม"ตามหาพ่อ...." (หรือ เรา..ตามหา"รอย"พระพุทธองค์)

ดังนั้น จักรวาลทั้งหมดก็สามารถถูกแปลงเป็นเลขฐานสองหรือ"ตัวเลข"
ตามแนวความคิดของพีทาโกลัส ก็ได้ ถึงตรงนี้ "พระเจ้า" หรือ"จิต" ก็ไม่
ต่างจากนักสร้างภาพยนต์ชั้นหนึ่ง"..กระมังครับ

สำหรับเรื่องของโวหารสมมุติข้างต้น เนื่องในสภาวการณ์ปัจจุบัน เราคง
ยากที่จะหลีกเลี่ยงความรู้ของวิทยาศาสตร์ แม้ว่า"ความจริง"ที่
บอกกล่าวกันในโวหารนี้ จะเป็นเพียง"เงา"ของความจริงก็ตาม ก็ยัง
ถือว่าเป็นสิ่งที่พอจับเค้าพอมองเห็นได้ เพราะมันมีแสงแห่งปัญญา(บาง
ส่วน)ส่องอยู่ แม้จะน้อยนิดเพียงจับต้องได้แค่เป็นเห็นเพียงเงาของความ
จริงก็ตาม เพราะยังไม่สามารถเห็นได้จะแจ้ง แต่ก็ยังพอนับได้ว่า นั่นเป็น
เค้าโครงของความจริงได้ ก็..ยังดีเสียกว่าการ"มองเห็น"ที่เป็นเสมือน"
ฝัน"อันผ่านทางกระบวนการจินตนาการของแต่ละคน อธิบายแก่
กันนั้นยากที่จะเข้าใจ หรือแม้นว่า อาจเป็นแค่เพียงความหลงเชื่อ หลง
ติดจนกลายเป็นความงมงายที่ไม่อาจรู้เท่าทันก็ได้

ลองพิจารณาโวหารสมมุติในอีกข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้....
ไอน์สไตน์กล่าวว่า.... "วิทยาศาสตร์ที่ไร้ศาสนาก็เหมือน
คนขาเป๋ ศาสนาที่ไร้วิทยาศาสตร์ก็เหมือนคนตาบอด"
พระสันตะปะปาจอห์น พอลที่สอง กล่าวว่า.."วิทยาศาสตร์สามารถ
ชำระศาสนาให้สะอาดขึ้นจากความผิดพลาดและความเชื่อในเรื่องเหนือ
ธรรมชาติ ศาสนาก็สามารถชำระวิทยาศาสตร์ให้สะอาดจากความเชื่อ
ในบางสิ่งจนเกินเลยไป และกลายเป็นความสัมบูรณ์ที่ผิดพลาดได้ แต่
ทั้งสองสิ่งนี้ สามารถนำพากันไปสู่โลกที่กว้างขึ้น การเชื่อมสองสิ่งนี้
เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดูแล"

หากพระเจ้าเป็นผู้สร้างมนุษย์จริง...หรือเกิดขึ้นมาโดยไม่มีทางเลือก(
เพราะกรรม) ก็คงมีจุดประสงค์ให้เราใช้สมองของเราคิดและไตร่ตรองหา
เหตุผล ซึ่งในที่สุดแล้วนำพาโลก(และตัวเรา)ไปสู่ความสงบสมบูรณ์
การชี้ว่ามนุษย์ต้องเลือกทางเดินของตนเองและรับผิดชอบการกระทำของ
ตน ก็คล้ายเรื่องตนเป็นที่พึ่งแห่งตนในแนวพุทธ ส่วนเรื่องอิสระภาพการ
เลือกใช้ชีวิตนั้น ก็คล้ายแนวทางเต๋า..นี่เป็นสาระของปรัชญาเอ็กซิสเต
นเชียลิสม์ของ..ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ เจ้าของวาทะ.."การเกิดมาในโลกนี้
เป็นสิ่งที่เราทุกคนไม่มีทางเลือก อิสรภาพที่จะไม่เลือกอิสระ... ไม่ใช่
อิสรภาพ"

ปรัชญาเอ็กซิสเตนเชียลิสม์ เป็นรูปแบบหนึ่งของมนุษย์นิยม ที่เชื่อใน3
เรื่องคือ..อิสระภาพปัจเจก(individual freedom) ทางเลือก(choice) และ
ความรับผิดชอบของมนุษย์หรือตัวตนของปัจเจก(individual existence)
ในแนวพุทธ...อิสระภาพที่แท้คือ อิสระภาพที่พ้นจากกิเลสทั้งปวงที่
ครอบงำจิตของเรา การตีความคัมภีย์ให้ถูกไม่สำคัญเท่า
การตีความให้เป็นประโยชน์ต่อ(ตนเองและ) สังคม
ไม่ว่าชีวิตเป็นสิ่งที่เรากำหนดขึ้นเองหรือไม่ก็ตาม เราไม่มีทางรู้ สิ่งที่เรา
ทำได้ดูเหมือนไม่มีทางเลือกเท่าใด เราต้องก้าวต่อไปโดยทำทีไม่สนใจว่า
ชีวิตเราถูกกำหนดมาหรือไม่ เพราะหากมันไม่ถูกกำหนดมาก่อน เรายังมี
โอกาสมากกว่าที่จะไม่ทำอะไรเสียเลย

จาก..."พระเจ้าไม่เล่นบอล? ว่าด้วยผู้สร้าง" โดย วินทร์ เลียววาริณ
(http://www.winbookclub.com/)

สรุปกันได้ว่า.... โวหารอันเป็นสมมุติบัญญัติดังกล่าว ก็เป็นเรื่องของ ปัจ
จัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูชนรู้ได้ด้วยตนเอง อันนี้เป็นคำสอนของพระ
พุทธเจ้า ท่านว่า...ให้เชื่อตัวเอง ให้เห็นให้เข้าใจด้วยตัวของเราเอง
พึงเจริญในธรรม...นะครับ

โดยคุณ : เด็กข้างวัด - 16/11/2004
01:06

วันจันทร์, กันยายน 06, 2547

จีบสาวไม่เป็นสอนหน่อยครับ

ปุจฉา...
ผมชอบผู้หญิงคนหนึ่งแต่เขามีแต่คนมาจีบบอกผมหน่อยว่าจีบดีไหมและจีบอย่างไรดีครับ (เพราะผมเห็นเขากับชายอื่นหลายคนแล้วแต่ผมยังไม่เชื่อว่าเขาชอบผู้ชายคนนั้นเพราะเราส่งสายตากันตลอดแต่ผมยังไม่กล้าจีบครับ

วิสัชชนา..
ไม่ทราบว่าผู้ตั้งกระทู้นี้ เป็นนักเรียนสถาปัตย์ฯ หรือป่าว? ..ถ้าใช่เรื่องนี้ก็น่าคุย แต่เกรงว่าจะผิดวัตถุประสงค์ของเว็บบอร์ดนี้ ที่พวกเราช่วยทำกันเพื่อส่งเสริมความคิด เรื่องของสถาปัตยกรรมและการเรียนการสอน เพื่อการแสวงหาความรู้ของกันและกัน จริงอยู่การศึกษาสมัยใหม่ ขยายวิธีการเรียน การสอนไปมาก เช่น การเรียนรู้โดยใช้ปัญหา เป็นพื้นฐานของการเรียนสถาปัตยกรรม ซึ่ง จะเน้นความรู้ที่ได้รับ ไปใช้กับการแก้ปัญหา ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนจริงด้วย แต่ประเด็นเรื่องที่ถาม อาจออกแนวไปมาก เกรงว่าคุยกันแล้วจะหลงทาง กลับบ้านไม่ถูก คือกลับมาเรื่องการศึกษาสถาปัตยกรรมที่พวกเรา กำลังเป็นกันอยู่ไม่ได้ หรือเป็นทางอ้อมเกินไป ในหลายสิ่งที่เราอยากจะทำและรู้ในชีวิต บางทีต้อง จัดลำดับที่ควรจะทำก่อนหลังกันด้วย อาจต้องถือ ภาษิตเดิมๆที่กล่าวว่า "เรื่องเรียนต้องมาก่อน เรื่องรัก" คตินี้ช่วยให้คนที่ยึดถือประสบความ สำเร็จในชีวิตไปแล้วและมากทีเดียว ผมว่าน่าลองพิจารณาเรื่องความสนใจของเรา อะไรควรก่อนอะไรควรหลัง กันบ้างนะครับ ไม่งั้น จะสับสนกันไปใหญ่ว่า เรากำลังจะทำอะไรที่นี่ แต่ถ้าทนไม่ไหวจนจะตายให้ได้ ก็ขอมาปรึกษา กันเป็นการส่วนตัว จะดีกว่า ..นะครับ

ปุจฉา...
แต่ผมว่าการเรียนรู้สังคมก็เป็นสิ่งที่ดีนะ การสร้างความสัมพันธ์ของบุคคลต่อบุคคล การเคารพความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง การให้เกียรติซึ่งกันและกัน การร่วมแก้ปัญหาต่างๆ ผมว่าจีบหญิงก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้นะ ...55

วิสัชชนา...
ถ้าเป็นเพื่อการบูรณากันกับการเรียนก็ดี ขอให้เกิดขึ้นเองเป็นธรรมดาโดยธรรมชาติ ผมกลัวว่า..อาจเกิดเป็นทุกข์หรือกังวลใจ เพิ่มมากขึ้น ถ้าได้คุณเธอที่หวังมาเป็น กำลังใจได้ก็ดี จะได้ทดแทนที่ขาดอาจารย์ แบบ "สายเดี่ยว" ที่มีน้อยในคณะนี้ ไม่มีอะไรจะขัดใจหรอก กลัวว่าจะเป็น เรื่องของ "การชิงสุกก่อนห่าม" เดี๋ยวใบ ปริญญาเลยหมดอร่อยไปครับ

กลับมาอ่านอีกที..ยังติดใจอยู่ ถ้าอยากใช้เรื่องนี้เป็นการพัฒนาความคิด วิธีคิดวิธีหนึ่ง คือการคิดเชิงกลยุทธ์ ซึ่งพูดกันมากในวิชาการทหารและธุระกิจ เป็นลักษณะการคิดที่มีเป้าหมาย (end) แล้วหาวิธีการ (means)เพื่อการดำเนินการ ไปถึงเป้าหมายอันนั้น เป็นการคิดเชิงแข่งขันด้วย การคิดแบบนี้มักคิดเป็นกระบวนการ และต้องสร้างทางเลือกหลายทางเลือกด้วย ในกระบวนการจำเป็นต้องมี การวางแผน การแก้ปัญหาเมื่อมีอุปสรรค และการตัดสินใจในทางเลือก ต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์ ตรวจสอบสถานะภาพตัวเอง ฯลฯ ถ้าลองคิดทำนองนี้แล้วบรรลุเป้าหมาย ได้คุณเธอมาเป็นแฟนละก้อ แสดงว่าคุณมีทักษะในการคิดแบบกลยุทธ์ ก็สามารถเป็นนักธุระกิจหรือเรียน แขนงวิชานี้ได้อย่างดีทีเดียว ทำธุระกิจการออกแบบ ก็จะรุ่งเรื่องในอาชีพต่อไป หลายคนคิดว่า การออกแบบเพื่อให้ลูกค้าหรืออาจารย์ยอมรับ นั้นถือว่าบรรลุเป้าหมาย ไม่จำเป็นต้องเป็นผลงานเยี่ยมยอด ซึ่งหาข้อกำหนดได้ยาก ต้องอาศัย การคิดแบบกลยุทธ์ ในการกำหนดเป้าหมายให้ ชัดเจนก่อนเท่านั้น จึงจะสร้างวิธีการไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายนั้น พวกนักเรียนที่เรียนเก่งนั้น เป็นเพราะเขามีทักษะการคิดแบบกลยุทธ์ที่เหมาะ เขาจึงประสบความสำเร็จในการเรียน ได้คะแนนดี ...ส่วนจะดีเลิศเป็นคนวิเศษต่อไป จนตลอดชีวิตหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องที่ต้องพิจารณากัน เรื่องทักษะการคิดในลักษณะต่างๆนั้น มีกันมาทุกคน ติดตัวมาแต่เกิด เป็นธรรมชาติของมนุษย์ แต่ บังเอิญไม่ได้รับการเอาใจใส่ และซ้ำยังโดนทอดทิ้ง ก็เลยเดี้ยงกันไป การศึกษาของมนุษย์ก็ คือ การพัฒนาทักษะในการคิดในรูปแบบต่างๆนั่น เอง เพราะถ้าเรารู้วิธีคิดมากหลายวิธี ก็เหมือนมีเครื่องมือหลายอย่าง ก็สามารถเลือกนำมาใช้ในการแก้ปํญหาต่างๆในการดำเนินชีวิตของเรา ..ถ้า สนใจลองเลือกหนังสือที่เกี่ยวกับกระบวนการคิด ในรูปแบบต่างๆมาอ่านกันนะครับ เดี๋ยวนี้มีแปลเรียบเรียงเป็นภาษาไทยมากมาย อ่านแล้วบางทีทำให้เรา ระลึกความสามารถที่เรามีอยู่แล้วได้บ้าง ..นะครับ

จริงหรือเปล่าครับที่ในโลกนี้ไม่มีแบบที่perfect?


หรือว่าอาจจะมีที่ใกล้เคียงมากแต่หาไม่พบ หรือถ้าจะหาให้เจอก็ต้องใช้เวลากับแบบชิ้นนั้นมากๆ?

มีผู้รู้บอกว่า ...คนส่วนมากสาระวน กับการแก้ปัญหาที่ตนไม่รู้จริงๆว่า เป็น "ปัญหา" เราจึงมักได้คำตอบ ส่วนมาก ..มาจากปัญหาที่ผิด เช่น การแก้ปัญหาจราจรของเมืองไทย เป็นต้น เรามักอ้างว่าปัญหาจราจรเป็น เพราะพื้นที่ถนนไม่พอเพียง ...ทั้งๆที่ เราน่าจะมาเน้นการพัฒนาใช้ "ขา" สัญจรกันในเมือง มากกว่าการใช้รถยนต์ ที่ผลาญพลังงานและสร้างมลภาวะอยู่ทุกวัน ในทางธรรมะ ..ความสมบูรณ์หรือ ultimate truth มีครับ พระท่านบอกว่าคือ "นิพพาน" เป็นความ สมบูรณ์ที่มีอยู่จริง แต่พวกเราไม่ชอบไปค้นหา เพราะมันไม่สนุกเหมือนมิติที่เรามั่วกันอยู่..คือ ยังชอบวงกลม ..ที่กลมบ้างไม่กลมบ้าง ...อยู่ครับ จะว่าไปแล้ว...ปัญหามันอยู่ที่ตัวเรา ..ในตัวเรา ปัญหาข้างนอกไม่มี ถึงมันมี ก็เรื่องของมัน เรา ไม่เกี่ยว มันมาข้องกับเราไม่ได้ ถ้าเราไม่รับเอามา การแก้ปัญหาให้เสร็จสรรพได้ผลสมบูรณ์ ต้องแก้ ปัญหาที่ตัวเราเป็นคนก่อขึ้นมา ...แต่โลกที่มันสับสน อยู่ทุกวันนี้ เพราะ เรานึกว่าตัวเราไม่มีปัญหา เลยเที่ยวสะเปะสะปะไปแก้ปัญหาที่อื่น ที่เรา ควบคุมอะไรไม่ได้เลย ...ลองพิจารณาดูให้ดีซิ! แต่ละคนง่วนจะเที่ยวไปแก้ปัญหาคนอื่น ครูก็ สาระวนคิดกฏคิดเกณฑ์จะแก้ปัญหานักเรียน ไม่เคยรู้เลยว่าตัวเองสุมปัญหา ความงี่เง่าไว้ มากน้อยเท่าไร ...บางคนอาจตายไปแล้ว ก็ ยังไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหา แล้วไม่เคยรู้ที่จะแก้ ก็เลยเวียนว่ายตายเกิด เป็นวงกลมบ้าง ไม่ กลมบ้าง เกิด-ตายอย่าง"เขียด" โดยไม่รู้วันสิ้นสุด มันเป็นอย่างนี้เอง....นะครับ

โดย ครูโง่

คุณครูครับ สงสัยครับ..?


ถาม...

คุณครูครับ สมมุติว่าได้ project มาแล้วอยากให้ทำออกมาดีที่สุด โดยที่มือไม่ดี จำเป็นรึเปล่าครับที่จะต้องทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับการทำ project????แล้วคุณครูแบ่งเวลายังไงครับ
โดย เด็กโง่ [16 มิ.ย. 2546 , 21:08:50

ตอบ..

หลายคนมีความเชื่อว่า การดำเนินชีวิต ส่วนหนึ่ง เกี่ยวข้องกับการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ ในยุคสมัยอุตสาหกรรม ที่เน้น..ปริมาณ ในการทำงานหรือศึกษาที่มุ่งเน้นสาระที่เจาะจง ก็มักจัดลำดับความสำคัญของงานและวิชาที่เรียน เอาไว้ชัด คือเงินเดือนตามหน้าที่การงาน หรือ หน่วยกิตตามความสำคัญของวิชาที่เจาะจง เช่น วิชา project เป็นสาระวิชาที่สำคัญของการเรียนเพื่อการเป็นสถาปนิก ...เป็นวิชาที่สังเคราะห์เอาวิชารองอื่นๆ มารวมกันในวิชานี้ วิชานี้จึงสำคัญตามบัญญัติกันไว้ แต่จะไร้ความหมายหากไม่เรียนวิชารองๆมาก่อน เพราะวิชานี้เป็นเรื่องการเอาวิชารองต่างๆมาผนวกกัน แล้วสรุปผลการออกแบบในทางปฏิบัติ ..เชิงรูปธรรม

คิดกันแบบตรรกะธรรมดาๆ ก็มักยึดถือว่า วิชาไหนหรืองานไหนสำคัญ ก็ควรทุ่มเทเวลาให้กับสิ่งนั้นก่อน ..นี่เป็นการคิด แบบแยกส่วนแบบกลไกจักรกล ไม่ใช่แบบองค์รวมแบบมนุษย์ เพราะอย่างที่กล่าวแล้ว วิชา project เรียนรู้ให้ได้ผล ต้องรู้วิชารองๆอื่นด้วย อาจทึกทักได้ว่า เข้าใจวิชารองๆหรือวิชาประกอบได้มากเท่าไร การเรียนรู้วิชา project ก็จะได้ผลได้รวดเร็วเท่านั้น การทุ่มเทเวลาให้บางสิ่งที่สำคัญๆ อาจไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณเวลา ที่ต้องใช้เสมอๆไป หากเผอิญคนๆนั้น มีพื้นฐานวิชารองดีแล้ว ก็อาจเรียนวิชาหลักให้ได้ผลดี และใช้เวลาน้อยกว่าก็ได้ ...นี่เป็น การแย้งให้เห็นว่า ตรรกะหรือเหตุผลแบบเดิมๆ บนกรอบความ คิดแบบแยกส่วน ....ไม่จริงเสมอไป ที่ว่า...."มือไม่ดี" ..คงหมายถึง ทักษะการเขียนแบบหรือเสนองาน หรือ คิดไม่เป็น ไม่รู้วิธีคิด ว่าปัญหาในแต่ละส่วนของวิชา project ควร ควรจัดการกันอย่างไร? ทักษะมีไม่พออาจเพราะสนใจหรือเข้าใจ วิชารองๆไม่ดีมาก่อน ไม่ฝึกฝนทักษะฝีมือ แล้วก็ไม่พยายามเรียนรู้ ปรับปรุงฝีมือให้ดีขึ้น เพราะเห็นว่าสำคัญน้อย เลยให้เวลาน้อยเสมอๆ เลยกลายมาเป็นปัญหาในการเรียนวิชา project ..ถึงจะเลือกให้เวลา วิชานี้ให้มากๆ ก็ยังไม่รู้ว่าจะใช้อย่างไร? ตรงไหน? ถึงจะได้ผล จะกลับ ไปฝึก sketch หรือเขียนแบบ หรือจัดระบบความคิด หรือเข้าใจ วิธีคิด เชิงยุทธวิธี ก็ไม่น่ากระทำได้ ...ถ้ารู้ตัวว่า ไม่แน่จริง ก็ต้องเลือกวิธีการ ที่ใช้เวลาแล้วให้ได้ผลมากๆ เช่น ใช้เวลากับการทำแบบร่าง หลอก ใช้หรือปรึกษากับครูให้มากขึ้น ..อย่าทำตัวโง่เพราะความยิ่งยะโส..จง มีความอ่อนน้อมถ่อมตน แล้วจะทำให้ได้คบหาครูหรือกัลยาณมิตรได้มากๆ อ่านหนังสือมาก จะรู้อะไรได้ผลเยอะขึ้น เสียเวลาน้อยกว่าการเอาแต่เรียนรู้ ลำพัง ..แต่..ถ้าอย่างหลังเป็นวิธีการเรียนของบางคนที่ได้ผล ....คนๆนั้นก็ ไม่รู้มาเรียนในสถาบันนี้ ...หาพระแสง? ..ทำไม?

เวลา...เป็นปัญหาสำคัญส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาในโรงเรียน เพราะมันคอยกำกับกิจกรรมการเรียนเพื่อให้เป็นระบบหรือระเบียบ วิธี ..ไม่อย่างนั้นการศึกษาจะบริหารจัดการได้ลำบาก ...ทุกคนก็ต้อง ยอมรับกัน แต่ในทางปฏิบัติหรือการจัดการกับเวลาของแต่ละคนไม่ เหมือนกัน บางคนเรียนเก่งเพราะมีวิธีคิดเชิงกลยุทธ์ดี ใช้เวลาน้อย แต่ได้ผลมาก เช่นขีดเขียนดี มีทักษะสูงเพราะเข้าใจเรียนวิชารองนี้ มาพร้อมแล้ว จึงใช้เวลาเขียนได้เร็ว ไม่สงสัยหรือลังเล ได้ผลสวยงาม เป็นต้น ยิ่งมีทักษะคิดเก่ง คิดเป็น คิดถูกตรงกับสถานะการณ์ ..ยิ่งใช้ เวลาน้อย ในการแก้ปัญหาแต่ละเรื่องในวิชา project ได้รวดเร็ว นี่เป็นบทสรุปคำตอบที่น้อยนิด ในความเห็นเพียงหนึ่งเท่านั้น แต่พึงระวังไว้ ..ท่านผู้รู้มักเสียดสีว่า.. วัฒนธรรมแบบไทย มักเรียนรู้แบบเอาแต่ฟัง(นักเรียน)และพูด(ครู) ..ไม่ชอบการคิด...อ่านและ ขีด...เขียน เมื่อต้องเผชิญปัญหาต่างๆทั้งในการเรียนและในการดำเนิน ชีวิต จึงสับสนและไม่รู้บริหารเวลากันอย่างไร? มักหลงไปว่า การใช้เวลาสัมพันธ์ทางตรงกับผลงานหรือความสำเร็จ ..ซึ่ง ไม่เป็นจริงเสมอไป เพราะมันขึ้นอยู่กับความเป็นองค์รวมหรือ เหตุปัจจัยต่างๆที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ...พระท่านบอกว่า ขึ้นอยู่กับกรรมใคร..กรรมมัน ฝึกฝนหรือสร้างสมปัญญามาดี และสม่ำเสมอ ก็มีปัญญามาก แก้ทุกข์ได้มาก อาจถึง "นิพพาน" หรือถึงความรู้แจ้ง โดยใช้เวลาน้อยนิดก็ได้ ...จริงไหมครับ?

ป.ล. สำหรับผม ..เวลามีเหลือไม่มาก แต่ก็มักใช้จนหมดในทุกการงาน (ซึ่งก็มีไม่มากเช่นกัน) ซึ่งไม่รู้จะแบ่งเวลาของผมที่น้อยนิดไปทำไม? เวลา นั้น ..จริงแล้ว มีในจักรวาลนี้ไม่จำกัด อาจเป็นอนันต์ด้วยซ้ำ .. .แล้วนายไอน์สไตล์ ดันโม้ว่า "เวลา ยืดหดได้อีก ..เหมือนเช่นจักรวาล" บวกกับความเห็นข้างต้นดังที่พล่ามมา ...ผมยังคงค้นหาและฝึกฝนการ ทำงาน..ยิ่งถ้าใหญ่ๆและสำคัญๆมาก..ก็อยากใช้เวลาให้น้อยที่สุด หรือ แทบไม่ต้องใช้เลย เพราะอยากขออุทิศเวลาทั้งหมด (ในส่วนที่พระเจ้าให้ผม) ในจักรวาลนี้ เพิ่มให้กับคนอื่นๆที่สนใจเรื่อง เวลา พอๆกับเงินและ เกียรติยศ ..... พระท่านว่า ทำได้อย่างนี้แล้ว ..จะได้บุญกุศลมากเลย...ครับ

โดย ครูโง่ [18 มิ.ย. 2546 , 12:48:25 น.]

ศิษย์โง่..เพราะใคร?

จาก...http://www.eduzones.com/newwebboard/board/webboard_ans.php?id=107513

" 'หมอประเวศ'ชี้เด็กไทยไม่โง่แต่ระบบการศึกษาทำให้โง่"

จากการปาฐกถาเรื่อง “เด็กไทยไม่โง่” เมื่อ วันที่ 26 พ.ค. ศ.น.พ.ประเวศ วะสี กล่าวว่า การศึกษาของไทยมีรูปแบบเอกนิยม คือ บีบให้ทุกคนต้องศึกษาเรื่องที่เหมือนกัน ขณะที่ธรรมชาติของมนุษย์มีความหลากหลาย มีความสนใจ และความสามารถที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อถูกบีบคั้นให้เรียนในสิ่งที่ไม่ชอบก็อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายและกลายเป็นปัญหาอื่น ๆ ระบบการศึกษาแบบนี้จึงสร้างตราบาปให้กับคนทั้งชาติ ทั้งที่คนไทยไม่ได้โง่ แต่ระบบการศึกษาทำให้คนไทยโง่ เพราะต้องเรียนเรื่องที่เหมือนกัน ใครที่มีความสามารถโดดเด่นออกมาก็มักจะถูกมองว่ามีปัญหา ประเทศไทยจึงสูญเสียโอกาสในการพัฒนาหลาย ๆ ด้าน และระบบการศึกษาที่มีการแข่งขันกันด้วยการสอบและคะแนน ยังเป็นตัวทำลายศีลธรรมพื้นฐานทั้งหมด ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเป็นคน เพราะเมื่อไหร่ที่เด็กสอบไม่ได้ หรือทำคะแนนได้น้อยก็จะบอกว่าคนนี้ไม่เก่ง เด็กก็จะรู้สึกด้อยค่าลง รู้สึกไม่มีคุณค่าในตนเอง สังคมไทยในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ จึงเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ไม่รู้ว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร ศ.น.พ.ประเวศ กล่าวต่อไปว่า เราควรเลิกสนใจเรื่องหงส์แดง หงส์ดำกันเสียที และรัฐบาลควรหันมาใส่ใจเรื่องการศึกษา ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือการปฏิรูปการศึกษาระยะที่ 2 หมายถึงปฏิรูประบบการศึกษาและปฏิรูประบบการเรียนรู้ โดยต้องดำเนินการดังนี้ 1.ลดการเรียนแบบท่องจำจากหนังสือภายในห้องเรียนให้เหลือน้อยลงที่สุด 2.ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ วิถีชีวิต ชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด 3. เรียนรู้จากสื่อ เช่น เอกสาร อินเทอร์เน็ต และพิพิธภัณฑ์ ซึ่งสื่อก็ต้องพัฒนาตัวเองด้วย 4.เรียนตามความสามารถของแต่ละบุคคล ไม่ต้องเรียนเหมือนกัน 5.มีการศึกษา วิจัยให้ลึกซึ้งขึ้น โดยการฝึกบันทึก นำเสนอในกลุ่ม ตั้งคำถามและหาคำตอบ ซึ่งการวิจัยจะทำให้เกิดกระบวนการศึกษา แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังมีการทำวิจัยจำนวนน้อย และ 6.ต้องศึกษาโดยรู้จักเห็นจิตใจและมีสำนึกนึกคิดในตนเองเพราะหากเก่งโดยไม่รู้ใจตนเองก็ง่ายต่อการหลงผิด ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กอัจฉริยะ คณะศึกษาศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กล่าวว่า จากการวิจัยพบว่าในทุกโรงเรียนและเกือบทุกชั้นเรียนมีเด็กอัจฉริยะประมาณร้อยละ 1 ของเด็กทั้งหมด ซึ่งหากมีระบบส่งเสริมสนับสนุนที่ดี เราก็น่าจะมีอัจฉริยะบุคคลระดับไอน์สไตน์ได้ แต่ระบบปัจจุบันไม่เอื้อให้เด็กฉายแววออกมา นอกจากนี้ยังพบว่ามีครูผู้สอนจำนวนหนึ่งที่เกิดความรู้สึกอิจฉาเด็ก โดยเห็นว่าในเมื่อเด็กเก่งแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมาถาม ซึ่งตรงนี้ถือว่าอันตรายอย่างยิ่ง “ขณะนี้เราได้ทำคู่มือสำรวจแววความสามารถพิเศษขึ้นมาใหม่ ซึ่งครูสามารถนำไปสำรวจแววความสามารถพิเศษในเด็กนักเรียนได้ ส่วนคู่มือที่จัดทำก่อนหน้านี้ยังไม่ใช่คู่มือในการทดสอบเด็ก แต่เป็นการรวบรวมบุคลิกลักษณะของมนุษย์ ซึ่งมีแววความสามารถต่าง ๆ จำนวน 10 แวว ไว้ให้ครูใช้สังเกตเด็กในเบื้องต้น ซึ่งมีการนำไปใช้ผิดกันมาก แต่คู่มือใหม่นี้จะทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่า” ผศ.ดร.อุษณีย์กล่าว.
โดย : EZ News - [ 27/05/2547 - 18:12 น. ]

ผมเห็นด้วยกับความคิดนี้ทุกประการ..เลยขออนุญาตยกเอามาเกริ่นไว้ก่อน..ครับ