วันอังคาร, ธันวาคม 27, 2548

การออกแบบรีสอร์ท

อยากรู้เรื่องราวรีสอร์ท

กำลังทำโปรเจกรีสอร์ทอยู่ครับ เป็นhealth and spa resort ไม่เคยทำมาก่อน ไม่รู้จะจับต้นชนปลายที่ตรงไหน เลยอยากรู้ เรื่องราวจากพี่และอาจารย์ผู้เปี่ยมซึ่งประสบการณ์น่ะครับ
อยากทราบถึงการวางผังที่มักทำกันในresort projectอย่างละเอียด
อยากทราบถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมที่นิยมและเป็นที่ชมชอบ
อยากทราบว่าระหว่างการวางอาคารเล็กๆกระจายเป็นหลายๆหลัง กับวางเป็นอาคารmassใหญ่ๆหลายๆชั้น ในโปรเจกรีสอร์ท อย่างไหนมีประสิทธิภาพและงดงามกว่ากัน
ส่วนของsoftscapeที่เป็นน้ำ ควรมีสักกี่ส่วนของพื้นที่ทั้งหมด
และอื่นๆที่จักควรแนะนำแก่ข้าน้อย ขอบคุณมั่กครับ
โดย นกเจ่า - [9 พ.ย. 2546 , 22:47:56 น.]

ข้อความ 1
ต้องการหาคำตอบแบบนี้...เรียนง่ายดี จะเอาไปใช้ทำแบบทีสิสหรือไง...ถ้าใช่ ไม่มีความรู้เรื่องนี้มาก่อนเลย แล้วเอาไปทำทีสิส จะต้องใช้เวลาเรียนรู้ อาจนานจนรับปริญญาไม่ทันแน่เลย
การเรียนรู้กันเยี่ยง "กัลยาณมิตร" ตนเองต้อง ซื่อสัตย์ เสนอความรู้ของตนเองก่อน อย่างเปิดเผยและจริงใจด้วย ใช้กลยุทธ์ "โยนหินถามทาง" จะเข้าท่ากว่า
กระทำได้อย่างนี้..แล้วผู้อื่นจึงจะร่วมแจมได้
ตามหลักธรรมะ จะรับ"ทาน"จากผู้อื่น ตนเองต้องให้"ทาน" ก่อน การเรียนรู้ก็เช่นกัน ต้องพึง"ให้" แก่กันและกัน อย่าเอาแต่อ้าปากคอยให้คนป้อน..ท่าเดียว
เสียศักดิ์ศรีความเป็นนสิตและสถาปนิกในภายภาคหน้าเอานะครับ
โปรดอย่าโกรธ....ที่เตือนมา
โดย เพื่อนอาจารย์ [19 พ.ย. 2546 , 11:09:11 น.]

ข้อความ 2
ความจริงแล้ว ผมก็ไม่ได้ความรู้น้อยนิดติดพสุธาขนาดที่คุณเพื่อนอาจารย์ติมาหรอกครับ บทความของผมในที่นี้ครั้งหนึ่งคุณเพื่อนอาจารย์ก็เคยเอาไปลงประจานในหนังสือเล่มหนึ่งสีขาวมาแล้ว คงจำย้ำเตือนกันได้นะครับ เพราะครานั้น ผมได้ร้อยเรียงเคียงความเป็นภาษาต่างประเทศไว้ แถมได้กะแดะใช้ชื่อนามว่าGloriaอีก ก็เป็นแค่กระผีกหนึ่งแห่งอดีต ก็ไม่อยากรื้อฟื้นแล้วครับ ที่ลงถามห้วนๆสั้นๆพลันนั้น เพราะเนื่องด้วยวันที่ลงไว้นั้น มีเหตุจำเป็นที่ต้องพิมพ์อย่างรวดเร็วฉับพลัน ไม่ทันได้แสดงลีลาท้าประลองใคร ผมกล้าบอกได้ว่า ผมก็พอที่จะมีหินขนาดหนึ่งที่สามารถปาหัวคนธรรมดาๆให้ตายคาโต๊ะดราฟได้สบายๆอยู่เหมือนกัน และคำถามที่ลงไป ก็ไม่ได้ใคร่อยากจะรู้ขนาดนั้น เพราะลำพังตนเองก็สามารถค้นหาได้ไม่ยากเย็น ก็ทุเรศตัวเองเหมือนกันที่เข็นคำถามโง่ๆออกไปเป็นครั้งแรก..........
โดย นกเจ่า [20 พ.ย. 2546 , 23:50:37 น.]

ข้อความ 3
ผมก็พอจะได้ความตามที่คิด ว่าโปรเจกเฉกนี้ ทำเป็นdeconstructionก็คงไม่งามไม่งดหมดจด ครั้นจะทำงานmodernแบบเดิมๆเสริมหลังคาhipใหญ่ๆเพื่อให้ผู้ไม่รู้ ดูว่าไทย ก็รู้สึกตะหงิดๆ ผนวกกับอาจารย์ท่านหนึ่ง ที่ตรวจแบบ กล่าวไว้อย่างน่าฟังจังเลยว่า "ก็ทำให้มันดูเป็นไทยๆ ทำๆไปเหอะ ฝรั่งเค้ามาดูก็ไม่รู้หรอก" ห้ามตนเองให้ไม่คิดไม่ได้ ว่า ถ้าท่านอาจารมาสเตอร์architectไทยท่านใดท่านหนึ่ง เกิดได้มาดูงาน"ไทยๆ"ที่ว่านี่ ก็คงแอบดูถูกอยู่ไม่น้อย นิสิตสถาปนิกส่วนใหญ่(รวมทั้งที่จบออกไปแล้วบางท่าน)ยังมีความคิด และผลงาน ออกมามีไม้ยมกตามมาด้วยตลอด เช่น "ไทยๆ" "modernๆ" "สวยๆ"...แต่ไม่ยักกะไทย ไม่ยักกะโมเดอน แล้วบางรายก็ไม่เห็นจะสวย เพราะทำเพราะคิด โดยไม่รู้ว่า ไทย เป็นอย่างไร modernเป็นอย่างไร สักแต่ว่าดูเหมือนๆ ก็พอใจ ไปห้องสมุด ก็ฉุดเอานิตยสารสวยๆ เอามาลอกมุมนู่นมุมนี่ ลอกแปลน แต่ตัวหนังสือไม่ยักกะอ่านสักตัว จึงไม่แปลก ถ้าเค้าจะบอกว่า เราอ่านหนังสือกันเฉลี่ยแล้ว6บรรทัด
โดย นกเจ่า [20 พ.ย. 2546 , 23:51:49 น.]

ข้อความ 4
เห็นตอนปีก่อน deconมาแรง ก็แรงตามกระแส ทำมันกันทั้งสตู รู้บ้างหรือไม่ ว่าปรัชญาของมันเป็นอย่างไร หลักการจัดองค์ประกอบของdeconเป็นอย่างไร รู้จักไหม superimposition รู้มั้ย ว่าทำไมต้องยุ่ง ก็ทำให้มันเฉียงๆ ดูเท่ห์ก็เจ๋ง ส่งและ อาจารย์บางท่านก็พลอยเออออไปด้วย เพราะก็ไม่รู้เรื่องพอกัน มาปีนี้งานแบบไทยมาแรง ก็จะทำมันแบบ"ไทยๆ"กันอีก กระหนกสักตัว เคยอยากจะเข้าใจบ้างหรือเปล่า เข้าถึงรูปทรงของมันที่derivedมาจากธรรมชาติบ้างไหม เส้นจอมแหคืออะไร รู้กันบ้างไหมว่าconแบบไทยมหัศจรรย์พันลึกขนาดไหน ผมว่ามันต้องรู้ขนาดนี้ก่อนนะ แล้วค่อยเอาไปดัดแปลง แฝง"ไม้ยมก"เข้าไป ผมเห็นเด็กถาปัดเดินมาคณะ ปั่นงานตรวจแบบแล้วก็เดินกลับ ไปดูหนัง ไปเที่ยว ไม่ขยันหน่อย อารมณ์หุ่นไขลาน ก็ตรงรี่กลับบ้านไปคิดแบบต่อ รอวันตรวจแบบอีกครา ช่วงนี้ มีศิลปะดีๆระดับประเทศ หรือระดับโลกด้วยซ้ำ มาโชว์ที่ฝั่งตรงข้าม ไม่เห็นจะเคยโผล่หน้าไปดูกันสักที นานๆจะเห็นเด็กถาปัดสักคน เด็กคณะอื่นยังจะเยอะกว่าอีก แล้วอย่างงี้วงการสถาปัตยกรรมจะเทียบระดับโลกได้เมื่อไหร่ เพราะสอนกันแต่ให้อยู่รอดในวงการสถาปัตย์เมืองไทย ต้องตามลูกค้า เอาใจลูกค้าบ้างล่ะ เราเป็นsalemanขายแบบบ้างล่ะ ยัดใส่หัวใส่จิตสำนึกนิสิตกันต่อๆไป ยิ่งรุ่นต่อๆไปงานก็ยิ่งเห่ยลงๆ ความเป็นครูกับศิษย์ ความเป็นวิชาช่าง ไม่เห็นจะเหลือหลอแล้ว ไม่รู้ทำไมพอถึงประเพณีอะไรๆก็ยังต้องเติม"ช่าง"ต่อหลังทุกที สิ่งเหล่านี้มันก็มีeffectต่อไปถึงคนทั่วไป ให้ไร้ซึ่งรสนิยมเรื่อยๆ ทำกันมาอยู่ได้ กล่องคอนกรีตขาวๆ อยากรู้ ว่าจะมีสักกี่คน ที่เดินผ่านแล้วเหลียวมองกล่องพวกนั่น เพราะมันก็เหมือนๆกันไปหมด เป็นผลจากการถูกล้างสมองด้วยสื่อเมืองนอก นิตยสารGA ทำออกมาอย่างนั้นแหละ ลืมรากตัวเองกันไปหมด... ขอโทษครับ ที่ออกความเห็นรุนแรงไปหน่อย พอดีกะลังweakๆ ก็เลยระบายออกมา หวังว่าคงไม่ด่าว่าหาความผมนะครับ ก็แค่ความเห็นจากหน่วยเล็กๆอย่างผม ที่เผอิญมีbackgroundต่างจากคนอื่นๆนิดหน่อย ยังไงก็ขอบคุณๆเพื่อนอาจารย์นะครับ ที่ติเตือนมา ผมอยากให้อาจารย์เป็นอย่างนี้ทุกๆท่าน เพราะถ้าเป็นผม เห็นกระทู้ถามเว้าซื่อๆโง่ๆเยี่ยงนี้ ก็คงทำเฉกเดียวกัน ขอบคุณครับ
โดย นกเจ่า [20 พ.ย. 2546 , 23:52:12 น.]

ข้อความ 5
อ้อ ผมหารูปสวยๆมาลงไว้ให้คุณเพื่อนอาจารย์นะครับ เห็นว่าคุณเพื่อนอาจารย์ ช่างล้ำลึกในพระพุทธศาสนาโดยแท้ ทั้งปรัชญา และอุบาย นับถือๆครับ
โดย นกเจ่า [20 พ.ย. 2546 , 23:58:00 น.]

ข้อความ 6
ดีใจยิ่งนักที่ได้พบคุณอดีตGloria อีก เลยต้องรีบคุยมา
ก่อนอื่นต้องขอโทษด้วยหากสิ่งที่คุยไปทำให้เกิดอารมณ์ เพียงแต่โยนหินถามทางผิดไปหน่อย แต่ได้หินชั้นยอดโยนกลับมา
อย่าเรียกว่าการที่นำการพูดคุยกับคุณ Gloria ในครั้งกระโน้น เป็นการประจาน เลยครับ แท้จริงแล้วเป็นการยกย่องกันมากว่านะครับ
ผมขอขอบคุณด้วยซ้ำที่พวกคุณๆทำให้ผมต้องสำรวจตัวเอง ขวนจวายแสวงหาความรู้เสียบ้าง อย่าคิดว่าสวมหัวโขนในความเป็น "ครู" แล้วจะวิเศษหรือเก่งกว่าศิษย์เสมอไป การแสวงหาความรู้จากการวิสัชชณากันและกัน ไม่มีคำว่าศิษย์หรืออาจารย์นะครับ
ผมเองก็มีส่วนรับผิดชอบการเรียนรู้ที่คณะฯนี้อยู่ด้วย ก็ยอมรับว่ายังมีความห่วยแตกอยู่มาก ยังต้องพัฒนากันตามกาลอยู่เรื่อยไป
ยิ่งมีผู้ร่วมด้วยช่วยกันอย่างเช่น คุณนกเจ่า หรือ Gloria (ก็ตาม) ผมเชื่อว่าการศึกษาที่นี่คงยังไม่ตายสนิทแน่ครับ
กำลังจะปลีกวิเวกไปจากบอร์ดนี้อยู่แล้วเชียว เพราะทำท่าจะเซ็งๆ พอเจอคุณนกเจ่า หัวใจผมกลับดันเต้นคึกคักขึ้นมาอีกเฮือก
เพราะยังไม่อยากให้บอร์ดนี้หมดคุณค่าของชุมชนเพื่อการศึกษาและความเป็นกัลยาณมิตรทางวิชาการ...จริงๆครับ
ขอขอบคุณ...ที่ส่งเสียงมาอีก..นะครับ ขอบคุณในทุกสิ่งที่ให้มาครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [21 พ.ย. 2546 , 01:45:22 น.]

ข้อความ 7
ถ้าอยากให้คุยเรื่องรีสอร์ทตามที่ตั้งกระทู้ ก็ขอให้บอกมานะครับ ยินดีคุยเรื่องนี้ โดยเฉพาะกับคุณเป็นพิเศษเลยครับ
เรียนอยู่ที่ภาคภูมิสถาปัตยกรรมหรือครับ?
โดย ขออีกที [22 พ.ย. 2546 , 02:08:20 น.]

ข้อความ 8
มิได้ๆครับ วันก่อนขออภัยอย่างรุนแรง ที่ได้แสดงตัวตนรุนแรงชนิดกระตุกขนหน้าแข้งหลายๆคน ต้องขอโทษจริงๆครับ ขอโทษคุณเพื่อนอาจารย์ด้วย เพราะยังไงเสีย ผมก็เป็นคนไทย ซึ่งยังต้องนับถือครูบาอาจารย์(ที่มีวิญญานแห่งครู)อยู่เหนือหัวไว้ก่อนแหละครับ ไม่เช่นนั้น เราก็จะเหมือนต่างชาตืไป ซึ่งก็อาจทำให้ทุกอย่างเจริญขึ้น แปลผกผันกันกับวัฒนธรรม และไม่ใช่ครับ ผมเรียนอยู่ภาคสถาปัตยกรรมธรรมชาติๆนี่แลครับ แต่เผอิญผมมีภูมิหลังต่างจากคนอื่นๆหน่อย เลยอาจมองบางอย่างจากดวงตาที่ต่างไป และก่อนหน้านี้ ผมก็เคยคิดอยากจะเข้าศิลปกรรมอยู่บ้าง(แต่ตอนนี้ไม่แล้วนะครับ แต่ก็ยังมีความคิดและมุมมองแรงไปหน่อย)แต่มาเข้าสถาปัตยกรรม เนื่องด้วยเห็นว่า จิตรกรรม สัจธรรมมันก็เป็นเพียงผืนผ้าใบเรียบๆ เป็นงานสำหรับผู้ที่เหนือไปแล้ว จึงจะได้แก่นสาระจากงานเหล่านั้น แต่สถาปัตยกรรม คือจินตนาการแห่งจิตรกรรม ที่ ถูกปั้นแต่งขึ้นบนโลกความจริง เพื่อปลอบโยนวิญญานของทุกผู้หมู่คน ทุกชนทุกชั้น ไม่กั้นแบ่งแยก แต่พอเข้ามา บางครั้งครา ก็เหนื่อยๆกับความเป็นไปของที่นี่เล็กๆ จนไม่รู้ว่าจะมีศิลปินแห่งชาติสถาปัตยกรรมไปทำไม ในเมื่อไม่เห็นสอนความเป็นศิลปินให้นิสิตเลย สอนแต่การเอาตัวรอด ถ้าผมมองจากมุมมองของคนนอกแล้ว ก็ต้องขอบอกว่า นิสิตหลายคนที่นี่นี้ธรรมดามากๆจนน่าเศร้า ความคิดความอ่านน้อยมาก It only needs a thought to create. ผมว่าความคิด สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดนะ แม้จะไม่ได้เป็นtect แค่คนขายข้าวมันไก่ที่เคยเจอ ยังมีความคิดน่านับถือกว่าเด็กถาปัดหลายๆคน ถ้าเอาคนขายข้าวมันไก่คนนั้น มาเรียนถาปัดได้ น่าจะดี... ส่วนเรื่องรีสอร์ท ถ้าได้ความกรุณาจากอาจารย์ ก็จะดีมากๆครับ ขอบคุณครับ

โดย Nokjao [23 พ.ย. 2546 , 23:43:16 น.]

ข้อความ 9
ข้อความที่โม้..ยาวไป เลยต้องแบ่งเป็นตอนๆ
ความคิด ความตั้งใจ ที่จะเรียนรู้เพื่อค้นหา ความรู้ที่ "เป็นจริง" ซึ่งเราอาจไม่รู้ชัดได้ แต่จะมี เป็นดรรชนีบางตัวชี้ถึงการพัฒนาชีวิตที่ดีเกิดขึ้นได้ครับ ถ้าลองศึกษาทฤษฎีความรู้ที่อ้างถึงเหตุปัจจัย เช่นในเรื่องของพุทธศาสนา หรือศาสนาอื่นๆ ไม่เว้นแม้ "ศาสนา" ใหม่ที่เราเรียกกันว่า วิทยาศาสตร์ เราก็อาจเข้าในเรื่องของสรรพสิ่ง ที่เชื่อมโยงกันนั้น เป็นอย่างไร ก็เกิดสิ่งอย่างนั้น
ผมคิดว่าบางครั้ง..เราอาจต้องละสิ่งสัมผัสนอกตัวเรา เช่นคนอื่น ถ้าเขาจะเป็นอย่างไร อะไรที่ไม่ดีไม่งามเราก็อย่า ไปลุ่มหลงรวมเข้าไปอีกคน ก็หมดทุกข์...ผมเองก็มีอารมณ์ ดุเดือดเลือดผล่านในเรื่องของคนอื่น? หรืออะไร? มีเรื่อง นอกตัวที่เราขัดแย้งมาก่อน แต่พอนานเข้า ค้นหาชีวิตเราไปรื่อยๆ ก็จะทำให้ผ่อนคลายอารมณ์บ่จ๋อย ลงไปได้มากเลยครับ เพราะ รู้จักตัวเองมากขึ้นๆ
อย่างไรเสีย...อย่าลืมคำที่ผู้รู้ มักกล่าวไว้ว่าเราต้องตระหนักถึง "ความเป็นบัณฑิต ที่พึงมีความอ่อนน้อมถ่อมตน" ไว้เสมอๆนะครับ
(มีต่อนะครับ)
โดย เพื่อนอาจารย์ [24 พ.ย. 2546 , 15:31:15 น.]

ข้อความ 10
เผอิญผมได้หนังสือแปลเรื่อง .."ทำเมืองให้น่าอยู่" The GAIA Atlas of Cities หาซื้อได้ที่ร้านซีเอ็ด หนังสือจะเน้นถึงบริบทของความเป็นระบบทางนิเวศวิทยา งานออกแบบสถาปัตยกรรมรีสอร์ท ...ผมคิดว่า น่าต้องเติมเรื่องทำนองนี้ลงไปบ้าง บางทีถ้าเราเห็นด้วย ก็อาจทำให้กระบวนทัศน์ในการออกแบบเปลี่ยนแปลงไป เพราะในพื้นที่แต่ละแห่ง หากเราพิจารณาความเป็นองค์รวมในบริบท ที่เกี่ยวข้องกัน การออกแบบสถาปัตยกรรมที่แต่งเติมลงไป ก็ไม่น่าจะมีรูปแบบเดียวกันหมด และเป็นอย่างอดีตเสมอไป เท่าที่ผมสังเกตุ การเติมใส่อย่างลุ่มหลงในวัตถุสถาปัตยกรรม เกินไป อาจทำลายความสมดุลย์ของระบบนิเวศโดยที่เราไม่รู้ ซึ่งเป็นปัญหาที่เรากระทำกันมาในแทบทุกสาขาวิชาในอดีต พวกเราแทบทุกคน มักถูกประนามว่ากำลังทำให้โลกธรรมชาติ หายนะลงไปทุกๆวัน โดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ครับ
โปรดอย่าไปโทษคณะฯที่ละเลยเรื่องพื้นฐานทางความคิดนี้ เพราะการศึกษาอะไรติดยึดแบบแยกส่วน เราก็อาจไม่เห็น ความสัมพันธ์ของระบบที่เป็นองค์รวม แต่ถ้าเราคอยตระหนัก และทบทวนความรู้อยู่เสมอๆ เราก็อาจพัฒนาให้สร้างปัญหา ได้ลดน้อยลงไป ไม่จำเป็นต้องจับเจ่ากันแต่ความรู้ในคณะนี้
(มีต่อครับ)
โดย ขออีกที [24 พ.ย. 2546 , 15:35:40 น.]

ข้อความ 11
ผมเองก็พยายามพัฒนาการเรียนรู้อยู่แทบทั้งชีวิต นี่ก็กำลังศึกษาเรื่องการออกแบบโรงพยาบาลกับนิสิต พยายามนำเสนอเรื่องการทบทวนกระบวนทัศน์สุขภาพ กันเสียก่อน แล้วค่อยตามเรื่องการออกแบบรูปแบบสถาปัตยกรรม ที่ให้สอดคล้องกับกระบวนทัศน์ทางสุขภาพใหม่ๆที่เปลี่ยนไปแล้ว อย่างเช่น เทคโนโลยีในอนาคต ที่ประยุกต์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติใหม่ๆ เราอาจสามารถรักษาสุขภาพพื้นฐานด้วยตัวเองได้เอง โรงพยาบาลอาจเป็นสถานที่แค่ช่วยเติมเพิ่มความรู้ในการดูแล สุขภาพของพวกเราให้ดีขึ้นไปอีกเท่านั้น อาจไม่ใช่เช่นโรงฆ่าสัตว์ หรือซ่อมสัตว์ แบบผิดๆพลาดๆทั้งในกระบวนการรักษาและการ ออกแบบสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาลอย่างที่เป็นอยู่ก็ได้นะครับ
ผมอาจโม้แบบไม่เห็นคำตอบที่เป็นรูปธรรมจะๆ แต่เชื่อว่าถ้าแนวคิด ของสถาปนิกทันสมัย ทันพอๆกับวิทยาการในสาขาต่างๆที่พัฒนาไป รูปแบบสถาปัตยกรรมที่แต่ละคนนำเสนอ ก็น่าถูกต้องแน่นอน และมีความ หลากหลายมากๆ ซึ่งล้วนเป็นเรื่องการส่งเสริมชีวิตที่ดีงามกันทั้งนั้น
การออกแบบรีสอร์ทก็เช่นกัน หากเน้นที่คุณภาพของระบบนิเวศ ที่เราควรจะถนอมกันไว้ รูปแบบสถาปัตยกรรม ก็อาจมีความอ่อนน้อม ถ่อมตนมากกว่า หรือแตกต่างจากที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบันก็ได้ ซึ่ง การศึกษาน่าจะลองรับการเสนอของครูและนิสิตทุกๆคน งานการศึกษา จะไม่ใช่แค่หากันในห้องเรียน หรือในสาขาวิชาของเราเพียงเท่านั้น การศึกษาแบบสหวิชา จึงจำเป็นมากขึ้นในอนาคต เช่น วิชาชีวพันธุกรรม อาจต้องนำมาเสริมความคิดในการออกแบบรีสอร์ทก็ได้
สนใจเรื่องปัญหาหรือความรู้ทางระบบนิเวศวิทยา ลองหาทางพูดคุย กับอาจารย์ในภาควิชาอื่น เช่นภูมิสถาปัตยกรรม เช่น อจ. ดร. ดนัย เป็นต้น คุณอาจได้แนวทางศึกษาที่ลุ่มลึกต่อไปได้ โครงการออกแบบ รีสอร์ทเท่าทีผมสัมผัส มักเลียนแบบชุมชนโบราณ ที่เกิดขึ้นเพราะ เทคโนโลยีที่จำกัดในขณะนั้น เป็นรูปแบบ "หมู่บ้านท่ามกลางป่าเขา" ซึ่งมีผลกระทบทางนิเวศน้อยกว่าปัจจุบัน หากเรายังเลียนแบบคนโบราณ กันอีกต่อๆไป เพราะด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่ไม่เหมือนกัน เราอาจเลือกใช้รูปแบบปัจจุบัน ที่สร้างผลกระทบกับธรรมชาติได้น้อย กว่ามาก และก็ไม่จำเป็นต้องคงรูปแบบเดิมๆ
(ยังไม่หมดครับ)
โดย อีกที [24 พ.ย. 2546 , 15:39:52 น.]

ข้อความ 12
ผมเคยตรวจทีสิสโครงการณ์ทำนองนี้ เห็นแล้วก็มีอารมณ์เช่นที่คุณ ตำหนิมานั่นแหละ บางโครงการ ไม่บอกเรื่องแหล่งพลังงานที่จะ ป้อนให้โครงการกันเลย หรือจะหาวิธีสงวนพลังงานกันอย่างไร บางโครงการยึดครองที่สาธารณะ สถาปัตยกรรมกลายเป็น "จรเข้ ขวางคลอง" เลยก็มี สำมะหาอะไรกับการลงลึกในรูปแบบที่แก้ปัญหา เชิงระบบนิเวศวิทยา ซึ่งพวกเราตระหนักและสะสมความรู้กันยังน้อยมาก
เราคงต้อง"ปฏิวัติ" ความคิดกันทุกๆคน เพื่อความรู้ที่ถูกต้องให้มากที่สุด ทั้งจากผู้ปกครอง และประชาชนที่ถูกปกครอง ไม่งั้น คณะศึกษานั้น ชุมชนนั้น หรือประเทศนั้น คงต้องล่มสลายในไม่ช้า โลกในอนาคต มีผู้รู้โม้ว่า ..จะเป็น โลกที่ซื้อขายความรู้เพื่อหารับประทานกัน ถึงจะรวยเร็ว จะเป็นสถาปนิก รวยเร็ว ต้อง "ขาย" ความคิด ที่เป็นความรู้ ตรงกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ปัจจุบัน จึงจะร่ำรวยได้ (ทั้งเงินทั้งบุญ) ...แม้ว่าอาจจะ.. เจ้งหรือขาดทุน กันก่อนในคณะนี้ ....ตอนส่งโปรเจ็ค หรือทีสิส ..นะครับ
จะเอากันอย่างไรดี...ครับ
โดย และก้อ..อีกที จบภาคแรก [24 พ.ย. 2546 , 15:47:14 น.]

รากเง่าคนไทย












คนไทยด้อยกว่าต่างชาติตรงไหน? -------------------------------------------------------------------------------- จากสายตาเด็ก(เคย)นานาชาติอย่างผม บอกได้เลยครับ ว่าต่างกันอย่างเห็นได้ชัดที่ความคิด คนไทยไม่(ค่อยอยาก)รู้จัก ไม่ยอมรับ รากของตน แต่กลับพิศวงกับค่านิยมต่างประเทศ ทั้งญี่ปุ่นหรือแถบตะวันตก ทั้งๆที่ประชาชนในประเทศนั้นเขานับถือรากตนเอง และถือว่าประเทศตนเองนั้นเหนือกว่าใคร คนไทยเราไม่ค่อยมีตรงนี้ อย่างTadao Andoเค้าออกแบบงานแนวใหม่ แต่ก็ไม่ได้ละเลยความเป็นShinto เป็นเซนในงานเค้า เพราะมันทำให้เป็นเขา เป็นชาวญี่ปุ่น เป็นงานที่เขาเท่านั้นออกแบบได้ พอเราๆมาเห็น ก็...ก็อปงานเขามา หารู้เนื้อหาสาระในนั้นไม่ นี่แหละ ที่แตกต่าง... โดย Chiaroscuro aka Gloria [18 มิ.ย. 2547 , 15:15:11 น.] ข้อความ 1 เพราะว่ามันมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องกันซะจิง คนไทยนับถือฝรั่งมากกว่าคนไทยด้วยกันเองนี่มันก็หมักหมมมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ฝรั่งมีแต่ของดีของเจ๋งมาให้(ซื้อ)ตั้งแต่ปีมะโว้ เราก็ยังตะบี้ตะบันซื้ออยู่จนปัจจุบัน ผิดกะญี่ปุ่นที่เค้าเอามาแล้วก็มาศึกษาจิงจัง คิดเอง พัฒนาเอง บางอย่างดีกว่าฝรั่งอีก อันนี้นี่มันก็สืบเนื่องมาจากวิธีคิดและระบบสังคม วัฒนธรรมโดยแท้ คนไทยอยู่สบายในน้ำมีปลาในนามีข้าว อากาศร้อนกินแล้วก็นอนสบายๆ ใครจะมานั่งคิดประดิษฐ์อะไร แต่จิงๆญี่ปุ่นนี่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ไม่เถียงนะที่แบบว่ายังไม่ลืมราก แต่หันมาดูวัยรุ่นญี่ปุ่นสมัยนี้สิ ก็ดูproฝรั่งมากพอควรเลยนะ อย่างสถาปัตย์นี่ก็ต้องพูดกันอีกต่างหากเรยเพราะว่ายิ่งมีปัจจัยเฉพาะfieldนี้อีกมากมาย ที่ทำให้เค้ายังสามารถถ่ายทอดเอกลักษณ์ชาติออกมาได้ โดย กัมสลากัมสลัมกัมสลามานัม [19 มิ.ย. 2547 , 00:00:05 น.] ข้อความ 2 ผมอยากจะเริ่มตรงที่...พระท่านสอนว่า.. คนเรามักชอบมองเห็นแต่คนอื่นๆ ไม่ ชอบมองกลับมาที่ตนเอง..เลยไม่เห็นตัวตน หรืออาจคิดว่าตัวของเราของๆเรา มาดูเมื่อไร ก็ได้..ตอนนี้เอาเป็นดูหรือเลียนแบบคนอื่นก่อน หากไม่เข้าท่าหรือเบื่อดูคนอื่นแล้ว จึงกลับมาดู ตัวเอง ...ยิ่งคนแก่ใกล้ตาย..จะนึกแต่ของๆตัวเอง บางทีรากเน่าๆก็ยังมัวชื่นชมจนตัวตาย..อัตตานี้ แหละเป็นปัจจัยให้เวี่ยนว่ายกันในวัฏฏไม่สิ้นสุด เผลอๆเราก็อาจเคยเป็นเช่นอันโด๊..อันเด๋กันมาแล้ว เพราะพระท่านเคยบอกว่า คนคนหนึ่งมีเวลาการ เวียนเทียนเกิดตายมานับครั้งไม่ไหว เก็บกระดูกของ แต่ละภพชาติมากองรวมกัน สามารถกองได้สูงไม่ แพ้ความสูงเขาพระสุเมร...อีเวอเรส เรื่องของการติดยึดในเชื้อชาติเผ่าพันธ์..ผมว่าเป็น สัญชาตญาณหนึ่งของมนุษย์ หากเชื่อแน่ว่าตัวมีดี ก็คงอวด แต่ถ้าไม่แน่ใจก็อาจอุบไว้ก่อน เลียนแบบ มนุษย์ฝูงอื่นที่ดังกว่า ..เพราะเผลอๆก็อาจได้เดินตาม ฝูงอื่นๆนั้นได้ การเลียนแบบคนอื่น..ผมว่าทำได้ไม่นาน มันคง ไม่ฟิตกับกำพืดตัวเองสักวันใดก็วันหนึ่ง ...แต่อายุ ยังเยาว์ ก็ต้องชอบลอง ลองเล่นของเล่นคนอื่น มัน อาจเป็นการพัฒนาประสบการณ์ได้เหมือนกันนะ ในทางการเมืองกลุ่มคนที่รักกำพืดตัวเอง มักเป็น ชนชั้นปกครอง ไม่อยากให้คนในฝูงแยกฝูงออกไป ชอบคนฝูงอื่น เพราะพวกตนจะเหงา เลยมักหลอกล่อ ออกอุบายต่างๆนานาให้ช่วยกันรักฝูงรักเผ่าพันธ์ เกิดมาคลานได้เชื่องช้าอย่างไร ก็เอาไว้อย่างนั้น โดนสัตว์อื่นคลานเร็วไปแย่งอาหารได้ก่อน ก็ไม่สน ยอมตายเพื่อรักษากำพืด"คลานช้า"ไว้จนตาย สัตว์พันธ์นี้ ปู่ดาร์วินบอกว่ามักสูญพันธ์ในที่สุด เพราะโม้ไว้ยาว...เลยมีต่อ โดย คนชอบโม้ [21 มิ.ย. 2547 , 10:07:23 น.] ข้อความ 3 เรื่องของกำพืดหรือการติดยึดในคุณค่าต่างๆของเผ่าพันธ์ พระท่านเลี่ยงไปว่า...เป็นเรื่องของสมมุติบัญญัติ ตั้งกันคิดกันเชื่อกันมาเอาเอง ความเป็นจริงไม่มี เพราะถ้าคนไทยยึดกำพืดเดิมๆ..ศาสนาพุทธก็คงรุ่งเรือง อยู่ในเมืองไทยขณะนี้ไม่ได้ โลกมันเปลี่ยนแปลงกันทุกวัน เราก็ควรเปลี่ยนมัน ตามไป อะไรยึดไว้ได้ก็ยึดไว้ ที่ไม่ได้ก็ต้องปล่อยวางบ้าง เรื่องรูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นเรื่องปาหี่ เปรียบ กับสินค้าก็เหมือนการสร้างยี่ห้อ ก็ว่ากันไป ไม่อยาก ให้คนในฝูงหมั่นไส้ ก็รักษากำพืดไว้หน่อย มีแบร์นไทยๆ ส่วนแบบไหน เป็นรากแท้รากเทียม รากที่เป็นสากล รากทางปรมัตตธรรม จะรู้หรือไม่ก็ว่ากันอีกเรื่อง ค้นกันจนกว่าจะค้นพบรากแท้ๆ ของทุกๆคนจริง นั่นแหละ โลกก็จะถึงวันเวลาอวสาน...วันสิ้นโลกจริงๆ ก็คงต้องเล่นปาหี่สถาปัตยกรรม.....กันต่อไปเรื่อยๆ ...นะครับ โดย โม้อีก [21 มิ.ย. 2547 , 10:13:11 น.] ข้อความ 4 เมื่อวานเราคุยกันในชั้นเรียนปีห้า วิชาสัมมนา โดยมีอจ.ดร.รชพร ชูช่วย ให้ข้อคิดของอิทธิพลทางความคิดของ ตะวันตกที่มีต่อการศึกษาและออกแบบ สถาปัตยกรรมในบ้านเรา มีประเด็นที่น่าสนใจหนึ่งคือ องค์ความรู้ ที่เกิดจากการบันทึกหรือรวบรวมความรู้ต่างๆ ของชุมชนหรือของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน อัน จะนำไปพัฒนาเป็นวิทยการอื่นๆต่อไปนั้น ทางประเทศตะวันตกเขากระทำเรื่องนี้กันมาก่อน มหาวิทยาลัยแห่งแรกก็เริ่มกันที่นั่น การเรียนรู้ ก็ได้แพร่หลายไปสู่คนทุกระดับของประเทศ ไม่กระจุกกันในแค่ชนชั้นปกครอง ความรู้เมื่อมีการแพร่ขยายก็มีพัฒนาการ วิทยาการต่างๆเกิดขึ้นตามมา วิชาสถาปัตยกรรม ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง และมีความเชื่อมโยงกับ วิชาการสาขาอื่นๆ ประเทศเราหรือในแทบทุกชุมชนทุกประเทศ ก็มีความรู้ต่างๆ(เพื่อการอยู่รอดของชุมชน)ของตน เกิดขึ้นกันทั้งนั้น แต่เผอิญเราไม่เคยคิดสร้างองค์ความรู้เหล่านี้ไว้เพื่อ ประโยขน์แก่คนอื่นๆในชุมชน หรือเพราะไม่มีวิทยาการการบันทึกที่ดีพอ หรือไม่ชอบการบันทึก ความรู้หลายเรื่องก็เลยถูกลืมและสูญหายไป ครั้น พอทางตะวันตกเกิดแหล่งเรียนรู้ ผู้นำของเราก็จึง ตระหนักถึงความสำคัญนี้ มหาวิทยาลัยเลยเกิดขึ้น แต่เราต้องเรียนรู้ในเรื่องที่เป็นองค์ความรู้ของ ชนชาติอื่น เรียนไปเราก็พัฒนาการเป็นวิทยาการ ไปใช้กันอย่างทุลักทุเลกันตลอดมา โดยเฉพาะทาง ด้านสถาปัตยกรรม เพราะเราสร้างหลักการออกแบบ จากรากเง่าความรู้ของตะวันตก พอมารู้ตัวและอยากอวดรากเง่าหรือความรู้ของตนเอง เราก็ไม่รู้เพราะหาความรู้ไม่เจอ เพราะไม่มีองค์ความรู้เรื่องของสถาปัตยกรรมที่ยอมรับทั่วกัน มาก่อน การเรียนรู้เรื่องสถาปัตยกรรมจึงกระจัดกระจาย จับเอาได้เป็นแบบรากแขนงฝอยๆ การปลูกฝัง รากเง่าความรู้พวกนี้ก็ขาดๆเกินๆ จับหลักประเด็น ได้ยาก ความรู้ความเข้าใจและการแพร่หลาย ก็เลย ไม่หยั่งลึกลงในสำนึกของคนในชาติทั้งมวล ไม่ได้ ผลสรุปที่เป็นแก่นสารและการยอมรับได้โดยทั่วกัน ขณะนี้เรากำลังเริ่มย้อนรอยสร้างองค์ความรู้ โดย เฉพาะสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งเรามีกันมาก่อน แต่ ไม่เคยรวบรวมกันไว้เป็นองค์ความรู้เพื่อการแจก แถม หากมีการกระทำเพื่อสร้างองค์ความรู้นี้ต่อไป แม้ว่าจะได้องค์ความรู้จากรากที่จริงบ้างเท็จบ้าง ก็ยังดี และอาจหลงยึดถือเป็นรากเง่าสมมุติของเราได้ต่อไป ..กระมัง..ครับ โดย โม้มาอีก [23 มิ.ย. 2547 , 09:41:44 น.] ข้อความ 5 จู๋เล็กกว่าฝรั่งเยอะค่ะ โดย สาวซิง [10 ต.ค. 2547 , 22:26:07 น.] ข้อความ 6 คงไม่ถึงขนาดแสดงความคิดเห็นฟันธงว่าคนไทยด้อยกว่าตรงไหน และคงไม่ใช่ข้ออ้างอิงอะไรเป็นเรื่องเป็นราวนะคะ เรื่องนึงที่สังเกตมาสักพักใหญ่คือคนไทยโดยทั่วไป จะเป็นคน "ผิวๆ" คือ สนอกสนใจง่าย เข้ามาหาง่าย เฮโน่นเฮนี่ แต่ไม่ยอมลงลึกมาก และอะไรที่ทำท่าว่าจะไม่สนุกจะไม่ค่อยทำ ซึ่งไม่อยากฟันธงว่ามันไม่ดี ข้อดีอาจจะเป็นทำให้คนไทยรับโน่นรับนี่มาได้ง่ายๆ (แต่รับมาแล้วเป็นไงต่อก็อีกเรื่อง) เรื่องที่ อ.รชพร อธิบายเป็นคำตอบที่มีประเด็นในหัวข้อที่น้องสัมนา แล้วก็เป็นเรื่องที่โครตน่าหงุดหงิดใจ ความรู้ ข้อมูล และสมบัติของประเทศตัวเองไม่ค่อยได้ใส่ใจบันทึกศึกษา เผลอๆหลายๆชาติอาจจะมีข้อมูลของเรามากกว่าที่เรามีซะด้วยซ้ำ แล้วก็มานั่งงมหาความเป็นไทยจากตะกร้าที่ไม่ได้เก็บอะไรไว้เป็นชิ้นเป็นอัน เซ็ง จริงๆแล้ว ความที่ในตะกร้ามีแต่ของไม่เป็นเรื่องเป็นราว แล้วก็เต็มไปด้วยของจากคนอื่น นี่หรือเปล่าที่แสดง"ความเป็นไทย"ของแท้ โดย M_M [15 ม.ค. 2548 , 20:32:00 น.]