วันพุธ, มกราคม 21, 2552

ลัทธิบริโภคนิยมคืออะไรครับ


มันตรงข้ามกับความเป็นผู้ผลิตอย่างไร
โดย เด็กrca [17 ต.ค. 2545 , 23:38:14 น.]


ข้อความ 1
คือ นิยมการบริโภค ใครก็ได้ผลิตมาเถอะ เราจะบริโภค
โดย lyo [17 ต.ค. 2545 , 23:53:00 น.]


ข้อความ 2
ผมขอ..คุยมาแบบทันทีฉับพลัน เพราะกำลังอ่าน "นิกายเซน" เขียนโดยท่าน คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านหนังสือธรรมะและได้หัวเราะร่วนได้ ไม่ใช่ของหาได้ง่าย นี่ถ้าได้อ่านก่อน หน้าอ่านงานเขียนปราบดา ก็คงไม่คลั่ง เหมือนคนแก่ติดเด็กอ่อนวัย(ผู้ชาย)
เรื่องเซนอยากให้พวกเราลองอ่านกันบ้างนะ เพราะมันช่วยเรื่องความคิดสร้างสรรค์ในเรื่อง ความคิดในการออกแบบได้มาก ตอนสมัยเป็น นิสัย วุ่นวายกับการสร้างไอเดียที่ไม่อยากให้ อาจารย์ดูถูก เผอิญมีท่านหนึ่งสมเพชผมมาก เลยแนะให้อ่านเรื่องเซน ก็เลยชอบอ่านมาเรื่อย จนพานไปชอบอ่านพระไตรปิฎก ซึ่งเคยเห็นครั้งแรก แล้วตกใจกลัวเหมือนกลัวเห็นผีไม่กล้าอ่าน
หลักการหนึ่งของเซนตอบกระทู้นี้ได้คือ การบริโภคอะไรตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ ท่านให้ยึดทางสายกลางเข้าไว้ มัชฌิมาปฏิปทา ของเซนนั้นตรงกับพุทธเถรวาท ได้แก่ความสำรวม อย่างยิ่ง มิได้หมายความว่า...กินแต่พอดี แต่หมายถึง...กินให้น้อยเข้าไว้ มิได้หมายความว่านอนแต่พอดี แต่หมายความว่า..นอนให้น้อยเข้าไว้ ก็เช่นเดียวกับการผลิตนั่นแหละ
ปุถุชนมักตัดสินว่าอะไร "พอดี" ก็เมื่อบริโภค สิ่งนั้นจนเกินพอแล้ว จึงคิดจะมาลด ดังนั้น อะไรที่เราคิดว่าพอดี จึงมักมากเกินไปทั้งนั้น อะไรที่มากจึงไม่เป็นมัชฉิมาปฏิปทาแน่นอน น้อยเข้าไว้นั่นจึงเป็นการบริโภคที่ดี เลยต้องจบ..เพราะชักมากเกินไปแล้วครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [18 ต.ค. 2545 , 10:45:24 น.]

ข้อความ 3
เอาอีกครับ เอาอีก
โดย เด็กrca [19 ต.ค. 2545 , 19:15:12 น.]

ข้อความ 4
หากทางสายกลางสามารถเข้าถึงได้แบบเดียวกับ การเดินเข้าห้างสรรพสินค้าในเมืองกรุง ชาวบ้านตาใสที่เชื่อใจนักลงทุนคงสามารถ รู้ได้ว่าเขาควรหรือไม่ควรบริโภคสินค้าที่มากมาย นั่นยังไม่รวมการที่ต้องนั่งบริโภคทางสายตา และการเข้าครอบงำสมองผ่านสื่อสารต่าง รวมทั้งที่กำลังนั่งพิมพ์อยู่นี่ด้วย สำหรับผมเอง บริโภคมากน้อยยังไม่สำคัญเท่าเราบริโภคอะไร การบริโภคมากเกินอาจเรียกได้ว่าเรา"เสพ" หากเสพมากเกินไปเราเรียกว่าติด หากติดมากไปเราท่านก็ยึดมั่นถือมั่นว่า เรานั้นขาดสิ่งนั้นสิ่งนี้ไม่ได้อีกแล้ว อันนี้เองน่าจะพิจารณาก่อนบริโภค พระท่านเองยังสอนให้พิจารณาปัจจัยสี่ทุกวัน เพราะท่านเน้นที่จะให้รู้เป้าหมายของการบริโภค มีทั้งพิจารณาก่อนบริโภค หรือหากบริโภคไปแล้วก็ให้กลับมาพิจารณาอีก ทุกอย่างล้วนดำรงอยู่อย่างเป็นปัจจัยที่เกี่ยวพัน ผมจึงว่ามากน้อยไม่สำคัญเท่ากับ เรารู้เท่าทันการบริโภค ขอบพระคุณครับ
โดย lyo [19 ต.ค. 2545 , 21:14:45 น.]

ข้อความ 5
ผมได้ของเล่นที่"ร้าน" เซนมาเยอะ เลยอยากแบ่งให้เล่นกันบ้าง ลองเล่น "คิด" นะ
เมื่อจิตว่างก็ต้องมีจิตวุ่น ซึ่งเป็นการแบ่งแยกที่ไม่ตรงความจริง เพราะในทรรศนะของเซนจิตมันก็เป็นจิต ไม่มีว่างไม่มีวุ่น ยิ่งนึกว่าว่างมันก็ยิ่งวุ่น เพราะฉะนั้น ศัตรูสำคัญตัวนี้ คือจิต ตลอดจนอาการ ของมัน เช่น ความคิด ความเข้าใจ ตลอดจนความยึด ในเหตุผลต่างๆ นั้นจะต้องพิฆาตเสียให้สิ้น โยนทิ้งไปให้หมด
ของเล่นอีกอัน..เป็นดังนี้
ได้ยินพระเซนคุยกับลูกศิษย์ ...ความว่า "กินข้าวหรือยัง" "กินแล้วครับท่าน" ลูกศิษย์ตอบ "งั้นก็ล้างชามเสียด้วยนะ" บอกแล้วพระจีนก็เข้าไปนอน ลูกศิษย์ ก็ไปล้างชาม แล้วก็สำเร็จซาโตริ
เล่นสนุกไหม?..ครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [20 ต.ค. 2545 , 10:02:47 น.]

ข้อความ 6
ถ้าไม่สนุกขอตื้อต่อสำหรับ คำบอกศิษย์ของอาจารย์เซน
ในการได้ซาโตริจากการล้างชามของศิษย์นั้น คือเมื่อกินแต่น้อย ก็จะจนกินหมดเกลี้ยง เลยล้างชามน้อยลง ซาโตริคือขั้นที่ ศิษย์คนนั้นกินจนไม่เหลืออวิขขาไว้ในจิตเอาเลย จานที่เคยใส่ข้าว เต็มด้วยอวิชชา หรืออุปทานขันธ์ เมื่อกินแบบที่สุด คือเกลี้ยง จานก็กลับไปสะอาดเหมือนจานเปล่าที่ไม่เคยใส่ข้าวก่อนเดิม
ท่านเซนหมายถึงอย่างนี้ครับ ส่วนที่จะแผลงไปอีกว่า จิตไม่ใช่จาน เมื่อจานไม่มี ข้าวไม่มี แล้วจะไปนั่งกินอะไร ล้างจานทำไม ..ก็สนุกไปอีกแบบ
สรุปผมใช้หลักการนี้ปฏิบัติในการกินทุกวัน กินอะไรมักกินจนเกลี้ยง เพื่อนมักแซวว่า ขี้เหนียวฉิบ.. กินอะไรไม่เหลือให้สุ..นัขกันเลย ผมไม่ตอบเพราะซาโตริแล้วว่าไอ้หมอที่แดกผม ผมเลี้ยงข้าวมันทุกครั้ง มันไม่เคยออกตังค์เลย แถมยังเคยยืมตังค์มันเลี้ยงข้าวมัน..ผมจึงไม่ฟังไม่โกรธ ถ้าลองฝึกกันแบบนี้ ผมว่าพวกเราจะกินน้อยลง ซึ่งดีกว่ากินพอดี หรือกินมาก....ครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [21 ต.ค. 2545 , 12:06:25 น.]

ข้อความ 7
ขอยัดเยียดของแถมตามหลักการบริโภค ในปัจจุบัน เรื่องการกิน ซึ่งยังเป็นตัวอย่างหนึ่ง ของกระทู้นี้ คือ
การกินแบบองค์รวม ..กินแบบคลุกรวม ทุกสิ่งในชาม(หรือจาน) อย่ากินแบบแยกส่วน เดิมๆ แต่กินเหมือนพระดี ฉันอาหารที่คลุกรวมในบาตร จะได้รสชาดแปลกกว่าที่เคยกินปกติ กระทำ เช่นนี้เรื่อยๆ อีกหน่อยจะเกิดแนวคิดทำอะไร เป็นแบบองค์รวม มองอะไรเป็นสรรพสิ่งที่ เชื่อมโยงกันได้ชัดเจนขึ้น แล้วก็จะพบงานออกแบบอาคาร ที่สัมพันธ์กับที่ตั้ง เลยเถิดไปสู่ความ สัมพันธ์ทั้งจักรวาลโดยรวม ตรงหลักการสำคัญ ที่สุดของ "ยุคหลัง..หรือโพสต์มอร์เดิร์น" แล้วแล้วก็จะถึงซาโตริหลักการเซนที่ว่า กินอะไรก็ จะกินน้อยลงๆ....นะครับ
โดย ขออีกที [22 ต.ค. 2545 , 09:36:21 น.]

ข้อความ 8
เคยเห็นโฆษณาเบียร์ แบบเอะอะก็ฉลอง ดูแล้วไม่จรรโลงเลย อย่างนี้ว่าไงครับ
โดย เด็กrca [10 พ.ย. 2545 , 16:34:15 น.]

ข้อความ 9
เรื่องของโฆษณา ก็เป็นอย่างนี้แหละ ทำมันเว่อกันสุดๆเข้าไว้ ..ยัดเยียดกันจนเลยเถิด เดี๋ยวพอคนดูเบื่อ ก็อาจนึกถึงการให้ข้อมูลที่ดี ถ้าผู้ผลิตมีดีอวดได้ อีกหน่อยก็ขี้เกียจมาโม้ จนเอียนกันสุดๆได้อีก
ผู้บริโภคจึงต้องรู้เท่าทันสิ่งที่เขาโฆษณาให้ได้ ไม่งั้นก็บริโภคกันตามที่เขาโม้กันไปเรื่อย ถ้าคิดบริโภคกันที่จำเป็น ให้น้อยเข้าไว้เรื่อยๆ การโฆษณาแบบไหนก็ไร้ความหมาย ความกังวลใจเราก็น้อยลง จิตสงบและก็เป็นสุข มากขึ้น ..มากขึ้น..แหละครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [17 พ.ย. 2545 , 13:23:32 น.]

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆคับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

น่าเล่นนะคับ