โดย นิสิต นักศึกษา [13 ม.ค. 2546 , 01:11:47 น
ข้อความ 1
ก็รู้มาว่าแปลกันอย่างนั้น ..ความรู้อันยิ่งใหญ่ ที่พวกนักคิดค้นหากันว่าคืออะไร?และเป็นอย่างไร? ท่านพุทธทาส เคยเทศน์ว่ารู้ชีวิต คือความรู้ที่ยิ่งใหญ่ เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดชีวิตที่..สงบ สะอาด และสว่าง แต่ไม่มีใครเชื่อหรือชอบหรือไม่รู้กัน ถ้าอยากรู้..ลองอ่านหนังสือของท่าน "ปรมัตถธรรม สำหรับการดำเนินชีวิต" ผมว่าเป็นอภิปรัชญาที่น่ารู้จริงๆ ตอบมาอย่างนี้ถ้าหยุดเสีย เดี๋ยวคุณก็ลืม ถ้าจะไม่ลืม คุณต้องตามไปอ่านเพื่อเห็น แล้วนำไปปฏิบัติเพื่อเข้าใจ คุณก็จะเป็นผู้เรียนรู้อภิปรัชญาที่สมบูรณ์แบบ..นะครับ ป.ล. ถ้าอ่านพวกอภิปรัชญาพวกฝรั่งไม่เข้าใจ ก็ลอง อ่านที่คุณ สมัคร บุราวาส อธิบายรวบรวมไว้ป็นภาษาไทย แล้วศึกษาอภิปรัชญา(ถ้าจะเรียกตามกัน)ของพุทธศาสนา เช่น "ปฏิจจสมุปบาท" ฯลฯ ไปด้วย ก็จะเข้าใจความรู้นี้ได้ดีขึ้น
โดย เพื่อนอาจารย์ [13 ม.ค. 2546 , 11:00:16 น
ข้อความ 2
Metaphysics หรือ อภิปรัชญา หรือความเหนือกายภาพ เหนือสรรพสิ่ง ซึ่งAristotleเป็นคนแรก(หรืออย่างน้อยก็แรกๆ)ที่เริ่มใช้คำนี้ ถ้าพูดแบบรวมๆ ก็คืออะไรก็ตามที่ไม่สามารถมองเห็น หรือ สัมผัสจับต้องได้ เช่นความรัก ก็น่าจะใช่ แต่ถ้าพูดในระดับปรัชญา ก็เป็นคล้ายการตั้งคำถามแบบตรรกะที่พยายามค้นหารากเหง้าแห่งสิ่งที่เป็นกายภาพทุกอย่าง โดยปฏิเสธสภาพของวัตถุสรรพสิ่งที่เห็นๆอยู่ว่า ไม่ใช่เนื้อแท้ของสิ่งนั้น ก็คล้ายกับคำสอนในพุทธศาสนามากเลยล่ะครับ ที่ปฏิเสธความเป็นกายภาพของสรรพสิ่ง เรื่องอนัตตาและความเป็นอนิจจังของวัตถภาพ จึงเริ่มมีคนให้ความสนใจต่อพุทธปรัชญามากขึ้น ว่าอาจจะเป็นกุญแจสำคัญสู่โลกใหม่ที่เฝ้าค้นหามานาน ถ้าสนใจแนะนำให้อ่านหนังสือแปลอย่างเดียวโลดครับ อ่านหนังสือฝรั่งนี่ซี้ม่องเท่งได้ง่ายๆเลย
โดย จญิมโณเภดัยar38 [18 ม.ค. 2546 , 13:23:09 น.]
ข้อความ 3
ในความคิดของผมอภิปรัชญาเป็นเรื่องที่ไกลตัวของผู้ที่พูดหรือผู้ที่ฟัง ไกลจนกระทั่งยากที่จะอธิบายได้ด้วยวิธีง่าย การแสดงความรู้หรือความหยั่งรู้ของตัวผู้รู้เองบางครั้งผู้ฟังมีกรอบความคิดที่ติดยึดกับความเคยชินจึงยากที่จะอธิบายได้ ผมเข้าใจเองว่าเมื่อนานมาแล้วเราเชื่อตามที่อาจารย์บอกเล่าทั้งสิ้น เพราะเราเชื่อว่าอาจารย์เป็นผูมากในความรอบรู้และเป็นผู้ที่เคยสัมผัสอภิปรัชญาดังกล่าว ใครจะไปรู้ว่าโลกใบนี้มันเป็นทรงกลม ก็โลกมันใหญ่เสียจนเราท่านไม่อาจเห็นภาพทั้งหมดของมันได้ ดังนั้นกรอบคิดเริ่มต้นจึงเชื่อว่า โลกแบนที่เชื่อว่าแบนเพราะเราเห็นเส้นขอบของโลกโดยที่ไม่รู้ว่าอยู่ที่ใด แต่ก็เห็นว่ามีอยู่จริง จนกระทั่งความหยั่งรู้ของกาลิเลโอผู้ช่างสังเกตบอกว่าสัณฐานของโลกไม่ได้แบนหากแต่เป็นทรงกลม ความรู้นี้ได้มาจากการสังเกตล้วนๆ ลองนึกภาพมาคิดได้แล้วว่าโลกไม่แบนแต่มันกลม คุณๆท่านจะตื่นเต้นแค่ไหน ที่ที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือแล้วบอกใครจะเชื่อล่ะครับ นี่คือปัญหาของอภิปรัชญาเช่นกัน ดังนั้นเราจะเห็นนักคิดสมัยใหม่มักกล่าวอ้างเหตุเดิมของความเชื่อที่สาธารณะชนเข้าใจก่อนที่จะบอกหรือแทรกความหยั่งรู้ของตนเข้าไป และผมมักสนทนากับเพื่อนเสมอว่าพุทธศาสนาไม่ใช่ปรัชญาหากเป็นวิถีหรือวัฒนธรรมที่เสนอการเข้าถึงความจริงด้วยการลงมือกระทำไม่ใช่การนึกคิด ในความเข้าใจของผมจึงเชื่อในเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นสิ่งที่เกิดและดำเนินพร้อมทั้งจบลงทุกทุกวินาทีของความคิด
โดย lyo [18 ม.ค. 2546 , 15:35:18 น.]
ข้อความ 4
ผมมีปิติจริงๆ สำหรับทุกความเห็นของพวกเรา ที่นำมาเสนอกันไว้ที่นี่ ..ผมเชื่อว่า นี่คือชุมชนวิชาการ สังคมแห่งกัลยาณมิตร ที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ท่านหวังสำหรับ โรงเรียนและมหาวิทยาลัย ..ซึ่งจะไม่เป็น สถาปัตยกรรมที่เราเห็นในปัจจุบัน มันจะหวลกลับไปสู่มโนกรรม (จิตวิญญาณ) ที่คณุผมเคยกล่าวว่า จิตวิญญาณของโรงเรียน คือ ที่ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งคุยกันใต้ต้นไม้ เพื่อแสวง หาความจริงของชีวิตและสรรพสิ่งทั้งหลายรอบตัว แล้วผมจะมาร่วมเสริมหากได้ความคิดใหม่ ซึ่งอาจเป็นความเท็จที่ต้องไตร่ตรองเหมือนกัน นะครับ ..ต้องรีบไปนอนหนุนตักแม่(ไปเยี่ยม) เช่นเคยครับ..พวกคุณก็อย่าลืมเอาอย่างนะครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [19 ม.ค. 2546 , 11:33:38 น.]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น