วันพุธ, มกราคม 21, 2552

อะไรคือExistentialism

รบกวนเพื่อนอาจารย์ช่วยขยายความทีนะครับ ขอบคุณครับ
โดย lyo [11 ม.ค. 2546 , 09:00:11 น.]

ข้อความ 1
ขอเวลาหน่อยนะครับ...ผม ต้องกลับไประลึก ทบทวน และค้นคว้าดู เคยอ่านหนังสือพวกปรัชญา รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องมามาก พอมาอ่านงานเขียน ของคุณสมัคร บุราวาส เข้าใจอะไร ได้มากขึ้น แล้วจะลอกมาให้อ่าน ระหว่างนี้ ถ้าคุณชอบสะสมหนังสือ ผมว่าแวะไปที่ร้านหนังสือ ลองพลิกดู หนังสือของท่าน ที่เขาเอากลับมาพิมพ์ ขายกันใหม่ คุณจะทึ่งท่านผู้รู้ท่านนี้มาก โดยเฉพาะฉบับรวมเรื่องปรัชญาตะวันตก ล้วนๆ (จำชื่อเต็มไม่ได้) เล่มหนา ราคา ประมาณ ๔๐๐ บาท ได้อ่านแล้วรับรอง รู้เรื่องปรัชญา "สิ่งมีอยู่" ของความคิด ตะวันตกนี้ได้เข้าใจแน่นอน ถ้าเป็นเรื่อง ในพุทธศาสนา ก็คือเรื่อง "อัตตา" ซึ่ง ละเอียดลึกซึ้งไปจนไม่อยากเชื่อกันเลย พูดไว้แค่นี้ก่อนนะ ..ถ้าไปอ่านตามที่ผมแนะนำ แล้วมาสอบถามคุยกัน ผมว่าจะสนุก คือผมก็จะ ได้เรียนรู้จากคุณด้วย..นะครับ เราทั้งหมดก็ จะทะลุมิติการเรียนของกันและกัน ชนิดไม่ธรรมดา เลยทีเดียว ผมขอฝากภาษิตหนึ่งของของการเรียนรู้ทิ้งไว้ดังนี้.. "Tell me, I forget. Show me, I remember. But let me participate, I understand." คุณว่าวิธีการสอนของคณะเราเป็นแบบไหน?
โดย เพื่อนอาจารย์ [11 ม.ค. 2546 , 09:34:50 น.]

ข้อความ 2
เผอิญตรงกับวันหยุด..วันเด็ก เลยขอถือโอกาสวันนี้ เริ่มกันเลยในเรื่องนี้ ...ขอเป็นกุศลธรรมสำหรับวันเด็ก ผมขอยึดถือในข้อเขียนของคุณสมัคร บุราวาศ นะครับ ในหนังสือของท่านเรื่อง "ปัญญา" จุดกำเนิดและ กระบวนการพัฒนาปัญญาของมนุษยชาติ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ศยาม ...เรื่องนี้เป็นหัวเรื่องของบทที่ ๕ "ว่าด้วยความมีอยู่" หรือ Existence พอสรุปเนื้อความ ดังนี้คือ... ความรู้ใดที่เราต้องการ ต้องเป็นความรู้ใน..สิ่งมี ไม่ใช่ความรู้ใน..สิ่งที่ไม่มี พอกล่าวกันถึงตรงนี้ ก็เลยเกิดเรื่องราวว่า ความรู้จากสิ่งมีอยู่นั้นเป็นอย่างไร? จนเกิดวิชาการที่เรียกว่า ภววิทยา (Ontology) สอนกัน เรื่องปรัชญาสิ่งที่มี ...Existentialism นั่นเอง คำว่า ภวะ หรือ ภพ แปลว่า ความมีอยู่ ...Existence สิ่งที่มี (Being) คือสิ่งที่เป็นต้นเหตุแห่งผัสสะ ด้วย ..หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ อะไรที่รับรู้ได้ ด้วยอวัยวะดังกล่าว ถือว่าเป็น สิ่งที่มี นักปรัชญาบางพวกสืบต่อไปเน้นเฉพาะใจ หรือผัสสะที่เกิดภายในของ จิต แย้งว่าสิ่งที่รับรู้ได้นั้น เป็น มโนภาพ หรือความคิด ของจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมา (เช่นในวลี..I think, therefore I am ของเดค๊าทซ์) เกิดแนวคิดปรัชญาในเรื่องนี้คือ Idealism หรือ มโนภาพนิยม เน้นสิ่งที่มี "ภายใน" แยกออกมาจาก ปรัชญาของสิ่งที่มี "ภายนอก" คือ Materialism หรือ พวกสสารนิยม อันหลังเป็นวิทยาศาสตร์ที่เราเรียน กันในสิ่งที่มี ทางกายภาพหรือวัตถุ อันหลังเป็น วิทยาศาสตร์เชิงจิตวิทยา สิ่งที่มีภายในใจของคนเรา (ลองอ่านรายละเอียดในหนังสือของท่าน..นะครับ) สิ่งที่มี ..ของสถาปัตยกรรมรวมไว้ทั้งสองแนวทาง คือ อะไรที่เป็นสสาร หรือ matter และอะไรที่เป็น มโนภาพเกิดในใจ มีวิชาและแนวคิดในการออกแบบ เพื่อให้เป็น "สิ่งที่มี" เกิดขึ้นมากมาย เริ่มกันตั้งแต่ สิ่งที่มี ของวิทรูเวียส ที่คนแปลให้พวกเรารู้ว่า สถาปัตยกรรม คือ สิ่งที่มี ..ที่ต้องมีคุณลักษณะพร้อม ในสามอย่างคือ commodity firmness และ delight เป็นต้น (ควรไปตามอ่านใน "สรรพสาระทางทฤษฎี สถาปัตยกรรมตะวันตก" ของ ดร.ฐานิศวร์ เจริญพงศ์ ในเรื่องนี้ด้วย...นะครับ) ส่วนในธรรมะของพุทธศาสนา ความจริง หรือ สิ่งที่มี จะเป็นเรื่องพิศดารที่เหนือมิติวิชาการของโลก เพราะ จะละเอียดลึกซึ้ง จนคนส่วนมาก ไม่กล้ารู้ อาจกลัวจน หัวหด ก็ได้ เพราะ "สิ่งที่มี" แบ่งระดับการรับรู้ตาม สิติปัญญาของผู้อยากรู้ถึงสามระดับ คือระดับที่เป็นแบบ สมมุติบัญญัติ (ต่ำสุดที่เราเคยชินกัน) ระดับสองที่เป็น แบบสมมุติสัจจะ (เป็นเรื่องทฤษฎีที่ลึกซึ้งขึ้นหรือสัมมาทิฏฐิ) และระดับสูงสุดที่เป็น สิ่งที่มี แบบปรมัตถ์สัจจะ คือเป็น ความจริงสูงสุดที่ลึกซึ้งและสูงกว่า Ultimate Reality หรือ ความแท้จริงอันติมะของพวกนักปรัชญา Existentialism ทั้งหลาย (ต้องลองและมั่นศึกษาพุทธศาสนากัน..นะครับ) (.....ยังมีต่อครับ)
โดย เพื่อนอาจารย์ [11 ม.ค. 2546 , 16:15:30

ข้อความ 3
ลองทดสอบความรู้เรื่องนี้กันดู ..เป็นของกัลยาณมิตรทาง ธรรมของผมนะครับ ..ถ้าสนใจจริงจะแจ้งชื่อและแหล่งที่มา ให้ทราบ ..บันทึกนี้เกี่ยวกับเรื่องนี้จริงๆครับ ต้องอ่านกัน ด้วยสมาธิที่ตั้งมั่น ..แล้วตามไปรู้ในศัพท์ธรรมที่ไม่ได้บอกไว้ เริ่มกันเลยครับ.....(ผมขอใช้ตัวอักษรเน้นทั้งหมดนะครับ) โดยความจริงอันสูงสุด โดยความจริงแท้ๆ แล้ว(Absolute Truth หรือ 'ปรมัตถธรรม') สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้น ไม่มีหรือไม่ใช่อะไรมากไปกว่า ๔ สิ่งต่อไปนี้ คือ (๑) จิต (๒) เจตสิก (๓) รูป (๔) นิพพาน จิตกับเจตสิกนั้นเป็นธรรมชาติที่จะเกิดร่วมกันดับพร้อมกันเป็นแต่ละ ขณะๆ ไป (คือจิตแต่ละดวงที่เกิด-ดับสืบต่อ จะมีเจตสิกเกิดร่วมกัน และดับไปร่วมกันเสมอ) บางครั้งก็จะได้ยินเรียกรวมกันว่าเป็น 'นาม' และนามหรือจิตกับเจตสิกนี้ ก็เป็น 'นามธรรม' รูปเป็นธรรมชาติอีกชนิดหนึ่ง รู้อารมณ์ไม่ได้ และมีสภาพเสื่อมสลายไป แตกดับไปอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกันกับนาม รูปนี้ เป็น 'รูปธรรม' ทั้งจิต-เจตสิก-รูป เป็นธรรม (คือ เป็นสภาพธรรม เป็นสภาวธรรม เป็นธรรมชาติ) ฝ่ายโลกียะ (โลกียธรรม) ฝ่ายการเวียนว่ายตายเกิด ฝ่ายสังสารวัฏ ฝ่ายวัฏฏสงสาร เป็นธรรมฝ่ายทุกข์ ทั้งจิต-เจตสิก-รูป นี้ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป สืบต่อกันไปเรื่อยๆ ตามแต่เหตุปัจจัย (คือ กิเลส-กรรม-วิบาก) (คำว่า 'วิบาก' ก็คือผล คือ ผลของกรรมนั่นเอง ส่วนคำว่า 'กรรม' นั้นแปลว่าการกระทำ กรรมจึงมีทั้งกรรมดี กรรมไม่ดีและกรรมกลางๆ หรือก็คือ กุศลกรรม อกุศลกรรมและอพยากตธรรม) กล่าวคือ เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เกิด จิตกับเจตสิกนั้นๆ หรือรูปนั้นๆ ก็จะเกิด เมื่อหมดเหตุปัจจัย จิตกับเจตสิกนั้นๆ หรือรูปนั้นๆ ก็เสื่อมสลายดับไป แล้วก็จะมีจิตกับเจตสิกและรูปใหม่ๆ เกิดต่อเนื่อง เสมอไป กฏตายตัวของธรรมชาติทั้งปวงในวัฏฏสงสาร สรรพสิ่งสรรพสัตว์ทั้งปวงในวัฏฏสงสารหรือในธรรมชาติฝ่ายโลกียะ หรือในธรรมชาติฝ่ายทุกข์นั้น ล้วนตกอยู่ภายใต้กฏเหล็กแห่งธรรมชาติ กฏเหล็กนี้เป็นกฏธรรมชาติ ตายตัว ดิ้นไม่ได้ และปรากฏอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้คือได้เข้าไปเกิดปัญญารู้แจ้งแทงตลอด ธรรมชาติทั้งปวงอันรวมไปถึงกฏธรรมชาตินี้ด้วยหรือไม่ก็ตาม กฏเหล่านี้ก็ดำเนินอยู่ตลอดเวลาในโลก ในวัฏฏสงสาร ทำหน้าที่ อย่างเที่ยงแท้ที่สุด พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเพียงผู้เข้าไปตรัสรู้ หรือเข้าไปเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงเกี่ยวกับกฏนี้และเกี่ยวกับ ธรรมชาติทั้งปวง ทั้งยังทรงมีเมตตานำมาแสดงเปิดแผ่ให้สรรพสัตว์ ผู้มีปัญญาน้อย บารมีน้อย ไม่สามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้เอง ได้สามารถรู้เห็นประจักษ์ความจริงเหล่า กฏเหล็กเหล่านี้ ได้ด้วย ผ่านทางพระธรรมคำสั่งสอนและแนวทางปฏิบัติเพื่อการเกิดปัญญา สู่การพ้นทุกข์ที่ทรงให้ไว้นั่นเอง กฏธรรมชาตินี้ มีชื่อเรียกที่รู้จักกันทั่วไปว่า พระไตรลักษณ์ หรือ สามัญญลักษณะ คำว่า 'สามัญญลักษณะ' คือ ลักษณะที่มีเสมอกันหมดในธรรมชาติ (ฝ่ายโลก ฝ่ายโลกียะ หรือ ฝ่ายทุกข์) ทั้งปวง พระไตรลักษณ์ หรือ สามัญญลักษณะ มี ๓ ประการ คือ (๑) ไม่เที่ยง 'อนิจจัง' คือ ความเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงทนถาวรอะไร (๒) เป็นทุกข์ 'ทุกขัง' คือ ล้วนคงทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปไม่ได้ ต้องมีอันเสื่อมสลาย ต้องมีอันเปลี่ยนแปลงผันแปรหรือดับไป อย่างแน่แท้ (๓) ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของๆ ใคร 'อนัตตา' กล่าวคือ ธรรมชาติฝ่ายทุกข์ทั้งปวงนั้น ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของใคร ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง ไม่มีใครสามารถบงการ ชี้นิ้วหรือบังคับบัญชาให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้เลย + + + + + + + + + + นี่เป็นแค่อธิบายแย้งปรัชญาของ Existentialism เล็กน้อยเท่านั้น (ลองเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์ควอนทัมปัจจุบันด้วยนะครับ) เป็นไงบ้างครับ...ผมอยากสรุปไว้ว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นที่สุดของวิชาการทั้งหลาย ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ สำหรับชีวิตของมนุษย์ทั้งโลก ...ไม่ใช่แค่ จิตนิยม หรือวัตถุนิยม แต่สัมพันธ์กันเป็นองค์รวมของ ปัญญานิยม ..Wisdomism เมื่อเรามีปัญญาใหญ่ จิตใหญ่ สมองใหญ่ เรื่อง สิ่งที่มี ทางวิชา สถาปัตยกรรม ที่พวกเรากำลังศึกษาจะเป็นเรื่องง่ายที่จะรู้และเข้าใจ เพราะเป็นเรื่องของสิ่งที่มี (ซึ่งมักจะเป็นสิ่งไม่มี) ที่เล็กๆจิ๊บจ้อย ....จริงๆครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [11 ม.ค. 2546 , 16:17:33 น.]

ข้อความ 4
การมีอยู่จริงของความจริงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยตรรกะ ซึ่งเป็นแนวทางของพุทธที่ให้เข้าถึงด้วยความรู้จากภายใน แต่การเข้าถึงความจริงตามตะวันตก มักตั้งสมมุติฐานแล้วใช้วลีหรือสัจพจน์เข้ามาอธิบายการมีอยู่ของความจริง
โดย lyo [15 ม.ค. 2546 , 05:09:17 น.]

ข้อความ 5
ผมได้อ่านหนังสือที่เพื่อนอาจารย์นำเสนอมาแล้วครับ แต่ที่ไม่เข้าใจก็คือแนวทางของลัทธิที่พยายามอธิบายสังคมและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หากเพื่อนอาจารย์มีหนังสือใดแนะนำช่วยชี้แนะด้วยครับ
โดย lyo [18 ม.ค. 2546 , 15:41:50 น.]

ข้อความ 6
ผมดูเหมือนจะเคยอ่านบทความ จุดเปลี่ยนความคิดของยุคสมัยอยู่บ้าง แต่ไม่ค่อยซีเรียดมากนัก ความคิด เลยมักหยิบโย่ง ไม่คอ่ยคงเส้นคงวาเท่าไร มีบทความที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นำมา เสนอในเว็บมาก เกี่ยวกับลัทธิละสังคม เช่น ทฤษฎีวิพากษ์(Critical Theory)ของกลุ่ม นักคิดแฟรงค์เฟริทสคูล ..ลองไปเลือกอ่านดู เข้าตรงของรายชื่อบทความได้ที่..url http://www.geocities.com/midnightuniv/articlepage1.htm ลองเริ่มที่บทความเพื่อเห็นภาพเคร่าๆก่อน แล้วค่อยเจาะไปที่รายละเอียดตามหนังสืออ้างอิง อาจช่วยสร้างกรอบรวมได้กว้างขึ้น การศึกษา อะไรนั้นผมมักใช้คติที่ว่า ..อย่าเชื่อและอย่าปฏิเสธ หรือหลักกาลามสูตรของพระพุทธศาสนานั่นแหละ การรู้จักตั้งคำถามแล้วสืบเสาะหาคำตอบ ถือเป็นลักษณะของนักปรัชญาแล้วนะครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [20 ม.ค. 2546 , 09:00:44 น.]


1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

removal of the voice boxThis bidirectional relationship is not just about turning on or turning off. [url=http://ilfrc.com]puedo comprar viagra sin receta[/url] Before you go outside in wintry weather create your own moisture barrier.ventilation lung scanBenefits of CABG include low rates of event free survival and reintervention free survival It remains the procedure of choice in patients with severe multivessel disease and complex coronary anatomy. [url=http://34drugs.com]viagra[/url] His physicians were concerned that he had suffered a palsy myelomeningocele contusion and subdural hematoma as a result of the accident.In the Italian city of Padua in against the trends of the time Andreas Vesalius produced De Humani Corporis Fabrica   On the Structure  of the Human BodyPhysical examination reveals mild obesity with fat deposition mainly around the trunk and the posterior neck.You will also have tests to check your heart function.. [url=http://accdrug.com]buy cialis[/url] IBSOften the hands are clenched.Clinical featuresHowever survival can vary and occasionally people will survive much longer than months. [url=http://gnplls.com]precio levitra 20 mg farmacia[/url] anesthetic Reduces or eliminates sensation general and local.RONTGENS HAND In Rontgen took several Xray photographs of his wifes hand this one complete with two rings and a pair of compasses.A microuidic platform for systems pathology multiparameter singlecell signaling measurements of clinical brain tumor specimens.The eye views the magnified virtual image formed by the eyepiece. [url=http://addrall.com]alli india[/url] However many will die of other causes first.Most patients can be treated conservatively NSAIDs time physical therapy epi dural injections.