
โดย จญิมโณเภดัย ๒ [28 ธ.ค. 2545 , 02:49:18 น.]
ข้อความ 1
ถ้าคุณ ... เป็นคนเขียนเอง ฉันเชื่อว่า คุณ ... น่าสนใจมากทีเดียว ชอบ ๆๆๆ ... ((บทความ))
โดย ar33 [29 ธ.ค. 2545 , 23:12:51 น.]
ข้อความ 2
ไม่ได้เขียนเองครับ แต่ใช้จิตใจเขียน ใช้จิตใจที่ลอยอยู่บนฟ้า มองหาดาวพราวแพรวแล้วมองน้ำ ฉ่ำลำจิตก่อเกิดกำเนิดฝัน ทันใดนั้นใจก็พลันสรรค์ทัศนะ ละจากแบบแนบดินสอก่อเกิดความ เหวย ชักเพี้ยนซะแล้วววว จบ
โดย จญิมโณเภดัยar38 [30 ธ.ค. 2545 , 22:04:22 น.]
ข้อความ 3
เขียนได้ไพเราะดี ฝึกไว้เรื่อยๆนะครับ ฝึกระบายความคิดโดยการเขียน ดีกว่าไประบายอารมณ์ทางอื่น .. เรื่องปรัชญาของ deconstruction ในแง่ความคิดสองขั้ว ที่ไม่ควรยึดถือ เพราะเป็นเรื่องครือๆกัน ทำนองหนังจีน กำลังภายในที่ กิมย้ง ประพันธ์ไว้ในเรื่อง มังกรหยก ทำให้แยกกันไม่ออกระหว่าง ธรรมะกับอธรรม หรือ เทพกับมาร ผมเองก็ว่า..เป็นความช่างคิดที่เข้าท่า ..แต่ ไม่น่าจะเข้าที ในแง่คำสอนทางพุทธศาสนา ในแง่สมมติ บัญญัติ จะหมายคำไปในแง่ใดก็ได้ เพราะจิตปุถุชนที่ เปื้อนกิเลส ก็ย่อมเห็นในสิ่งที่ต่างไม่ต่างกันนักหรอก แต่ในแง่ปรมัตต์ธรรมนั้น ต่างกันแน่นอน เช่นคนมีกุศลจิต จิตที่ไม่มีอาสวะของกิเลส ย่อมต่างจากคนที่มีอกุศลจิต แน่นอน ความงามในจิตของพระอริยะ ไม่มีวันเป็นเช่นเดียวกันกับความงามในจิตของปุถุชน เพราะมันอยู่กัน คนละมิติกันครับ ประเด็นอยู่ที่เจ้าของปรัชญาดีคอน รู้เรื่องปรมัตต์ธรรมหรือ? ซึ่งในแง่หนึ่งความคิดสองขั้วนั้นก็ไม่น่าจะมี เช่น ทาง ปรมัตต์ธรรมระบุว่า มนุษย์นั้นเหมือนกันทั่ว เพราะ ประกอบด้วยธาตุสี่ คือ ดินน้ำ ลม ไฟ เป็นวัตถุที่มีองค์ ประกอบเหมือนกัน แต่เพราะความเป็นมนุษย์ มันไม่เป็น แค่สังขารธาตุอย่างเดียว ดันมี จิต เป็นตัวสร้างความต่าง มีความปรุงแต่งเป็นเหตุปัจจัย ให้ต้องมีความต่างกัน จึง ต้องแยกแยะขั้วต่างที่ไม่เหมือนกันให้ชัดเจน ไม่งั้น สอนกันให้เกิดปัญญาไม่ได้ ยกเว้นในกรณีของคนที่ บรรลุธรรมชั้นระดับพระอรหันต์ในพุทธศาสนา ที่ได้ ปัญญาสูงสุดแล้ว ความต่างใดๆไม่มีในชั้นปรมัตต์ธรรม แต่ในแง่สังขารหรือกริยาที่ปรากฏก็ยังมีความต่าง เช่น อ้วนหรือผอม สูงหรือต่ำ ฯลฯ แต่ในจิตนั้นไม่มี เพราะ เป็นจิตที่อยู่ในมิติหรือระดับที่หมดอาสวะของกิเลสทั้งสิ้น คนมีจิตในระดับนี้ คงไม่มาเกลือกกลั้วกับ การออกแบบ เล่นโวหารปรัชญา เพื่อเอางาน เอาค่าออกแบบละมัง เพราะฉะนั้น การละเว้นเรื่องความเป็นสองขั้ว จึงเป็นการเรียนรู้ที่ยังไม่ครบ หรือไม่ก็เล่นโวหารเพื่อผลทางธุระกิจ การออกแบบเท่านั้น ..ผมเองทีแรก ก็พยายามดูว่าสถาปนิก แปลงโวหารนี้ในเรื่องรูปธรรมทางสถาปัตยกรรมกันอย่างไร ดูเท่าไรก็ไม่อินสักที อาจเป็นเพราะแก่ชราแล้ว สมองมันแข็งตัว ไม่เชื่อใครง่ายต่อไปอีกแล้ว ตอนอ่านแปลเรื่องดีคอนของนาย Tshumi หรือ นาย Eisenman ก็ไม่เกิด "ซาโตริ" (ฌานหลุดพ้น ของนิกายเซน) สักที ขณะนี้กลับสนใจสถาปัตยกรรมเพื่อความ สงัด สถาปัตยกรรมที่เห็นแล้วพบสมาธิในจิต ทำให้เกิดจิตที่ บริสุทธิ์ผ่องใส ปรัชญาแบบนี้อาจเข้าใจและรู้สึกได้ง่ายหน่อย เพราะอาจเหมาะกับวัยผมที่กำลังต้องการละมัง .. จะเกี่ยวข้องกับความคิดสองขั้วสำหรับ Deconstruction of Love ไหมเนี่ย ...Happy New Year ..ครับ ปีใหม่แล้วเลยค่อนไปทางธรรมะธรรมโม เอามากๆทีเดียว
โดย เพื่อนอาจารย์ [31 ธ.ค. 2545 , 12:25:17 น.]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น