อยากรู้จังครับ หยั้งบ้านน้ำตกของfrank จริงๆถ้าสถาปนิกคือการสร้างสรรค์ และปากเราพร่ำบอกถึงการรักธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อมและมันก็อยู่ในจิตสำนึก ผมว่าปัจจุบันจะมีสักกี่คนที่มองหาแต่siteที่แย่ สภาพแวดล้อมห่วยมีมลพิษ เพื่อสร้างสรรค์ให้มันดีขึ้น ผมว่าอาชีพเราน่าจะทำอย่างงั้นกันมากกว่ามานั่งชมกันว่า งานนี้siteสวยดีว่ะ น่าสร้าง เวลาทำthesis ก็หาsiteที่มันสวยๆกัน ก็ไม่ผิดนะครับ แต่หากสถาปนิกคือการสร้างสรรค์โลกใบนี้ให้มันดีขึ้น น่าจะลองคิดมุมนี้ดูบ้าง อะไรที่เราเห็นว่ามันสวยด้วยธรรมชาติอยู่แล้ว เราไม่น่าจะไปรบกวนมันนะครับ เพราะผมไม่เคยเห็นอาคารไหนที่จะเข้าและกลมกลืนไปกับธรรมชาติอย่างที่สถาปนิกต่างๆว่าไว้สักหลัง แม้แต่บ้านน้ำตกก็ด้วย อาคารสวยครับ แต่ขัดที่ว่ามันไปคร่อมบนน้ำตก อาจานคืดเห็นยังไงครับ
โดย eps [27 ต.ค. 2545 , 01:30:16 น.]
โดย eps [27 ต.ค. 2545 , 01:30:16 น.]
ข้อความ 1
ความมีสำนึกและตั้งใจไว้ เพื่อถนอมรักษา และส่งเสริมธรรมชาติของคุณนั้น..ดีครับ ผมขออนุโมทนาด้วย สำหรับเรื่องที่ตั้งสวยๆนั้น ในอเมริกา คงมีมาก ส่วนใหญ่พวกเศรษฐีจะถือครองไว้ได้ ที่ตั้งนี้อยู่ที่ซึ่งเรียก bear run ในมลรัฐเพนซิลเวเนีย ผมเคยติดรถเพื่อนไปดูกัน สวยจริง มีเกร็ด เล่าว่าสถาปนิก ท่านไรท์ไปอยู่ชื่นชมที่นั่นเป็น นาน แล้วเสก็ตรูปร่างภายนอกบ้านเคร่าๆทันที เหมือนบ้านตัวเองที่อยากฟังเสียงน้ำตกตลอดเวลา ตรงนี้ สถาปนิกเราถึงจะซาบซึ้งเหมือนท่านไรท์ ก็ไม่มีทางทำได้ เพราะมักอยู่ในป่าสงวน คนธรรมดา ถือครองมีไม่ได้ นอกจากนักการเมืองชั่ว ซึ่งก็จะ ไม่ค่อยมีบุญได้สถาปนิกดีๆไปช่วยออกแบบให้ ที่ตั้งของบ้านน้ำตกนั้น เจ้าของคือ kauffmann เจ้าของเป็นเศรษฐีมีธุระกิจห้างสรรพสินค้าใน สมัยนั้น เผอิญลูกชายเป็นศิษย์ท่านไรท์ ศรัทธา อาจารย์มาก เลยแนะนำให้พ่อเลือกสถาปนิกท่านนี้ จึงสร้างงานดีๆไว้ให้พวกเราได้ชื่นชมกัน งานนี้เลย ปรากฏในวงการศึกษาสถาปัตยกรรม ครั้นตัวเองตายไป ก็ยกให้เป็นสมบัติของหลวง ผมเลยได้มีโอกาสไปชม แล้วก็ประทับใจ มาเล่าอวดให้คุณฟังกันได้ ส่วนที่ตั้งที่ห่วยแล้วสถาปนิกสร้างให้ดี ก็มีถมไป ส่วนงานเท่าที่ผมทึ่งคืองานปรับปรุงเมืองนิวยอร์ค ที่มีภูมิสภาปนิกผู้มีสายตายาวไกล คือท่าน olmstead บิดาของวิชาภูมิสถาปัตยกรรม ตอนนั้น เป็นเพียงแค่พนักงานจัดสวนของเทศบาล เมืองนิวยอร์ค แต่มองเห็นภัยอุตสาหกรรมที่ จะทำให้บ้านเมืองทัศน์พินาศได้ ถ้าไม่รับแนวคิด โรแมนติกไว้บ้าง เลยต่อสู้เพื่อกันเนื้อที่ของเมือง ให้เป็นสวนใหญ่โตมหึมาไว้เป็น central park ปัจจุบัน เชิดหน้าชูตาให้กับชาวเมืองจนถึงปัจจุบัน ก่อเกิดความคิดของ garden city ไปทั่วอเมริกา เจ้านายไทยไปเห็นเข้าก็เลยเลียนแบบดีๆของเขา มาสร้างสวนลุมพินีให้ไว้กับกรุงเทพฯ ชาวกทม. เลยได้มีปอดใหญ่ไว้ซึมดูดก๊าซพิษได้พอทำเนา จนถึงปัจจุบัน ส่วนที่ตั้งสวยๆนั้น ก็นับว่าเป็น โชคดีของคนไทย ที่คนถือครองได้ไม่มาก ส่วนมาก บ้านเศรษฐีเลยเป็นที่ตั้งห่วยๆ แถมเจ้าของรสนิยมห่วยด้วย เลยสร้างบ้านแล้วก็ได้ผลห่วย...เท่ไปอีกแบบ เพราะ ไปเน้นบ้านโตคับฟ้า ถือเป็นหน้าตาของความร่ำรวย ของตน แทนที่จะถือเอาธรรมชาติ สถาปนิกก็ไม่แนะนำ เรื่องการเสริมธรรมชาติทดแทนให้ เพราะทำบ้าน โตแล้วจะได้ค่าแบบมาก เลยมักชวนให้บ้าตามเจ้าของ แล้วปล่อยให้ภูมิสถาปนิกออกแบบสวนตกแต่ง แบบกระปิดกระปอย ไอ้ที่จะปลูกหรือหาที่ตั้งที่มี ต้นไม้ใหญ่โตเท่าคนโอบไม่รอบจึงไม่มี จะยุให้ ไปขุดในป่าก็ไม่ได้ หรือได้ ก็ไม่มีเทคโนโลยีแบก มาปลูกได้ ผมเคยเสนอให้จุฬาฯอนุรักษน์ต้นโพธิ์ ก็ไม่เอา ครั้นขู่ว่าถ้าตัดทิ้งไป ผีต้นโพธิ์จะหักคอเอา ก็แค่เชื่อเพียงขอให้ย้ายที่ไปปลูกที่อื่น เลยคงต้น โพธิ์ไว้ได้แค่นี้ ส่วนต้นไม้อื่นโตแค่ลิงโอบ ก็ไม่เอาไว้ ยกให้คนย้ายต้นไม้ไปฉิบ ส่วนไอ้บริเวณเว้นให้ปลูก ต้นไม้ใหญ่ อาจารย์ที่เป็นเจ้าพ่อก็เอาไปจัดสวน หินเสียนิ....เมืองไทยจึงเป็นได้แค่นี้เอง จิตสำนึกของพวกเรา จะสร้างให้เกิดความรักธรรมชาติได้ สิ่งหนึ่งคือหมั่นปลีกตัวเองไปอยู่นอนตามป่าตามเขาบ้าง อาจ ได้ลิ้มรสกลืนความงามธรรมชาติไว้บ้าง แล้วตอนออกแบบ ก็อาจถ่ายออกมาปรากฏในงานได้ เพื่อคนยุคหน้าจะได้จุดธูป บูชาเมื่อสถาปนิกคนนั้นตายไป สำนึกตรงนี้เกิดได้ต้องเริ่ม ที่การมองจิตวิญญาณของมนุษย์เยี่ยงจิตจักรวาลที่มีความ เป็นองค์รวมหรือหนึ่งเดียวกัน อย่าคบกับเจ้าของงาน หรือ พวกนักอุตสาหกรรมโรงงาน ที่มองโลกเป็นเครื่องจักรกล เหมือนเครื่องจักร์ในโรงงานตนที่ซื้อเลี่ยงภาษีมาจากเมือง นอกแล้วพากพูมใจจนไม่เป็นอันกินอันนอน ไม่มีจิตวิญญาณ ของธรรมชาติ อันเป็นดุจมารดาตน (mother nature) คนแบบนี้ ก็อย่าไปคบ อย่าไปส่งเสริมออกแบบให้ อย่าเพียงชอบเศษเงินที่เขา โยนมาให้เพียงเล็กน้อยเป็นค่าแบบ ต้องหัดเป็นสถาปนิกมีจิตใหญ่ จิตแบบจักรวาล คิดใหญ่ คิดใหม่ แล้วทำงานออกแบบเพื่อมวล มนุษย์ชาติทั้งจักรวาล..นีเป็นหลักการวิทยาศาสตร์ใหม่นะครับ คิดกันแบบนี้ ...ใครๆเขาต้องคิดว่าเป็นพวกจิตเพี้ยนไม่สมประกอบ สำหรับปัจจุบัน ..พวกคุณจะทนไหวเหรอ? ..คือเป็นคนจิตใหญ่เขาว่า บ้..บา เป็นคนจิตเล็กเหมือนที่เป็นกันเขาว่า..ดี..ออก ...แล้วจะเอากัน อย่างไรดี....ครับท่าน?
โดย เพื่อนอาจารย์ [28 ต.ค. 2545 , 14:13:03 น.]
ข้อความ 2
แล้วอาจานคิดอย่าวไรกับทีทมีคนกล่าวว่า สถาปัตยกรรมscaleเล็กๆก็พอแล้ว ครับผมเห็นว่าปัจจุบันใน กทม นี่ก็มีตึกร้างมั่ง สร้างทิ้งไว้มั่ง เยอะแยะ ไอ่ที่มีคนเช่าอยู่ก็ใช่ว่าจะเต็มทุกชั้นทุกตึก แต่ทำไมเราเองแท้ๆกลับชอบมานั่งคำนวนกันให้เจ้าทุนนายทุนฟังว่าต้องสร้างสูงๆเท่านี้ๆชั้น ถึงจะคุ้มทุน แล้วยังทาง กทม เองอีก อนุมัติกันเข้าไป อาจานว่ามันเกิดเพราะทางเจ้าของอย่างเดียวหรือเราไม่มีสำนึกด้วยครับ ส่วนตัวแล้วผมเห็นว่างานปัจจุบันถ้าไม่ใช้บ้าน สถาปนิกนิยมออกแบบscaleใหญ่กันมากๆ ใหญ่ที่นี้ไม่ใช่แค่สูงนะครับ บางงานไม่สูงแต่แผ่เต็มที่ดินโดยไม่รู้เหมือนกันว่าที่ทำไปกว้างๆนั้นจะใช้ทำอะไร
โดย eps [29 ต.ค. 2545 , 03:32:05 น.]
ข้อความ 3
ต้องขอเลี่ยงไปที่ความหนาแน่นของกิจกรรม ดีกว่าขนาดอาคารในแง่สูงหรือเตี้ย ถ้าเกิด ความเหมาะสมระหว่างขนาดและกิจกรรม ก็น่าจะเป็นข้อคิดหนึ่ง ที่ว่างภายนอกหรือในแง่ ธรรมชาติคงจำเป็น ยิ่งเมืองร้อนไม่มีภัย ธรรมชาติมากเช่นบ้านเมืองเรา กิจกรรมภายนอก ก็จำเป็นไม่น้อยกว่าภายในอาคาร การพิจาณาขนาดอาคารอีกแง่ก็คือเทคโนโลยี ที่เหมาะกับสถานที่ และแง่การลงทุนที่อาจทำ แบบค่อยเป็นค่อยไป พวกอาคารเตี้ยเลยจำเป็น ในแง่นี้ ผมยังเคยลองคิดกับนิสิตถึงการทำโครง การรีสอร์ทที่อัดห้องพักไว้ในตึกสูง พักกันเหมือน บ้านทาร์ซานลอยฟ้า ยกพื้นสูงลอยเหนือต้นไม้ ธรรมชาติในระดับสายตาก็ยังรักษาสภาพธรรม ชาติเดิมไว้เกือบหมด เทคโนโลยีอาคารสูงช่วง กว้างสุดๆ เดี๋ยวนี้ก็ทำได้ รูปลักษณ์อาคารทำเหมือน ตนไม้ยืนต้นประดิษฐ์ได้ ..นี่มองในการใช้ เทคโนโลยีกันสุดๆแพงๆ ..นะครับ ประเด็นเรื่องนี้อยากให้สถาปนิกฉีกหาแนวคิด ที่แปลกและแตกต่างไว้เรื่อยๆ คิดแบบเสนอแบบ ให้สนุกๆ หยิบยื่นประสบการณ์ใหม่ๆให้ผู้ใช้ด้วย อาจเป็นการฝันเฟื่องบ้าง ก็น่าลองนะครับ จินตนาการสถาปนิกเป็นสิ่งที่สังคมอาจมุ่งหวัง ให้พวกเรามีมากๆก็ได้นะครับ ทั้งๆที่แนวคิด เหล่านี้มันโยงใยกันหลายเรื่อง ก็ต้องลองทักทอ กันด้วยนะครับ ..ตั้งจิตไว้ดีมีกุศลจิต ผมว่า ทำอะไรมันก็ต้องดีเป็นบุญกุศลสำหรับผู้อื่นได้ ผมเชื่ออย่างนี้...คิดเรื่องนี้ก็เหนื่อยทุกที...ครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [29 ต.ค. 2545 , 21:23:41 น.]
ข้อความ 4
site สวยหรือไม่สวย ทำงานยากทั้งคู่นะครับ บางครั้ง site ที่สวยมากๆ สถาปนิกก็จำเป็นต้องมีสายตาแหลมคมในการจับเอาข้อดีที่ยังถูกซ่อนอยู่ออกมาเผยให้เห็น ในขณะที่ site ไม่สวยแต่ทำให้สวย อารมณ์ยากก็คล้ายกัน คือ พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส แต่ที่ง่ายก็คือ nothing to lose ส่วนตัวแล้วทำงานคละเคล้ากันไป ทำให้ได้ลับสมองในภาวะที่สถานการณ์ของsite แตกต่าง ดีที่สุดครับ
โดย ruzzian [1 พ.ย. 2545 , 00:24:52 น
2 ความคิดเห็น:
ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล
ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล
แสดงความคิดเห็น