โดย จอมยุดน้อย.... [11 ก.ย. 2546 , 20:45:18 น.]
ข้อความ 1
มาคุยกันเรื่องความหมาย...ก่อนนะครับ สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย ก่อนอื่น..อยากใช้คำตอบของอจ.ภิญโญที่ว่า...ไม่มี ไม่หรอก ไม่ควรเรียกว่า "ร่วมสมัย" แต่ควรเรียกว่า "กาลเทศะสถาปัตยกรรม" สถาปัตยกรรมที่ถูกกาลเทศะ ที่ไม่เลอะเทอะ ...ส่วนที่เรียกว่าสถาปัตย์ประยุกต์ แล้วก็เรียกตามกันไป ...เป็นความคิดของคนที่เลอะเทอะ (สถาปัตยกรรมไทย) ..ต้องรู้จักกาลเทศะ อันไหนที่เป็น ประโยชน์ใช้สอย อันไหนที่เป็นเรื่องของจิตใจ อันไหน ที่ทำเพื่อการเงิน ก็อีกทางหนึ่ง ไม่ใช่มาปนกัน... อจ. เน้นสถาปัตยกรรมไทยไปในเรื่อง spiritual architecture น่าฟังตรงที่ ..เจดีย์....ถ้าเอาเสาต้นหนึ่งปักไว้สูงแล้วทำหลังคา ไว้นิดหนึ่ง คนก็กราบไหว้ไม่ลง เช่นเดียวกับปั้นพระพุทธรูป เป็นแบบโมเดิร์น คนไทยก็ไม่กราบไหว้...หรือการทำหลังคา โรงรถแล้วใส่ทรงไทยเสริมด้วยช่อฟ้าใบระกา ..ก็จะเป็น สถาปัตยกรรมไทยแบบเลอะเทอะ..เป็นต้น ในความเห็นของผม..ที่รู้เรื่องพรรค์นี้ไม่มาก อยากตอบ เลี่ยงว่า ..อะไรก็ตามที่คิดทำกันในเมืองไทย ก็คือ สถาปัตยกรรมร่วมสมัยในเวลาและเทศะนั้น ก็ต้อง แยกแยะวัตถุประสงค์ที่ต่างกันของคนทำกันเอาเอง ยุคสมัยปัจจุบัน ที่เท็คโนโลยี มีบทบาทสำคัญของ คนส่วนมากปัจจุบัน ...ผมชอบแนวคิดอจ.ดร.สุนทร เรื่องสถาปัตยกรรม ชีวาทิตย์ (ชีวิต+แสงอาทิตย์) ที่ ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ไว้ในหนังสือเล่มเดียวกัน ..คือ แนวคิดสถปัตยกรรม "แบบยั่งยืนสูงสุด" ผมยอมรับว่า เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะขยายความรู้ในทางวิชาการ ที่มากกว่าที่รู้หรือเรียนกันปัจจุบัน เป็นแนวคิดผสมผสาน ของสรรพวิชามารวมกันในการออกแบบสถาปัตยกรรม เป็นสิ่งที่น่ายกย่อง ...ซึ่งคงหลีกเลี่ยงกันไม่ได้ในอนาคต ผมจึงอยากเห็น ..."สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย" ในความ ผสมผสานของผู้รู้ทั้งสองดังกล่าว..มารวมกันแบบบูรณาการ ก็จะทำให้ของคำๆนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น ...ดีกว่าต่างคนๆต่างให้ ความหมายกันจน ...คนฟัง..คนอ่าน..ปวดหัวครับ ผมอ่านมาจาก อาษา 08:46-09:46 ที่ได้รับมาเล่มล่าสุด จอมยุทธน้อย ...ต้องไปหาอ่านนะครับ น่าจะได้ คำตอบที่มากพอ จนกลายเป็น จอมยุทธมาก ได้แน่นอน...ครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [13 ก.ย. 2546 , 15:32:13 น.]
ข้อความ 2
ขอบคุณมากๆครับ
โดย จอมยุดน้อย [13 ก.ย. 2546 , 23:43:50 น.]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น