วันพุธ, มกราคม 21, 2552

อะไรทำให้สถาปนิกต่างจากช่างรับเหมาหรือวิศวกร

อะไรทำให้พวกเราเผ่าสถาปัตย์แตกต่างจากช่างสร้างบ้าน ฦา... อะไรทำให้จิตรกรต่างจากช่างเขียนภาพ อะไรทำให้นักดนตรีต่างจากนักเล่นดนตรี อะไรทำให้วณิพก ต่างจากขอทานยาจก...
โดย จยิมโณเภดัย๒ [7 พ.ย. 2545 , 18:15:58 น.]

ข้อความ 1
น่าเสียดายที่คนไทยอย่างเราๆส่วนมาก ยังหาคำตอบไม่ได้ เหมือนไร้ซึ่งไฟส่องวิถี ไร้ซึ่งจินตนาการอันเขียวขจี หลงกับความเก่งกาจฉลาดเฉลียว เด็กไปแข่งโอลิมปิกเคมีชีวะได้ที่หนึ่งที่สองของโลก แต่ไม่เห็นจะเติบโตผลิดอกออกผลงานที่ยิ่งวใหญ่ใดๆได้เลย และนับวันสังคมก็ยิ่งส่งเสริมความเก่งกาจในการท่องจำ การศึกษาก็ต้องเดินทางเดียวกันกับสังคมไม่อาจสวนกระแสแห่งเดรัจฉานบุคคลได้ ทำให้แม้แต่การเยนการสอนในคณะศิลปะ สถาปัตย์ ไม่แตกต่างจากคณะอักษรและบัญชี
โดย จยิมโนเภดัย [7 พ.ย. 2545 , 18:30:18 น.]

ข้อความ 2
เป็นคำถามที่น่าสนใจมาก แต่เล่าเนื้อเรื่องเหมือน ไม่ได้ตั้งใจที่ถาม ก็แค่เขียนระบายความขับข้องใจ ที่ตนเองมีเท่านั้นเองหรือครับ ผมคิดว่า น่าจะลองถามและตอบกันอย่างจริงจัง เพราะบางทีก็เป็นคำตอบที่ต่อคำถามให้ได้คิด คำถามแรกที่อย่างถามคุณเองก็คือ อะไรทำให้ คุณต่างจากนิสิตทั่วไปล่ะ เพราะถ้าคุณเหมือนพวกเขาคุณคงไม่มาตั้งคำถามนี้
โดย lyo [9 พ.ย. 2545 , 09:25:03 น.]

ข้อความ 3
ผมเองก็อัดอั้นตันใจในบางสิ่งรอบตัวเรา แม้แต่ตัวเองบางทีก็สงสัยในการกระทำที่แล้วมา ที่แม้จะสร้างความปิติแต่ก็มีความกังวลใจคละกันไป นี่แหละเป็นคำถาม..ที่พวกนักปรัชญาเริ่มการเรียน รู้และแสวงหาคำตอบของกันและกัน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ของกัน และกันคือที่มาของของคำว่า "โรงเรียน" จิตวิญาณ แรกเริ่มเดิมทีของโรงเรียนเป็นไปในการแสวงหาความ จริงที่บริสุทธิ์ ไม่แยกศิษย์-อาจารย์ เกิดเป็นวิทยาศาสตร์ ที่มีการรับรองความรู้ความจริงต่างๆต่อมา ในขณะเดียวกัน ก็เกิดความอหังการณ์ในความรู้ที่ตนได้รับ กลาย เป็นพลังอำนาจที่ชี้นำความเชื่อของมนุษย์อื่นได้ ต่างๆนาๆ เป็นไปพร้อมความรู้ที่มี และก็มีการขัดแย้ง โต้เถียง ตรวจสอบ และก็เกิดความรู้ใหม่ ที่แย้ง ความรู้เดิมซึ่งกลายเป็นเรื่องไม่เป็นจริงอีกต่อไปๆ แม้เดี๋ยวนี้ก็ยังคงสงสัยในความรู้ที่มีอยู่เชื่ออยู่ และก็เพียรค้นหาเรียนรู้กันต่อเนื่องไปเรื่อยๆ นี่แหละเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มีตัวรู้คือจิต ที่โตใหญ่หรือต่างกว่าสัตว์ ..ถ้าสนใจเรื่อง ทำนองนี้ลองอ่าน ..ปริศนาจักรวาล เขียนโดย คุณหมอประสาน ต่างใจ (มีในห้องสมุดเรา ครับ) อาจช่วยขยายทัศนะการเรียนรู้ของพวกเรา ได้บ้าง ..เมื่อเข้าใจอะไรที่คนอื่นรู้ บางทีทัศนะ เดิมของเราก็อาจเปลี่ยนหรือขยายความเข้าใจ ได้มากขึ้น ความอึดอัดใจและสงสัย ก็จะได้ บรรเทาลงบ้าง เรื่องที่ตั้งกระทู้มานั้น ..เดิมทีก็ไม่ได้แบ่งแยก กันเป็นสายงานสายอาชีพนักหรอก มาเปลี่ยน เอาเมื่อเราเชื่อกันในระบบเศรษฐกิจ ที่พัฒนา มาจากการกสิกรรม เลี้ยงสัตว์ เพื่อความจำเป็น พื้นฐานของมนุษย์ แล้วขยายกันเรื่อยๆจนเป็น ระบบอุสาหกรรม และขยายเป็นระบบทุนนิยม ระบบดิวิชั่นออฟเลเบอร์ก็ตามมา เช่นกับระบบการ คิดแบบกลไกของเครื่งจักรกล อาชีพจึงถูกแบ่ง เป็นเหมือนฟันเฟืองของเครื่องจักร์ ระบบเช่นนี้ มีผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม-การเมือง มากมาย เช่นเกิดระบบการเมืองคอมมิวนิสต์เป็นต้น ปัจจุบันความรู้เก่าเช่นนี้กำลังถูกท้าทาย และเริ่ม พบว่าไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นจริง เพราะเกิดวิกฤติโลก ไปทั่ว โดยเฉพาะเรื่องธรรมชาติแวดล้อม และ แม้แต่ภัยโดยตรงของสุขภาพและการดำรงชีวิต ของมนุษย์เอง มีผู้แสวงหาทางรอดจากปัญหา อยู่มากเหมือนกัน เช่นพวกนิวเอจ ..สนใจลอง อ่าน วิถีมนุษย์ศตวรรษที่ ๒๑ เขียนโดยหมอ ประเวส วะสี มีใน้หองสมุดครับ ..ทนฟังคนแก่ บ้างก็ไม่เสียหายอะไร เพราะเราเองเมื่อแก่ตัวลงก็ จะกังวลใจและห่วงลูกหลานในปัญหาเหล่านี้ เช่นกัน ..เพราะยังสนใจรักและเสียดายโลกอยู่อีก นั่นแหละ การแบ่งแยกอาชีพ มันก็คงดำเนินต่อไป จะให้หวล กลับไปเป็นแบบเดิมไม่ได้ จะเปลี่ยนก็ตรงที่เราจะเรียนรู้ ในแบบวิชาสหสัมพันธ์มากขึ้น เราอาจออกแบบบ้าน ได้เองโดยไม่ต้องเรียนสถาปัตย์ เช่นเลือก "patterns" แล้วประกอบกันเป็นแบบที่ต้องการ ด้วยอุตสาหกรรม บ้านแบบ knock down (เหมือนเครื่องเรือน) เราก็ก่อสร้าง บ้านได้เอง นี่เป็นแนวคิดของสถาปนิกช่างคิด และนัก อุตสาหกรรมช่างฝัน มันดูเหมือนกับแนวคิดการสร้างเรือน ไทยแบบโบราณ แต่มันคนละรูปแบบของความคิดที่ ต่างกันในยุคสมัย..เรื่องอื่นๆที่แบ่งแยกกันอุตหลุด ก็ อาจพัฒนาการไปในทำนองเดียวกัน ...นะครับ อีกทั้ง..ผมยังเชื่อต่อไปว่านักวิชาการหรือสถาปนิกที่ดี จะเป็น พวกพหูสูตร หรือ renaissance man มากขึ้น เช่นเราจะ เรียนรู้ออกแบบโรงพยาบาล แรกเริ่มเราต้องเรียนรู้ให้เข้าใจเรื่อง กระบวนทัศน์สุขภาพใหม่ รู้วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยกระบวนชีวิต ที่แตกต่างจากเดิม เพราะการรักษาสุขภาพแบบแยกส่วนหรือ กลไกแบบเดิมนั้นเริ่มไม่เป็นจริงที่สมบูรณ์ ถ้าเราออกแบบ โรงพยาบาลตามกระบวนทัศน์เดิม เราก็จะออกแบบแก้ปัญหา จากโจทย์ที่ผิดก็ได้ สถาปนิกจึงต้องทบทวนโปรแกรม หรือกำหนด โปรแกรมเองด้วย ดังที่สถาปนิกดีคอนฯทั้งหลายติงไว้ในเรื่องนี้ จะเชื่อคำบอกเล่าของลูกค้าหรือหมออย่างเดียวแบบเดิมๆ ไม่ได้ (ความหมายของ renaisance man ..หาอ่านในเว็บบทความ ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

..http://www.geocities.com/midnightuniv/articlepage1.htm) สถาปนิกจึงต้องมีความรู้ในเชิงวิชาสหสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่ ทฤษฎีสถาปัตยกรรมอย่างเดียวโดดๆ ไม่งั้นความคิด ก็จะไม่ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีกันทุกวัน นี่เป็นวิทยาศาสตร์แควนตัมฟิสิกส์ ..ทฤษฎีอนิจจังของ สรรพสิ่ง ที่มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตรงตามสัจจธรรมพุทธ ที่กล่าวถึง อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา แต่ถ้าเราพะวงกับการทำจิตเราให้เที่ยง ให้หยุดไว้ เราก็จะกลุ้ม และกระวนกระวายใจ เพราะมันไม่เป็นธรรมชาติ ไปกดต้าน การเปลี่ยนแปลงของมัน ..นะครับ ก็ตอบเชิงพรรณาโวหารกลับไป ..ได้เรื่องหรือเปล่าไม่ทราบครับ ป.ล. ผมเองก็รำคาญ เรื่องสถาปนิกภายนอก สถาปนิกภายใน สถาปนิกจัดสวน สถาปนิกถ้วยชาม สถาปนิกโฆษณา ฯลฯ แต่ก็ต้องระงับใจ เพราะโลกมันเป็นของมันอย่างนี้แหละ เป็นเรื่องของสมมติบัญญัติ ของเรื่องโลกๆ ไม่ใช่ปรมัตตธรรม เช่น เราเองก็ดันมีชื่อคนละชื่อ มีเมียคนละเมีย มีแฟนคนละแฟน มีจิตกันคนละจิต แต่ถ้าเผอิญเราเปลี่ยนทัศนะคติใหม่เสียว่า แม้เป็นจิตที่ต่างกัน แต่ก็มีความโยงใยเป็นองค์รวมของจิต จักรวาลเดียวกันทั้งหมด บางที่เราอาจเข้าใจความต่าง ที่เป็นความเหมือน หรือความต่างที่เข้ากันได้แบบ synectic ก็น่าจะดี ....นะครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [9 พ.ย. 2545 , 16:14:01 น.]

ข้อความ 4
สิ่งที่ทำให้ผมรำคญใจ คือความคิดยึดติดกับกายสรรพสิ่ง ของคนในสังคม ตั้งแต่คนที่สูงขึ้นไปจนถึงเพื่อนๆนิสิตด้วยกัน ไม่ใช่ผมทำใจใฝ่แง่ลบ หรือขบคิดสิ่งที่ดำมืด แต่มันรู้สึกไปเอง เป็นความรู้สึกจากidภายในของผม ไม่ได้ต้องการที่จะสวนกระแสใดๆเลย แต่บางทีก็เหนื่อยล้า มาคณะบางครารู้สึกเป็นแค่เซลแมนที่วาดรูปได้ ซึ่งอาจารย์บางคนก็ตอกย้ำให้ชัดเจนขึ้น เห็นชีวิตสถาปนิกบางคน อย่างMurcutt ก็พอจะเป็นกำลังใจให้ใฝ่จะร่ำเรียนต่อไปในสายทางนี้ ทุกวันนี้ เห็นเพื่อนๆมาคณะ ทำแบบ กันข้าว ทำแบบ ส่งแบบ กลับบ้าน ทำแบบ.. แลวเศร้า บางคนแม้แต่แกลเลอรี่จุฬาที่อยู่เพียงอีกฟากคณะก็ยังไม่เคยไปเหยียบย่าง แม้แต่ห้องสมุดก็เข้าเพียงเพื่อหาข้อมูลมาทำแบบ ไม่มีโอกาส และไม่มีเงลาจะชื่มชมความสวยงามของสรรพสิ่งนอกจากลายเส้นหมึกบนกระดาษไขอันไร้ซึ่งชีวิต จบไปก็ออกแบบสร้างงานอันไร้ซึ่งชีวิตออกมา เพราะตลอดเวลาที่เร่าเรียนอยู่แต่กับโต๊ะเขียนแบบ เพลงเดดเมทัล และหนังสือการ์ตูน ก็บ่นไปงั้นแหละครับ อาจารย์อย่าได้ถือสา เพื่อนๆอย่าได้โกรธา ผมก็แค่ชอบบ่นไปเรื่อย เผื่อจะเจออะไรใหม่ๆในโลกกายภาพดาษๆใบมีบ้าง
โดย จญิมโณเภดัย [16 พ.ย. 2545 , 20:25:22 น.]

ข้อความ 5
ผมเตือนตัวเองและลูกเสมอว่า มาตรฐานของเราบางทีก็ไม่ใช่ของสำหรับคนอื่น เขาเองก็มีมาตรฐานความคิดและความรู้สึกของเขา เราไปประมาทของกันและกันไม่ได้ สักวันหนึ่งเมื่อต้องมีการเปลี่ยนแปลง มาตรฐานใดๆที่ไม่จริงก็อยู่ไม่ได้ต้องปรับตามกัน ถ้าของๆเราเป็นไปเพื่อความจริงความเจริญ ก็จะมีผู้อื่นพัฒนามาตรฐานต่ออย่างของเราได้ มนุษย์ทุกคนต้องการแสวงหาความจริงและ ความหมายของชีวิต บางวัยเช่นวัยรุ่น ก็ต้องทำตามโอกาสที่มีที่ประสบอยู่ขณะนั้น ต่อไปก็อาจแสวงหาอะไรต่อมิอะไรเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณค่าของชีวิตของตนเองต่อไป บางคนพบมโนทัศน์ที่ถูกต้อง ชีวิตก็ดำเนินไป อย่างมีคุณค่า บางคนหาไม่เจอก็ลองผิดลองถูกกันต่อไป การสำรวมจิตของเราเองบางครั้งมีความจำเป็นและ ต้องนับถือความคิดและการกระทำของคนอื่นๆด้วย ถ้าเผอิญเรายังไม่แน่ใจ หรือคนอื่นเขายังไม่พร้อม ค่อยๆสำรวจค้นหาเหตุปัจจัยในการเกิดของสรรพสิ่ง รอบตัวเราหรือแม้แต่ตัวเราเองไว้เสมอ ก็อาจทำให้ เกิดความเข้าใจในสิ่งนั้น ..ทางพระท่านเรียกว่า อิทัปปจจยตา...ความเป็นเช่นนั้นเอง...ครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [17 พ.ย. 2545 , 12:12:54 น.]

ไม่มีความคิดเห็น: