วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 02, 2552

การฝึกฝน "จินตนาการ"

เรียบเรียงบางส่วนจาก...The Mind's Eye โดย Robert Sommer ในเรื่อง Visualization Training
เพราะ จินตนาการ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับจินตภาพ คือการสร้างภาพในสมอง หรือนึกคิดเป็นภาพ จึงเกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์อย่างเลี่ยงไม่ได้ ถือเป็นทักษะเบื้องต้นของความคิดสร้างสรรค์ก็น่าจะได้

ส่วนมากการฝึกหัดการพัฒนาการจินตนาการ เน้นความคิดสร้างสรรค์ด้วยถ้อยคำ เป็นการคิดที่ผิดแผกไป เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนทิศทางมากกว่ากรรมวิธีคิด หนังสือแบบฝึกหัดจึงเป็นลักษณะถ้อยคำเป็นส่วนมาก หารูปภาพประกอบปรากฏน้อยมาก จนบางทีกลายเป็นการฝึกการแก้ปริศนาและเล่นเกมอิจฉริยะ ทั้งหมดเป็นเรื่องถ้อยคำโวหารทั้งสิ้น ส่วนมากเป็นการให้แสดงการเปรียบเทียบหรือเปรียบเปรยของสิ่งหนึ่งไปกับสิ่งอื่น เช่น ความโง่ดุจดัง….. ความอ่อนนุ่มเหมือน………ความรวดเร็วปาน……..เป็นต้น หรือไม่ก็ขยายคุณสมบัติของสิ่งหนึ่งที่มีประโยชน์เฉพาะไปสู่ประโยชน์อื่นที่เป็นไปได้ เช่น กำหนดประโยชน์อื่นของหมวก ของเครื่องเหลาดินสอ หรือของอิฐก่อสร้าง เป็นต้น งานค้นคว้าวิจัยจึงสะท้อนเรื่องของสัญญาหมายรู้ (cognition) มากกว่าการรับรู้ (perception) มีส่วนน้อยที่มุ่งเน้นโดยตรงเรื่องการฝึกฝนจินตภาพในความคิด


ข้อมูลการรับรู้รับทราบเชิงประจักษ์เกิดขึ้นจากสิ่งชี้นำ (visual cues) หรือลางสังหรณ์ เหมือนสิ่งเตือนจำในถ้อยคำโวหาร สิ่งเตือนจำหรือบ่งชี้ นำไปสู่ภาพรวมทั้งหมด มักเกิดจากการลดส่วน หรือเป็นส่วนปลีกย่อยที่มีความสำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง อันอ้างถึงภาพรวมได้ภายหลัง นักจิตวิทยา Francis Galton อธิบายคุณค่าของสิ่งชี้นำนี้ เปรียบเหมือนสิ่งของภายในบ้านที่คุ้นเคย สามารถนึกภาพหรือรับรู้ได้จากการมองเห็นบ้านจากภายนอกได้ดีกว่าไม่ได้มองเห็นบ้านนั้นเลย นักเล่นหมากรุกเห็นประโยชน์จากการมองกระดานเปล่า เมื่อเขาเล่นเกมนั้นในใจ มันช่วยให้ง่ายในการนึกภาพว่าจะเดินหมากอย่างไร ดีกว่าไม่เห็นกระดานนั้นเสียเลย นักกอล์ฟก็เช่นกันเขามักวาดภาพในใจของผลการตีครั้งต่อไปไว้ล่วงหน้าเสมอก่อนการตีในทุกๆครั้ง บ่อยครั้งที่นักเรียนนำตำราหรือโน๊ตการเรียนเข้าห้องสอบ ไม่ใช่เพราะเพื่อการลอกคำตอบ แต่หากเพื่อการช่วยในการคิดค้นสร้างสรรคำตอบ หรือให้เกิดการระลึกได้ขึ้นมาต่างหาก การได้เห็นสิ่งที่คุ้นเคย เช่นปกหนังสือ หรือสิ่งขีดเขียนในสมุดโน๊ต ช่วยให้มองเห็นภาพถ้อยคำของเนื้อหาในสิ่งนั้นๆได้ในใจ


เหตุผลหนึ่งที่ไม่มีตำราเขียนถึงการฝึกฝนการสร้างจินตภาพ เป็นเพราะผู้มีทักษะหรือนักสร้างภาพในใจ ไม่ชอบเขียนหนังสือที่เป็นแบบสากลนิยมกัน ตามรูปแบบที่เป็นอยู่ ไม่ชอบเขียนประโยคต่อประโยค ย่อหน้าต่อย่อหน้า หรือบทต่อบท เป็นต้น อีกทั้งการเขียนหนังสือเปรียบเหมือนการใช้พลั่วแซะดินจนเป็นร่องหรืออดทนเหยียบย่ำอยู่ในโคลนได้เป็นเดือนเป็นปี คนที่ต้องการทำเช่นนี้ก็ต่อเมื่อเขาหรือเธอฝันตัวเองลอยอยู่สูงกว่าพื้นดินด้วยปีกที่นึกขึ้นเอาเอง นี่ก็อาจเป็นอีกเหตุผลที่ทำไมจึงมีงานเขียนการคิดเชิงประจักษ์ทั้งด้วยการเห็นและการได้ยินมีน้อยมาก อีกทั้งหนังสือหลายเล่มที่เขียนเกี่ยวกับจินตภาพ มักเขียนโดยผู้ที่ไม่มีทักษะทางจินตภาพมากจึงไม่เป็นที่น่าสนใจนัก


หนังสือคู่มือสำหรับการฝึกฝนจินตภาพที่ดีเลิศเล่มหนึ่ง จัดทำโดย Kristina Hooper แห่ง England’s Open University เป็นโครงการจัดการเรียนการสอนทางไปรษณีย์ แพร่หลายทั่วประเทศ ใช้สื่อวิทยุ ทีวี และผู้สอนแบบชั่วคราว คอยให้เกรดข้อเขียนและจัดทำโครงการชื่อ ศิลปะและสภาพแวดล้อม (Art and Environment) เป็นการสอนร่วมกันในหลายสาขาวิชา ในส่วนของโครงการนี้ หน่วยที่ ๕ เป็นเรื่อง จินตภาพและการนึกคิดเป็นภาพ (Imaging and Visual thinking) หนังสือคู่มือนี้มีสาระที่เกี่ยวข้องกับส่วนนี้ในเรื่องแบบฝึกหัดและการปรับปรุงจินตภาพที่น่าสนใจยิ่ง เกี่ยวข้องกับการกระตุ้น ฝึกหัด การสร้างภาพ (หลับตามองเห็น) ฝึกฝนการปรับปรุงการรับรู้ที่ชัดแจ้งในทุกความรู้สึกสัมผัสได้ ผ่านการเขียนภาพเคร่าวๆ การถ่ายรูปวัตถุในมุมมองที่แตกต่างกัน การสัมผัสวัตถุ ให้อารมณ์และการรับรู้กับสิ่งที่ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้สึก ฝึกฝนขบวนการสร้างหรือประกอบสิ่งของใหม่ เช่น ฝึกเย็บเสื้อผ้า หรือทำชั้นวางหนังสือ ตลอดจนสุดท้ายสัมภาษณ์คนอื่นเกี่ยวกับจินตภาพของเขา แม้ว่าหนังสือคู่มือนี้เน้นความมีขั้นมีตอนที่สำคัญๆด้วยถ้อยคำโวหาร แต่เพิ่มการหลอมรวมสาระเข้าด้วยกันโดยใช้ภาพถ่าย ภาพเขียน และบันทึกเขียนด้วยมือ ซึ่งมากมายเท่าที่สามารถทำเป็นภาพได้ในทุกบทเรียน



๑. ฝึกฝนความรู้สึกสัมผัส

๒. ฝึกฝนการมองวาดและเปรียบเทียบ
๓. บุคคลแตกต่างทักษะกัน



Grace Petitclerc ได้จัดทำคู่มือการสอนวิธีหนึ่ง คือถามเด็กๆว่ามันคืออะไรด้วยการสัมผัสโดยมองไม่เห็นสิ่งนั้น แต่อาศัยความรู้สึกและนึกภาพของสิ่งนั้น Richard de Mille ใช้เกมของเด็กๆที่เกี่ยวข้องกับการคิดฝัน เช่นเกม “ให้เด็กจินตนาการว่า เด็กคนหนึ่งกำลังยืนอยู่ที่มุมห้องนี้….ให้หมวกอันหนึ่งแก่เขา..แล้วถามว่าสีอะไรที่หมวกนั้นควรเป็น แล้วให้เสื้อคลุมแก่เขาอีก…ถามอีกว่าสีอะไรที่เสื้อนั้นควรเป็น แล้วให้เปลี่ยนสีของหมวก สีอะไรที่เขาเปลี่ยนมัน แล้วให้เปลี่ยนสีอีก เป็นสีอะไรในคราวนี้ “ ผลต้องการให้เด็กเสริมสร้างจินตนาการให้มากขึ้นๆเท่านั้นเอง


หนึ่งในจำนวนเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ดีที่สุด คือ งานเขียนของ Robert McKim ซึ่งสอนวิชาการนึกคิดเป็นภาพอย่างรวดเร็ว ที่มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดภาควิชาวิศวกรรม เพื่อพัฒนาการเขียนภาพสามมิติและแก้ปัญหาโดยจินตภาพ การทดลองหลายอย่างแสดงการเพิ่มศักยภาพด้านจินตภาพกับบุคคลที่อ่อนด้วยสิ่งนี้มาก่อน McKim แนะเทคนิคที่เน้นวิธีผ่อนคลายต่างๆ เช่น การฝึกการหายใจ การทำสมาธิ การแนะนำเป็นพิเศษและการสะกดจิตในบางโอกาศ ผู้เขียนอื่นบางคนเสนอแนะเพิ่มไปอีกว่า คนที่ขยันและกระตือรือร้นตลอดเวลามักเป็นผู้มีทักษะทางจินตภาพต่ำ ทำงานเหมือนเครื่องจักร์เลยไม่มีเวลาสำหรับการผ่อนคลายและพักผ่อนจริงจังกับการสร้างจินตภาพให้เกิดขึ้นได้ นี่เป็นบันทึกที่น่าสนใจ แต่มีผลการพิสูจน์ยังน้อย สถาปนิกส่วนมากมักเป็นพวกฟุ้งซ่านมีทักษะทางจินภาพค่อนข้างสูง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการฝึกฝนการปฏิบัติโครงการออกแบบเสมอๆ บางครั้งใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๑๖ ชั่วโมงต่อวัน และไม่ได้หมายความว่าพวกสถาปนิกหรือศิลปินจะเป็นพวกที่คบหาได้ง่ายและผ่อนคลายเสมอนัก ทั้งๆที่บันทึกดังกล่าวเน้นการผ่อนคลายเป็นสำคัญต่อการเพิ่มจินตภาพในขณะที่ความเครียดเป็นการกีดกั้น ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับบุคคลิภาพส่วนบุคคลที่มีสภาพแตกต่างกันทางอารมณ์ได้ ยากที่กำหนดได้เด็ดขาดชัดเจนนัก ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่านักออกแบบส่วนมาก สามารถปรับเปลี่ยนความสามารถระหว่างความฟุ้งซ่านกับกิจกรรมที่กระทำอยู่โดยตรงเฉพาะหน้า และเอาใจใส่กับการผ่อนคลายตามสถานการณ์ที่เหมาะสม



วิธีการฝึกฝนการนึกคิดเป็นภาพ McKim เน้นสอนที่ขบวนการสามอย่างที่เกี่ยวข้องกันคือ การดู จินตนาการ และการเขียนวาดภาพ คนส่วนมากมองทุกสิ่งไม่ชัดเจนและแจ่มชัดเสมอไป บางส่วนขาดหายไปหรือเบลอไปด้วย McKim ใช้การแก้ปริศนา (puzzles) และเกมต่างๆในการพัฒนาการจดจำเป็นภาพ เช่น นำเสนอไพ่ห้าสำรับ หนึ่งในห้าเป็นสำรับที่ถูกต้องแต่มี่เหลือผิดจากสำหรับไพ่ปกติที่ใช้กัน คำตอบต้องการการดูที่เพ่งพินิจและสังเกตุเห็นภาพสะท้อนผิดที่กลับกัน เช่นไพ่รูปหัวใจที่กลับหัวกลับหางกัน หรือหมายเลขเบอร์ไพ่ของ ๑๐ ที่เขียนใหม่เป็น ๐๑ หรือบางครั้งให้ผู้เรียนปิดตาบอกชนิดจากเนื้อผ้าหรือชนิดของเครื่งเทศต่างๆ เป้าหมายเพื่อฝึกฝนการเอาใจใส่ในสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงนั้นเอง


ส่วนที่สองในการฝึกฝนทักษะทางจินตภาพของ McKim คือให้นักเรียนปิดตาบอกสีของกล่องไม้จตุรัส โดยแรกมีด้านทาสีแดงหมด แล้วจึงตัดแบ่งออกเป็นกล่องย่อยๆเป็นคู่ขนานจนแบ่งออกเป็นกล่องเล็กๆ ๒๗ กล่อง ผู้เรียนต้องจินตนาการให้ได้ว่ามีกล่องที่สามด้านเป็นสีแดงกี่กล่อง หรือที่มีสีแดงสองด้านกี่กล่อง ที่มีสีแดงด้านเดียวกี่กล่อง และกี่กล่องที่มีด้านไม่มีสีเลย เป็นต้น McKim ยังใช้สิ่งทดสอบที่ออกแบบเป็นสองมิติ แต่สามารถพับเป็นภาพสามมิติได้ (ดูภาพ) ผู้เรียนดูแล้วต้องนึกภาพการพับในใจเพื่อกำหนดรูปสามมิติที่เกิดขึ้นมากรูป เป็นคำตอบว่าเป็นรูปอะไรบ้าง ส่วนที่ยากของการเรียนนี้ คือ การนึกหมุนภาพในใจในหลายรูปแต่ละครั้ง หมุนมากน้อยในทิศทางที่ต่างๆกันอีกด้วย


ส่วนประกอบของแบบฝึกหัดการสร้างภาพสามมิติของ McKim
ในส่วนทดสอบที่สามเกี่ยวข้องกับการร่างภาพ (sketch) เป็นวิธีการคิดเชิงโครงร่าง (schematic) ซึ่ง McKim เรียกว่า การพูดเชิงกราพฟิค นักเรียนเริ่มโดยการเขียนภาพขยุกขยิกอย่างอิสระ (doodling) แล้วค่อยๆจัดแจงภาพนั้นให้เป็นเรื่องราวขึ้น แล้วทำให้เป็นภาพที่ชัดเจน ในที่สุดเขียนออกมาเป็นภาพจากจินตภาพที่เกิดขึ้นในใจ ต่อมาฝึกเขียนภาพจากสิ่งที่ที่ตนมองไม่เห็นแต่สัมผัสได้ด้วยความรู้สึกเท่านั้น เช่นซ่อนสิ่งที่เขียนไว้ในถุงกระดาษยอมให้มือล้วงไปจับต้องได้ เป็นต้น เพราะ McKim สนใจในเรื่องการนึกคิดเป็นภาพ การฝึกฝนส่วนมากจึงเป็นการเห็นทั้งภายนอกด้วยตาและการเห็นภายในด้วยใจ อย่างไรก็ตามก็จะฝึกฝนได้คล้ายคลึงกันสำหรับในแง่สัมผัสอื่นนอกจากการมองเห็นด้วยตา หลักสำคัญของวิธีการฝึกฝนเหล่านี้ คือการฝึกหัดที่ส่งผลประเมินกลับทันทีเพื่อพัฒนาการปฏิบัติการนั้นๆต่อไป


นักข่าว Ross Parmenter ปรับปรุงวิธีการเพื่อพัฒนาทักษะของการสังเกตุการณ์ เกมการล่าความเหมือนเพื่อการเปรียบเทียบ (เกมปลาในสระ) ของเขา สมควรจัดเป็นวิธีการฝึกฝนจินตภาพอีกวิธีหนึ่ง เขาได้ความคิดจากการเดินทางเที่ยวบินระหว่างเมืองออตตาวาและเมืองนิวยอร์คช่วงเปลี่ยนเวลา เมื่อไรก็ตามที่เขาสอดแนมวัตถุใดเขามักถามตัวเองว่า "มันช่วยให้ย้อนระลึกถึงอะไรบ้าง?"

๑. การสร้างภาพเปรียบเทียบจากการสัมผัส และความรู้สึก

๒. การประมวลความจำด้วยภาษาภาพและภาษาเขียน
๓. การสร้างภาพในใจแต่ละคนไม่เหมือนกัน


ทำให้ได้คำตอบแตกต่างในเรื่องวัสดุ สายพันธ์ หรือแบบจำลองในแต่ละครั้ง เช่น ถนนคดเคี้ยวช่วยให้นึกถึงที่ปักผมที่ทำด้วยกระ สายน้ำบ่งถึงทางเดินของหนอนในป่า และสะพานใหญ่บ่งชี้ถึงนกกระสาสองตัวพันคอเพื่อจูบกัน ขณะที่เกมดำเนินไป การเปรียบเทียบความเหมือนก็จะยิ่งเร็วขึ้น เขารู้สึกว่าความชำนาญที่เป็นนักเขียนช่วยให้สร้างการเปรียบเทียบความเหมือนในเกมนี้ได้มาก วิธีฝึกนี้เกี่ยวข้องกับการมองอะไรในมุมมองใหม่แล้วเปลี่ยนให้กลายเป็นคำพูด เขาชอบคำพูดที่ทำให้ความทรงจำพลั่งพลูออกมาบนแผ่นกระดาษภาพที่ว่างเปล่า เพื่อเพิ่มอำนาจการสังเกตุการณ์ เขาแนะนำให้เอาใจใส่การการมองสิ่งใดราวกับว่าตนเองเป็นนักข่าวที่กำลังทำข่าว เสนอเรื่องราวบนกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือรายงานพิเศษประจำสัปดาห์ สิ่งนี้ช่วยกระตุ้นให้เห็นสิ่งต่างๆ แจ่มชัด มีชื่อกำกับ และใช้รายละเอียด เพื่อสร้างภาพให้คนอื่นเข้าใจได้


สิ่งที่ขาดหายไปในวิธีการเหล่านี้คือ ข้อมูลว่าเขาทำอย่างไร แม้เป็นเช่นเกมกิฬาในร่มต่างๆ ที่สนุกและไม่มีอันตราย อย่างไรก็ตามก่อนที่จะนำไปใช้ในหลักสูตรการเรียน หรืออบรมปฏิบัติการ ต้องมีความพยายามในการวัดผลที่คาดว่าจะได้รับด้วย


มีการยอมรับกันแม้ไม่เป็นเอกฉันท์ว่า ผู้มีจินตภาพต่ำมักทำงานในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาพเป็นพื้นฐานได้ดี คนจะลดการใช้เหตุผลน้อยลงเมื่อพยายามมองและเปลี่ยนมุมมองของภาพในลักษณะสามมิติ งานที่เกี่ยวข้องกับงานสร้างสรรค์การเคลื่อนไหว เช่นการวาดภาพหรือการแสดง ต้องอาศัยประโยชน์ที่ได้จากการสร้างจินตภาพมากกว่าทักษะทางภาษาพูดที่เข้มงวด หลายคนที่เมื่อต้องการสร้างจินตภาพมักอยู่ในสภาวะที่ต้องการการผ่อนคลายสูง นักศึกษาด้านวารสารศาสตร์คนหนึ่งกล่าวว่า ในขณะเขียนนวนิยาย เขาจะนึกภาพไม่ได้เลยถ้าไม่อยู่ในอารมณ์ที่ผ่อนคลายจริงๆ ยิ่งตอนวางโครงเรื่องยิ่งต้องการผ่อนคลาย หลับตา และพยายามอยู่ในภวังค์ที่นึกถึงภาพต่างๆเหมือนกำลังฉายภาพสไลด์ในใจ เหล่านี้เป็นความแตกต่างระหว่างการฝึกฝนการนึกคิดเป็นภาพและการย้อนความทรงจำโดยทั่วไป ระบบที่ใช้ในการกระตุ้นความจำโดยใช้ภาพเป็นเครื่องชี้นำต้องการความผ่อนคลายมากและเน้นการตื่นตัวด้านจิตใจสูงมาก

หลายคนที่มีความสามารถในการทำสมาธิสูงๆจะสร้างรายละเอียดของจินตภาพได้มากมาย ความสามารถในขณะการคิดเป็นภาพจะเกี่ยวข้องกับจังหวะการหายใจสม่ำเสมอ จังหวะหายใจผิดปกติจะสัมพันธ์กับคนมีจินตภาพต่ำ ความเพ้อฝันในการสร้างเรื่องราวต่างๆให้เป็นชุดๆต่อเนื่องกันนั้นต้องอาศัยอารมณ์ช่วงที่มีการผ่อนคลายและสบายสุดๆ งานค้นคว้าของ ซิกมันต์ ฟรอยด์ ก็ยืนยันการฝันเป็นภาพนั้นเกิดผลมากในช่วงที่คนๆนั้นอยู่ในสภาวะที่ครึ่งหลับครึ่งตื่น สภาวะการผ่อนคลายจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการฝึกฝนการสร้างจินตภาพ


เป้าหมายในการฝึกฝนการสร้างจินตภาพ ควรเกี่ยวข้องกับการศึกษาในทุกระดับ และควรพัฒนาให้เกิดทักษะการปิดเปิดสลับความคิดได้ในหลายรูปแบบ สังคมจะได้ประโยชน์กับคนที่มีความคิดหลายรูปแบบ มีความสามารถด้านจิตใจสูง เป็นการดีที่บางคนสามารถพิจารณาในเรื่องบางเรื่องที่ไม่ต้องอาศัยการจินตภาพ และก็ดีสำหรับบางคนที่ไม่สามารถเลิกล้มการนึกคิดอะไรให้เป็นภาพได้เลย ไม่มีการยืนยันในความเชื่อที่ว่า นามธรรมล้วนๆจะเป็นรูปแบบสำคัญของการสร้างเหตุผลเสมอไป การขาดความสัมพันธ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรมเชิงประจักษ์และแยกสิ่งเหล่านั้นออกจากประสบการณ์ไม่ควรเป็นสิ่งที่พึงประสงค์.....

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนักออกแบบ

การนึกคิดเป็นภาพในใจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักออกแบบทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบบ้าน การตกแต่งภายในโรงแรม การจัดโชว์หน้าร้านเพื่อแสดงสินค้า การจัดสวนในโรงเรียน ความสามารถในการมองเห็นผลเป็นภาพในจิตใจเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับพวกเขาเหล่านี้ จากการเป็นนักจิตวิทยาที่ทำงานใกล้ชิดกับสถาปนิก ทำให้ทราบว่า จินตภาพช่วยให้สถาปนิกทำงานออกแบบบนภาพสองมิติได้ดีกว่าคนทั่วไปที่มองเห็นและจะต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่นึกคิดออกมาเป็นภาพสามมิติเหมือนพวกสถาปนิกได้


เพราะฉะนั้นการได้ร่วมทำงานกันกับสถาปนิกทำให้คนทั่วไปได้เพิ่มทักษะการคิดด้วยภาษาภาพในใจ และเห็นความสำคัญในการใช้มันอธิบายสิ่งต่างได้เพิ่มจากภาษาเขียน

ในการเสนองานออกแบบกับคณะ ผู้ที่แนะนำหรือเสนอแนะสิ่งที่เกิดประโยชน์มักเกิดจากคนที่มีทักษะในการนึกคิดด้วยภาพ เพราะสามารถสื่อสารกันได้สะดวก แต่สำหรับผู้มีทักษะด้านนี้น้อยก็จำเป็นต้องใช้สื่อของความคิดที่เป็นรูปธรรมเชิงสามมิติมากๆ เช่นหุ่นจำลองหรือภาพวาดเหมือนจริง เป็นต้น เท็คนิควิธีการสร้างงานกราพฟิคสมัยใหม่ ช่วยนักออกแบบให้ง่ายต่อการนำเสนอความคิดที่เหมือนจริงกับลูกค้าทั่วไป เช่นการจำลองภาพของสภาพแวดล้อมในงานภูมิทัศน์ ใช้การรวมประสานเข้าด้วยกันระหว่างสิ่งออกแบบที่เป็นหุ่นจำลอง และตั้งอยู่ท่ามกลางของสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง บางกรณีพบว่า การทำหุ่นจำลองอาคารด้วยกระดาษแข็งขนาดมาตราส่วนใหญ่ๆช่วยความเหมือนจริงได้มากขึ้น เข้าใจในรายละเอียดมากกว่าหุ่นจำลองขนาดเล็ก รวมถึงเท็คนิคการจำลองให้เห็นภาพที่เกิดขึ้นอยู่ภายในอาคาร ก็ช่วยสร้างความเหมือนจริงได้มากขึ้นตามลำดับ ทั้งหมดเป็นการเสริมการคิดเป็นภาพของผู้คนที่มีทักษะทางจินตภาพต่างกันนั่นเอง


สถาปนิกส่วนมากสามารถนึกคิดเป็นภาพได้ชัดและเกิดขึ้นตลอดเวลา เขาจึงมักใช้หุ่นจำลองเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อความคิดกับลูกค้าหรือต่อสาธารณะชนทั่วไป คนที่มีทักษะทางจินตภาพก็สามารถรับรู้และตอบโต้ความคิดที่มีประโยชน์กลับไปได้ และจะช่วยให้สถาปนิกสามารถปรับปรุงความคิดที่ตอบสนองผู้ใช้อาคารได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทักษะการคิดด้วยจินตภาพนี้ เกิดได้เพราะการฝึกฝน และทุกคนไม่เฉพาะนักออกแบบควรมีทักษะการคิดทำนองนี้ เพราะจะเป็นประโยชน์ในกรณีที่วิธีคิดแบบหนึ่งไม่เป็นผลก็สามารถสลับใช้อีกวิธีนึกคิดด้วยจินตภาพแทนที่ได้


หลายคนคิดว่าจินตภาพนั้นเกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์ ยิ่งจะเกี่ยวข้องส่วนมากกับงานออกแบบโดยฉะเพาะสถาปัตยกรรม แต่สิ่งที่ไกลกว่านั้น คือ มันเกี่ยวข้องกับคุณภาพของชีวิตทุกคนด้วย จะเป็นการช่วยส่งเสริมประสบการณ์ที่คุ้มค่า สั่งสมความรู้สึกและความทรงจำที่ดี และช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นหรือกับธรรมชาติรอบตัว แม้ว่าเท็คนิควิธีการออกแบบในแง่ความทรงจำจะสามารถผลิตได้อย่างมีประสิทธผลด้วยวิทยาการทางคอมพิวเตอร์ แต่การออกแบบด้วยความนึกคิดที่ดีงามและให้เกิดความเพิ่มพูนยิ่งขึ้นนั้น ต้องอาศัยความสามารถของมนุษย์เท่านั้น ข้อสันนิษฐานในการนึกคิดโดยอาศัยจินตภาพจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันพฤหัสบดี, มกราคม 22, 2552

ถ้าชีวิตมันเหี้ ..นักทำไงดีครับ

ที่บ้านแม่ งก็เหี้ คนรอบข้างก็เหี้ ตัวผมก็เหี้ อะไรๆก็เหี้ อย่างงี้ผมว่าผมไปสร้างเรื่องเหี้ ๆให้ชีวิตคึนอื่นบ้างก็คงจะมันดีนะครับ
โดย ผู้แสวงหา [29 ส.ค. 2545 , 20:26:30 น.]

ข้อความ 1
แล้วผมจะกลับมาตอบ และจะสาธยายให้ฟังยาวๆ อย่าเพิ่ง "คิด" สร้างความเหี้ ..ให้มากกว่านี้ รอกันหน่อยนะ.. เราต่างก็เหี้..พอๆกัน เล่นกันเอง ดีกว่าไปเล่นกับคนอืน ที่เขายังไม่เหี้..มาก่อน แล้วกลายมาเป็นเหี้.. จะรีบไปทำงานว่ะ งานเหี้..ๆ เช่นเคย
โดย เพื่อนอาจารย์ [30 ส.ค. 2545 , 10:31:07 น.]

ข้อความ 2
ผมว่าเพื่อนอาจารย์คงมีคำตอบดีดี(และยาวยาว ไว้รออ่านละกัน แต่ส่วนตัว ผมว่า --ถ้าช่วงนี้คุนยังไม่สูญเสียคนที่รักไปซักคน ---ถ้ายังร่างกายแข็งแรงอยู่ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยอะไร --ถ้ายังมีข้าวกินพออิ่มอยู่ทุกวัน เชื่อผมเหอะว่าชีวิตมันยังไม่เป็นขาลงจนต้องใช้คำว่าเหี้--หรอกคับ ลองนั่งคิดดูนะคับว่าอะไรที่สำคัญกะชีวิดเราจิงจิงและมากพอที่จะควรค่าแก่ความรู้สึกรันทดใจเช่นนั้น----เด่วมันก้อผ่านไปนะ .......... ผมว่า
โดย ไทแมน [1 ก.ย. 2545 , 00:54:55 น.]

ข้อความ 3
อ้าว ตื่นมา พบว่าเวลาย้อนกลับไป สมัยที่โลกมีแต่ เหี้ แล้วคนไปอยู่ไหน หรือยังไม่ทันเกิด ตกลงเลยมีแต่เหี้ และ เหี้ ถ้าไม่ทำเหี้ แล้วจะทำอะไร ช่ายป่าว
โดย ครูประชาบาล [1 ก.ย. 2545 , 12:24:33 น.]

ข้อความ 4
อ่านแล้วนึกถึงเพลง(ใต้ดิน)เพลงนึงของโจอี้บอยกะดาจิม... มันหลับไม่ลง โว้ย ปวดกบาลจิงโว้ย เบื่อจิงๆๆโว้ย ปวดลูกตา มันเบื่อระอา มันเหนื่อยกายา โว้ย จนชินชา ท่องคาถา ชินบัญชรก่อนนอน ต้องท่องให้ครบทั้ง3จบ ถ้าท่องไม่ครบก็ไม่ได้พร สะกดเป็นกาพย์กลอน ฟังไม่ขาดตอน โว้ย มาละโว้ย ไปละโว้ย เบื่อละโว๊ยโวย โว้ยยยยย... แม่มกันทั้งวัน แม่มก็เหมือนกัน แม่มก็หวังฟัน เหี้ กันทั้งน้านน โว้ย ถึงmungจะใส่สูทหรือว่าผูกไท guรู้mungเหี้ ถึงmungจะส่ายตูดหรืว่าส่ายไข่ guรู้mungเหี้ ใครต่อใครเค้าก็คิดว่าmung nice guรู้mungเหี้ เห็นไม๊เนี๊ยๆ เอ้า guก็เหี้ เหมือนกัน แย่งแฟนเค้าเหมือนกัน แ_กเหล้ากันทั้งวัน ดูดบุหรี่กันสนั่น เหี้ กันท้างน้าน โว้ย ได้แต่พยามทำตัวให้ดูดี guรู้mungเหี้ ได้แต่พยามแต่งตัวให้ดูดี guรู้mungเหี้ ฝ่าไฟแดงถูกเรียกก็ขับหนี เห็นไม๊เนี๊ยๆ เอ้า guก็เหี้ เหมือนกัน เพราะฉะนั้นพวกmungก็ไม่ต้องไปคิดมาก ถึงจะเหี้ ยังไงก็ขออย่าให้เหี้ มาก เหี้ กับเหี้ คบกันไม่ลำบาก อยู่รวมกันไม่ยุ่งยาก เหี้ กันตามอัตภาพ หลอกตัวเองว่าตัวนั้นดีเลิศ แค่คิดอย่างงี้ นี่แหละmungเหี้ กำเนิด เกิดเป็นหางแดงสองแฉก นี่แหละเหี้ ประเสริฐ เหี้ เถิดๆ เหี้ เถิด โว้ย โวย
โดย guก็เหี้ เหมือนกัน [1 ก.ย. 2545 , 21:44:57 น.]

ข้อความ 5
ดีใจจัง มีพรรค์เดียวกันว่ะ ลองมาอ่านซ้ำๆกันนะ... คำว่า "เหี้.." เข้าใจว่าคงหมายถึง..สิ่งที่ไม่ดี ภาวะทางจิตใจขณะที่เปรยคำนี้ คง "ไม่สบาย" ไม่ปกติ ไม่พอใจ เซ็ง เบื่อ และโกรธ ฯลฯ หากพิจาณาลงไปให้ลึกๆ ให้เห็น "ความจริง" ความเป็นอนิจจัง ความเป็นทุกข์ และความ ไม่เป็นเรื่องราวแล้วเอามาให้เป็นเรื่องราว (อนัตตา) เช่น เหี้..เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาเป็นคนในที่สุด จะจัดเป็นสิ่งดีหรือไม่ดี ก็เป็นบรรพบุรุษของเรา มีเกิด มีเจ็บ มีตาย เป็นสัจจธรรมแห่งสัตว์ทั้งมวล ถ้าเป็น เหี้..เหมือนกันหมดทั้งมวล (โดยไม่แยกรูปแยกนาม) เริ่มเกิดจากง้วนดิน แล้วไม่เกิด "สัญญา" ต่างรูปต่างนามไปเอง โลกนี้ก็เป็นสุข เป็นปกติ เป็นธรรมชาติ แต่ถ้าถือเป็นกันบ้างไม่เป็น กันบ้าง (เพราะคิดผิดเอาเอง) อันนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งได้ ส่วนจะรุนแรงอย่างไร ขึ้นอยู่กับปริมาณความต่าง แล้วสุดท้าย จะนำไปสู่หายนะ (chaos) ทั้งตัวเองและสังคมในที่สุด เพราะยังไม่รู้เท่าทันธรรมชาติ ที่เป็นปกติ เป็นธรรมดา เท่านั้น ความเข้าใจเอาเองว่าเป็น เหี้..หรือคนอื่นเป็นอย่างเรา หรือ ไม่เป็นอย่างเรา เกิดขึ้นได้ ..ก็ดับไปได้เอง ไม่ต้องไปอนุรักษ์ เพราะทำไม่ได้ เดี๋ยวก็เปลี่ยนเป็น ไม่เหี้.. คนอื่นก็ไม่เหี้..หรือยัง ดันดื้อเป็นเหี้..ย้อนยุคอยู่อีกก็ตาม เกิดขึ้นได้ ก็ดับกลับไปเป็น เหี้.. อีก มันวนเวียนเหมือนงูกินหางตัวเองอย่างนี้เอง ..เป็นวัฏฏะครับ ทางธรรม..มักเตือนไว้ให้คนที่คิดเป็นมนุษย์ให้ได้ควรอยู่ "เหนือ" ธรรมชาติของความเป็น เหี้..และความไม่เป็น เหี้..นี้เสีย ก็จะเป็นเช่นมนุษย์สมบูรณ์ คือมี ธรรม ที่ต่างและเกินจากสัตว์ หรือคนพันธ์สัตว์ทั่วไป เมื่อเป็นมนุษย์ได้ ก็จะเป็นปกติ เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติ ที่ไม่อยู่ในความประมาท ในการเป็นงูกินหาง ตัวเองตลอดไป .. ขอจบปรัชญาความเป็น เหี้..ที่ไม่น่าจะเป็น เหี้..ไว้แค่นี้นะ ชักงงๆเองแล้วซิ ..ว่าจะเป็นอะไรกันอีกล่ะ
โดย เพื่อนอาจารย์ [2 ก.ย. 2545 , 12:17:07 น.]

ช่วยขยายความคำว่าcontemporaryให้กระจ่างหน่อยสิครับ

รู้สึกว่าเดี๋ยวนี้ใช้กันเกลื่อนมาก ๆเลยฮะ แบบว่ามันน่าจะมีอะไรมาต่อท้ายหน่อยฮะ เพราะมันมีเยอะจริง แต่ทำไมใคร ชอบเรียกให้มันโก้อยู่เรื่อยเลย แล้วอีกหน่อยคำ ๆนี้ควรจะมีอะไรมาต่อท้ายเหรอครับ เพราะ ใครก็ชอบพุดว่างานของตนไม่มีสไตล์ รู้สึกเหมือนว่ามันขาดอะไรไปอย่างงงงงงงนะครับ ในการนำเสนอผลงาน เหมือนกับพวกเครื่องจักรทำงานที่รวม ๆข้อมูลแล้วก็ประมวลผงออกมา รู้สึกแย่ครับ ยิ่งบางคนมีอีโง่มาก ก็ยิ่งแย่ไปใหญ่
โดย สสจ [9 ต.ค. 2546 , 07:16:41 น.]

ข้อความ 1
ผมเคยทราบ...มานานแล้วว่า เมื่อเอ่ยถึง comtemporary architecture เขามักหมายถึง สถาปัตยกรรมร่วมสมัย ผมเดาว่าคงอยากกำหนดสไตล์ ของลักษณะสถาปัตยกรรมที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน หรือในแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมา คงรวมสรุปแนวความคิดต่างๆในการออกแบบ ที่ใช้กันในปัจจุบัน หรือในแต่ละยุคสมัยด้วย แนวคิดที่ได้ยินกันตั้งแต่ปี ๑๙๙๐s ก็มี โพสต์แก่ๆ(ปลาย) ดีคอน และมินิมั่มหนุ่มๆ(ต้นๆ) ฯลฯ ในสมัยผมเป็นนิสิต เขามักเรียก สถาปัตยกรรมโมเดิร์น ว่าเป็น สถาปัตยกรรมร่วมสมัยในขณะนั้น (ราวๆปี ๑๙๖๐s) ...ลอง หาอ่านงานวิจัยของ ศ.ผุสดี เกี่ยวกับแนวคิดของสถาปนิกไทยในยุคนั้น..นะครับ ในปัจจุบันสมัย ปี ๒๐๐๐s นี้ ผมไม่แน่ใจว่า...สถาปัตยกรรมร่วมสมัยนี้ เป็นอย่างไร หรือนิยมแนวคิดอะไรที่เด่นชัดในเมืองไทย แต่สังเกตุว่านิสิตชอบพูดถึงงานของ อันโด๊ะ และพวกมินิมั่มนิสซึ่ม แต่หากมองงานโปรเจคก็ยังเป็นแบบ"โบราณ" ฟังชั่นนิสซึ่ม ผมคิดว่าอิทธิพลอาจารย์คงบังคับ หรือสอนกันแต่ สถาปัตยกรรมร่วมสมัยของอาจารย์ละมัง ส่วนมากเป็นแบบเชยสุดๆ แนวคิด ก็แคบๆ ไม่เน้นแนวคิดแปลกแยก หรือคิดแบบค์รวมเท่าไร หรือไม่มีการพัฒนาจากโมเดิร์นเท่าไรนัก พูดถึงการเปลี่ยนในแต่ละยุคสมัยในแง่งานสถาปัตยกรรมเมืองไทย ผมว่าเปลี่ยนแปลงช้ามาก เลยสังเกตความแตกต่างระหว่างสมัยยากมาก ยุคนี้น่าถือกันได้ว่าเป็นยุคดิจิตัล ก็ยังไม่เห็นสถาปัตยกรรมแบบดิจิตัลในเมืองไทย เห็นแต่ตึกติดป้าย "ดีแท็ค" โตๆไม่กี่ตึก นี่ก้อ กำลังรออ่านหนังสือเรื่อง digital architecture ของอจ.ธิดาศิริอยู่ น่าจะถือเป็นสถาปัตยกรรมงร่วมสมัยของยุคปัจจุบันได้กระมังครับ สรุปว่า..สำหรับเมืองไทย สถาปัตยกรรมร่วมสมัย กับสถาปัตยกรรมโบราณๆ..ในความเห็นผม มีความหมายไม่ต่างกันมากนัก เพราะแนวคิดในการออกแบบมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ทั้งคุณและผมเลยสับสนกับคำว่า "ร่วมสมัย" พอๆกัน คุยมาแบบคนไม่มีความรู้ "ร่วมสมัย" เอาเลย...นะครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [10 ต.ค. 2546 , 00:49:25 น.]

ข้อความ 2
คิดเป็นองค์รวมคืออะไรครับ?
โดย ??? [19 ต.ค. 2546 , 02:09:47 น.]

ข้อความ 3
คือหมายถึงการคิดเชิง "กระบวนการ" ออกแบบในแง่ความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมที่กำลังออกแบบ ในทุกสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน ยิ่งมากยิ่งดี จะได้ความหมายและเรื่องราว โดยเอา "ตัวเรา" เป็นศูนย์กลางของปัญหาต่างๆ เช่นองค๋รวมในแง่กระบวนการทางสังคม เมื่อสังคมมีปัญหา ตัวเราก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้วย ในปรัชญาทางพุทธ คือ อิทัปปัตยตา จะแก้ ปัญหาตามความเป็นจริง ต้องคิดแบบ อิทัปปัตยตา ลองหาอ่านแนวคิดนี้ เช่น..แนวคิดในการแก้ปัญหาสังคม ของท่าน อจ. ประเวศ วะสี และงานของท่านพุทธทาส ภิกขุ เป็นต้น...นะครับ
โดย ขออีกที [19 ต.ค. 2546 , 22:25:35 น.]

ข้อความ 4
แล้วอะไรคือprocessที่ควรจะเป็นล่ะครับ แค่ดูการใช้ ดูcontext ดูอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วเหรอครับ แล้วอะไรคือprocess ที่เค้าว่ามันหายไปล่ะครับ แบบว่าเคยถามอาจารย์ เค้าก็บอกแค่นี้ก็เป็นprocess ถ้าแค่นี้แล้วเราจะเขียนหรือแสดงออกมาทำไมล่ะครับ เหมือนเอาความกลวงของสมองมาแต่งให้งานดูมีคุณค่า แล้วอะไรควรเป็นprocess ที่เราควรทำที่แท้จริงล่ะครับ บอกตามตรงว่า...........เบื่อ สุด ๆ กับพวกชอบเอาความไม่มีอะไรมาทำให้มีอะไรด้วยสิ่งที่ไม่มีอะไร ..ขอบคุณ..
โดย สสจ [20 ต.ค. 2546 , 12:38:49 น.]

ข้อความ 5
ใจเย็นๆครับ อย่าเพิ่งเบื่อครับ ข้อมูลที่เรารับมาจากคนอื่น ก็เหมือนขยะที่เขาถ่ายออกมา ยิ่งเป็นความคิดทางวิชาการ อาจเป็นขยะล้วนๆ จนกว่าตัวเรา เอามารีไซเคิล นั่นแหละจึงเป็นความรู้สำหรับเรา จะเรียกว่าเป็นการบูรณาการก็ได้ ความคิดในการออกแบบ ที่ผม เห็นว่า ควรคิดเป็นกระบวนการ หรือองค์รวม ก็เพราะความเชื่อทางพุทธปรัชญา และทฤษฎีฟิสิกซ์ใหม่ พ้องกัน ตรงที่ว่า สรรพสิ่งใดๆในโลกนี้ ล้วนมีเหตุปัจจัย หรือความเชื่อมโยง กันทั้งสิ้น ไม่มากก็น้อย ตัวอย่างเช่น ทฤษฎี butterfly effect หรืือ ทฤษฎี "ผีเสื้อขยับปีก" เป็นต้น กระบวนการเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง ในการออกแบบ ขึ้นอยู่กับปัญญาความคิดของเรา ในการพิจารณาค้นหาเหตุปัจจัย ของกันและกัน เช่น แค่ออกแบบอาคารให้สัมพันธ์กับสถานที่ตั้ง ชุมชน เหตุการณ์ อาคารข้างเคียง หรือแวดล้อมอื่นๆโดยรอบ ตลอดจนขอบเขตที่โยงถึง ประเทศไทยทั้งหมด ต่อไปยังขอบเขตอื่นๆ จนถึงระดับจักรวาล ก็คงรากเลือดเอาการ แต่ยิ่งกระทำ ได้มากเท่าไร เราก็น่าจะพบ ความจริงในงานออกแบบของเราได้มากเท่านั้น ตามทฤษฎี หรือปรัชญาที่พล่ามไว้ข้างต้น รวมทั้งการออกแบบร่วมสมัย ที่เราดัดแปลงจากของเดิม หรือลอกแบบต่างประเทศก็ตาม ซึ่งก็ตามเหตุปัจจัย ของความเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง เท่าที่ปัญญาของเรา ก่อให้เกิดความคิดในการออกแบบดังนั้น...แหละครับท่าน
โดย เพื่อนอาจารย์ [21 ต.ค. 2546 , 01:45:39 น.]


วันพุธ, มกราคม 21, 2552

เกี่ยวกับชีวิต

อยากให้อาจารย์ เล่าตอนอาจารย์กำลังจะจบว่าอาจารย์เตรียมตัวอย่างไร ในการออกไปเป็นผู้ใหญ่(ทำงาน)ครับ
โดย นิสิต ปี 5 [25 ก.ย. 2546 , 01:01:30 น.]

ข้อความ 1
การวางแผนชีวิตหลังเรียนจบ เป็นเรื่องดี แต่อย่าไปซีเรียสกับความสำเร็จหรือล้มเหลวในแผนมากนัก การวางแผนที่ดี คือมีแผน ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ในสมัยของผม ...จบแล้วต้องหาเงินเลี้ยงตัวเอง เพราะคนคอยเลี้ยงดูไม่มี และเพราะเรียนในคณะนี้ ได้เห็นแต่สิ่งสวยงาม และฝันค้างของบรรดาครูถึงแดนสิวิไลซ์ ตะวันตก เลยพักนั้น..เพ้อจะไปเมืองนอกให้ได้ จบแล้ว แต่เกรดไม่ดี เพราะรักสนุกมากกว่า รักเรียนแบบบ้าเรียน เลยต้องปิดช่องว่างเรื่องเกรด หากจะไปเรียนที่เมืองนอกในสมัยนั้น ต้องเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ท๊อปเทน (ivy-league schools)เท่านั้น ถึงจะแน่จริง ไปทำงานเพื่อเพิ่มเกรดในสำนักงานสถาปนิกชั้นนำตอนนั้น เพราะรุ่นพี่สนับสนุน ลำพังฝีมือเขียนตีฟที่มีตอนนั้น เขาไม่รับ เพราะยังไม่เข้าขั้นมือเซียน แต่อาศัยตื้อหน้าด้าน ทำไปถึงสามปี พอพบเนื้อคู่จึงลาออก สัญจรไปเมืองนอกทันที ไปที่มหาวิทยาลัย ชั้นนำอย่างว่า เดินไปเคาะประตูห้องคณบดีฝรั่ง เพื่อสมัครเรียน ด้วยความมั่นใจ เพราะมีจดหมายครูของผม ซึ่งเป็นศิษย์ คนโปรดของท่านอยู่ในมือ พอครูฝรั่งอ่านเสร็จ ยิ้มทำเล่นตัวอยู่สักพัก ก็นัดให้มาเรียนกันเลย สมัยนั้นเข้าเรียนที่ ยูเอส ง่ายเหมือนปลอกกล้วย เพราะอยู่ใน ช่วงสงครามเวียตนาม คนหนุ่มๆมะกันไปสงครามกันหมด พวกหนุ่มกระเหรี่ยงเลยสบายทั้งการเรียนและการงาน แต่ถ้าผมเป็นคุณ..อยู่ในสมัยนี้ ผมจะอยู่เที่ยว ที่เมืองไทย เรียนรู้ชีวิตให้ทะลุปรุโปร่ง ทำ ความรู้จักกับสถาปัตยกรรมและชีวิตคนไทย ให้ครบทุกจังหวัด แล้วจึงค่อยไปชุบตัวเมืองนอก แต่ถ้าครั่นเนื้อครั่นตัวอยากเรียนต่อเอามากๆ ผมแนะนำว่า ..น่าจะไปสมัครเรียนเปรียญธรรมเก้าประโยค มุ่งเป็นสมภารหรืออาจารย์สอนบาลีธรรมให้ได้ ทำได้อย่างนี้..ผมเดาว่าจะมีกระบวนทัศน์ใหม่ ที่ไม่ธรรมดาแน่นอน และจะดำเนินชีวิต ต่อไปอย่างมีความมั่นใจ มีความหมาย และสร้างสรรค์ งานสถาปัตยกรรม ได้ดีกว่าคนรุ่นเก่าๆ อย่างแน่นอน (เพราะตอบยาว...เลยต้องมีต่อ..ครับ)
โดย เพื่อนอาจารย์ [29 ก.ย. 2546 , 17:09:29 น.]

ข้อความ 2
ที่เล่ามาเพราะรู้แก่ใจว่า คุณถามเอามัน ถึงบอกไป คุณก็ไม่เชื่อ เพราะการวางแผน ชีวิตของใครนั้น เชื่อตามกันไม่ได้ และไม่ควรเชื่อ ต้องวางกันเอง ต้องอาศัยพระพรหมเป็นลูกน้อง คอยแก้ไขให้ หากแผนเกิดสดุดหรือมีปัญหา จะได้ไม่ต้องฆ่าตัวตายแบบพวกคนงี่เง่าใจร้อน ตรงนี้..นึกถึงตอนที่ผมไปอ้อนแม่ยายเพื่อขอแต่ง กับลูกสาว คือภรรยาผมในปัจจุบัน ผมบอกแผนการ ชีวิตเสียยืดยาว เพราะตั้งใจเตรียมทำมาและใช้เวลา มากกว่าตอนทำทีสิสด้วยซ้ำ คุณอาจลองเอาคำวิจารณ์แผน ของแม่ยายผม ไปลองพิจารณาก็ได้นะครับ แม่ยายผมวิจารณ์ว่า ...คนเราไม่ต้องวางแผน บ้าแผนบอไปให้มากเรื่อง ...จงอยู่ และมีชีวิตไปวันๆ ให้ดีกับปัจจุบันกาล ก็พอแล้ว...เพราะ ชีวิตย่อม ดำเนินไปตามกรรมของเรา ทำกรรมดี ชีวิตก็จะดำเนินไปทางดี หากทำกรรมชั่ว ชีวิตก็จะดำเนินไปในทางชั่ว ฟังดูก็ง่ายดี ....แต่คงปฏิบัติได้ยาก เพราะตามหลักทางพุทธศาสนาแล้ว นี่เป็นอาการของจิต ที่อยู่กับ "ปัจจุบัน" ซึ่งเป็นสาระอันสำคัญยิ่ง ในการเจริญภาวนาทางพุทธศาสนา คนวางแผน มักหมกมุ่นกับเวลาของอนาคต ที่ยังมาไม่ถึง และพะวงกับเวลาของอดีตที่ยังคอยหลอกหลอนอยู่ บางคนถึงขั้น...กลัวอนาคตจะไล่ล่าเหมือนท่านนายก(ในขณะนั้น) ก็มี ผมว่าไม่ต่างอะไรกับคนกลัวผี กลัวตาย กลัวเกิด และ สารพัดกลัวอื่นๆ แต่ถ้ากลับกัน..หันมาฝึกให้สติอยู่กับปัจจุบันกาล อย่างน้อยก็น่าจะทำให้ช่องว่างระหว่างอนาคตกับอดีตแคบลงๆ ถ้าฝึกไปเรื่อยๆ ก็อาจบรรลุสถานะปัจจุบันล้วนๆ คือเป็นความไร้กาล ก็ได้...นะครับ นั่นหมายความว่า..ชีวิตที่ดำเนินไปตามธรรมชาติ และสิ่งที่เราพึงต้องการอย่างกลมกลืนกัน..คือ ด้วยความต้องการบนพื้นฐานที่จำเป็นเท่านั้น ชีวิตทำนองนี้ พระพุทธองค์ ได้ปฏิบัติเป็นแบบจำลอง ให้ทราบกันมาแล้ว ....แต่มีปัญหาเหลืออยู่ตรงที่ คนส่วนมากยังกลัวๆ และไม่กล้าหาญพอที่จะดำเนินรอยตาม ... ก็เลยต้องสร้างโวหารแบบสมมุติกันว่า ..แผนการชีวิตของฉัน .. ควรเป็นเช่นไร? ..วานช่วยบอกที ..แม้ฉันจะไม่เชื่อ ...ก็ตามที
โดย ขออีกที [29 ก.ย. 2546 , 17:11:30 น.]

เกี่ยวกับ thai contemporary

มีงานที่เป็น thai contemporary ที่น่าสนใจไหมครับ อยากศึกษาเกี่ยวกับstyle contemporary น่ะครับ ว่ามันมีลักษณะเด่นอย่างไร
โดย จอมยุดน้อย.... [11 ก.ย. 2546 , 20:45:18 น.]

ข้อความ 1
มาคุยกันเรื่องความหมาย...ก่อนนะครับ สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย ก่อนอื่น..อยากใช้คำตอบของอจ.ภิญโญที่ว่า...ไม่มี ไม่หรอก ไม่ควรเรียกว่า "ร่วมสมัย" แต่ควรเรียกว่า "กาลเทศะสถาปัตยกรรม" สถาปัตยกรรมที่ถูกกาลเทศะ ที่ไม่เลอะเทอะ ...ส่วนที่เรียกว่าสถาปัตย์ประยุกต์ แล้วก็เรียกตามกันไป ...เป็นความคิดของคนที่เลอะเทอะ (สถาปัตยกรรมไทย) ..ต้องรู้จักกาลเทศะ อันไหนที่เป็น ประโยชน์ใช้สอย อันไหนที่เป็นเรื่องของจิตใจ อันไหน ที่ทำเพื่อการเงิน ก็อีกทางหนึ่ง ไม่ใช่มาปนกัน... อจ. เน้นสถาปัตยกรรมไทยไปในเรื่อง spiritual architecture น่าฟังตรงที่ ..เจดีย์....ถ้าเอาเสาต้นหนึ่งปักไว้สูงแล้วทำหลังคา ไว้นิดหนึ่ง คนก็กราบไหว้ไม่ลง เช่นเดียวกับปั้นพระพุทธรูป เป็นแบบโมเดิร์น คนไทยก็ไม่กราบไหว้...หรือการทำหลังคา โรงรถแล้วใส่ทรงไทยเสริมด้วยช่อฟ้าใบระกา ..ก็จะเป็น สถาปัตยกรรมไทยแบบเลอะเทอะ..เป็นต้น ในความเห็นของผม..ที่รู้เรื่องพรรค์นี้ไม่มาก อยากตอบ เลี่ยงว่า ..อะไรก็ตามที่คิดทำกันในเมืองไทย ก็คือ สถาปัตยกรรมร่วมสมัยในเวลาและเทศะนั้น ก็ต้อง แยกแยะวัตถุประสงค์ที่ต่างกันของคนทำกันเอาเอง ยุคสมัยปัจจุบัน ที่เท็คโนโลยี มีบทบาทสำคัญของ คนส่วนมากปัจจุบัน ...ผมชอบแนวคิดอจ.ดร.สุนทร เรื่องสถาปัตยกรรม ชีวาทิตย์ (ชีวิต+แสงอาทิตย์) ที่ ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ไว้ในหนังสือเล่มเดียวกัน ..คือ แนวคิดสถปัตยกรรม "แบบยั่งยืนสูงสุด" ผมยอมรับว่า เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะขยายความรู้ในทางวิชาการ ที่มากกว่าที่รู้หรือเรียนกันปัจจุบัน เป็นแนวคิดผสมผสาน ของสรรพวิชามารวมกันในการออกแบบสถาปัตยกรรม เป็นสิ่งที่น่ายกย่อง ...ซึ่งคงหลีกเลี่ยงกันไม่ได้ในอนาคต ผมจึงอยากเห็น ..."สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย" ในความ ผสมผสานของผู้รู้ทั้งสองดังกล่าว..มารวมกันแบบบูรณาการ ก็จะทำให้ของคำๆนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น ...ดีกว่าต่างคนๆต่างให้ ความหมายกันจน ...คนฟัง..คนอ่าน..ปวดหัวครับ ผมอ่านมาจาก อาษา 08:46-09:46 ที่ได้รับมาเล่มล่าสุด จอมยุทธน้อย ...ต้องไปหาอ่านนะครับ น่าจะได้ คำตอบที่มากพอ จนกลายเป็น จอมยุทธมาก ได้แน่นอน...ครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [13 ก.ย. 2546 , 15:32:13 น.]

ข้อความ 2
ขอบคุณมากๆครับ
โดย จอมยุดน้อย [13 ก.ย. 2546 , 23:43:50 น.]

สถาปัตยกรรมที่ดีควรคำนึงถึงcontextแค่ไหนครับ

หรือว่าขึ้นอยู่กับว่าcontextนั้นเป็นอะไร ถ้าเกิดสร้างแมนชั่นสูงในบริเวณที่เป็นบ้าน2-3ชั้น จะเป็นการทำลายบริเวณนั้นรึเปล่าครับ?ถ้าสถาปนิกได้programแบบนี้จะทำยังไงครับ
โดย :o [20 ส.ค. 2546 , 00:46:29 น.]

ข้อความ 1
คำว่า..context คงหมายถึงบริบทของสิ่งแวดล้อม โดยรอบตัวเรา หรืออาคารที่เรากำลังออกแบบ ? ผมว่า..เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงและใส่ใจ ส่วนผล ทางความคิดจะเป็นอย่างไร? เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นการเรียนรู้แก่กันและกันในการศึกษา จะถือยึดเอา context เป็นหลัก หรือจะให้มันเปลี่ยนตาม เราต่อไปในอนาคตก็ได้ เพราะตัวบริบทเอง ก็ต้อง มีการเปลี่ยนแปลง..เป็นอนิจจังเช่นกัน ไม่ว่าจะคิด กันไปในทำนองไหน อย่ามองแบบแยกส่วน ...ประเด็น มันอยู่ที่เราออกแบบแล้วใส่ใจในความเป็นองค์รวม ถือว่า..น่าเป็นความคิดที่ถูกต้อง ...เพราะสรรพสิ่ง มันเชื่อมโยงกันตามเหตุปัจจัย เป็นธรรมชาติใน ความเป็น "จริง" กล่าวอย่างนี้..เป็นการมองการออกแบบในเชิง "กระบวนการ" ไม่ใช่ในรูป "ผลปรากฏ" อย่างเดียว ผลที่ปรากฏที่เราสัมผัสได้นั้น เปลี่ยนแปลงเร็วกว่า "กระบวนการ" ที่ต้องอาศัยเวลา เช่น ความเชื่อของ คนเปลี่ยนช้ากว่า ทรงผมหรือแฟชั่น การคาดการณ์ ถึงความเปลี่ยนแปลงของ context ก็เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงด้วย ..แต่ขอให้ทั้งสิ่งที่เรา ออกแบบและบริบท เปลี่ยนแปลงไปในรูปความสัมพันธ์ ที่ต่างส่งเสริมเกื้อกูลกัน ...จึงถือว่าเป็นหนึ่งเดียว หรือกระบวนทัศน์เชิงองค์รวม..holistic thinking ความสูง ความต่ำ ไม่ใช่ตัวขัดแย้งในเรื่องความ สัมพันธ์กันและกันเสมอไป มดกับน้ำตาลแม้เป็น คนละสิ่งกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์ต่อกันได้ ฉันใด แมนชั่นสูงเฉียดเมฆ ก็สัมพันธ์ กับบ้านเรือน๒-๓ ชั้นได้ ถ้าทั้งสองอย่างยอมเกื้อกูลแก่กันและกัน ส่วนผลที่นำเสนอจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการค้นหา การอธิบายในเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน ..คิดกัน จะไป"สวรรค์" นั้นดีแล้วถูกต้องแล้ว ส่วนจะไปกัน อย่างไร เป็นอีกเรื่อง ขึ้นอยู่กับเทศะ-กาล บางทีอาจ อาจต้องพูดว่าทางใครทางมัน..ก็ได้ นะครับ คนเราต้องเรียนรู้กันตลอดชีวิต นั่นคือการแสวงหา เหตุปัจจัยในความเชื่อมโยงของตัวเรากับ context รอบๆตัว เพื่อสร้างความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว นี่ คือตัว"ปัญญา" ทำให้เกิด"ความสุข" ในการมีชีวิตอยู่ใน จักรวาลนี้ ...นะครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [20 ส.ค. 2546 , 11:20:09 น.]

ข้อความ 2
ก่อนอื่นทำความเข้าใจกับคำว่า บริบท ให้กระจ่างก่อน อย่างที่เพื่อนอจ.กล่าวมาข้างต้น คงตอบไม่ได้ว่าแค่ไหนถึงจะพอ บางครั้งบางคราสถาปัตยกรรมบางชิ้นก็มีอิทธิพลมากพอจะเปลี่ยนแปลงบริบทโดยรอบด้วยตัวมันเอง
โดย ruzzian [20 ก.ย. 2546 , 20:04:18 น.]

ถ้ามีคนบอกว่างานที่เราทำมันไม่ดี

เมื่อสร้างงานจนเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว เริ่มมีการใช้งานแล้ว มีคนมาบอกว่าไม่ดีอย่างโน้นอย่างนี้ รู้สึกอย่างไรแล้วแก้ปัญหาอย่างไรกัน
โดย ธุลีscape [15 มิ.ย. 2546 , 22:52:23 น.]

ข้อความ 1
ผมเคยเขียนบทความ ...สถาปนิกออกแบบเพื่อใคร? แอบ บันทึกไว้ในเว็บไซท์ ถ้าสนใจว่าโม้ไว้อย่างไร ก็ไปสืบหา กันเอาเอง ...ไม่อยากโฆษณาตัวเองให้น่าเกลียดกว่านี้ เรื่องของกิเลสตัณหาหรืออุปทานของคนแต่ละคน คิด ตามรู้หรือวิเคราะห์กันได้ไม่จบสิ้น พระท่านจัดลำดับคน ไว้ด้วยวิธีวัดกันทางด้านจิตใจ ว่าใครกิเลสน้อยกว่ากัน โดยใช้ดรรชีของการวัดที่ความสมบูรณ์ด้วยศีลห้า และ วัตถุหรือกายที่ครอบครองของคนแต่ละคนกัน ก็จะรู้ว่า ใครดีใครชั่วมากน้อยกว่ากัน สถาปนิกบางคนอาจมีกิเลสหรืออุปทานหรืออีโก้ ทั้งมากและ น้อยกว่าเจ้าของงาน ...ส่วนมากที่มาร่วมงานกันได้ เพราะมีมาก น้อยพอๆกัน จึงมี "ความเกิด" ของงานสถาปัตยกรรม ให้ยึดกัน ชอบบ้างเกลียดบ้าง ตามอำนาจของอุปทาน หรือ "มายา" ทางความคิดและความรู้สึก ..ถ้า.เอาเรื่องนี้มาใส่ใจแล้วพยายามจะรู้ คงเปลืองเวลาเปล่าๆ หากไม่ตามรู้ของเหตุปัจจัยที่เป็นต้นตอของ อุปทานที่แย้งกัน สถาปนิกนั้น..มักถือว่าเป็นผู้ฝึกฝนมาดีแล้ว อาจจะพอน่าเชื่อถือกว่าเจ้าของงาน ..ที่อาจไม่เอาไหนดันมาติ? (มีต่ออีกครับ)
โดย เพื่อนอาจารย์ [18 มิ.ย. 2546 , 12:53:52 น.]

ข้อความ 2
แต่ในก้นบึ้งของใจเรา ถ้าเอาศีลห้าเป็นที่ตั้ง ..จริงหรือ? ว่า เรา....สถาปนิก ..เป็นผู้ฝึกฝนมาดีแล้ว??? ทั้งด้านจิตใจและกาย ที่เลวน้อยกว่าเจ้าของงาน ..มีความรู้และเข้าใจมนุษย์อื่นที่ไม่ใช่ เราหรือลูกเมียของเรา ได้ทัดเทียมกันจริงหรือไม่? มุ่งบริการสร้าง สภาพแวดล้อมให้ดีที่สุดกับเจ้าของงาน เพื่อเมตตาธรรม หรือ เพื่อเอาเงินในกระเป๋าของเขา...ยังตะกละเอาแต่เงิน ไม่บริการเขา มากๆ ความเป็นกัลยาณมิตรแก่กันและกัน จึงไม่เกิดขึ้น ต้นรัก(เก๊ๆ) ก็ตายซาก ...นี่เป็นปัจจัยหนึ่งของอุปทานความไม่พอใจในแต่ละ คนก็เกิดขึ้น สุภาษิตไทยเชิงสัปดล น่าพอเชื่อได้....ว่า "ยามรักกัน ดมตดกัน..ยังว่าหอม ..แต่ยามเกลียดกันต่างใส่น้ำหอมปารีส ดัน ติกันว่าเหม็นเสียนิ" ผมยังเชื่อว่า..สถาปนิก และเจ้าของงาน ต้องสร้างสรรค์ความรัก และมีเมตตาธรรมแก่กันและกัน หลีกเลี่ยงการเบียดเบียนซึ่งกัน และกันให้น้อยเข้าไว้ ...ความอิ่มเอิบในจิตใจของกันและกันก็น่า จะเกิดขึ้น แถมยังมีสารเอ็นโดรฟิลหลั่งให้ร่างกายเกิดความสมดุลย์ ..ตายช้าขึ้นมากทีเดียว ....ถามส่งท้ายว่า ..มีความอิ่มเอิบในจิตใจ แล้วยัง มีของแถมทำให้ร่างกายทรุดช้าลงไปอีก ..อย่างนี้ยังมีค่าน้อยกว่าความ ต้องการเงินเป็นค่าแบบ...หรือไม่?.. การติงานของเรา ถ้าแปลงให้เป็น ความรู้ความเข้าใจที่ต้องทบทวนกันเพื่อให้เกิดเป็นสติปัญญาต่อไป จะไม่เป็นประโยชน์แก่เราหรือ?........ครับ ...ทว่า ติด้วยรัก กับติเพราะชัง แตกต่างกันนะครับ...อย่างหลัง อาจนำไปสู่การเบียดเบียนกันขั้นทำลาย ศีลห้ากันก็ได้.....นะครับ
โดย ขออีกที [18 มิ.ย. 2546 , 12:54:32 น.]

ข้อความ 3
คนที่รู้ว่างานดีหรือไม่ดี มากที่สุด คือตัวเรานั่นเอง ไม่โกหกตัวเอง และไม่ต้องสนใจกับสิ่งที่ไม่จริง
โดย ครูประชาบาล [18 มิ.ย. 2546 , 22:17:16 น.]

ข้อความ 4
แต่ผมกลัวว่าจะเป็นการเข้าข้างตัวเองเกินไป คิดว่าดีแล้วจนลืมที่จะฟังใครไป ก็เราก็ควรจะสนใจคำพูดเพื่อตรวจสอบตัวเองบ้างหรือเปล่า เพราะเราไม่ได้ออกแบบเพื่อตัวเราคนเดียวนี่ครับ
โดย ธุลีscape [22 มิ.ย. 2546 , 14:26:53 น.]

ข้อความ 5
ความรัก ดีครับ
โดย สมควร [22 มิ.ย. 2546 , 14:32:48 น.]

เรื่องน่าอ่าน..น่ารู้

จะแสดงความคิดเห็นใดๆก็ได้
ไม่แสดงก็ได้..แต่อยากให้อ่านว่ะ

หัวข้อ : ระบบการศึกษายุคใหม่ทำเด็กลืมกำพืดตัวเอง

ข้อความ : ปราชญ์ชาวบ้านชี้เด็กยุคใหม่บอบบาง ทำอะไรง่ายๆ ไม่อดทน อีกทั้งไม่อยากเป็นอย่างที่พ่อแม่ตัวเองเคยเป็น ระบุไทยมีการสร้างองค์ความรู้เอง แต่พอใช้ระบบการศึกษาตามแบบฝรั่งก็เริ่มคิดเองไม่เป็น ต้องพึ่งคนอื่น ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านจากจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวในการสัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบสามปีของการปฏิรูปการศึกษาเรื่อง “การศึกษาทางเลือก : ทางออกของสังคมไทย”ว่า สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมของการเรียนรู้ ขณะที่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่คนไทยกลับไม่ฉลาดขึ้น จึงตั้งข้อสงสัยว่าระบบของสังคมไทยมีปัญหาอะไรหรือไม่ ในเมื่อเรียนหนังสือไปแล้วไม่หายโง่ ไม่ลดการเห็นแก่ตัว ไม่สามารถบรรเทาความทุกข์ ฉะนั้นจะเรียนไปทำไม “ถ้าเรามีลูกเราเลือกเส้นทางให้ลูกได้จริงหรือเปล่า ในระดับชาวบ้านเขาสามารถเลือกเส้นทางให้ลูกได้จริงหรือเปล่า เมื่อพวกเขาส่งลูกเรียน เด็กก็เอาแต่เรียน เรียนไปก็เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ พ่อแม่เป็นชาวนาส่งลูกเรียน ลูกกลับไม่อยากเป็นชาวนา เด็กยุคนี้เปราะบาง ไม่ค่อยอดทน อยากทำอะไรง่ายๆ และที่สำคัญจะทำอย่างไรให้คนในสังคมอยากเป็นนักเรียน ทำให้เด็กอยากเรียนรู้ได้ตลอดเวลา” ทั้งนี้ครูบาสุทธินันท์ กล่าวว่า เป็นเพราะการศึกษาของเราลอกเลียนแบบต่างประเทศมา ทั้งๆ ที่จริงเราก็มีกระบวนการเรียนรู้ของเราเองมาแต่ไหนแต่ไร ไม่เช่นนั้นจะไม่มีภูมิปัญญาไทย ชุดความรู้ต่างๆ ที่มีขึ้นมาเพื่อตอบสนองชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนสามารถพึ่งตนเองได้ในทุกเรื่อง “เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา คนไทยสร้างชุดความรู้ได้อย่างเป็นระบบ เช่นการสร้างบ้านเรือน วัด สิ่งสาธารณประโยชน์ต่างๆ การทำมาหากิน การประกอบอาหารไทย การใช้สมุนไพร ทำให้เรามีการใช้ปัจจัย 4 อย่างครบครัน สมัยนั้นเราอยากได้อะไร เราก็ค้นคว้ากันเอง เรียนรู้กันเอง ถ่ายทอดกันเอง แค่ไม้ไผ่กอเดียวก็สามารถนำมาเป็นเครื่องใช้ไม้สอยได้นับร้อยนับพันอย่าง แต่เมื่อมาถึงวันนี้เราแทบจะไม่สามารถผลิตชุดความรู้อะไรที่เป็นของเราได้เลย เพราะเราพอใจที่จะพึ่งคนชาติอื่น รอรับรู้จากคนอื่น นำเข้าทุน นำเข้าความรู้ นำเข้าวัฒนธรรม อยากได้อะไรก็สั่งซื้อเข้ามา ผลสุดท้ายต้องมานั่งจ่ายค่าโง่กัน” ครูบาสุทธินันท์ กล่าวอีกว่า นักเรียนนักศึกษาในปัจจุบันยังเรียนรู้โดยห่างจากความเป็นจริงของวิถีชิวตและวัฒนธรรมไทย ฉะนั้นต้องช่วยกันแก้ไขให้เด็กรุ่นใหม่มีค่านิยมและมีความคิดเป็นของตัวเอง โดยได้เสนอวิธีการเรียนรู้แบบสังคมไทยในมิติผูกพันกับวิถีชีวิตและธรรมชาติ 6 ข้อด้วยกัน คือ 1.เรียนรู้แบบลงมือกระทำ อันจำเป็นต่อพื้นฐานการดำรงชีพ 2.การเรียนรู้ที่หลากหลายและมีการบูรณาการ 3.การเรียนรู้ร่วมกันผ่านกิจกรรมทางสังคม 4.การเรียนรู้จากการได้เผชิญสถานการณ์จริงและการแก้ปัญหา 5.การเรียนรู้ตามธรรมนองคลองธรรม ที่ไม่มุ่งแข่งขัน แก่งแย่ง และ 6. การเรียนรู้ที่ใช้จินตนาการและการประจักษ์ความรู้ นอกจากนี้ กระบวนสร้างเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้นั้น ในโรงเรียนควรส่งเสริมให้เด็กมีความสนใจเรื่องเดียวกัน รวมกลุ่มเรียนรู้ เน้นความหลากหลายในสิ่งที่เขาต้องการเรียนรู้ ส่งเสริมในส่วนของเทคโนโลยี สถานที่ งบประมาณ ในส่วนของมหาวิทยาลัยให้ส่งเสริมการเป็นผู้นำ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างพรมแดนแห่งความรู้โลกกับความรู้ท้องถิ่น ในชุมชนให้มีการส่งเสริมการรวมกลุ่มประชาคมต่างๆ ตามความสนใจ สร้างเสริมให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และในส่วนขององค์กรก็ควรจะส่งเสริมให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วยอีกเช่นกัน จาก : ผู้จัดการรายวัน 8 ก.ย.45 - 08/09/2002 22:10
โดย เพื่อนอาจารย์ [9 ก.ย. 2545 , 10:50:11 น.]

ข้อความ 1
ขอบคุณครับ
โดย เมืองFISH_Sit [9 ก.ย. 2545 , 21:05:18 น.]

ข้อความ 2
อืม... ผมว่าอย่างงี้จะบอกว่าเราไปลอกฝรั่งมาก็ไม่ถูกทีเดียว เท่าที่ผมรู้ เมืองนอก เค้าก็ยังเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกสิ่งที่อยากเรียนอยากรู้จริงๆ ไม่เผมือนวิชา บังคับเลือก ต่างๆของเรา และเค้าก็ปล่อยให้เด็กบางคนมีเวลาว่างที่จะหาเลี้ยงชีพเองหรือไปทำไรอย่างอื่นบ้าง ไม่ใช่ต้องเข้าแถว 7.30 เลิก 16.30 จริงๆของเราก็มีบางวันเลิกเร็วนะ แต่ก็ไม่รู้จะทำไร หรือมันอยู่ที่สำนึกใฝ่ดีของเด็กแต่ละคนเองด้วย แต่ผมว่าหลักๆคือ เราลอกเค้ามาบางส่วน แต่ลอกไม่เหมือน และลอกโดยไม่เข้าใจ
โดย เด็กหัดเดิน [10 ก.ย. 2545 , 06:43:00 น.]

ข้อความ 3
ผมเองก็ไม่ห่วงเรื่องนี้เท่าไรครับ เวลายังมีให้เรียนรู้อีกมาก เรียนของเขาอย่างไร แล้วเอามาใช้ กับเรื่องของเรา ที่เราเป็นอยู่ ไม่ได้ ไม่แม็ทกันเดี๋ยว เราก็จะกลับมาสำรวจตนเองอีกที ให้เรียนรู้ให้ลึกๆในเรื่องของเรา แล้วก็จะเกิด ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกว่าอีกได้ แต่บางเรื่องเราเอาของเขามาใช้กันผิดๆ ผลเสียหาย ก็อาจเกิดมาก ตอนซ่อมแซมอาจจะเหนื่อยหน่อย เรียนรู้คู่ๆกันไปผมว่าน่าจะดีเหมือนกัน บางทีการมีทัศนะคติผิดๆกับความรู้ของเขา สนใจแต่เรื่องของเราเกินเหตุ เช่น เรื่องของภาษา เราก็เลยอ่านพูดภาษา เขาไม่ได้ เลยพาลไม่รู้เรื่องดีๆของเขา ที่อาจเหมาะสมกับเรื่องของเราก็ได้ ..นะครับ ป.ล. ผมเอามาโพ๊สต์เพื่อการเตือนสติเท่านั้น ไม่อยากให้เห็นด้วยทั้งหมดครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [10 ก.ย. 2545 , 18:33:26 น.]

ข้อความ 4
อาจเพราะว่าปัจจุบัน มีความที่เป็นประชาคมโลก ทำให้ การอยู่ร่วมกันบนโลก ต้องมีอะไรบางอย่างเหมือนๆกัน การที่เราต้องรับระบบการศึกษา และรูปแบบความรู้ ก็อาจนับได้ว่าเป็นเรื่อง ของการอยู่ร่วมโลก ซึ่งทีนี้ แกนนำทางที่เป็นระบบการศึกษา (ของโลก) มันไม่ใช่วิธีของเราที่มีแต่ดั้งเดิมมา ทำให้เราต้องปรับ ของเราให้เข้ากับระบบของโลกกระมัง ซึ่งปัญหา ก็อาจเกิดจากการที่เรายังไปไม่ถึงปลายทาง (ซึ่งก็ไม่รู้ชัด) นึกรวมไปถึงวิถีชีวิต ว่าแบบไหนจึงจะถือเป็นวิถีที่เหมาะสำหรับ ดำรงตนบนโลก จะเป็น นักธุรกิจ ครู ชาวนา กรรมกร นักมวย ว่าจะใช้ชีวิตแบบเมือง หรือชนบท อีกหน่อยรูปแบบพวกนี้มันก็คงถูกชี้ถูกนำ ให้หลงตามกันไปอีก ตราบใดที่ไม่มีใครในพวกเรา เป็นคนกำหนด และบอกให้ชาวโลกทั่วไปรู้ว่า "เฮ้ย วิธีของพวกฉันเนี่ยะ ดีนะโว๊ย ลองดูหน่อยสิ คุณบัง คุณฝรั่ง"
โดย เด็กวัด [11 ก.ย. 2545 , 23:22:05 น.]

ข้อความ 5
ผมว่ามันก็จิงบ้างนะครับ ตอนเด็กๆไม่เห็นต้องอยากรู้อะไร อยู่ก็มีคนมาบังคับให้เรัยน ก็เรียนอยู่กับหนังสือ พอดีทำได้ดีได้เกรด4มาเกือบ12ปีเกียรติบัติเต็มบ้าน ก็เลยคิดว่าสิ่งที่ทำดีแล้วคิดว่าฉลาด ไม่ต้องคิด/อยากรู้อะไรอีก พอจบมาเรียนมหาลัย ไม่มีคนมาบังคับ ต้องเรียนเอง ที่สำคัญคณะนี้ยิ่งไม่มีอะไรผิด-ถูก คราวนี้เคว้งเลยครับ เลยเพิ่งรู้ว่า เออ จิงๆแล้วกูโง่สัดเลยว่ะ สมาธิก็สั้น ความอดทนก็ต่ำ ตอนนี้รู้ตัวก็พยายามพัฒนาตัวเองอยู่ ขอโทดอาจารย์ยงยุทธด้วยนะครับที่ทำตังแย่ไม่ส่งแบบ แถมงานก็ไม่ดี เพราะเป็นโรคเกลียดคนขยันแต่ไม่คิดแล้วได้คะแนนดี เลยทำตัวขี้เกียจสุดท้ายก็โง่ซะเอง ขอบคุณอาจารย์นะครับที่ทำให้ได้คิดว่าสถาปัตยกรรมต้องออกแบบมากกว่า space-formและfunction
โดย ตายอนาถเพราะไม่เคยส่งแบบ [18 ก.ย. 2545 , 03:21:10 น.]

อาจารย์ขาหนูอยากทราบ

ว่าหนังสือเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่อาจารย์เห็นว่ามีประโยชน์ ต่อการศึกษาเล่าเรียนของนิสิตเอาแบบที่อาจารย์ประทับใจ สุดๆขอสัก20เล่มนะคะ ขอยกเว้นหนังสือธรรมะนะคะ และขอยกเว้นหนังสือภาษาไทยนะคะ
โดย หนูอ้วน [22 ม.ค. 2546 , 06:11:47 น.]

ข้อความ 1
หนังสือทุกเล่มอ่านแล้วก็จะเกิดการเรียนรู้ทั้งนั้น เช่นเดียวกับการฟังครูหรือคนอื่นๆ หนังสือดี ตรงใจที่เราอยากรู้ก็จะกลายเป็นเช่นครูอีกคน หรือกัลยาณมิตรในการเรียนรู้ได้ ..หนังสืออะไร ที่คนอื่นชอบไม่สำคัญเท่าหนังสือที่เราชอบ คนเรานั้นเรียนรู้ในแนวทางที่ต่างกัน แต่ควร ตรงกันในเป้าหมายเพื่อชีวิตที่ดีงามเหมือนๆกัน ขอเริ่มที่การบ่นพึมพำก่อนนะครับ ผมกำลังกลายเป็น "เหยื่อ" คนเดียวในเว็บวิชาการนี้ แล้วหรือ? อาจารย์ผู้ริเริ่มก็หายเข้ากลีบเมฆไปเสียนาน ครูประชาบาล ก็แว็บมาเป็นพักๆ ส่วนพวกครูนิรนาม ก็ไม่เหลือร่องรอยเมื่อเว็บนี้เปลี่ยน url ใหม่ เว็บไซท์ ของคณะก็ยังไม่เสร็จสักที ลิงค์เก่าที่ทำไว้เดิม ก็ลบไป พวกเราที่รู้เลยเข้ามาเสวนาในเว็บบอร์ดนี้ก็มีไม่มากนัก โอ้ลั้นหล้า..กอด!..ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ..หนอ? โลกไซเบอร์สเปรส ตรงนี้เป็นโลกจำลองของชุมชน ที่น่าสนใจ เป็นแหล่งเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างศิษย์-อาจารย์ ได้เป็นอย่างดีแหล่งหนึ่ง ..หากทุกท่านมีความจริงใจ และมีใจที่โปร่งแจ้ง เช่นโง่ก็บอก ..ฉลาดก็บอก ฯลฯ ใส่ใจเรื่องของพรหมวิหารธรรมไว้เสมอๆ ชุมชนก็เป็นสุข ขยายโยงใยมหาวิทยาลัยและโลกทั้งมวลเป็นสุขได้แน่นอน เฮ้อ..จะใช้ยาดองเหล้าอะไร? ให้เสพแล้วมาติดกันในชุมชนนี้ได้ ใครรู้บ้าง...ช่วยบอกที "ความเป็นเลิศทางวิชาการ" คืออะไร? เห็นสายบริหารมหาวิทยาลัยกำลังโดนดันก้นกันมาเป็นทอดๆ โดนประสาทหลอนกันเพี๊ยบ ...อนิจจาวัฎฏสังขาราจริงๆครับ (เพราะเขียนยาวจึงต้องมี...ต่อ)
โดย เพื่อนอาจารย์ [22 ม.ค. 2546 , 12:50:17 น.]

ข้อความ 2
กลับมาเป็นเหยื่อของกระทู้นี้ ..หลังจากพล่ามบ่นจนพอทำเนาแล้ว สำหรับหนังสือสถาปัตยกรรมภาษาฝรั่ง โดยเฉพาะพวกแนวความคิด ของบรรดาสถาปนิกฝรั่งทั้งหลาย ผมไม่ค่อนสนใจตามรู้เท่าไรนัก แต่ก่อนตอนเป็นหนุ่มก็ติดตามอยู่บ้าง โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนแปลง แนวคิดจากโมเดร์นเป็นโพสต์โมเดอร์น เพราะมีโอกาสได้สอน วิชา design criteria and concepts ตอนหลังโดนเขาถีบไปสอน วิชา cons. เลยไม่ได้ติดตาม ครั้นต่อมาไปเรียนต่อ อ่านหนังสือที่ พวกพระเอกสถาปนิกโม้กันไว้ในหนังสือ อ่านทีไรเลี่ยนทุกที พักหลังอ่านแล้วจะอ๊วกแตก เกิดอาการไม่ดีกับสุขภาพมาก เลย หันไปอ่านพวกเรื่อง "วิธีการ" มากแทน ขยายไปอ่านนอกสาขาวิชา อ่านแล้วชอบ เพราะรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นพวก "พหูสูตร" มากขึ้น ได้มาพ่นโม้กับลูกศิษย์ได้แปลกและประหลาดต่างจาก ครูอื่นๆมากขึ้น ..ใครจะงงตั๊ก สับสน ..คิดกันแคบๆ คิดกันแค่ในกะลา ไม่ใช่ธุระของผม..เพราะผมไม่อยากเป็นเช่นนั้น แต่ถ้าพวกเราสนใจ มาไถ่ถามกัน ก็จะเกิดอารมณ์อยากตามรู้บ้าง เช่นเคยกลับไปอ่านพวกลัทธิดีคอน อ่านแล้วก็ยังมีอาการอ๊วก แบบเดิมๆ เลยไถลไปตามอ่านปรัชญาต้นเรื่องของความคิดดีคอน ก็พอเข้าใจบ้างว่าแนวคิดมันเกิดบ้าบอขึ้นมาได้อย่างไร ส่วนจะ ตามไปรู้เรื่องโม้กันกับพวกนี้ ผมไม่อยากเล่นมากนัก เพราะดูเหมือน จะออกนอกสัจจธรรม ของความเป็น "สับปายะแห่งสถาปัตยกรรม" โดยนัยพุทธศาสนาไปทุกที แล้วห่างไกลในกำพืดไทยของตนเองมากขึ้น เลยต้องหยุดหนังสือพวกนี้ไว้ก่อน มาอ่านปรัชญาอันเป็นต้นตอความคิด โดยเฉพาะปรัชญาหลักของพุทธศาสนา ต้องอ่าน เพราะผมถือเป็น บริบทที่สำคัญยิ่งในความรู้ทั้งหลายที่คนไทยควรรู้กัน ส่วนในแง่วิทยาการเทคโนโลยีก็ชอบอ่านตามรู้ โดยเฉพาะในแง่ "กระบวนการ" หรือ "วิธีการ" ไม่สนใจเรื่อง "ผล" หรือ "เนื้อหา" ที่ปรากฏเป็นสถาปัตยกรรมที่พวกเราชอบจับต้องกัน ผมเชื่อว่า ถ้าเรียนรู้กันเรื่องของ "กระบวนการ" หรือ "วิธีการ" แล้ว โดย เฉพาะในเรื่องทักษะการคิด เช่น การเรียนรู้แบบจินตนาการของ โครงการณ์ (Project-based learning) ที่ต้องเป็นจริง ตรงกับโลกและ ชีวิตที่เป็นจริงในเวลานี้ หรือกระบวนการและวิธีการแก้ปัญหา (Problem-based learning) ที่ใช้ออกแบบสถาปัตยกรรม และก็ต้อง โยงต่อไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงให้ได้ด้วย หรือกระบวน การและวิธีการคิดแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry-based learning) เพื่อการสืบค้นจาก "อะไร" ต่อไปถึงมันเป็นความรู้มาได้ "อย่างไร" หรือกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจในเรื่อง Virtual Reality นั้น ต่างจาก แบบจำลองความจริงเดิมทั้งหลายหรือแตกต่างจาก ความจริง ในชั้นปรมัตถธรรมของพุทธศาสนานั้นเป็นอย่างไร ..ทักษะที่ได้รับ การฝึกฝนกันทำนองนี้ จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญนำไปใช้ในการแสวง หาความรู้ของตนเองได้ตลอดชีวิต ไม่จบกันแค่ในห้องเรียนเท่านั้น และต้องช่วยให้การดำเนินชีวิตทุกคนมีสุขและสมหวังตลอดไป นอก เหนือการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เราอาจยึดกันเป็นอาชีพสถาปนิก ทัศนคตินี้ ..น่าจะต้องการหนังสือพวก Educational Innovation ทั้ง หลาย ที่พวกฝรั่งกำลังทำกันในการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งผมว่าเป็น "ทางตรง" กว่าที่นักการศึกษาไทยกำลังวิ่งไปคนละทาง มนุษย์ที่แสวงหาการเรียนรู้นั้น จะหนีไปไม่พ้นในเรื่องของ "ฉันทะ" อันเป็นรากฐานของ การใฝ่รู้ ..การใฝ่ดี-กระทำดี และ การใฝ่สร้างสรรค์ -เพื่อการสร้างปัญญา การพัฒนาเรื่องฉันทะดังกล่าว จะช่วยพัฒนา ความสุขชนิดใหม่ๆ เกิดชีวิตที่ดีงามตลอดไป การอ่านหนังสือเพื่อ เป้าหมายเช่นนี้ ไม่ว่าหนังสือฝรั่งหรือไทย จัดว่าเป็นการอ่านที่ทำให้ เป็นคนที่จะก้าวหน้าสู่การศึกษา เพื่อการเดินหน้าไปสู่ชีวิตที่ดีงาม ถ้าจะถามว่าผมอ่านหนังสืออะไร โดยเฉพาะหนังสือสถาปัตยกรรม ผมขอบอกว่าจะอ่านหนังสือที่ไม่สนองเพื่อการเสพสม แต่จะอ่านที่ สนองเพื่อการสร้างสรรค์ ..งานคือสุข เพราะจะสมใจเมื่อได้ทำ ไม่ใช่ แค่ใฝ่เสพ อันทำให้งานเป็นทุกข์ เพราะต้องทำ เพื่อจะได้เสพกันอีก หนังสือที่ว่าชื่ออะไรนั้น ไม่สำคัญเท่าหนังสืออะไรที่เราหยิบมาอ่าน แล้วตรงใจเราเพื่อเสพ หรือเพื่อสร้างสรรค์ เราก็จะรู้ได้เอง เมื่ออ่านแล้ว เกิดอาการอ๊วกหรือเกิดอาการเป็นสุขที่ต้องอ่านแล้วอ่านอีก ..ก็ ต้องเลือกกันเอง ..ของใครของมัน ..กินอ่านตามกันไม่ได้ ฯลฯ อ่านที่ผมพล่ามถึงตรงนี้ น่าจะรู้ว่าผมแนะนำควรอ่านหนังสือ ประเภทไหนนะครับ โปรดอย่าตั้งกรอบที่แคบว่าต้องอ่านหนังสือ ภาษาใดภาษาหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดความรู้กันเพียงในกะลา จะ พลาดหนังสือดีๆ ที่อยู่ใกล้แค่เอื้อมมือ แต่ดันตาบอดมองไม่เห็น อ่านเพื่อการเสพ เพื่อตามก้นฝรั่งก็ ต้องตามให้ทันจับก้นฝรั่ง แล้ว ต้องเดินเลยก้นนั้นไปให้ได้ ไม่งั้นจะต้องดมตดฝรั่งไปจนตลอดชีวิต อ่านความเห็นเรื่องหนังสือของผมแล้ว ...แสบๆคันๆกันไม่ครับ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการตอบแบบ ..Inquiry-based learning ..นะครับ อ่านแล้วอ๊วกหรือสร้างสรรค์? โปรดอย่าลืมคติฝรั่งที่ว่า ..... Tell me, I forget ....Show me, I remember ...Let me participate, I understand ...นี่เป็นการจับก้นฝรั่ง หรือดมตดฝรั่งกันแน่..?
โดย ขออีกที [22 ม.ค. 2546 , 12:51:45 น.]

ข้อความ 3
Architecture of the Jumping Universe ของCharles Jenck น่าอ่านมากครับ แต่ต้องมีฐานภาษาอังกฤษนิดหน่อย(ไม่นิดแหละ เยอะเลย) และต้องเคยอ่านหนังสือมาเยอะพอสมควร เช่น หนังสือจำพวกปรัชญา ศิลปะ อะไรเงี้ย อืม ถ้าเป็นหนังสือไทยขอแนะนำ สรรพสาระทฤษฎีสถาปัตยกรรม ของ ดร. ฐานิศวร เล่มเล็กๆสีเขียวพกสะดวก สำหรับคนที่ต้องการทำงานสถาปัตยกรรมที่มีเนื้อมีหา น่าจะลองอ่านดู รวมทุกทฤษฎีสถาปัตยกรรมตั้งแต่classicจนdeconไว้ครบ ผมว่านะ น่าจะลองอ่านหนังสือที่ไม่ใช่เกี่ยวกับสถาปัตย์ไว้บ้าง ศึกษางานดนตรี งานศิลปะ งานปรัชญา อะไรไว้เยอะๆก็จะดีนะครับ สถาปัตยกรรม คือ สังคม คือ มนุษย์ครับ ดังนั้นมันจึงน่าจะมีอะไรที่มากกว่าการมานั่งเขียนแบบก่อสร้าง
โดย จญิมโณเภดัย๒ [22 ม.ค. 2546 , 15:28:48 น.]

ข้อความ 4
หนังสือที่นิสิตแนะนำมา อาจารย์ควรต้องตามไปอ่าน หวังว่าคงมีในห้องสมุดนะครับ จะได้ประหยัดเงินซื้อได้มาก อ่านแล้วถ้าชอบ ก็จะได้ตัดสินใจ ว่าจะซื้อมาไว้เพื่ออ่านซ้ำๆได้สะดวกขึ้นหรือไม่? หนังสือในตู้ของผมขณะนี้ก็มีสะสมไว้มาก ครึ่งหนึ่งจะเป็นหนังสือพวกจิตวิทยาและ ปรัชญามากกว่าหนังสือสถาปัตยกรรมโดยตรง หนังสือของ Charles Jenck เล่มเก่าๆก็พอมี แต่ก็อ่านยังไม่จบเล่ม เกี่ยวกับพวกงาน วิจัยทางสถาปัตยกรรมก็มี ส่วนมากอ่าน ไม่จบสักที ระยะนี้จะว่างคงได้กลับไปตามอ่าน อีก ยิ่งเรื่องที่พวกเราสนใจ ก็ต้องตามไปรู้ทันให้ได้ ครับ ...ขอบคุณที่แนะนำกันมานะครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [23 ม.ค. 2546 , 16:49:45 น.]

ทำไมต้องsite สวยๆ

อยากรู้จังครับ หยั้งบ้านน้ำตกของfrank จริงๆถ้าสถาปนิกคือการสร้างสรรค์ และปากเราพร่ำบอกถึงการรักธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อมและมันก็อยู่ในจิตสำนึก ผมว่าปัจจุบันจะมีสักกี่คนที่มองหาแต่siteที่แย่ สภาพแวดล้อมห่วยมีมลพิษ เพื่อสร้างสรรค์ให้มันดีขึ้น ผมว่าอาชีพเราน่าจะทำอย่างงั้นกันมากกว่ามานั่งชมกันว่า งานนี้siteสวยดีว่ะ น่าสร้าง เวลาทำthesis ก็หาsiteที่มันสวยๆกัน ก็ไม่ผิดนะครับ แต่หากสถาปนิกคือการสร้างสรรค์โลกใบนี้ให้มันดีขึ้น น่าจะลองคิดมุมนี้ดูบ้าง อะไรที่เราเห็นว่ามันสวยด้วยธรรมชาติอยู่แล้ว เราไม่น่าจะไปรบกวนมันนะครับ เพราะผมไม่เคยเห็นอาคารไหนที่จะเข้าและกลมกลืนไปกับธรรมชาติอย่างที่สถาปนิกต่างๆว่าไว้สักหลัง แม้แต่บ้านน้ำตกก็ด้วย อาคารสวยครับ แต่ขัดที่ว่ามันไปคร่อมบนน้ำตก อาจานคืดเห็นยังไงครับ
โดย eps [27 ต.ค. 2545 , 01:30:16 น.]

ข้อความ 1
ความมีสำนึกและตั้งใจไว้ เพื่อถนอมรักษา และส่งเสริมธรรมชาติของคุณนั้น..ดีครับ ผมขออนุโมทนาด้วย สำหรับเรื่องที่ตั้งสวยๆนั้น ในอเมริกา คงมีมาก ส่วนใหญ่พวกเศรษฐีจะถือครองไว้ได้ ที่ตั้งนี้อยู่ที่ซึ่งเรียก bear run ในมลรัฐเพนซิลเวเนีย ผมเคยติดรถเพื่อนไปดูกัน สวยจริง มีเกร็ด เล่าว่าสถาปนิก ท่านไรท์ไปอยู่ชื่นชมที่นั่นเป็น นาน แล้วเสก็ตรูปร่างภายนอกบ้านเคร่าๆทันที เหมือนบ้านตัวเองที่อยากฟังเสียงน้ำตกตลอดเวลา ตรงนี้ สถาปนิกเราถึงจะซาบซึ้งเหมือนท่านไรท์ ก็ไม่มีทางทำได้ เพราะมักอยู่ในป่าสงวน คนธรรมดา ถือครองมีไม่ได้ นอกจากนักการเมืองชั่ว ซึ่งก็จะ ไม่ค่อยมีบุญได้สถาปนิกดีๆไปช่วยออกแบบให้ ที่ตั้งของบ้านน้ำตกนั้น เจ้าของคือ kauffmann เจ้าของเป็นเศรษฐีมีธุระกิจห้างสรรพสินค้าใน สมัยนั้น เผอิญลูกชายเป็นศิษย์ท่านไรท์ ศรัทธา อาจารย์มาก เลยแนะนำให้พ่อเลือกสถาปนิกท่านนี้ จึงสร้างงานดีๆไว้ให้พวกเราได้ชื่นชมกัน งานนี้เลย ปรากฏในวงการศึกษาสถาปัตยกรรม ครั้นตัวเองตายไป ก็ยกให้เป็นสมบัติของหลวง ผมเลยได้มีโอกาสไปชม แล้วก็ประทับใจ มาเล่าอวดให้คุณฟังกันได้ ส่วนที่ตั้งที่ห่วยแล้วสถาปนิกสร้างให้ดี ก็มีถมไป ส่วนงานเท่าที่ผมทึ่งคืองานปรับปรุงเมืองนิวยอร์ค ที่มีภูมิสภาปนิกผู้มีสายตายาวไกล คือท่าน olmstead บิดาของวิชาภูมิสถาปัตยกรรม ตอนนั้น เป็นเพียงแค่พนักงานจัดสวนของเทศบาล เมืองนิวยอร์ค แต่มองเห็นภัยอุตสาหกรรมที่ จะทำให้บ้านเมืองทัศน์พินาศได้ ถ้าไม่รับแนวคิด โรแมนติกไว้บ้าง เลยต่อสู้เพื่อกันเนื้อที่ของเมือง ให้เป็นสวนใหญ่โตมหึมาไว้เป็น central park ปัจจุบัน เชิดหน้าชูตาให้กับชาวเมืองจนถึงปัจจุบัน ก่อเกิดความคิดของ garden city ไปทั่วอเมริกา เจ้านายไทยไปเห็นเข้าก็เลยเลียนแบบดีๆของเขา มาสร้างสวนลุมพินีให้ไว้กับกรุงเทพฯ ชาวกทม. เลยได้มีปอดใหญ่ไว้ซึมดูดก๊าซพิษได้พอทำเนา จนถึงปัจจุบัน ส่วนที่ตั้งสวยๆนั้น ก็นับว่าเป็น โชคดีของคนไทย ที่คนถือครองได้ไม่มาก ส่วนมาก บ้านเศรษฐีเลยเป็นที่ตั้งห่วยๆ แถมเจ้าของรสนิยมห่วยด้วย เลยสร้างบ้านแล้วก็ได้ผลห่วย...เท่ไปอีกแบบ เพราะ ไปเน้นบ้านโตคับฟ้า ถือเป็นหน้าตาของความร่ำรวย ของตน แทนที่จะถือเอาธรรมชาติ สถาปนิกก็ไม่แนะนำ เรื่องการเสริมธรรมชาติทดแทนให้ เพราะทำบ้าน โตแล้วจะได้ค่าแบบมาก เลยมักชวนให้บ้าตามเจ้าของ แล้วปล่อยให้ภูมิสถาปนิกออกแบบสวนตกแต่ง แบบกระปิดกระปอย ไอ้ที่จะปลูกหรือหาที่ตั้งที่มี ต้นไม้ใหญ่โตเท่าคนโอบไม่รอบจึงไม่มี จะยุให้ ไปขุดในป่าก็ไม่ได้ หรือได้ ก็ไม่มีเทคโนโลยีแบก มาปลูกได้ ผมเคยเสนอให้จุฬาฯอนุรักษน์ต้นโพธิ์ ก็ไม่เอา ครั้นขู่ว่าถ้าตัดทิ้งไป ผีต้นโพธิ์จะหักคอเอา ก็แค่เชื่อเพียงขอให้ย้ายที่ไปปลูกที่อื่น เลยคงต้น โพธิ์ไว้ได้แค่นี้ ส่วนต้นไม้อื่นโตแค่ลิงโอบ ก็ไม่เอาไว้ ยกให้คนย้ายต้นไม้ไปฉิบ ส่วนไอ้บริเวณเว้นให้ปลูก ต้นไม้ใหญ่ อาจารย์ที่เป็นเจ้าพ่อก็เอาไปจัดสวน หินเสียนิ....เมืองไทยจึงเป็นได้แค่นี้เอง จิตสำนึกของพวกเรา จะสร้างให้เกิดความรักธรรมชาติได้ สิ่งหนึ่งคือหมั่นปลีกตัวเองไปอยู่นอนตามป่าตามเขาบ้าง อาจ ได้ลิ้มรสกลืนความงามธรรมชาติไว้บ้าง แล้วตอนออกแบบ ก็อาจถ่ายออกมาปรากฏในงานได้ เพื่อคนยุคหน้าจะได้จุดธูป บูชาเมื่อสถาปนิกคนนั้นตายไป สำนึกตรงนี้เกิดได้ต้องเริ่ม ที่การมองจิตวิญญาณของมนุษย์เยี่ยงจิตจักรวาลที่มีความ เป็นองค์รวมหรือหนึ่งเดียวกัน อย่าคบกับเจ้าของงาน หรือ พวกนักอุตสาหกรรมโรงงาน ที่มองโลกเป็นเครื่องจักรกล เหมือนเครื่องจักร์ในโรงงานตนที่ซื้อเลี่ยงภาษีมาจากเมือง นอกแล้วพากพูมใจจนไม่เป็นอันกินอันนอน ไม่มีจิตวิญญาณ ของธรรมชาติ อันเป็นดุจมารดาตน (mother nature) คนแบบนี้ ก็อย่าไปคบ อย่าไปส่งเสริมออกแบบให้ อย่าเพียงชอบเศษเงินที่เขา โยนมาให้เพียงเล็กน้อยเป็นค่าแบบ ต้องหัดเป็นสถาปนิกมีจิตใหญ่ จิตแบบจักรวาล คิดใหญ่ คิดใหม่ แล้วทำงานออกแบบเพื่อมวล มนุษย์ชาติทั้งจักรวาล..นีเป็นหลักการวิทยาศาสตร์ใหม่นะครับ คิดกันแบบนี้ ...ใครๆเขาต้องคิดว่าเป็นพวกจิตเพี้ยนไม่สมประกอบ สำหรับปัจจุบัน ..พวกคุณจะทนไหวเหรอ? ..คือเป็นคนจิตใหญ่เขาว่า บ้..บา เป็นคนจิตเล็กเหมือนที่เป็นกันเขาว่า..ดี..ออก ...แล้วจะเอากัน อย่างไรดี....ครับท่าน?
โดย เพื่อนอาจารย์ [28 ต.ค. 2545 , 14:13:03 น.]

ข้อความ 2
แล้วอาจานคิดอย่าวไรกับทีทมีคนกล่าวว่า สถาปัตยกรรมscaleเล็กๆก็พอแล้ว ครับผมเห็นว่าปัจจุบันใน กทม นี่ก็มีตึกร้างมั่ง สร้างทิ้งไว้มั่ง เยอะแยะ ไอ่ที่มีคนเช่าอยู่ก็ใช่ว่าจะเต็มทุกชั้นทุกตึก แต่ทำไมเราเองแท้ๆกลับชอบมานั่งคำนวนกันให้เจ้าทุนนายทุนฟังว่าต้องสร้างสูงๆเท่านี้ๆชั้น ถึงจะคุ้มทุน แล้วยังทาง กทม เองอีก อนุมัติกันเข้าไป อาจานว่ามันเกิดเพราะทางเจ้าของอย่างเดียวหรือเราไม่มีสำนึกด้วยครับ ส่วนตัวแล้วผมเห็นว่างานปัจจุบันถ้าไม่ใช้บ้าน สถาปนิกนิยมออกแบบscaleใหญ่กันมากๆ ใหญ่ที่นี้ไม่ใช่แค่สูงนะครับ บางงานไม่สูงแต่แผ่เต็มที่ดินโดยไม่รู้เหมือนกันว่าที่ทำไปกว้างๆนั้นจะใช้ทำอะไร
โดย eps [29 ต.ค. 2545 , 03:32:05 น.]

ข้อความ 3
ต้องขอเลี่ยงไปที่ความหนาแน่นของกิจกรรม ดีกว่าขนาดอาคารในแง่สูงหรือเตี้ย ถ้าเกิด ความเหมาะสมระหว่างขนาดและกิจกรรม ก็น่าจะเป็นข้อคิดหนึ่ง ที่ว่างภายนอกหรือในแง่ ธรรมชาติคงจำเป็น ยิ่งเมืองร้อนไม่มีภัย ธรรมชาติมากเช่นบ้านเมืองเรา กิจกรรมภายนอก ก็จำเป็นไม่น้อยกว่าภายในอาคาร การพิจาณาขนาดอาคารอีกแง่ก็คือเทคโนโลยี ที่เหมาะกับสถานที่ และแง่การลงทุนที่อาจทำ แบบค่อยเป็นค่อยไป พวกอาคารเตี้ยเลยจำเป็น ในแง่นี้ ผมยังเคยลองคิดกับนิสิตถึงการทำโครง การรีสอร์ทที่อัดห้องพักไว้ในตึกสูง พักกันเหมือน บ้านทาร์ซานลอยฟ้า ยกพื้นสูงลอยเหนือต้นไม้ ธรรมชาติในระดับสายตาก็ยังรักษาสภาพธรรม ชาติเดิมไว้เกือบหมด เทคโนโลยีอาคารสูงช่วง กว้างสุดๆ เดี๋ยวนี้ก็ทำได้ รูปลักษณ์อาคารทำเหมือน ตนไม้ยืนต้นประดิษฐ์ได้ ..นี่มองในการใช้ เทคโนโลยีกันสุดๆแพงๆ ..นะครับ ประเด็นเรื่องนี้อยากให้สถาปนิกฉีกหาแนวคิด ที่แปลกและแตกต่างไว้เรื่อยๆ คิดแบบเสนอแบบ ให้สนุกๆ หยิบยื่นประสบการณ์ใหม่ๆให้ผู้ใช้ด้วย อาจเป็นการฝันเฟื่องบ้าง ก็น่าลองนะครับ จินตนาการสถาปนิกเป็นสิ่งที่สังคมอาจมุ่งหวัง ให้พวกเรามีมากๆก็ได้นะครับ ทั้งๆที่แนวคิด เหล่านี้มันโยงใยกันหลายเรื่อง ก็ต้องลองทักทอ กันด้วยนะครับ ..ตั้งจิตไว้ดีมีกุศลจิต ผมว่า ทำอะไรมันก็ต้องดีเป็นบุญกุศลสำหรับผู้อื่นได้ ผมเชื่ออย่างนี้...คิดเรื่องนี้ก็เหนื่อยทุกที...ครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [29 ต.ค. 2545 , 21:23:41 น.]

ข้อความ 4
site สวยหรือไม่สวย ทำงานยากทั้งคู่นะครับ บางครั้ง site ที่สวยมากๆ สถาปนิกก็จำเป็นต้องมีสายตาแหลมคมในการจับเอาข้อดีที่ยังถูกซ่อนอยู่ออกมาเผยให้เห็น ในขณะที่ site ไม่สวยแต่ทำให้สวย อารมณ์ยากก็คล้ายกัน คือ พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส แต่ที่ง่ายก็คือ nothing to lose ส่วนตัวแล้วทำงานคละเคล้ากันไป ทำให้ได้ลับสมองในภาวะที่สถานการณ์ของsite แตกต่าง ดีที่สุดครับ
โดย ruzzian [1 พ.ย. 2545 , 00:24:52 น

ยิ่งเห็นอะไรมาก ก็ยิ่งรู้ว่ามีอะไรให้เรียนรู้อีกมาก แล้วจะใช้ชีวิตอย่างไรครับ

มีอีกหลายสิ่งที่น่าเรียนรู้ แค่เฉพาะในห้องเรียนก็ไม่น้อยแล้ว เรื่องเพื่อน-สังคม- ครอบครัว และสิ่งที่ตัวเองสนอีก อาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องเรียนโดยตรง แต่มันเกี่ยวกับการใช้ชีวิต จะใช้เวลาอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด ให้ทุกเวลาคือเรียนรู้ ให้ทุกเวลาได้รับผิดชอบต่อครอบครัว-เพื่อน-สังคม
โดย SnITT [25 พ.ย. 2545 , 22:39:14 น.]

ข้อความ 1
ผมเคยเอาเรื่องชีวิตคือการเรียนรู้ ที่ผู้อื่นเขียนไว้ ส่วนตัวเห็นว่าดีเลย เอามาฝากพิจารณากัน เยี่ยงกัลยาณมิตร การเรียนรู้นั้นมีลักษณะของการเชื่อมโยง กันหมดทั้งตัวเองและต่อครอบครับ คนใกล้ชิด ขยายไปจนระดับสังคมที่เรามีโอกาสต้องเข้าไปโยงใย ขนาดขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์อย่างสมดุลป์ที่เราสร้างขึ้น เช่นมีครอบครัวที่เป็นสุข ก็เพราะเรารักษาสหสัมพันธ์ ที่สมดุลป์ ถูกต้อง และเกื้อกูลกัน ขจัดอุปสรรค ที่จะมาทำให้เสียศูนย์ การเรียนรู้ในโรงเรียนก็ เช่นกัน เหมือนๆกับขอบเขตในระดับสังคม หรือที่มี ขนาดใหญ่กว่า จนถึงระดับจักรวาลที่เป็นองค์รวม พระพุทธเจ้าจึงได้ชื่อว่าเป็น "สัพพัญญู" คือผู้รู้แจ้ง รู้จริง รู้ทั่ว รู้หมดสิ้น ว่าจักรวาลคืออะไร เป็นเช่นไร รู้ตั้งแต่ตัวตนจนถึงสหสัมพันธ์ของจักรวาลนั่นเอง คำสอน หรือธรรมะจึงครอบคลุมทุกๆเรื่อง มีประโยชน์ให้ เราทุกคนดำเนินรอยตามได้ เพราะสิ่งที่ท่านค้นพบ คือธรรมชาติของสรรพสิ่ง หรือจักรวาลนั่นเองครับ โปรดอย่าเชื่อ..แต่ก็อย่าปฏิเสธ ..และก็ต้องศึกษาพิจารณาเรื่องนี้ กันไป อาจตลอดทั้งชีวิตนี้ของเราก็ได้ ..ถ้าเผอิญไม่มีอะไร มาชนโลกให้พินาศเสีบก่อน เหตุปัจจัยเพราะอัตตามนุษย์ มันดันใหญ่โตกันจนถึงระดับไดโนเสาว์ ที่ทำให้สมดุลป์โลก เสียศูนย์ จักรวาลเลยต้องปรับตัวเองเสียใหม่ ตามหลักความสมดุลป์ หรือทางสายกลาง ที่เป็น กฏของธรรมชาตินั่นเอง .....ครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [27 พ.ย. 2545 , 10:25:30 น.]

ข้อความ 2
ลองอ่านหัวข้อ "ชีวิตคือการศึกษา" เป็นกระทู้ข้างล่างในเว็บบอร์ดนี้ นะครับ ..น่าจะเกี่ยวข้องกับคำถาม
โดย ขออีกที [27 พ.ย. 2545 , 10:33:23 น.]

ข้อความ 3
ศาสตร์ ของ โลก เรียนอย่างไรก็ไม่จบหรอก
โดย ever [27 พ.ย. 2545 , 11:54:21 น.]

ข้อความ 4
ในทางธรรม..ที่สุดของโลกคือการรู้เท่าทัน ของกิเลสในตัวเรา โลกนั้นเป็นเรื่องสมมติ โดนปรุงแต่งด้วยอุปทานขันธ์จนกลายเป็นกิเลส ต้องเรียนโน่นเรียนนี่ โดยไม่เรียนรู้ตนเองไปด้วย เรียนอย่างนี้เรียนเท่าไรก็ไม่จบจริงๆ เพราะ ลืมเรียนเรื่องของตนเอง จึงไม่รู้เท่าทัน จึงเรียนไม่จบ การเรียนให้จบสิ้นของโลก คือการเรียนเพื่อรู้แจ้ง รู้จริง รู้เหตุปัจจัยที่เกิดโลก สุดท้ายรู้ว่าเกิดจาก กิเลสนั่นเอง รู้เหตุปัจจัยที่ก่อตัวของกิเลส เช่น ความอยากมี อยากได้ อยากรู้ อยากต่ออะไรๆ ฯลฯ ถ้าอยากลดละให้หมดสิ้นของกิเลส ก็ต้องทำให้หมดสิ้น ที่เหตุปัจจัยในเรื่องนั้นๆ การเรียนรู้โลกก็จะจบ เพราะหมดเหตุปัจจัย ที่เป็นสิ่งทำให้เกิดโลก หรือเรื่องสมมติทั้งหลาย ที่มีกันมากมายเหลือคณานับ อันเกิดจากอวิชชา ทั้งสิ้น เพราะไม่มีปัญญา จึงขวนขวายหาสิ่งที่ไม่รู้ แล้วทึกทักว่ารู้ เลยกลายเป็นความไม่รู้ที่ทำให้โลก ดำรงอยู่อย่างที่เป็นปัจจุบันนี้เอง ..ครับ ผมเองพูดมาก็ยังไม่รู้ แต่ดันนึกว่าจะรู้ ก็ยัง เรียนรู้ทางโลกยังไม่จบ ..อย่างที่คุณว่ามาแหละ
โดย เพื่อนอาจารย์ [28 พ.ย. 2545 , 15:37:27 น.]

ข้อความ 5
ใช่ครับสำหรับความคิดที่ว่า ศาสตร์ของโลกเรียนยังใงก็ไม่จบ ถ้าเราลองย้อนมาดูตัวศาสตร์เองแล้ว มันมีจุดเริ่มมาจากอะไร มันมีจุดเริ่มมาจากการสังเกตุสังกา การคิดใคร่ครวญ การวิเคราะห์เหตุและผล ทุกๆปรัชญาชี้ไปในทางเดียวกันว่าทุกสิ่ง เป็นธรรมชาติมีกฎเกณฑ์ของมัน แม้แต่ตัวมนูษย์ผู้มีสติปัญญา เผ่าพันธ์ที่อยู่เหนือทุกสิ่งในธรรมชาติ ก็ยังต้องมีกฎเกณฑ์ แต่ก็ยังมีมนุษย์บางชนิด ที่เห็นแก่ตัวมองเห็นแต่พวกของตัวเอง ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาเพื่อการตอบสนอง อารมณ์และความต้องการพรรคพวกของตัวเอง ผลของมันเลวร้ายส่งผลถึงระดับโลก ทุกสิ่งในโลกจึงไม่ยอมรับและ กำลังมีการตอบโตการกระทำ ของพวกมนุษย์เหล่านั้น ศาสตร์ที่มนุษย์ รู้เกี่ยวกับพวกมันเพียงเล็กน้อยแล้ว บังอาจมาใช้ในการควบคุมพวกมัน จึงย้อนกลับมาทำลายมนุษย์เอง เช่นสภาวะวิกฤตของโลกในปัจจุบัน มันเกิดจากการใช้ความรุ้ที่ปราศจาก สติ การยั้งคิด การรับผิดชอบ ใช่ใหมครับ ถ้าสมมติว่ามีหนังสือเล่มหนึ่งที่สอน การใช้สติ การยั้งคิด และการรับผิดชอบ ให้กับมวลมนุษย์คุณคิดว่ามันพอเพียงหรือไม่ แล้วถ้าหนังสือเล่มนั้นมีจริงคุณจะอ่านมันไหม หนังสือเล่มนั้นเผยและชี้นำมนุษย์ไปสู่ความจริง ทุกสิ่งในจักรวาลมีคำตอบอยู่ในมัน แต่งขึ้นมาเพื่อเป็นแบบแปลนในการอยู่อาศัย และใช้ชีวิตให้เข้ากับจักรวาลนี้ได้อย่างมีความสุข แต่งขึ้นโดยผู้ที่สร้างจักรวาลนี้เอง ชื่อของมันคือ อัลกุรอาน ในนามแห่งอัลลอฮผู้ทรงกรุณาประณี ต่อทุกสรรพสิ่งในเอกภพนี้ และเมตตาเฉพาะผู้ที่เชื่อมั่นในอัลลอฮ ในโลกที่แท้จริงคือปรโลก จงอ่าน ในนามของผู้บริหารให้การดูแลจักรวาล ผู้ทรงสร้าง
โดย คำตอบของผู้สร้างโลก [29 พ.ย. 2545 , 17:45:37 น.]

ข้อความ 6
ตำราที่กล่าวอ้างนั้น ผมว่าน่าสนใจ และเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ชี้นำเราไปสู่ปัญญาได้ คำสอนในศาสนาอิสลามย่อมต้องยอมรับและนับถือ ในคุณค่าความรู้ที่ค้นพบไว้ เพราะมีชาวโลก จำนวนไม่น้อยที่ยอมรับกัน ถ้ามีความเข้าใจ ตรงกันมากๆ การเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง ก็ย่อมสร้างภาวะสมดุลย์ได้ง่ายขึ้น เผอิญผมเกิดมาและได้การรับรู้ในบริบท ของพุทธศาสนา ผมจึงเรียนรู้ในเรื่องของพุทธศาสนา ซึ่งผมคิดว่า ไม่ว่าเราจะเรียนรู้ในบริบทไหน ของศาสนาใด สุดท้ายถ้าเป็นความจริงแท้ ก็ย่อมต้องโยงใยไปสู่เรื่องเดียวกัน อุปมา เหมือนภาษาที่ใช้สื่อความเข้าใจของมนุษย์ทั้งโลก ผู้รู้ในศาสนาทั้งหลาย ถ้าร่วมกันสื่อปัญญาให้ กันและกัน โลกก็จะเกิดสันติสุขได้แน่นอน แต่เพราะกิเลสตัณหา ทำให้มีผู้ใช้ศาสนาไปใช้ ในทางที่ผิด สร้างความแบ่งแยก ความขัดแย้ง เลยทำให้โลกทั้งใบเสียสมดุลย์ จึงวิกฤติขึ้นเรื่อยๆ ผมเองก็ยังคาดเดาไม่ได้ว่าจะสิ้นสุดกันเมื่อใด แต่อย่างไรก็ช่างเถอะ มาร่วมกันสร้างความสมดุลย์ ในจักรวาลของตัวเราเองกันก่อน ผมว่าความสมดุลย์ ก็จะขยายตัวไปได้เอง เพราะการมีทรรศนะคติแบบนี้ มันหมายถึงจักรวาลที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งในตัวเรา และภายนอกรอบตัวเราครับ ยินดีที่ได้คุยและรับรู้เรื่อง "พระเจ้า" ของศาสนาอื่น ดีใจที่เราพอคุยกันรู้เรื่องในเรื่องที่ยากจะเข้าใจ ในภาษา แต่ผลคือทำให้เกิดสันติภาพในจิตใจ ของเราแต่ละคนได้ครับ ..แล้วจะหมั่นศึกษา มาแลกเปลี่ยนความเข้าใจซึงกันและกันครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [30 พ.ย. 2545 , 09:43:18 น.]

Deconstruction of Love

Deconstructionคือการไม่ยึดติดกับคู่ตรงข้ามทางโลก ขาว-ดำ สวย-น่าเกลียด สูง-ต่ำ... ทำไมต้องสวย สวยคืออะไร ความสุนทรีย์หาใช่แค่ความสวยงามไม่ ความน่าเกลียดสุนทรีย์เช่นกัน Deconให้โอกาสทั้งคู่ให้เกิดขึ้นพอๆกัน รู้หรือไม่ คนเราก็โหยหาความ'น่าเกลียด'อยู่ลึกๆ แต่เราถูกภาพลวงหลอกเอาให้ชื่มชมเฉพาะคู่ที่ดูสวยงาม ดูสิ แม้แต่ตอนเราเกิดออกจากครรภ์ ก็หาได้ออกมาอย่างสวยงามราวมาจากสวรรค์ไม่ ถ้าเราทุกคนสามารถก้าวข้ามขอบเขตจำกัดแห่งโลกธรรมนี้ได้ โลกก็คงดีงามขี้น คนเราก็จะเลิกมองคนอื่นที่รูปลักษณ์ภายนอก เพราะสวยจะ=น่าเกลียด แต่จะหันไปชื่มชมสิ่งที่อยู่ภายในปัจเจก และเป็นไปได้หรือไม่ ที่เมื่อนั้น ประตูแห่งโลกอภิปรัชญาจะเปิดออก เราทุกคนจะเข้าสู่สภาวะตรัสรู้ เราทุกคนจะสามารถก้าวผ่านประตูนี้ ไปพบคำตอบว่า ทำไมเด็ดดอกไม้ถึงกระทบดวงดาว หรือทำไมผีเสื้อถีงทำให้เกิดพายุ พลังแห่งความรักอันบริสุทธิ์ไร้ซี่งกายปัจจัยจะเป็นกุญแจสู่ความลี้ลับที่เราต่างเฝ้าค้นหา... โอ้ ช่างน่าอัศจรรย์เสียนี่กระไร
โดย จญิมโณเภดัย ๒ [28 ธ.ค. 2545 , 02:49:18 น.]

ข้อความ 1
ถ้าคุณ ... เป็นคนเขียนเอง ฉันเชื่อว่า คุณ ... น่าสนใจมากทีเดียว ชอบ ๆๆๆ ... ((บทความ))
โดย ar33 [29 ธ.ค. 2545 , 23:12:51 น.]

ข้อความ 2
ไม่ได้เขียนเองครับ แต่ใช้จิตใจเขียน ใช้จิตใจที่ลอยอยู่บนฟ้า มองหาดาวพราวแพรวแล้วมองน้ำ ฉ่ำลำจิตก่อเกิดกำเนิดฝัน ทันใดนั้นใจก็พลันสรรค์ทัศนะ ละจากแบบแนบดินสอก่อเกิดความ เหวย ชักเพี้ยนซะแล้วววว จบ
โดย จญิมโณเภดัยar38 [30 ธ.ค. 2545 , 22:04:22 น.]

ข้อความ 3
เขียนได้ไพเราะดี ฝึกไว้เรื่อยๆนะครับ ฝึกระบายความคิดโดยการเขียน ดีกว่าไประบายอารมณ์ทางอื่น .. เรื่องปรัชญาของ deconstruction ในแง่ความคิดสองขั้ว ที่ไม่ควรยึดถือ เพราะเป็นเรื่องครือๆกัน ทำนองหนังจีน กำลังภายในที่ กิมย้ง ประพันธ์ไว้ในเรื่อง มังกรหยก ทำให้แยกกันไม่ออกระหว่าง ธรรมะกับอธรรม หรือ เทพกับมาร ผมเองก็ว่า..เป็นความช่างคิดที่เข้าท่า ..แต่ ไม่น่าจะเข้าที ในแง่คำสอนทางพุทธศาสนา ในแง่สมมติ บัญญัติ จะหมายคำไปในแง่ใดก็ได้ เพราะจิตปุถุชนที่ เปื้อนกิเลส ก็ย่อมเห็นในสิ่งที่ต่างไม่ต่างกันนักหรอก แต่ในแง่ปรมัตต์ธรรมนั้น ต่างกันแน่นอน เช่นคนมีกุศลจิต จิตที่ไม่มีอาสวะของกิเลส ย่อมต่างจากคนที่มีอกุศลจิต แน่นอน ความงามในจิตของพระอริยะ ไม่มีวันเป็นเช่นเดียวกันกับความงามในจิตของปุถุชน เพราะมันอยู่กัน คนละมิติกันครับ ประเด็นอยู่ที่เจ้าของปรัชญาดีคอน รู้เรื่องปรมัตต์ธรรมหรือ? ซึ่งในแง่หนึ่งความคิดสองขั้วนั้นก็ไม่น่าจะมี เช่น ทาง ปรมัตต์ธรรมระบุว่า มนุษย์นั้นเหมือนกันทั่ว เพราะ ประกอบด้วยธาตุสี่ คือ ดินน้ำ ลม ไฟ เป็นวัตถุที่มีองค์ ประกอบเหมือนกัน แต่เพราะความเป็นมนุษย์ มันไม่เป็น แค่สังขารธาตุอย่างเดียว ดันมี จิต เป็นตัวสร้างความต่าง มีความปรุงแต่งเป็นเหตุปัจจัย ให้ต้องมีความต่างกัน จึง ต้องแยกแยะขั้วต่างที่ไม่เหมือนกันให้ชัดเจน ไม่งั้น สอนกันให้เกิดปัญญาไม่ได้ ยกเว้นในกรณีของคนที่ บรรลุธรรมชั้นระดับพระอรหันต์ในพุทธศาสนา ที่ได้ ปัญญาสูงสุดแล้ว ความต่างใดๆไม่มีในชั้นปรมัตต์ธรรม แต่ในแง่สังขารหรือกริยาที่ปรากฏก็ยังมีความต่าง เช่น อ้วนหรือผอม สูงหรือต่ำ ฯลฯ แต่ในจิตนั้นไม่มี เพราะ เป็นจิตที่อยู่ในมิติหรือระดับที่หมดอาสวะของกิเลสทั้งสิ้น คนมีจิตในระดับนี้ คงไม่มาเกลือกกลั้วกับ การออกแบบ เล่นโวหารปรัชญา เพื่อเอางาน เอาค่าออกแบบละมัง เพราะฉะนั้น การละเว้นเรื่องความเป็นสองขั้ว จึงเป็นการเรียนรู้ที่ยังไม่ครบ หรือไม่ก็เล่นโวหารเพื่อผลทางธุระกิจ การออกแบบเท่านั้น ..ผมเองทีแรก ก็พยายามดูว่าสถาปนิก แปลงโวหารนี้ในเรื่องรูปธรรมทางสถาปัตยกรรมกันอย่างไร ดูเท่าไรก็ไม่อินสักที อาจเป็นเพราะแก่ชราแล้ว สมองมันแข็งตัว ไม่เชื่อใครง่ายต่อไปอีกแล้ว ตอนอ่านแปลเรื่องดีคอนของนาย Tshumi หรือ นาย Eisenman ก็ไม่เกิด "ซาโตริ" (ฌานหลุดพ้น ของนิกายเซน) สักที ขณะนี้กลับสนใจสถาปัตยกรรมเพื่อความ สงัด สถาปัตยกรรมที่เห็นแล้วพบสมาธิในจิต ทำให้เกิดจิตที่ บริสุทธิ์ผ่องใส ปรัชญาแบบนี้อาจเข้าใจและรู้สึกได้ง่ายหน่อย เพราะอาจเหมาะกับวัยผมที่กำลังต้องการละมัง .. จะเกี่ยวข้องกับความคิดสองขั้วสำหรับ Deconstruction of Love ไหมเนี่ย ...Happy New Year ..ครับ ปีใหม่แล้วเลยค่อนไปทางธรรมะธรรมโม เอามากๆทีเดียว
โดย เพื่อนอาจารย์ [31 ธ.ค. 2545 , 12:25:17 น.]

วิศวะ เปนไรกะถาปัต

รุสึกจะอคติจริง วิศวะมีวิชาที่มาเรียนของถาปัตบ้างหรือไม่ มีอะไรบอกมาตรงๆดีกว่า จีบสาวไม่สู้ละสิ 555
โดย kid [7 ธ.ค. 2545 , 22:28:10 น.]

ข้อความ 1
ไม่มีอารายในกอไผ่ดอก แค่วิปัสนากันตามวัย
โดย 789 [8 ธ.ค. 2545 , 02:10:15 น.]

ข้อความ 2
กั๊กๆๆๆ ตอนสมัยนู่นก็มีหลายเรื่องที่เคยพูดอะไรทำนองนี้(ไม่ใขเรื่องนี้นะ) .....ทำไมคนอื่นถึงขำกันจัง ...เข้าใจแล้วจ้า....5555
โดย ถาปัดล้มแล้วลุก สู้ตลอด..55 [8 ธ.ค. 2545 , 10:27:52 น.]

ข้อความ 3
ก่อนจะเป็นผลให้เก็บเกี่ยว ชาวสวนไม่ได้ให้ความสำคัญที่ส่วนใดส่วนหนึ่งทุมเทเฉพาะด้าน แต่ได้สนใจและใส่ใจในทุกๆปัจจัยที่ทำให้เกิดผลที่งดงามได้ .... ทุกคนต่างเป็นฟันเฟืองของกันและกัน จึงเกิดเป็นสังคม .....ถ้าเฟืองตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้ทำหน้าที่ด้วยความเคารพในเฟืองตัวอื่น กลไกต่างก็ไม่สามารถส่งผลผลิตที่ดีงามได้
โดย ถาปัดอีกรอบ [8 ธ.ค. 2545 , 10:43:12 น.]

ข้อความ 4
สายพันธ์วิชาสถาปัตยกรรม จะว่าไปแล้ว แยกหน่อออกมาจากวิชาวิศวกรรมโยธา ในประเทศเกาหลี ยังคงเป็นการศึกษาร่วมกัน แต่ของเราขณะนี้ รู้สึกว่าแบ่งแยกจนเกินไป กระนั้นก็ตาม ก็ยังมีคนเรียนจบวิศวกรรมแล้ว มาสอบเอ็นเรียนสถาปัตย์เอาอีกปริญญา ก็มี แล้วออกไปทำอาชีพออกแบบและก่อสร้างได้ครบวงจรมากขึ้น เพื่อนผมในรุ่น ทนเสียดายวิชาฟิสิกส์ที่เคยชอบไม่ได้ เรียนสถาปัตย์ได้หน่อย ก็หนีกลับไปเรียนวิศวกรรมอีก เรื่องสถาปัตย์และวิศวะเลยแยกกันไม่ค่อยได้หรอกครับ เพราะดันเป็นญาติพี่น้องกันมาก่อน ตัดกันไม่ขาด ผมเองยังสนับสนุนให้มีครูที่จบทางวิศวะ เป็นครู ประจำคณะเรา ซึ่ง เราเองก็จะได้รู้เรื่องโครงสร้างมากขึ้น ส่วนเขาที่เป็นวิศวกรก็จะสนใจการออกแบบโครงสร้างด้วย ทำงานด้วยกันในคณะ รูปแบบสถาปัตยกรรมก็น่า จะก้าวหน้าได้ไกลกว่านี้ ผมนั้นจนใจในความร่วมกัน ที่ยังไงก็ไม่เกิดขึ้นได้สักที ซ้ำร้ายดันแยกแขนง ออกกันไปมากขึ้นเรื่อย จนเหมือนเป็นเรื่องตัวใครตัวมัน นี่ก็ดีใจ ที่อจ.ดร.สุนทร นำเอาวิชาสถาปัตย์ไปเกี่ยว กับวิศวกรรมในด้านเท็คโนโลยี หรือเรื่องพลังงาน มากขึ้น เรียนรู้เรื่องการคำนวณกันมากขึ้น โครงการ บ้าน "ชีวาทิตย์" จึงเกิดขึ้นตามที่ผมลอกเอามาเชียร์ไว้ เคยเอาไปอวดคุยกับอจ.ที่คณะเราบางคน กลับแย้งว่า นั่นเป็นเรื่องวิชาวิศวะ ผมเองก็อ่อนใจที่ดันคิดกันอย่างนี้ สำหรับพวกเรานอกจากคอยไล่จีบหญิงแข่งกับพวกวิศวะแล้ว ก็น่าจะคบกันไว้บ้าง และแลกเปลี่ยนความรู้กันไว้ด้วย ก็จะช่วยงานอาชีพที่เราจะทำได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งถ้าได้ภรรยา หรือสามีเป็นวิศวะก็น่ายินดีกัน..นะครับ ยังไงแต่งงานกันในแบบเครือญาติลักษณะนี้ ลูกหลานที่เกิดมา ไม่น่าเป็นเด็กอีเดียดเเสมอไป หรอกนะครับ..ท่านครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [22 ธ.ค. 2545 , 14:27:18 น.]

เรื่องของเวลาและการส่งงาน

ผมว่าบางที่ทฤษฎีสัมพันธภาพอาจจะช่วยอธิบายถึงการส่งงานlateหรือเข้าเรียนช้าของเราชาวนิสิตได้นะครับ คือว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลายนำเวลาจากไหนมาใช้เป็นมาตรฐานครับ ในเมื่อเวลาเป็นสัมพัทย์(relative)ไม่ใช่สัมบูรณ์(absolute)... เป็นไปได้ไหมครับ ว่ายิ่งผมวิ่งมาส่งงาน(หรือเข้าเรียน)ด้วยความเร็วที่สูงกว่าอาจารย์ที่นั่งดูนาฬิกาอยู่เฉยๆ จึงทำให้เวลาในมิติกรอบอ้างอิงของผม เดินช้ากว่าของอาจารย์ นั่นทำให้เมื่อผมมาส่งงาน นาฬิกาของผมก็ตรงเวลา แต่อาจารย์กลับว่าlate น่าคิดนะครับ น่าคิด...(o_O )
โดย จญิมโณเภดัย 2 [6 ธ.ค. 2545 , 21:53:58 น.]

ข้อความ 1
เห็นด้วยกับความช่างคิด ที่เอาทฤษฎีวิทยาศาสตร์ มาโต้แย้งกับการส่งงานช้ากว่ากำหนด แต่อาจเป็นวิธีคิด...แบบศรีธนญชัย แม้มีเหตุผล(ที่ต่าง proposition กัน) ที่อาจอ้างคนละเรื่องกัน เช่นควรอ้าง ที่ส่งงานช้า เพราะรถติด ตื่นนอนสาย ฯลฯ เอาแบบเซื่องๆดีกว่าทางิวชาการสูง หรือเล่นโวหารปรมัตต์ธรรม ที่บางที อาจารย์อาจไม่รู้เรื่อง เลยโกรธเอาว่า คุณมาอวดฉลาดกว่าอาจารย์ ความเชื่อมโยงของกฏการส่งงานตรงกำหนด มันอยู่ที่ความพร้อมเพรียง การรวมงาน ในเวลาที่ต้องทำงานร่วมกัน ในสภาพการณ์ บางอย่างทำงานต่างเวลากันจะไม่เป็นผล เช่นเมื่อลูกค้าต้องการแบบของสถาปนิก เขาอาจมีเงื่อนไขเวลา ถ้าเราส่งแบบเขาช้า ก็อาจเป็นปัญหากับเขาได้ในภาระกิจของเขา ทางคณะฯเลยอาจฝึกฝนเรื่องนี้ให้พวกเราตระหนัก แต่นั่นแหละงานสถาปนิกเป็นงานสร้างสรรค์ บางทีอยากทำงานให้ดี ก็เลยลืมเวลาไปหน่อย ผมเองตอนเป็นนิสิต ก็ส่งงานช้าเสมอ แต่ใช้ วิธีขอผ่อนผันจากอาจารย์ โดยแสดงการรักเรียน และเคารพคำตักเตือนอาจารย์มาเสมอๆ พระเจ้าก็ดลใจอาจารย์ให้อภัยเป็นบางครั้ง แต่ถ้าผมกลับไปเป็นคุณได้ตอนนี้ ผมจะตรงและ รักษาเวลาให้เที่ยง เพราะการไม่ตรงเวลา ทำให้ผมหลุดความเชื่อมโยงที่เป็นโยงใยดีๆไปเยอะ บางโอกาศเพราะหลุดเวลาที่นัดหมาย กลับกลายไป โยงกับอีกวงจร ทำให้ชีวิตบัดซบไปได้เลยก็มี ผมอยากสรุปว่า นึกเสียว่าพระเจ้านัดพบเราเวลาไหน ก็ไปพบท่านเวลานั้น อย่าให้ท่านรอ เพราะท่านยังมีนัด กับคนอื่นที่รอขึ้นสวรรค์อีกมากมาย...ครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [7 ธ.ค. 2545 , 10:53:20 น.]


ข้อความ 2
time flies while u havin fun gal; times up when u work like a dog salut........
โดย greendaY [7 ธ.ค. 2545 , 22:29:51 น.]


ข้อความ 3
พรุ่งนี้ไม่เคยมาถึง เราต่างมีวันนี้ นาทีนี้ และวินาทีนี้เท่านั้น หลายครั้งที่เราบอก กับตัวเองว่า "พรุ่งนี้" พรุ่งนี้ค่อยทำ พรุ่งนี้ฉันจะรักเธอ พรุ่งนี้ฉันจะฝึกสมาธิ พรุ่งนี้ฉันจะกินมังสวิรัติ พรุ่งนี้ฉันจะเลิกบุหรี่ พรุ่งนี้ฉันจะขอโทษเขา พรุ่งให้อภัย สารพัดสารพันพรุ่งนี้.... แต่ พรุ่งนี้..ไม่เคยมาถึง ในความเป็นจริง เราไม่ได้มีชีวิตอยู่กับวันพรุ่งนี้ เรามีชีวิตอยู่ในขณะนี้ กับห้วงเวลานี้เท่านั้น ไม่มีใครจะล่วงรู้ได้เลยว่าเสี้ยววินาทีต่อจากนี้ไปอะไรจะเกิดขึ้น หากห้วงยามนี้ฉันหลับตาลง และหลับไปอย่างนิจนิรันดร์ คงมีหลายอย่างที่ฉันพลาดไป และไม่ได้ทำในชีวิต หลายครั้งเรารอให้โอกาสมาถึง รอให้วันพรุ่งนี้มาถึง แต่โอกาสไม่มีวันมาถึง วันพรุ่งนี้ไม่เคยมาถึง ทุกอย่างเป็นเพียงภาพลวงตาที่เราสร้างขึ้น ไม่เพียงแต่เรากำลังหลอกตัวเอง แต่เรากำลังหลอกคนรอบข้าง จริงแล้ว โอกาสอยู่ในมือเราแล้วตอนนี้ เวลานี้ โอกาสอยู่ตรงนี้ตลอดเวลา และก่อนที่เราจะมาอยู่ตรงนี้ด้วยซ้ำ หากได้มองกลับเข้าไปในชีวิต เราชอบที่จะผลัดวันประกันพรุ่งให้กับตัวเองและชีวิต จริงแล้วการผลัดวันประกันพรุ่งเป็นเพียงกลอุบายของจิต-ที่ทำให้เรารู้สึกมีความหวัง แต่ขณะเดียวกันมันก็ทำให้เราพลาดโอกาสไป ในที่สุดเราก็จะมาถึงทางตันของชีวิต คือ "ความตาย" และสุดท้ายแล้วก็ไม่มีโอกาสใดๆ หลงเหลืออีกเลยในชีวิต ทำไมเราไม่ลองคิดว่า เราเหลือเพียงวินาทีสุดท้ายในชีวิต เรากำลังจะตายไปจากโลกนี้ หรือโลกนี้จะแตกดับไปในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า หากคิดเช่นนั้น...ชีวิตเราคงจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง... เราคงจะมีชีวิตอยู่กับ "ชีวิตจริงๆ" ของเรามากขึ้น มากกว่าที่มีชีวิตอยู่กับบ้านหลังใหญ่ หรือหลังต่อไป รถคันใหม่ หรือคันต่อๆ ไป ตัวเลขที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงในธนาคาร เก้าอี้ในสำนักงาน ตำแหน่งที่วาดหวัง หรืออยู่กับการเข่นฆ่า แย่งชิงความเป็นใหญ่ หรือการทำสงครามใดๆ ในโลก คนส่วนใหญ่วางแผนการดำเนินชีวิตไว้ราวกับว่า ชีวิตคือสิ่งที่ออกแบบได้ตายตัว และเป็นอมตะนิรันดร์ เขาวางไว้ว่าจะเรียนจบเมื่ออายุ 21 หลังจากนั้นทำงาน เก็บเงินแต่งงานเมื่ออายุ 29 จะมีลูกเมื่อ อายุ 32 แล้วก็จะปลดละวางตัวเองตอนอายุ 50 เสร็จแล้วก็จะเดินทางค้นหาความจริงให้กับชีวิต หรือจะเข้าวัด บ้างก็ว่าจะเดินทางรอบโลก บ้างก็ว่าจะพักผ่อนหาความสุขให้กับชีวิต แต่เราแน่ใจได้หรือว่า วันเหล่านั้นจะมาถึง หรือคุณจะมีชีวิตอยู่ไปจนถึงวันนั้น ไม่หรอก...มันไม่มี เรามีเพียงวันนี้ และวินาทีนี้เท่านั้น อย่าลังเลที่จะทำอะไร หรือเติมสิ่งดีๆให้ชีวิตเลย การพักผ่อนไม่ใช่จะมีได้เมื่อตอนปลดเกษียณ ฮันนีมูนก็ไม่ได้เกิดขึ้นได้เฉพาะตอนแต่งงานใหม่ๆ การจะบอกรักใครสักคนก็ไม่ใช่บอกในวันที่เขาลาจากโลกนี้ไปแล้ว หรือบางครั้งเราเองต่างหากที่จะจากโลกนี้ไปก่อนที่จะได้บอกคำนั้นกับใครสักคน การค้นหาความจริงแห่งชีวิตก็เฉกเช่นเดียวกัน มันไม่มีป้ายบอก วัน/เดือน/ปี ที่ผลิต และวันหมดอายุ มันมีอยู่จริงไม่ว่าเราจะมีอยู่หรือไม่มีอยู่ก็ตาม มีแต่ชีวิตเราต่างหากที่มีวันหมดอายุ หากวันนี้เราคิดที่จะศึกษาหรือค้นหาความจริงแห่งชีวิต ความจริงก็ได้เปิดออกอยู่ตรงหน้าเราแล้ว อย่ารีรออีกเลย เพราะพรุ่งนี้... จะไม่มีวันมาถึง ถ้ามีคนถามผมว่า “ถ้าผมจะต้องตายไปในตอนนี้ ผมจะพลาดอะไรไปในชีวิต” ผมจะตอบว่า “ถ้าผมตายไปในตอนนี้จริงๆ ผมไม่รู้หรอกว่าผมพลาดอะไรไปบ้าง แต่ก่อนตายผมจะถามตัวเอง ที่ผ่านมาผมพลาดอะไรไปบ้าง” ***********
โดย biG illusion [11 ธ.ค. 2545 , 17:14:48 น.]


ข้อความ 4

สาธุ..ไพเราะน่านับถือยิ่งในร้อยกรองบทนี้ อาจเพราะกลั่นมาจากใจ ที่คำนึงถึงอยู่ในขณะนั้น จับความคิดได้ว่า ให้อยู่กับปัจจุบันเข้าไว้แหละดี อย่าพึงเอาแต่ฝันถึงพรุ่งนี้ ที่อาจไม่มีก็ได้ รู้อะไรที่พลาดในอดีต เพื่อทำดีในวันนี้ ฯลฯ สนใจเรื่องเวลา ก็ต้องเติมอ่านมิลินท์ปัญหา ไดอะเล็คติด ในเรื่อง กาล ระหว่างพระนาคะเสน กับพระเจ้ามิลินท์ เป็นเรื่องของพระอภิธรรมฯ ในพุทธศาสนา แต่งเขียนในรูปบทสนทนา ลองอ่านดูนะครับ ...แล้วอาจจะชอบก็ได้นะ
โดย เพื่อนอาจารย์ [12 ธ.ค. 2545 , 12:20:42 น.]

วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑...ชวนให้อ่านกัน

บางส่วนจาก..วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑..อุดมการณ์แห่งศตวรรษที่ ๒๑ (สู่ภพภูมิใหม่แห่งการพัฒนา)..โดย ประเวศ วะสี-๒๕๔๕
ศตวรรษใหม่ ชีวิตใหม่ โลกใหม่ (สถาปัตยกรรม..ใหม่) สหัสวรรษใหม่ ตามคติโลก นับเป็นนิมิตใหม่ ในช่วงเวลาเปลี่ยนใหญ่เช่นนี้ มนุษย์น่าจะคิดเรื่องใหญ่ๆ การคิดเรื่องใหญ่ได้ มนุษย์ต้องมี จินตนาการใหม่ ซึ่งเป็นจินตนาการใหญ่..ซึ่งจะพามนุษย์ไปได้ไกลที่สุด ไม่ใช่ ความรู้ เพราะความรู้มีข้อจำกัดในแต่ละยุคแต่ละสมัย เช่น สมัยโบราณสุโขทัย ใครจะเชื่อว่ามนุษย์บิน อยู่เหนือเมฆได้ พูดคุยกันข้ามบ้าน ข้ามเมือง ข้ามทวีปได้ เอาความรู้ทั้งหมดในยุคนั้นมารวมกัน ก็ทำไม่ได้เหมือน สิ่งที่เกิดขึ้นในยุคนี้ เพราะความรู้มีข้อจำกัด..บางสิ่ง ทำได้ แต่บางสิ่งทำไม่ได้ จินตนาการเป็นเครื่องมือของมนุษย์ในการขยายหรือเพิ่ม ความรู้ให้พ้นข้อจำกัด จินตนาการต้องมาก่อนความรู้ เพราะจินตนาการไม่มีข้อจำกัด ไปได้ไกลสุดเท่าใดก็ได้ จินตนาการจึงเป็นพลังดึงให้เกิดความรู้ที่จะทำสิ่งใดๆให้ได้

ดังเช่นคำกล่าวของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่ว่า.. "Imagination is more important than knowledge" ดังนั้นมนุษย์ในสหัสวรรษใหม่ เพื่อการเปลี่ยนแปลง ที่ดีขึ้น จำเป็นต้องมี จินตนาการใหม่ ..ต้องไม่เป็น จินตนาการเล็ก ..แต่ต้องเป็นจินตนาการใหญ่..ด้วย เพราะ

๑. โลกวิกฤต ..ธรรมชาติโดนกระทบกระเทือน อย่างแรง ป่าไม้โดนทำลายมาก อุตสาหกรรมต่างๆ สร้างมลภาวะให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษมาก โลกร้อนขึ้น ดินเป็นพิษ ต้นน้ำลำธารหมดไป น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ทำให้ระดับน้ำทะเลสูง น้ำจะท่วมอาณาบริเวณที่ต่ำ เมื่อ "พระแม่ธรรมชาติ" (Mother Nature) ป่วยหรือ กำลังตาย มนุษย์ในครรภ์ก็ต้องป่วยและตายด้วย เพราะ

๒. วิกฤตทางสังคม ...มีความแออัด เห็นแก่ตัว แย่งชิง ช่องว่างถ่างออกระหว่างคนจนกับคนรวย ระหว่างประเทศจนกับประเทศรวย ความเป็นชุมชน แตกสลายในแทบทุกระดับ อาชญากรรมและความ รุนแรงมีมากขึ้น มีปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ระบาด อย่างหยุดไม่ได้ ..โลกถูกเชื่อมโยงด้วยข้อมูล การค้า การเงินหมดทั่วโลก โลกซับซ้อน หมุนเร็วขึ้น เกิด สภาพโกลาหล (chaos) ได้ง่ายขึ้น เช่นเศรษฐกิจใน ประเทศหนึ่งจะพังครืนในชั่วพริบตาเดียว สังคม ขาดเสถียรภาพ เปลี่ยแปลงเร็ว ระบบประสาทมนุษย์ ทนรับไม่ไหว ทำให้มนุษย์วิกฤต (human crisis) เพราะ

๓. วิกฤตที่ตัวมนุษย์เอง ..คือความเครียด ทำให้เกิดการเสพยาแก้เครียด ยาลดความดันโลหิต ยารักษาแผลในกระเพาะ (ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ขายดีที่สุด) และสุดท้ายพึ่งยาเสพติด พวกกล่อมประสาททั้งหลาย มนุษย์ถูกเร่งในการดำเนินชีวิต เหมือนหนูวิ่งบนสายพาน หรือสุนัขหลุดไปบนทางด่วน แล้วหาทางลงไม่ได้ ก็ต้อง วิ่งจนขาดใจ มนุษย์จะทนไม่ได้ในภวะเดิมที่เป็นอยู่นี้ ภวะเก่าทำให้เราวิกฤตมากขึ้นๆ จะพ้นวิกฤตได้ ต้องเปลี่ยน ภวะหรือภพภูมิใหม่ คือเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ดังที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าว่า ..."We shall need a radically new manner of thinking if mankind is to suvive"

การก้าวพ้นภวะเก่าอันวิกฤต มนุษย์ต้องการ จินตนาการใหม่ อันเป็นจินตนาการใหญ่ จินตนาการใหม่จะทำให้มนุษย์เปลี่ยน จิตสำนึก เปลี่ยนพฤติกรรมและเปลี่ยนความสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมแบบใหม่ อันจักทำให้มนุษย์พ้นวิกฤตทั้งสามได้

จินตนาการใหม่ คือ มนุษย์ทั้งโลกพ้นทุกข์ร่วมกันได้ มนุษย์สามารถร่วมกันสร้างโลกที่ร่มเย็นเป็นสุขได้ กุญแจสำคัญคือ มนุษย์ทั้งโลกต้องมีจิตสำนึกของ ความเป็นทั้งหมดของโลก สันติภาพอยู่ที่การเห็นทั้งหมด ความเป็นโลกเดียวกัน การมองกลับมาที่โลก ยิ่งสูงยิ่งไกล ก็จะเห็นความเป็นทั้งหมดของโลก เกิดจิตสำนึกโลก เปลี่ยนจากจิตสำนึกที่ยึดมั่นในตัวตนได้ เป็นจิตสำนึกใหม่ เป็นจิตสำนึกใหญ่ เป็นจิตสำนึกโลก ... ซึ่งมีทางเลือกอันหลากหลาย ที่มนุษย์ทั้งหมดจะเกิดจิตสำนึกใหม่ แม้ทางเลือกต่างกัน แต่จิตสำนึกใหม่ก็จะพบกันของมนุษย์ทั้งโลก เป็นเส้นทางที่หลากหลาย เปิดกว้าง ไม่คับแคบ ไม่บีบคั้น จึงเป็น เส้นทางที่สามารถเดินไปด้วยความหฤหรรษ์และสนุกสนาน

โลกหรือธรรมชาติในความเป็นจริง สรรพสิ่งที่รวมกันเป็นธรรมชาติ หรือโลกเดียวนั้น มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันและกันทั้งหมด เป็นลักษณะที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา หมายถึง ความจริงที่ว่า สรรพสิ่งรวมกันจึงเกิดขึ้น อาศัยกัน แล้วก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยของมัน ทุกสิ่ง เป็นดังเช่นนี้เองเป็นนิรันดร การเข้าปัญญาเพื่อแก้วิกฤต ขจัดอุปสรรคทั้งหลาย คือ ..การรู้อย่างเชื่อมโยงไม่ติดขัด ..The Wholeness ...การคิดอย่างเป็นกลาง ..คิดแบบอิทัปปัจจยตา ทั้งสองประการนี้..มีปฏิสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การรู้อะไรที่ เชื่อมโยงกัน ก็ช่วยการคิดอย่างเป็นกลาง ก็ทำให้รู้ทะลุ ทะลวงเชื่อมโยงโดยไม่ติดขัด เปรียบประดุจ นิวตรอน มีความเป็นกลางสามารถทะลุเครื่องกั้นทั้งปวงได้

อิทะ แปลว่า นี้ ปัจจยตา แปลว่า ความเป็นปัจจัย (หนุนเนื่อง)ให้เกิดนี้>> เป็นกระแสดัง ปฏิจจสมุปบาท ไม่มีจุดเริ่มต้น และไม่มี จุดสิ้นสุด กระแสปัจจัยการเป็นมาและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เป็นธรรมชาตินิรันดร ..นี่คือความจริงตามธรรมชาติ เป็นกฏแห่งไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง (สิ่งเกิด) อนิจจัง (เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง) อนัตตา (ไม่สิ้นสุด ไม่คงที่ได้ ควบคุมไม่ได้)


ความงามกับการพัฒนาทางจิตวิญญาณ

ในความจริงมีความงาม ถ้าเข้าถึงความจริงของสรรพสิ่ง ก็จะประสบความงาม การประสบความงามทำให้เกิด ความสุข ในธรรมชาติของสรรพสิ่งมีความงามอยู่ทั่วไป ความสุขที่ได้สัมผัสกับความงาม พัฒนาจิตใจให้สูงและ เจริญขึ้น ..ความงาม ๑๐ ประการที่ประสบได้ในวิถีชีวิต

๑. ความงามของธรรมชาติและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

๒. ศิลปะ เป็นความงามที่มนุษย์สร้างขึ้นควร เพื่อการลดกิเลส

๓. ความงามในงาน งานที่ทำอย่างประนีต ให้เกิดประโยชน์สำเร็จ

๔. ความงามในความรู้ รู้จริงรู้ทั่วรู้การเชื่อมโยงด้วยกันทั้งหมด

๕. ความงามของจิตใจ พัฒนาให้เจริญในพรมวิหารธรรม

๖. ความงามในวาจา ด้วยปิยวาจา ความจริง วจีสุจริต

๗. ความงามในการกระทำ ไม่เบียดเบียน มีศิลเป็นความงาม

๘. ความงามในความเป็นชุมชน การรวมตัวเอื้ออาทรกันตามโอกาส

๙. ความงามในสัญลักษณ์ทางศาสนา ส่งเสริมให้คุณค่าคำสอน

๑๐. ความงามในสติ(ศีล) สมาธิ และปัญญา เพื่อพัฒนาสู่สังคมแห่งความรู้ .....ฯลฯ


ต้องการอ่านทั้งหมด หาซื้ออ่านได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ นะครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [26 ก.ย. 2545 , 12:02:40 น.]

คุณครูครับ สงสัยครับ

คุณครูครับ สมมุติว่าได้projectมาแล้วอยากให้ทำออกมาดีที่สุด โดยที่มือไม่ดี จำเป็นรึเปล่าครับที่จะต้องทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับการทำproject????แล้วคุณครูแบ่งเวลายังไงครับ
โดย เด็กโง่ [16 มิ.ย. 2546 , 21:08:50 น.]

ข้อความ 1
หลายคนมีความเชื่อว่า การดำเนินชีวิต ส่วนหนึ่ง เกี่ยวข้องกับการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ ในยุคสมัยอุตสาหกรรม ที่เน้น..ปริมาณ
ในการทำงานหรือศึกษาที่มุ่งเน้นสาระที่เจาะจง ก็มักจัดลำดับความสำคัญของงานและวิชาที่เรียน เอาไว้ชัด คือเงินเดือนตามหน้าที่การงาน หรือ หน่วยกิตตามความสำคัญของวิชาที่เจาะจง เช่น วิชา project เป็นสาระวิชาที่สำคัญของการเรียนเพื่อ เป็นสถาปนิก ...เป็นวิชาที่สังเคราะห์เอาวิชารองอื่นๆ มารวมกันในวิชานี้ วิชานี้จึงสำคัญตามบัญญัติกันไว้ แต่จะไร้ความหมายหากไม่เรียนวิชารองๆมาก่อน เพราะวิชานี้เป็นเรื่องการเอาวิชารองต่างๆมาผนวกกัน แล้วสรุปผลการออกแบบในทางปฏิบัติ ..เชิงรูปธรรม
(มีต่ออีกเช่นเคย)
โดย เพื่อนอาจารย์ [18 มิ.ย. 2546 , 12:46:25 น.]

ข้อความ 2
คิดกันแบบตรรกะธรรมดาๆ ก็มักยึดถือว่า วิชาไหนหรืองาน ไหนสำคัญ ก็ควรทุ่มเทเวลาให้กับสิ่งนั้นก่อน ..นี่เป็นการคิด แบบแยกส่วนแบบกลไกจักรกล ไม่ใช่แบบองค์รวมแบบมนุษย์
เพราะอย่างที่กล่าวแล้ว วิชา project เรียนรู้ให้ได้ผล ต้องรู้วิชา รองๆอื่นด้วย อาจทึกทักได้ว่า เข้าใจวิชารองๆหรือวิชาประกอบ ได้มากเท่าไร การเรียนรู้วิชา project ก็จะได้ผลได้รวดเร็วเท่านั้น การทุ่มเทเวลาให้บางสิ่งที่สำคัญๆ อาจไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณเวลา ที่ต้องใช้เสมอๆไป หากเผอิญคนๆนั้น มีพื้นฐานวิชารองดีแล้ว ก็อาจเรียนวิชาหลักให้ได้ผลดี และใช้เวลาน้อยกว่าก็ได้ ...นี่เป็น การแย้งให้เห็นว่า ตรรกะหรือเหตุผลแบบเดิมๆ บนกรอบความ คิดแบบแยกส่วน ....ไม่จริงเสมอไป
ที่ว่า...."มือไม่ดี" ..คงหมายถึง ทักษะการเขียนแบบหรือเสนองาน หรือ คิดไม่เป็น ไม่รู้วิธีคิด ว่าปัญหาในแต่ละส่วนของวิชา project ควร ควรจัดการกันอย่างไร? ทักษะมีไม่พออาจเพราะสนใจหรือเข้าใจ วิชารองๆไม่ดีมาก่อน ไม่ฝึกฝนทักษะฝีมือ แล้วก็ไม่พยายามเรียนรู้ ปรับปรุงฝีมือให้ดีขึ้น เพราะเห็นว่าสำคัญน้อย เลยให้เวลาน้อยเสมอๆ เลยกลายมาเป็นปัญหาในการเรียนวิชา project ..ถึงจะเลือกให้เวลา วิชานี้ให้มากๆ ก็ยังไม่รู้ว่าจะใช้อย่างไร? ตรงไหน? ถึงจะได้ผล จะกลับ ไปฝึก sketch หรือเขียนแบบ หรือจัดระบบความคิด หรือเข้าใจ วิธีคิด เชิงยุทธวิธี ก็ไม่น่ากระทำได้ ...ถ้ารู้ตัวว่า ไม่แน่จริง ก็ต้องเลือกวิธีการ ที่ใช้เวลาแล้วให้ได้ผลมากๆ เช่น ใช้เวลากับการทำแบบร่าง หลอก ใช้หรือปรึกษากับครูให้มากขึ้น ..อย่าทำตัวโง่เพราะความยิ่งยะโส..จง มีความอ่อนน้อมถ่อมตน แล้วจะทำให้ได้คบหาครูหรือกัลยาณมิตรได้มากๆ อ่านหนังสือมาก จะรู้อะไรได้ผลเยอะขึ้น เสียเวลาน้อยกว่าการเอาแต่เรียนรู้ ลำพัง ..แต่..ถ้าอย่างหลังเป็นวิธีการเรียนของบางคนที่ได้ผล ....คนๆนั้นก็ ไม่รู้มาเรียนในสถาบันนี้ ...หาพระแสง? ..ทำไม?
(ยังมีต่ออีก...)
โดย ขออีกที [18 มิ.ย. 2546 , 12:47:31 น.]

ข้อความ 3
เวลา...เป็นปัญหาสำคัญส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาในโรงเรียน เพราะมันคอยกำกับกิจกรรมการเรียนเพื่อให้เป็นระบบหรือระเบียบ วิธี ..ไม่อย่างนั้นการศึกษาจะบริหารจัดการได้ลำบาก ...ทุกคนก็ต้อง ยอมรับกัน แต่ในทางปฏิบัติหรือการจัดการกับเวลาของแต่ละคนไม่ เหมือนกัน บางคนเรียนเก่งเพราะมีวิธีคิดเชิงกลยุทธ์ดี ใช้เวลาน้อย แต่ได้ผลมาก เช่นขีดเขียนดี มีทักษะสูงเพราะเข้าใจเรียนวิชารองนี้ มาพร้อมแล้ว จึงใช้เวลาเขียนได้เร็ว ไม่สงสัยหรือลังเล ได้ผลสวยงาม เป็นต้น ยิ่งมีทักษะคิดเก่ง คิดเป็น คิดถูกตรงกับสถานะการณ์ ..ยิ่งใช้ เวลาน้อย ในการแก้ปัญหาแต่ละเรื่องในวิชา project ได้รวดเร็ว
นี่เป็นบทสรุปคำตอบที่น้อยนิด ในความเห็นเพียงหนึ่งเท่านั้น แต่พึงระวังไว้ ..ท่านผู้รู้มักเสียดสีว่า.. วัฒนธรรมแบบไทย มักเรียน รู้แบบเอาแต่ฟัง(นักเรียน)และพูด(ครู) ..ไม่ชอบการคิด...อ่านและ ขีด...เขียน เมื่อต้องเผชิญปัญหาต่างๆทั้งในการเรียนและในการดำเนิน ชีวิต จึงสับสนและไม่รู้บริหารเวลากันอย่างไร? มักหลงไปว่า การใช้เวลาสัมพันธ์ทางตรงกับผลงานหรือความสำเร็จ ..ซึ่ง ไม่เป็นจริงเสมอไป เพราะมันขึ้นอยู่กับความเป็นองค์รวมหรือ เหตุปัจจัยต่างๆที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ...พระท่านบอกว่า ขึ้นอยู่กับกรรมใคร..กรรมมัน ฝึกฝนหรือสร้างสมปัญญามาดี และสม่ำเสมอ ก็มีปัญญามาก แก้ทุกข์ได้มาก อาจถึง "นิพพาน" หรือถึงความรู้แจ้ง โดยใช้เวลาน้อยนิดก็ได้ ...จริงไหมครับ?
ป.ล. สำหรับผม ..เวลามีเหลือไม่มาก แต่ก็มักใช้จนหมดในทุกการงาน (ซึ่งก็มีไม่มากเช่นกัน) ซึ่งไม่รู้จะแบ่งเวลาของผมที่น้อยนิดไปทำไม? เวลา นั้น ..จริงแล้ว มีในจักรวาลนี้ไม่จำกัด อาจเป็นอนันต์ด้วยซ้ำ .. .แล้วนายไอน์สไตล์ ดันโม้ว่า "เวลา ยืดหดได้อีก ..เหมือนเช่นจักรวาล" บวกกับความเห็นข้างต้นดังที่พล่ามมา ...ผมยังคงค้นหาและฝึกฝนการ ทำงาน..ยิ่งถ้าใหญ่ๆและสำคัญๆมาก..ก็อยากใช้เวลาให้น้อยที่สุด หรือ แทบไม่ต้องใช้เลย เพราะอยากขออุทิศเวลาทั้งหมด (ในส่วนที่พระเจ้าให้ผม) ในจักรวาลนี้ เพิ่มให้กับคนอื่นๆที่สนใจเรื่อง เวลา พอๆกับเงินและ เกียรติยศ .....
พระท่านว่า ทำได้อย่างนี้แล้ว ..จะได้บุญกุศลมากเลย...ครับ
โดย ต้อง...ขออีก [18 มิ.ย. 2546 , 12:48:25 น.]

ข้อความ 4
สิ่งเดียวที่พระเจ้าให้มนุษย์เท่ากันทุกคน คือ เวลา ไม่ว่าเราจะมือไม่ดี หรือหน้าตาไม่ดีเท่าคนอื่น แต่เราจะมีเวลาเท่าคนอื่นเสมอ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ กับเรามากที่สุด อ้อเรื่อง มือไม่ดีคงต้องคุยกันอีกที
โดย ครูประชาบาล [18 มิ.ย. 2546 , 22:06:15 น.]

สถาปัตยกรรมกับมิติที่มากกว่า4

มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง คิดว่ามิติของสถาปัตยกรรมมีมากกว่า แค่รูปภายนอก 3 มิติ มิติที่ 4 คือเวลา ใช่อย่างที่เราเรียนกันรึป่าว แล้วมิติที่มากกว่านั้นเป็นอะไร รึแค่เพ้อฝัน นิยามกันกันให้ดูมีความหมาย
โดย ปี 5 [24 ก.ค. 2546 , 22:39:10 น.]

ข้อความ 1
เรื่องนี้..ผมอ่านพบทีแรก ก็คอ่นข้าง..งงๆ แต่พอศึกษาหรืออ่านเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ทฤษฎีฟิสิกส์ใหม่ ...โดยเฉพาะเรื่องความ ซับซ้อนของจักรวาล ...มิติที่ซ้อนทับของเรื่อง ราวและเวลา เช่น หนังสือที่โด่งดังของฮอร์คิง มีสถาปนิกหลายคนเอามาใช้ในการออกแบบ สถาปัตยกรรม เช่น ไอเซ็นแมน หรือ เกอร์รี เป็นต้น ..ลองดูงานออกแบบ Gugenhiem Museum (สะกดไม่แน่ใจ) ใหม่ ของเกอร์รี่ ที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว ซึ่งไม่ใช่มิติที่เราคุ้นนัก ..หรือลองศึกษางานชนิด ที่เขาเรียกกันว่า Folded Architecture ของพวก สถาปนิกยุคใหม่ๆ
เรามักชินกับรูปทรงทางเรขาคณิตแบบยูคลิด หรือโครงสร้างเส้นตรงแนวตั้งแนวนอน ดังนั้น รูปทรงอาคารที่ออกแบบจึงอยู่ในรูป ๓ มิติ ก้าว หน้ามานิดคือสร้างการเลื่อนไหลของที่ว่างหรือ ผิวอาคาร เช่นการใช้กระจกในแบบบาวเฮาว์ เลียนแบบภาพ ๔ มิติของปิคาสโซ...ฯลฯ
ผมมองเห็นว่า..แม้เราจะจินตการรูปทรงให้เกิน สามหรือสี่มิติได้ ..แต่เราก็จะจนแต้มเรื่องโครงสร้าง ดังนั้น เราจึงต้องศึกษาเรื่องโครงสร้างอาคารให้เกิน มิติแบบเดิมๆออกไป เช่น spatial structure types หรือโครงสร้างในรูปแบบของ synergetic concepts แบบที่ Fuller ได้เคยนำเสนอมาแล้ว
ด้วยความก้าวหน้าของเท็คโนโลยี ที่มีผลมาจาก การประยุกต์จากทฤษฎีวิทยาศาสตร์ใหม่ ที่เสนอ การค้นพบว่า มิติของจักรวาล มีมากถึง ๑๕ มิติ ด้วยซ้ำไป
สถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตทางเท็คโนโลยี หากถ้าเราออกแบบอยู่บนฐานความคิดเดิม หรือ กฏเกณฑ์ฟิสิกส์เดิมๆ คือเป็นแบบ euclidian เราก็คงเข้าใจมิติที่เกิน ๔ มิติ ไปได้ยากจริงๆ นะครับ ...นี่เป็นเรื่องย่อที่ผมเข้าใจครับ

โดย เพื่อนอาจารย์ [25 ก.ค. 2546 , 16:48:16 น.]


ข้อความ 2
อยากขอขยายความเพิ่มเติมอีกสักนิด ...
วิทยาศาสตร์ใหม่ได้ค้นพบ Complexity Science ได้ก้าวหน้ากว่าเดิมมากทีเดียว โดยเฉพาะทฤษฎี และผลงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ เช่น Benoit Mandelbrot (Fractal Dimension), Lorence (Butterfly effect) และ Rene Thom (Catastrophe theory) เป็นต้น
แนวคิดสถาปนิกที่อิง Fractal Dimension เช่นงาน ของ Bruce Geoff และ Guggenheim Museum at Bilbao ของ Frank O. Gehry เช่นเดียวกับกระบวนการออกแบบ Cardiff Bay Opera House ของ Greg Lynn ที่เป็น ลักษณะ Self-similarity นำเอารูปทรง Polyp ที่ดู คล้ายสิ่งที่มีชีวิตในทะเล และเห็นได้ชัดใน plan ของอาคาร
Folding Architecture ของ Eisenman เป็นผลลัพท์ ของกระบวนการของ Fold ไม่เหมือนการพับกระดาษ ตามความหมายตรงๆแบบเดิม (Origani) ของญี่ปุ่น ผลงานของ Greg Lynn วางอยู่บนรูปทรงที่เรียกว่า Blob-form คล้ายตัวประหลาดในภาพยนต์เรื่อง The Blob พัฒนามาจากงานเขียนของ D'Arcy Thompson ...On Growth and Form (1917)
เรื่องมิติที่ไปไกลเกินมิติทั้ง 3 ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วย ประสาทสัมผัสธรรมดาของเรา หากแต่เป็น Hyper- objects ที่เกิดจากเงาสะท้อนย้อนกลับลงไปที่มิติที่ เรารับรู้ได้ เช่น Hyper-objects ในมิติที่ 4 เป็นเงา ที่ถูกฉายกลับมายังมิติที่ 3 นั่นเอง รูปทรงนี้เกิดจาก แนวคิทางวิทยาศาสตร์ของ Hyperspace ซึ่ง Peter Eisenman นำมาทดลองใช้ในงานที่ไม่ได้สร้าง... Carnegie Research Institute ในรูปทรงของ Hypercube
รูปทรงในมิติหลากหลายดังกล่าวนี้ เราสามารถ สัมผัส และค้นหาได้ ด้วยความหมายที่ผ่านทาง จอคอมพิวเตอร์เท่านั้น ...ไม่ใช่ในแนวทางเดิมๆ หรือในฐานความคิดแบบวิทยาศาสตร์เดิม ที่เป็น Euclidian Geometry ....นะครับ
รายละเอียดเรื่องพวกนี้หาอ่านได้ใน Palimpset 2 เรื่อง Architectures and Scientific Inscription ซึ่ง ผมได้รับอภินันทนาการมาจากศิษย์...ตะวัน..ซึ่ง เป็นผู้ใฝ่รู้ที่หายากยิ่งในปัจจุบัน...นะครับ
ป.ล. ประสบการณ์เรื่องทำนองนี้ ..ทำให้ผมหวล คำนึงถึง "วิปัสสนาญาณ" ในทางพุทธศาสนา ที่ ให้"ปัญญา" รู้ที่ไกลต่างมิติที่เราระลึกรู้และเข้าใจ ได้ในชีวิตปัจจุบันเลยทีเดียว...ครับ

โดย ขออีกที [26 ก.ค. 2546 , 23:56:11 น.]


ข้อความ 3
ขอบคุณมากครับ สนใจตรงที่ เราคงต้องเรียนรู้ เรื่องโครงสร้างและวัสดูมากกว่านี้ เพราะตอนที่ไปดู Bilboaก็เห็นปัญหาเหมือนกัน
โดย ครูประชาบาล [18 มิ.ย. 2546 , 22:06:15 น.]


ข้อความ 4
เผอิญผ่านมา เห็นกระทุ้หนุกๆ รู้สึกเรื่องที่ เพื่อนอาจารย์ พูด(เร็ว) ตอนท้ายๆจะอยู่ในหนังสือ อาจารย์ พรหมมินท์ เล่ม2 (meaning) ใครอยากขยายความไปหาอ่านดูได้
เอ แต่ตอนนี้เหมือนมันผ่านยุคของ theory ไป แล้วหรือป่าวคับ ทำไมมันดูเลือนลางไปเรื่อยๆ อย่างน้อยก็ยังอยากให้มีหนังสือแนวนี้อยู่ ให้เด็กๆซื้อมาอ่าน แม่จะไม่รุ้เรื่องก็ตาม

โดย M&e [16 ธ.ค. 2546 , 00:09:03 น.]