วันอาทิตย์, ตุลาคม 09, 2548

เกี่ยวกับการเรียนการสอน












เรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอน อ่านจนมึน ...สงสารผู้บริหารคณะฯ ซึ่งถ้าได้อ่านเรื่องที่บ่นกันมา ก็คงจะบอกเหตุผลให้เข้าใจได้แน่ หลายๆเรื่องคงต้องหาทางเผชิญหน้า แล้วพูดคุยกัน ถ้าอยากรู้กันจริงๆ โดยเฉพาะ กับท่านรองคณบดี ฝ่ายกิจการนิสิต ซึ่งควรจะใกล้ชิดกับบรรดานิสิตที่สุด ส่วนในเรื่องวิชาการ... บรรดาอาจารย์ก็พยายามกันนะ ผมเห็นแต่ละคนก็ตั้งใจสอนกันมาก บางทีอาจสอนกันมากเกินไป ควรน่าจะ ชลอให้นิสิตหัดเรียนรู้และสอนกันเองบ้าง จะว่าไปแล้ว การเรียนรู้นั้นเป็นเรื่องตัวใครตัวมันจริงๆ ใครอยากรู้มาก ก็ต้องแสวงหาทั้งจากครูหรือแหล่งอื่นๆ ครูนั้น..จริงๆแค่เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เท่านั้น แค่เพียงคอยสร้างแรงจูงใจและชี้แนะในการแสวงหาความรู้ ให้ตามที่นักเรียนสนใจ ก็ถือว่าเป็นครูที่...วิเศษแล้ว ทัศนคติเก่าๆของครู มักยึดถือสาระที่ตนเองรู้และเข้าใจ แล้วมุ่งถ่ายทอดให้นักเรียนเป็นสำคัญ ก็คงด้วยความเมตตาธรรม แต่ชะล่าใจตรงที่ สิ่งที่ตนรู้นั้นอาจเป็นความเท็จ เป็นสิ่งหมดสมัย ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในสภาวะการณ์ปัจจุบัน ครูในกระบวนทัศน์ใหม่ จึงต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน กับนักเรียนตลอดเวลา ความรู้ที่มีจึงจะทันสมัย เพราะเป็นความรู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา นอกเหนือจากสาระความรู้ที่บอกเล่ากันในห้องเรียน ซึ่งเป็นแค่สมมติฐานของความจริงที่ต้องการตรวจสอบ ได้ตลอดเวลาแล้ว เทคนิคและวิธีการสอน เป็นเรื่อง สำคัญที่ต้องออกแบบให้เกิดความสนุกและความน่าสนใจ ในการเรียนรู้ร่วมกันให้ได้ เหมือนความสนุกสนานที่คนต่างวัย มาเล่นเรียนรู้ร่วมกันได้ ในแง่หนึ่ง ...ความรู้ที่ได้รับในการเรียน ก็เหมือนอาหาร ซึ่งเมื่อใครกินแล้ว ..ก็ย่อย ..ก็ถ่าย ไม่มีอะไรตกค้างเหลือไว้ จะถูกแปรรูปไปเป็นกลไกทางความคิดให้กับสมอง ทำให้คิดดีก็ได้ ทำให้คิดชั่วก็ได้ ตามสถานะกรรมของแต่ละคน (ยังมีต่อ...นะครับ) โดย เพื่อนอาจารย์ [29 ก.ย. 2546 , 16:58:26 น.] ข้อความ 10 ทุกวันนี้ ..ผมไม่มีความรู้ที่เรียนจากคณะนี้ในอดีตเหลืออยู่เลย ไม่คอยใส่ใจเก็บไว้ เพราะมันแปรรูปไปหมดแล้ว กลายเป็นความรู้ ที่อาจเป็นเท็จสิ่งใหม่ก็ได้ หากไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่อๆไป มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน อาจถือเป็นที่สถิตวิทยาได้ก็จริง แต่จะไม่ใช่แห่งเดียวอีกต่อไป ยังมีแหล่งอื่นๆ ที่คนสามารถเรียนรู้ ด้วยตนเองลำพังก็ยังได้ เฉกเช่นข่าวสารที่ไม่จำเป็นรู้ได้เพียงจากคนเดินทาง เช่นในอดีตเพียงอย่างเดียว ครูก็เช่นกัน ไม่ใช่แหล่งเรียนรู้ สำคัญของนักเรียนอีกต่อไป บทบาทของครูสมัยใหม่ คือพี่เลี้ยง อาจช่วยเหลือจัดกระเป๋า เดินทางให้นักเรียนในตอนแรกๆ เพื่อใช้ในการเดินทางแสวงหา ความรู้ไปชั่วชีวิต ของใช้ในกระเป๋าเดินทาง ก็ต้อง มีการเปลี่ยนแปลง จัดของกันใหม่ เครื่องใช้ที่ครู เคยเตรียมไว้ให้เดิม ล้าสมัยก็ต้องเปลี่ยน ใช้ไม่ได้ ก็ต้องทิ้ง หาสิ่งใหม่ที่จำเป็นมาทดแทนกัน ฉันใด ความรู้ที่เรียนมาในอดีต ก็ฉันนั้น ครูเอง ก็ต้องเรียนรู้ไปตลอดชีวิต ถ้าไม่อยากงี่เง่า ก็ต้องร่วมเรียนรู้ไปกับนักเรียน อย่าเอาแต่หลงสอนสั่งนักเรียน หรือแพร่ความรู้ที่อาจกลายเป็นเท็จเอาเมื่อไรก็ได้ ถ้าไม่มั่นคอยตรวจสอบและ เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา พล่ามมาถึงนี้แล้ว ..ต้องขอเตือนกันว่า เมื่อต้องเป็นนักเรียน ก็อย่าคอยแต่บริโภคความรู้ถ่ายเดียว ต้องรู้จักผลิต รู้จักปรุงก่อนบริโภคบ้าง ครูเองก็อย่าหลงความรู้ที่ตนมีอยู่ หรือ หลงอำนาจคอยแต่ให้นักเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองรู้เท่านั้น แล้วก็อย่าเอาแต่คอยป้อนความรู้ให้นักเรียนตลอดเวลา... ลองสลับบทบาทกัน(ในเชิงความคิด)บ้าง บางที การเรียนรู้อาจพิศดารและมีชีวิตชีวามากขึ้นกว่าปัจจุบันนี้ ก็ได้...นะครับ โดย ขออีกที [29 ก.ย. 2546 , 16:59:57 น.] ขอจับความเรื่องที่กลุ้ม คือ..เรียน..มาก..มาก เรียนกันบนความทุกข์ มากกว่าความสุข ผมว่ามีกันทุกสถาบัน มีครูปริมาณมาก ปริมาณความรู้ที่แต่ละคนมี ก็อยากโยน ไปให้มากตาม แต่ละวิชาเลยมีงานเพี๊ยบ มันเป็นอย่างนี้เอง ..ครูถ้าไม่สอนมาก เจ้านายก็ไม่ชอบ ยิ่งจะออกนอกระบบ ครูจึงต้องอวดรู้ให้มากๆ ให้งานเยอะๆ โดยไม่มีใครใส่ใจใครอื่น หรือครูอื่น เป็นการเรียนการสอนกันในเชิงปริมาณ เพราะหาคุณภาพจริงๆ ...หายากมากครับ เหมือนอย่างที่ผู้รู้กล่าวว่า เราเรียนรู้กัน ในเรื่องความเท็จมากกว่าความจริง ความ จำเป็น ...ซึ่งเพราะไม่รู้เราเลยตั้งโรงเรียน นึกว่าจะเรียนรู้หาความจริงอย่างมีความสุข แต่ดันเป็นความทุกข์เพราะเรียนความเท็จ เป็นส่วนมาก ...แต่เราก็นึกว่าเป็นความจริง เป็นประโยชน์แก่ทุกคน ..ซึ่งไม่น่าจะจริง การเรียน..ให้เป็นสุขเหมือนการทำงานที่ มีมากๆ เราต้องมีกลยุทธ์วิธีคิดกันนะครับ คนเรียนเก่ง (อาจนึกว่าเป็นทุกข์) มักมีความคิดเชิงกลยุทธ์ดี รู้จักแยกแยะเลือกทำเลือกเรียน ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แล้วออกแบบวิธีเรียน ให้บรรลุผลที่ตั้งไว้ ..คนรวยทางธุระกิจ ก็เก่ง การคิดทำนองนี้ ..แต่ทั้งหมดอาจต้องเครียด กันตามอุปทานที่ตั้งไว้ บรรลุผล แต่ไม่ได้เสวยสุข เพราะโดนโรคมะเร็งตามล้างจนตายก็มี อยากสรุปว่า ..นิสิตต้องรู้จักการบูรณาการ ความรู้ เหมือนการเลือกขยะ เลือกเอามา คัดสรรอีกที เอาไปใช้ประโยชน์แก่ตนเองได้ แต่ก็ต้องทนเหม็นกันบ้างตอนเรียน ...นะครับ หรือจะเรียกว่ากลุ้มก็ได้ ทนไปหน่อยเดี๋ยว ประสาทก็ชาไปเองแหละครับ โลก..มันเป็นเช่นนี้เอง อดทนอีกหน่อย ...เดี๋ยวก็ดีเอง ศึกษาเรื่อง ..อิทธิบาทสี่ ..บ้างนะเธอนะ โดย เพื่อนอาจารย์ [10 ก.ค. 2546 , 13:34:48 น.] ผมเคยเขียนบทความ ...สถาปนิกออกแบบเพื่อใคร? แอบ บันทึกไว้ในเว็บไซท์ ถ้าสนใจว่าโม้ไว้อย่างไร ก็ไปสืบหา กันเอาเอง ...ไม่อยากโฆษณาตัวเองให้น่าเกลียดกว่านี้ เรื่องของกิเลสตัณหาหรืออุปทานของคนแต่ละคน คิด ตามรู้หรือวิเคราะห์กันได้ไม่จบสิ้น พระท่านจัดลำดับคน ไว้ด้วยวิธีวัดกันทางด้านจิตใจ ว่าใครกิเลสน้อยกว่ากัน โดยใช้ดรรชีของการวัดที่ความสมบูรณ์ด้วยศีลห้า และ วัตถุหรือกายที่ครอบครองของคนแต่ละคนกัน ก็จะรู้ว่า ใครดีใครชั่วมากน้อยกว่ากัน สถาปนิกบางคนอาจมีกิเลสหรืออุปทานหรืออีโก้ ทั้งมากและ น้อยกว่าเจ้าของงาน ...ส่วนมากที่มาร่วมงานกันได้ เพราะมีมาก น้อยพอๆกัน จึงมี "ความเกิด" ของงานสถาปัตยกรรม ให้ยึดกัน ชอบบ้างเกลียดบ้าง ตามอำนาจของอุปทาน หรือ "มายา" ทางความคิดและความรู้สึก ..ถ้า.เอาเรื่องนี้มาใส่ใจแล้วพยายามจะรู้ คงเปลืองเวลาเปล่าๆ หากไม่ตามรู้ของเหตุปัจจัยที่เป็นต้นตอของ อุปทานที่แย้งกัน สถาปนิกนั้น..มักถือว่าเป็นผู้ฝึกฝนมาดีแล้ว อาจจะพอน่าเชื่อถือกว่าเจ้าของงาน ..ที่อาจไม่เอาไหนดันมาติ? (มีต่ออีกครับ) โดย เพื่อนอาจารย์ [18 มิ.ย. 2546 , 12:53:52 น.] ข้อความ 2 แต่ในก้นบึ้งของใจเรา ถ้าเอาศีลห้าเป็นที่ตั้ง ..จริงหรือ? ว่า เรา....สถาปนิก ..เป็นผู้ฝึกฝนมาดีแล้ว??? ทั้งด้านจิตใจและกาย ที่เลวน้อยกว่าเจ้าของงาน ..มีความรู้และเข้าใจมนุษย์อื่นที่ไม่ใช่ เราหรือลูกเมียของเรา ได้ทัดเทียมกันจริงหรือไม่? มุ่งบริการสร้าง สภาพแวดล้อมให้ดีที่สุดกับเจ้าของงาน เพื่อเมตตาธรรม หรือ เพื่อเอาเงินในกระเป๋าของเขา...ยังตะกละเอาแต่เงิน ไม่บริการเขา มากๆ ความเป็นกัลยาณมิตรแก่กันและกัน จึงไม่เกิดขึ้น ต้นรัก(เก๊ๆ) ก็ตายซาก ...นี่เป็นปัจจัยหนึ่งของอุปทานความไม่พอใจในแต่ละ คนก็เกิดขึ้น สุภาษิตไทยเชิงสัปดล น่าพอเชื่อได้....ว่า "ยามรักกัน ดมตดกัน..ยังว่าหอม ..แต่ยามเกลียดกันต่างใส่น้ำหอมปารีส ดัน ติกันว่าเหม็นเสียนิ" ผมยังเชื่อว่า..สถาปนิก และเจ้าของงาน ต้องสร้างสรรค์ความรัก และมีเมตตาธรรมแก่กันและกัน หลีกเลี่ยงการเบียดเบียนซึ่งกัน และกันให้น้อยเข้าไว้ ...ความอิ่มเอิบในจิตใจของกันและกันก็น่าจะเกิดขึ้น แถมยังมีสารเอ็นโดรฟิลหลั่งให้ร่างกายเกิดความสมดุลย์ ..ตายช้าขึ้นมากทีเดียว ....ถามส่งท้ายว่า ..มีความอิ่มเอิบในจิตใจ แล้ว ยังมีของแถมทำให้ร่างกายทรุดช้าลงไปอีก ..อย่างนี้ยังมีค่าน้อยกว่าความ ต้องการเงินเป็นค่าแบบ...หรือไม่?.. การติงานของเรา ถ้าแปลงให้เป็น ความรู้ความเข้าใจที่ต้องทบทวนกันเพื่อให้เกิดเป็นสติปัญญาต่อไป จะไม่เป็นประโยชน์แก่เราหรือ?........ครับ ...ทว่า ติด้วยรัก กับติเพราะชัง แตกต่างกันนะครับ...อย่างหลัง อาจนำไปสู่การเบียดเบียนกันขั้นทำลาย ศีลห้ากันก็ได้.....นะครับ โดย ขออีกที [18 มิ.ย. 2546 , 12:54:32 น.] ต้องขอชมเชยว่า..หนูอ้วน เป็นคนมีน้ำใจ และห่วงใยผู้อื่นและคณะฯ..พอๆกับห่วงใยตัวเอง ซึ่งตรงกันข้ามกับ "นักศึกษาโพ๊สต์มอร์เดิร์น" อื่น ที่หลายคนเหมาคิดว่า เป็นพวกไม่เอาไหน..สนใจ แต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น นี่ถ้า...หนูเผอิญเรียนวิชาสัมมนาปีห้าที่คณะนี้ คงคุยกันสนุก เพราะในชั้นเรียนเมื่อวาน(อังคารนี้) เราเปิดใจคุยกันเรื่องนี้ ...การศึกษาในทศวรรษหน้า ท่านวิทยากรที่เชิญมาก็เคยเป็นอาจารย์เก่า มี ความคิดแปลกแยกดี .....แต่ การพูดหรือคิดเอามัน ถ้าไม่แรงพอก็เปลี่ยน โลกทัศน์ของคนในสังคมหรือโดยเฉพาะผู้บริหาร ได้ยาก ...ต้องเห็นใจกันด้วยว่า เมื่อเป็นผู้ปฏิบัติ ในสิ่งที่ตนเองไม่แน่ใจ ก็จะเป็นเรื่องซับซ้อน ที่จะดำเนินการตามกระแสที่โอดครวญกัน ..ไม่ง่ายนัก...หรืออาจเชื่องช้าไปหน่อย โลกในสมัย(ปัจจุบัน)ของหนูอ้วนนี้ มันอลังการ์มาก มีหลายสิ่งถาโถมเข้ามาให้สังคมไทย ได้รับรู้อะไรมากมาย เรียกว่ารับกันไม่ทัน เห็นอะไรที่ชอบ คนชาติอื่นทำ ก็อยากคิดแข่งขันทำอย่างเขาหรือให้ชนะเขาบ้าง เลยอยากแสวงหาเครื่องมือช่วยเหลือในเรื่องที่จะแข่งขัน เช่นจากสถานศึกษาเป็นต้น ..ซึ่งต้องเตรียมการ ที่น่าเสียดายคือ เรายังติดกับโลกทัศน์เก่าๆ ที่แบ่งแยก ผู้บริหารออกจากผู้ถูกบริหารหรือรัฐบาลออกจากประชาชน สังคมหรือชุมชนที่ควรเป็นกัลยาณมิตร..ร่วมด้วยช่วยกันจึงไม่เกิดขึ้น เอาแต่สร้างทิฏฐิมานะแก่กันและกัน ไม่ยอมเสียศักดฺ์เสียศรี ที่จะช่วยกันคิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน..จึงไม่เกิดขึ้นได้ (มีต่ออีกนิด...) โดย เพื่อนอาจารย์ [11 มิ.ย. 2546 , 11:10:05 น.] ข้อความ 2 โรงเรียนติววิชาพิเศษ..สถาปัตยกรรม ..จึงเกิดขึ้น เพราะความจำเป็นและความต้องการเครื่องมือแข่งขันดังกล่าว ซึ่งผมว่าก็น่าจะดี และก็ต้องยอมให้เกิดขึ้น อย่าไปคิดฮุบกิจการเขามาทำเสียเอง เดี๋ยวจะกลายเป็นพวกปลาใหญ่กินปลาเล็ก ผมอยากสรุปว่า การเรียนรู้ของทุกคน..ไม่มีวันจบสิ้น และจะมีความหลากหลายในความต้องการของแต่ละปัจเจกชน มากขึ้น จำเป็นที่ต้องแสวงหาความรู้ในหลายๆ สถานที่การศึกษา ..และก็คงเป็นเรื่องยากที่จะพบแหล่ง การเรียนรู้แห่งเดียวให้ได้ตักตวงความต้องการ ให้ครบถ้วน ...โลกในอนาคตจึงต้องรู้วิธีการแสวง หาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งอื่นๆตลอดเวลา แล้ว เราจึงจะเชื่อมั่นได้ว่าจะแข่งกับใครๆที่ต้องการได้ แต่..ว่า พระท่านเตือนให้คิดแข่งขันกับตัวเอง ทุกๆวันเป็นดีที่สุด ..อย่ามัวไปคิดแข่งขันกับคนอื่น ให้อกแตกตายเปล่าๆ....ครับ โดย ขออีกที [11 มิ.ย. 2546 , 11:12:37 น.] ส่วนมากเวลาพบนิสิต ที่ไม่ค่อยคุ้นหน้า มักจะแซวเสมอ บางคนทั้งๆที่เคยเรียน ด้วยกัน ก็มักแซวว่ามาจาก ม.ไหน? ไม่มีเจตนาร้าย ..อยากให้ศิษย์อาจารย์ สนิทกัน ไม่อยากให้แบ่งแยกกันเลย เพราะไหนๆก็มาร่วมสังฆกรรม สถาปัตยกรรม ด้วยกัน ...ว่าแต่ว่าอย่าลืมเรื่องที่บอก ทำเรื่องสถาปัตยกรรมรวมกันกับธุระกิจ ให้ครบวงจรนะครับ ...ทำนองสถาปัตยกรรม เอื้ออาทรนั่นแหละครับ แข่งกับรัฐฯไง? โดย เพื่อนอาจารย์ [26 ก.พ. 2546 , 17:15:03 น.] ข้อความ 2 อืม...ยังต้องสัมภาษณ์อีกครับ คัดออกอีกเพียบเลยครับ ยังไม่แน่นอน ครับ.....เรื่องสถาปัตยกรรมเอื้ออาทรนั่นเท่าที่ฟังๆดูมา เห็นว่ารัฐยังต้อง เข้าไปช่วยอีกหลังละประมาณ แปดหมื่นบาท ถ้าตามนโยบายที่จะสร้าง ให้ครบล้านยูนิตก็แปดหมื่นล้านบาท...... เวลาฟังข่าวเรื่องนโยบาย ต่างๆของประเทศเนี่ยผมมีความรู้สึกแปลกๆทุกทีเลย รัฐมีเงินจำนวน มากมายมหาศาลในการทำนู่นทำนี่ แต่ทำไมลุงแก่ๆที่เป็นยามแถวบ้าน ผมยังมีเงินเดือนไม่ถึงหกพัน... ...ระดับชั้นของสังคมยังมีช่องว่างอีกแยะ บ้านกลางกรุง+บ้านอะไรต่อ มิอะไรที่กำลังจะตามมาอีกเพียบในระดับ 4-5 ล้านบาท ... ยามแถวบ้านผม เวลานอนก็นอนในป้อมนั่นแหล่ะครับ โดย ลูกศิษย์ [27 ก.พ. 2546 , 12:08:34 น.] ข้อความ 3 เรื่องงานของรัฐฯขณะนี้ ถ้ามองกันในแง่บวก ก็ต้องกล่าวว่าเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ อย่าถือว่าจะเป็นเรื่องจริงจัง ที่ว่า "ท่าน" จะทำให้ความยากจนหายไปจากเมืองไทย ภายในหกปี ...เมื่อมีคนที่สมมุติว่ารวย ก็ ย่อมมีสมมุติว่าจนควบคู่กันไปเสมอแหละ ต้องยอมรับว่า "คนไม่รู้" ยังชอบความหวัง ลมๆแล้งๆกันอยู่เสมอ มักใช้เป็นยากล่อม ประสาททางใจ ไม่ต่างกับยาบ้าทางกายนัก เผอิญ..ยังไม่ถึงเวลาของอนาคต ที่จะมีใคร ฆ่าตัดตอนคนขายความหวังลมๆแล้งขณะนี้ การไม่ต้องติด "ยา" แบบนี้ มีทางเดียวที่แก้ คือสร้างความคิดที่เรียกว่า "สันโดษ" เท่านั้น คือหมายถึงความสุขในสิ่งที่ตนมี ซึ่งตรงข้ามกับ ความไม่สันโดษ คือความสุขในสิ่งที่ตนไม่มี แต่ ผู้มี "ปัญญา" นั้นต้องไม่สันโดษในการค้นหา ความ "เป็นจริง" ของโลกที่เป็นของเราขณะนี้ เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า "ครู" ที่ยิ่ง ใหญ่ของพวกเรา (ทุกศาสนา) ที่ไม่ยอมสันโดษ กับสิ่งที่ท่านบรรลุคือ "ฌาน" หรือเช่นความรวย ของคนที่แสวงกันอยู่ทุกวันนี้ ทั้งๆที่เป็นสุขที่ไม่จริง ผมชอบความคิดที่ว่า "พระเจ้า" มักเป็นอะไรก็ได้ ในสิ่งที่เราคาดไม่ถึง แม้แต่ "คนยาม" ที่ยังนอน อยู่ในป้อมยามขณะนี้ ถ้าเผอิญเขานอนอย่างมี "ความสุข" เพราะเมื่อหลับแล้วก็คงไม่ต่างกันกับ คนนอนในที่ไหนๆ ลองพิจารณาตัวอย่างศาสดา ของพวกเรา มักเป็นพระเจ้าในรูปของผู้ยากไร้ เสมอ ...มีทัศนะคติอย่างนี้แหละที่ผมว่าเป็นการ พัฒนาตนไม่ให้เกิดการแบ่งแยกกันในทุกเรื่อง เข่นเดียวกับ ครู-ศิษย์ นั้นในความจริงไม่มี มีแต่ ในความสมมุติกันเท่านั้น ...เพราะ โง่-ฉลาดพอกัน ไม่แตกต่างกับ คนยาม-นายกฯ ฯลฯ ที่รวยจนพอกัน ว่าแต่ "ความจริง" ของความฉลาดหรือความรวย ที่เรามีความหวังกันนั้น ..มันคืออะไรกันแน่? อ่านจบ..งงกันไหม? ครับ โดย เพื่อนอาจารย์ [28 ก.พ. 2546 , 09:37:01 น.] ข้อความ 4 งงนิดหน่อย...ครับ...55 อาจารย์ครับ ถ้าเจ้าชายสิทธารัตถะไม่ได้เกิดมาเป็นกษัตริย์ ถ้าไม่ได้เกิด มาเพียบพร้อม เค้าจะมองเห็นความเป็นจริงที่หรือเปล่าครับ... โดย ลูกศิษย์ [28 ก.พ. 2546 , 20:42:04 น.] ข้อความ 5 ศาสดาในศาสนาอื่นมักไม่ใช่กษัตริย์ ก็ยังปฏิวัติอำนาจต่างๆได้ ตามในประวัติศาสตร์ ในกรณีของพระพุทธเจ้านั้น ท่านดำรง อยู่ใน "วิถี" ที่ต้องบรรลุพระสัมมาโพธิญาณ ดังนั้นในภพชาติสุดท้าย จึงต้องอยู่ใน "เงื่อนไข" หรือปัจจัย ที่จะต้องทำให้บรรลุ เป้าหมายที่ตั้งใจพระทัยไว้แน่นอน เงื่อนไขในสมัยพุทธกาล ไม่เหมือนใน สมัยโรมัน หรือในจีน ที่ทำให้เกิด "ศาสดา" เช่นพระไครสต์หรือ เล่าจื้อ ขงจื้อ แต่พระองค์ เกิดอยู่ท่ามกลางความหลงผิดในแง่ความรู้ ในขณะนั้น เช่นลัทธิพระเวท ทั้งหลาย รวม ทั้งการแบ่งชั้นวรรณะ จึงเป็นการปฏิวัติกัน ทางความรู้ความคิดเป็นส่วนใหญ่ ก็คงเหมือน เช่นนักวิทยาศาสตร์หรือนักปรัชญาในยุคนี้ ที่ต้องมีการเรียนรู้วิชาทั้งหลายมาก่อน จึงจะปฏิวัติ หรือสร้างทฤษฎีใหม่ๆได้ ไม่งั้นการยอมรับก็ จะไม่เพรียบพร้อม กรณีของพระพุทธองค์ ถ้าย้อนศึกษาประสบการณ์ในอดีตแล้ว จะไม่มีข้อกังขาในสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ได้เลย เช่นยศฐาบันดาศักดิ์ หรือความร่ำรวยทั้งหลาย ที่สุดท้ายก็ต้องละ เพราะไม่เป็นความจริงที่ยั่งยืน หรือทำให้เกิดความ "หลุดพ้น" นั่นเอง ตัณหา อุปทาน และสุขในชีวิต คือความทุกข์ทั้งสิ้น จะพ้นความทุกข์ถึงขั้น "วิมุติ" นั้น ต้องเพื่อการละ ทั้งสิ้น ....เรื่องนี้ซับซ้อนจริงๆครับ ปัญญาที่ สะสมกันมาน้อยของพวกเราไม่พอ จำต้องอาศัย กุศลธรรม ที่ต้องสะสมกันต่อไปอีกนานครับ จึงจะเข้าใจ ..ขนาดเกิดมาในกาลที่พระพุทธศาสนา ยังปรากฏให้ศึกษากัน ..ก็ยังขยาดไม่ยอมรู้กันเลย พูดหรือคิดกันเรื่องนี้แล้ว ...จะเหนื่อยเอาการจริงๆ แฮะ.......๕๕๕๕๕๕๕ โดย เพื่อนอาจารย์ [1 มี.ค. 2546 , 15:11:32 น.] ข้อความ 6 ขอบคุณครับ อะไรคือExistentialism ขอเวลาหน่อยนะครับ...ผม ต้องกลับไประลึก ทบทวน และค้นคว้าดู เคยอ่านหนังสือพวกปรัชญา รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องมามาก พอมาอ่านงานเขียน ของคุณสมัคร บุราวาส เข้าใจอะไร ได้มากขึ้น แล้วจะลอกมาให้อ่าน ระหว่างนี้ ถ้าคุณชอบสะสมหนังสือ ผมว่าแวะไปที่ร้านหนังสือ ลองพลิกดู หนังสือของท่าน ที่เขาเอากลับมาพิมพ์ ขายกันใหม่ คุณจะทึ่งท่านผู้รู้ท่านนี้มาก โดยเฉพาะฉบับรวมเรื่องปรัชญาตะวันตก ล้วนๆ (จำชื่อเต็มไม่ได้) เล่มหนา ราคา ประมาณ ๔๐๐ บาท ได้อ่านแล้วรับรอง รู้เรื่องปรัชญา "สิ่งมีอยู่" ของความคิด ตะวันตกนี้ได้เข้าใจแน่นอน ถ้าเป็นเรื่อง ในพุทธศาสนา ก็คือเรื่อง "อัตตา" ซึ่ง ละเอียดลึกซึ้งไปจนไม่อยากเชื่อกันเลย พูดไว้แค่นี้ก่อนนะ ..ถ้าไปอ่านตามที่ผมแนะนำ แล้วมาสอบถามคุยกัน ผมว่าจะสนุก คือผมก็จะ ได้เรียนรู้จากคุณด้วย..นะครับ เราทั้งหมดก็ จะทะลุมิติการเรียนของกันและกัน ชนิดไม่ธรรมดา เลยทีเดียว ผมขอฝากภาษิตหนึ่งของของการเรียนรู้ทิ้งไว้ดังนี้.. "Tell me, I forget. Show me, I remember. But let me participate, I understand." คุณว่าวิธีการสอนของคณะเราเป็นแบบไหน? โดย เพื่อนอาจารย์ [11 ม.ค. 2546 , 09:34:50 น.] ข้อความ 2 เผอิญตรงกับวันหยุด..วันเด็ก เลยขอถือโอกาสวันนี้ เริ่มกันเลยในเรื่องนี้ ...ขอเป็นกุศลธรรมสำหรับวันเด็ก ผมขอยึดถือในข้อเขียนของคุณสมัคร บุราวาศ นะครับ ในหนังสือของท่านเรื่อง "ปัญญา" จุดกำเนิดและ กระบวนการพัฒนาปัญญาของมนุษยชาติ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ศยาม ...เรื่องนี้เป็นหัวเรื่องของบทที่ ๕ "ว่าด้วยความมีอยู่" หรือ Existence พอสรุปเนื้อความ ดังนี้คือ... ความรู้ใดที่เราต้องการ ต้องเป็นความรู้ใน..สิ่งมี ไม่ใช่ความรู้ใน..สิ่งที่ไม่มี พอกล่าวกันถึงตรงนี้ ก็เลยเกิดเรื่องราวว่า ความรู้จากสิ่งมีอยู่นั้นเป็นอย่างไร? จนเกิดวิชาการที่เรียกว่า ภววิทยา (Ontology) สอนกัน เรื่องปรัชญาสิ่งที่มี ...Existentialism นั่นเอง คำว่า ภวะ หรือ ภพ แปลว่า ความมีอยู่ ...Existence สิ่งที่มี (Being) คือสิ่งที่เป็นต้นเหตุแห่งผัสสะ ด้วย ..หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ อะไรที่รับรู้ได้ ด้วยอวัยวะดังกล่าว ถือว่าเป็น สิ่งที่มี นักปรัชญาบางพวกสืบต่อไปเน้นเฉพาะใจ หรือผัสสะที่เกิดภายในของ จิต แย้งว่าสิ่งที่รับรู้ได้นั้น เป็น มโนภาพ หรือความคิด ของจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมา (เช่นในวลี..I think, therefore I am ของเดค๊าทซ์) เกิดแนวคิดปรัชญาในเรื่องนี้คือ Idealism หรือ มโนภาพนิยม เน้นสิ่งที่มี "ภายใน" แยกออกมาจาก ปรัชญาของสิ่งที่มี "ภายนอก" คือ Materialism หรือ พวกสสารนิยม อันหลังเป็นวิทยาศาสตร์ที่เราเรียน กันในสิ่งที่มี ทางกายภาพหรือวัตถุ อันหลังเป็น วิทยาศาสตร์เชิงจิตวิทยา สิ่งที่มีภายในใจของคนเรา (ลองอ่านรายละเอียดในหนังสือของท่าน..นะครับ) สิ่งที่มี ..ของสถาปัตยกรรมรวมไว้ทั้งสองแนวทาง คือ อะไรที่เป็นสสาร หรือ matter และอะไรที่เป็น มโนภาพเกิดในใจ มีวิชาและแนวคิดในการออกแบบ เพื่อให้เป็น "สิ่งที่มี" เกิดขึ้นมากมาย เริ่มกันตั้งแต่ สิ่งที่มี ของวิทรูเวียส ที่คนแปลให้พวกเรารู้ว่า สถาปัตยกรรม คือ สิ่งที่มี ..ที่ต้องมีคุณลักษณะพร้อม ในสามอย่างคือ commodity firmness และ delight เป็นต้น (ควรไปตามอ่านใน "สรรพสาระทางทฤษฎี สถาปัตยกรรมตะวันตก" ของ ดร.ฐานิศวร์ เจริญพงศ์ ในเรื่องนี้ด้วย...นะครับ) ส่วนในธรรมะของพุทธศาสนา ความจริง หรือ สิ่งที่มี จะเป็นเรื่องพิศดารที่เหนือมิติวิชาการของโลก เพราะ จะละเอียดลึกซึ้ง จนคนส่วนมาก ไม่กล้ารู้ อาจกลัวจน หัวหด ก็ได้ เพราะ "สิ่งที่มี" แบ่งระดับการรับรู้ตาม สิติปัญญาของผู้อยากรู้ถึงสามระดับ คือระดับที่เป็นแบบ สมมุติบัญญัติ (ต่ำสุดที่เราเคยชินกัน) ระดับสองที่เป็น แบบสมมุติสัจจะ (เป็นเรื่องทฤษฎีที่ลึกซึ้งขึ้นหรือสัมมาทิฏฐิ) และระดับสูงสุดที่เป็น สิ่งที่มี แบบปรมัตถ์สัจจะ คือเป็น ความจริงสูงสุดที่ลึกซึ้งและสูงกว่า Ultimate Reality หรือ ความแท้จริงอันติมะของพวกนักปรัชญา Existentialism ทั้งหลาย (ต้องลองและมั่นศึกษาพุทธศาสนากัน..นะครับ) (.....ยังมีต่อครับ) โดย เพื่อนอาจารย์ [11 ม.ค. 2546 , 16:15:30 น.] ข้อความ 3 ลองทดสอบความรู้เรื่องนี้กันดู ..เป็นของกัลยาณมิตรทาง ธรรมของผมนะครับ ..ถ้าสนใจจริงจะแจ้งชื่อและแหล่งที่มา ให้ทราบ ..บันทึกนี้เกี่ยวกับเรื่องนี้จริงๆครับ ต้องอ่านกัน ด้วยสมาธิที่ตั้งมั่น ..แล้วตามไปรู้ในศัพท์ธรรมที่ไม่ได้บอกไว้ เริ่มกันเลยครับ.....(ผมขอใช้ตัวอักษรเน้นทั้งหมดนะครับ) โดยความจริงอันสูงสุด โดยความจริงแท้ๆ แล้ว(Absolute Truth หรือ 'ปรมัตถธรรม') สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้น ไม่มีหรือไม่ใช่อะไรมากไปกว่า ๔ สิ่งต่อไปนี้ คือ (๑) จิต (๒) เจตสิก (๓) รูป (๔) นิพพาน จิตกับเจตสิกนั้นเป็นธรรมชาติที่จะเกิดร่วมกันดับพร้อมกันเป็นแต่ละ ขณะๆ ไป (คือจิตแต่ละดวงที่เกิด-ดับสืบต่อ จะมีเจตสิกเกิดร่วมกัน และดับไปร่วมกันเสมอ) บางครั้งก็จะได้ยินเรียกรวมกันว่าเป็น 'นาม' และนามหรือจิตกับเจตสิกนี้ ก็เป็น 'นามธรรม' รูปเป็นธรรมชาติอีกชนิดหนึ่ง รู้อารมณ์ไม่ได้ และมีสภาพเสื่อมสลายไป แตกดับไปอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกันกับนาม รูปนี้ เป็น 'รูปธรรม' ทั้งจิต-เจตสิก-รูป เป็นธรรม (คือ เป็นสภาพธรรม เป็นสภาวธรรม เป็นธรรมชาติ) ฝ่ายโลกียะ (โลกียธรรม) ฝ่ายการเวียนว่ายตายเกิด ฝ่ายสังสารวัฏ ฝ่ายวัฏฏสงสาร เป็นธรรมฝ่ายทุกข์ ทั้งจิต-เจตสิก-รูป นี้ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป สืบต่อกันไปเรื่อยๆ ตามแต่เหตุปัจจัย (คือ กิเลส-กรรม-วิบาก) (คำว่า 'วิบาก' ก็คือผล คือ ผลของกรรมนั่นเอง ส่วนคำว่า 'กรรม' นั้นแปลว่าการกระทำ กรรมจึงมีทั้งกรรมดี กรรมไม่ดีและกรรมกลางๆ หรือก็คือ กุศลกรรม อกุศลกรรมและอพยากตธรรม) กล่าวคือ เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เกิด จิตกับเจตสิกนั้นๆ หรือรูปนั้นๆ ก็จะเกิด เมื่อหมดเหตุปัจจัย จิตกับเจตสิกนั้นๆ หรือรูปนั้นๆ ก็เสื่อมสลายดับไป แล้วก็จะมีจิตกับเจตสิกและรูปใหม่ๆ เกิดต่อเนื่องเสมอไป กฏตายตัวของธรรมชาติทั้งปวงในวัฏฏสงสาร สรรพสิ่งสรรพสัตว์ทั้งปวงในวัฏฏสงสารหรือในธรรมชาติฝ่ายโลกียะ หรือในธรรมชาติฝ่ายทุกข์นั้น ล้วนตกอยู่ภายใต้กฏเหล็กแห่งธรรมชาติ กฏเหล็กนี้เป็นกฏธรรมชาติ ตายตัว ดิ้นไม่ได้ และปรากฏอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้คือได้เข้าไปเกิดปัญญารู้แจ้งแทงตลอด ธรรมชาติทั้งปวงอันรวมไปถึงกฏธรรมชาตินี้ด้วยหรือไม่ก็ตาม กฏเหล่านี้ก็ดำเนินอยู่ตลอดเวลาในโลก ในวัฏฏสงสาร ทำหน้าที่ อย่างเที่ยงแท้ที่สุด พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเพียงผู้เข้าไปตรัสรู้ หรือเข้าไปเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงเกี่ยวกับกฏนี้และเกี่ยวกับ ธรรมชาติทั้งปวง ทั้งยังทรงมีเมตตานำมาแสดงเปิดแผ่ให้สรรพสัตว์ ผู้มีปัญญาน้อย บารมีน้อย ไม่สามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้เอง ได้สามารถรู้เห็นประจักษ์ความจริงเหล่า กฏเหล็กเหล่านี้ ได้ด้วย ผ่านทางพระธรรมคำสั่งสอนและแนวทางปฏิบัติเพื่อการเกิดปัญญา สู่การพ้นทุกข์ที่ทรงให้ไว้นั่นเอง กฏธรรมชาตินี้ มีชื่อเรียกที่รู้จักกันทั่วไปว่า พระไตรลักษณ์ หรือ สามัญญลักษณะ คำว่า 'สามัญญลักษณะ' คือ ลักษณะที่มีเสมอกันหมดในธรรมชาติ (ฝ่ายโลก ฝ่ายโลกียะ หรือ ฝ่ายทุกข์) ทั้งปวง พระไตรลักษณ์ หรือ สามัญญลักษณะ มี ๓ ประการ คือ (๑) ไม่เที่ยง 'อนิจจัง' คือ ความเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงทนถาวรอะไร (๒) เป็นทุกข์ 'ทุกขัง' คือ ล้วนคงทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปไม่ได้ ต้องมีอันเสื่อมสลาย ต้องมีอันเปลี่ยนแปลงผันแปรหรือดับไป อย่างแน่แท้ (๓) ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของๆ ใคร 'อนัตตา' กล่าวคือ ธรรมชาติฝ่ายทุกข์ทั้งปวงนั้น ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของใคร ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง ไม่มีใครสามารถบงการ ชี้นิ้วหรือบังคับบัญชาให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้เลย + + + + + + + + + + นี่เป็นแค่อธิบายแย้งปรัชญาของ Existentialism เล็กน้อยเท่านั้น (ลองเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์ควอนทัมปัจจุบันด้วยนะครับ) เป็นไงบ้างครับ...ผมอยากสรุปไว้ว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นที่สุดของวิชาการทั้งหลาย ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ สำหรับชีวิตของมนุษย์ทั้งโลก ...ไม่ใช่แค่ จิตนิยม หรือวัตถุนิยม แต่สัมพันธ์กันเป็นองค์รวมของ ปัญญานิยม ..Wisdomism เมื่อเรามีปัญญาใหญ่ จิตใหญ่ สมองใหญ่ เรื่อง สิ่งที่มี ทางวิชา สถาปัตยกรรม ที่พวกเรากำลังศึกษาจะเป็นเรื่องง่ายที่จะรู้และเข้าใจ เพราะเป็นเรื่องของสิ่งที่มี (ซึ่งมักจะเป็นสิ่งไม่มี) ที่เล็กๆจิ๊บจ้อย ....จริงๆครับ โดย เพื่อนอาจารย์ [11 ม.ค. 2546 , 16:17:33 น.] ข้อความ 4 การมีอยู่จริงของความจริงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยตรรกะ ซึ่ง เป็นแนวทางของพุทธที่ให้เข้าถึงด้วยความรู้จากภายใน แต่การเข้าถึงความจริงตามตะวันตก มักตั้งสมมุติฐานแล้วใช้วลีหรือ สัจพจน์เข้ามาอธิบายการมีอยู่ของความจริง โดย lyo [15 ม.ค. 2546 , 05:09:17 น.] ข้อความ 5 ผมได้อ่านหนังสือที่เพื่อนอาจารย์นำเสนอมาแล้วครับ แต่ที่ไม่เข้าใจก็ คือแนวทางของลัทธิที่พยายามอธิบายสังคมและก่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลง หากเพื่อนอาจารย์มีหนังสือใดแนะนำช่วยชี้แนะด้วยครับ โดย lyo [18 ม.ค. 2546 , 15:41:50 น.] ข้อความ 6 ผมดูเหมือนจะเคยอ่านบทความ จุดเปลี่ยนความคิดของยุคสมัยอยู่บ้าง แต่ไม่ค่อยซีเรียดมากนัก ความคิด เลยมักหยิบโย่ง ไม่คอ่ยคงเส้นคงวาเท่าไร มีบทความที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นำมา เสนอในเว็บมาก เกี่ยวกับลัทธิละสังคม เช่น ทฤษฎีวิพากษ์(Critical Theory)ของกลุ่ม นักคิดแฟรงค์เฟริทสคูล ..ลองไปเลือกอ่านดู เข้าตรงของรายชื่อบทความได้ที่..url http://www.geocities.com/midnightuniv/articlepage1.htm ลองเริ่มที่บทความเพื่อเห็นภาพเคร่าๆก่อน แล้วค่อยเจาะไปที่รายละเอียดตามหนังสืออ้างอิง อาจช่วยสร้างกรอบรวมได้กว้างขึ้น การศึกษา อะไรนั้นผมมักใช้คติที่ว่า ..อย่าเชื่อและอย่าปฏิเสธ หรือหลักกาลามสูตรของพระพุทธศาสนานั่นแหละ การรู้จักตั้งคำถามแล้วสืบเสาะหาคำตอบ ถือเป็น ลักษณะของนักปรัชญาแล้วนะครับ โดย เพื่อนอาจารย์ [20 ม.ค. 2546 , 09:00:44 น.] ความถนัดทางสถาปัตย์ นั่งคิดย้อนกลับไปตอนสอบเอนทรานซ์ ตอนนี้ก็ปี4แล้ว ก็คิดว่า ข้อสอบตอนนั้นมันก็ไม่เห็นจะเป็นข้อสอบความถนัดที่ดีเลย (แต่ผม ก็ จำไม่ค่อยได้แล้วว่าข้อสอบออกอะไรๆชัดเจน) เพราะผมว่า พูดถึงคณะเรา คือ ออกแบบ Idea สร้งสรรค์ แต่ไม่ใช่วาด รูปสวย มือดี ซึ่งผมคิดว่า ความคิดเป็นหลัก แล้วมือที่ดีช่วยส่งเสริม ผมไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้ข้อสอบเป็นไงแล้ว คุ้นๆที่สอบกันตอนนู้นก็ เขียนtive ที่คะแนนมากสุด ( อย่างการมอง plan front side อันนี้ผมว่าใช่ได้นะ ดูว่าใครมองแบบ 3 มิติ ได้ดี)ผม ว่ามันไม่น่าคะแนนมากสุด ผมว่ามันไม่จำเป็น อย่างตอนนี้ผมเห็น เพื่อนผม มือแม่งอย่างห่วยเลย แต่ความคิดมันไม่ใช่ งานมันดีเลยที เดีบว และ มีสำนึกดีด้วย มันใช่comนะเพราะมือมันไม่ดี ผมดูมันน่าจะ เป็น creative ที่ดีได้เลย มัน เอน เข้ามาได้ไงมันก็ไม่รู้ มันเคยเข้ามา ติว วาดรูป แล้วมันก็หนีไปเพราะมันอายเพื่อนๆ แถมปัจจุบันมีสื่อมากกว่า การวาดรูป ด้วยไม่รู้ ข้อสอบเป็นยังไงบ้างปีนี้ ผมไม่ได้ ไม่ชอบวาดรูปนะ ผมชอบเลยแหละ โดย ธุลีscape [8 ม.ค. 2546 , 23:46:49 น. เรื่องข้อสอบความถนัด สำหรับการสอบ เอ็นทร้าน ผมไม่อยากวิจารณ์ว่าเหมาะสม หรือไม่อย่างไร เดี๋ยวจะกลายเป็น "การยกตน ข่มท่าน" เป็นสิ่งไม่ดีต่อบัณฑิตที่พึงกระทำ บอกตามตรง ผมชอบทำข้อสอบที่ไม่ตรงกับ ที่ผมถนัด หรือที่ไม่มีประโยชน์อะไรกับผมเลย ในตอนนั้น เพราะถ้าผมทำข้อสอบนั้นได้ และเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไปพยายาม คิดทำให้เป็นประโยชน์ได้ ..ผมน่าจะเป็น คน..ไม่ธรรมดา ซึ่งผมชอบเป็น แต่ยังไม่เป็น อย่างที่ว่าได้ซักที ..(แต่เป็นหลายทีครับ)..๕๕๕ ผมเห็นด้วยที่ว่าการเขียนรูปสวย ไม่ได้หมายความว่า จะออกแบบได้สวยด้วย แต่ก็มีประโยชน์ในแง่ทักษะการสร้าง หรือ การเห็นภาพในใจ แล้วนำจินตภาพนั้นออกมา จำลองให้สื่อกันได้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งจะสืบนำไปสู่ทักษะการคิดแบบเห็นภาพ หรือ Image Thinking ซึ่งเป็นลักษณะการคิดที่สำคัญเหมือนกัน เคยมีการทดลอง พบว่านักเรียนสายวิทย์มักบันทึกข้อมูลไว้ ในใจแบบ ตัวเลข ข้อความ หรือเป็นเรื่องราว แบบ verbal information ส่วนพวกนักเรียน สายศิลป์มักตรงกันข้าม บันทึกเป็นภาพ หรือ องค์ประกอบเป็นแบบโครงสร้าง ที่นึกเป็นภาพได้ คือเป็นแบบ non-verbal information ตัวอย่างที่ใช้ทดลองเช่น โปสเตอร์ ประกาศจับ โจร ที่มักให้ข้อมูลทั้งสองอย่างรวมกันไว้ใน โปสเตอร์คือ ภาพเสก็ตหรือภาพถ่ายจริงผู้สงสัย (non-verbal) และรายละเอียดของข้อความเช่น เพศ ความสูงเชื้อชาติ นำหนัก หรือรายละเอียดรูปพรรณสัญฐาน ต่างๆ (verbal) คนเห็นโปสเตอร์แบบนี้ จะถ่ายทอดข้อมูล ที่เน้นชนิดข้อมูลต่างกัน และก็มีคนที่มีทักษะกระทำได้ ดีทั้งสองอย่าง ...สถาปนิกควรมีทักษะในการรับรู้ข้อมูลให้ได้ในหลายๆชนิด เช่นเห็นสูตรคณิตศาสตร์ ก็จะนึกเป็น ภาพได้ หรือเห็นภาพก็บอกสูตรสำเร็จได้ นักวิทยาศาสตร์ ที่เป็นอัจฉริยะ จะมีทักษะการรับรู้ทั้งภาษาวิทย์และภาษาศิลป์ สถาปนิกที่จะเป็นอัจฉริยะ ก็ควรเป็นเช่นกัน ..จริงไหม? ผมเองเป็นนักเรียนบ้านนอก โดนพระเจ้าถีบให้มาเรียน ที่คณะนี้ วาดรูปได้คะแนนสู้พวกนักเรียนสวนกุหลาบ ที่เมืองหลวงไม่ได้เลย ความคิดรสนิยมก็บ้านนอก ไม่ทัน สมัยในทุกเรื่อง ซึ่งความต่างนี้ลดน้อยมากในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยี เช่น ทีวี มีกันได้ทุกจังหวัด ..ถ้ารักการเรียน ก็จะพัฒนาทักษะที่ขาดได้แน่นอน ผมก็พัฒนาจากชั้นเรียน และกับเพื่อนที่วาดรูปเก่ง ยอมตัวเป็นคนรับใช้ติดตามเพื่อน ไปวาดรูปกัน ก็ได้ทักษะหรือได้วิทยายุทธ์เพิ่มเหมือนพวก เรียนวิทยายุทธ์ในหนังจีนกำลังภายในทั่วไป .. ถ้าไม่ชอบอะไรแรกๆ เช่น การวาดรูป หรืออะไรก็ตามเพราะ เราไม่ถนัด อย่าเพิ่งหนี ลองไปฝึกดูก็อาจเปลี่ยนเป็นชอบ ก็ได้ เพราะการวาดรูปมันเสริมทักษะการคิดแบบเห็นภาพ ก็สำคัญพอๆกับการคิดเห็นสูตรในงานสถาปัตยกรรม คิดให้ได้หลายๆรูปแบบ รวมทั้งคิดเหมือนเครื่องคอมพ์ (virtual reality) ได้ด้วย ผมว่า..จำเป็นสำหรับสถาปนิก ในสหศวรรษใหม่นะครับ วิชาการหลายแหล่ในคณะฯหรือในอินเทอร์เนท ในห้องสมุด ในร้านขายเอกสารหรือชีทประกอบการสอนของคณะเรา รวมทั้งวิชาที่สอนเรียนกันในห้องเรียน ผมมักเปรียบเหมือน กองขยะและการเรียนรู้ คือ การฝึกทักษะฝึกเลือกสรรขยะนั่นเอง ผู้เรียนต้องรู้จักเอาเศษขยะเหล่านี้ไปสร้างสรรสิ่งใหม่ๆและ ทำให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของเราแต่ละคนให้ได้ เพราะฉะนั้นอย่าพึงมองข้ามขยะอะไรที่เราอาจนึกว่าไม่มีค่า เช่น การวาดรูป เพราะถ้ามองกันดีๆ ก็จะเห็นประโยชน์ดังกล่าวได้ เพราะที่นี่หรือที่ไหนก็เป็นวิชาการ แบบกองขยะแทบทั้งนั้น ให้ดีหน่อยก็เอามาจัดใส่กล่องใส่ถังเป็นหนังสือ หรือการบรรยาย แยกแยะกันออกมาเป็นของใครของมัน ซึ่งอาจทำให้สะดวกกับลูกค้า ได้เลือกสรรขยะ เอาไปแยกแยะ แล้วก็นำไปใช้เป็นขยะความรู้ของ แต่ละคนได้ง่ายขึ้น ..ก็เท่านั้นเอง คิดหรือมีคติอย่างนี้ บางทีอาจทำให้จิตของเราใหญ่พองโตขึ้นบ้างนะครับ ผมคุยมาตรงที่จะต้องการคุยหรือป่าว? ไม่รู้นะ เพราะเป็นคน ที่ชอบคุยให้ตัวเองฟังเป็นส่วนมากๆ ...ครับ โดย เพื่อนอาจารย์ [10 ม.ค. 2546 , 16:06:03 น.] ข้อความ 2 ข้อสอบความถนัดฯ ปีนี้ ก็ง่ายกว่าปีที่แล้วมากๆ ค่ะ ไม่มีการมองแบบเปอร์สเปคทีฟ ส่วนใหญ่จะเป็นการออกแบบ เหมือนว่าจะดูความคิด ข้อสอบก็ แบบว่า มีไม่ไผ่มาแท่งนึง เราจะเอาไปทำอะไรได้บ้าง แบบนี้ล่ะค่ะ อีกข้อก็เป็น แผ่นซีดี แล้วก็มีช่องให้วาดภาพนะคะ แบบว่า มีเส้นโค้งๆ อยู่มุมล่าง มีเส้น ตรงๆแนวนอนอยู่ตรงกลาง ให้เราวาดภาพแบบจินตนาการ ให้หัวข้อมา 2 หัวข้อ รู้สึกว่าจะเป็น พักผ่อนหรือฤดูร้อน อะไรนี่ กับ งานเลี้ยง ค่ะ และยังมีแบบว่าให้ออกแบบกรงนกที่เลี้ยงปลาได้ ให้กะคนที่อยู่บ้าน เล็กๆ ต้องการความสะดวกสบาย ทำนองนี้ล่ะค่ะ ก็ยอมรับค่ะ ว่าตัวเองก็วาดรูปไม่เก่ง แต่ว่าเป็นคนที่ชอบออกแบบ ชอบ จินตนาการ ก็เลยคิดอยากจะเข้ามาเรียนในคณะนี้ สำหรับคะแนน เอนท์ที่ซุ่มเก็บมาก็พอจะเข้า ม. ในกรุงเทพ ได้ แต่ด้วยเหตุผลส่วนตัวว่า กลัว กลัวสังคม กลัวความเป็นเด็กบ้านนอกของตัวเอง จะทำให้ตัวเอง ดูแตกต่าง ก็เลยตัดสินใจ เลือก ม. ต่างจังหวัดดีกว่า โดย กิ๊ฟ [16 มี.ค. 2546 , 15:59:32 น.] ข้อความ 3 อยากถามอาจารย์อีกนิดนึงฮะ คือพักหลังนี่ จะมีเด็กผู้หญิงสอบเข้ามาได้มากกว่าเด็กผู้ชายเรื่อยๆ อยากทราบว่า เป็นเพราะข้อสอบหรือเปล่าครับ คือ ผมคิดว่าผู้ชายและ ผู้หญิงมีความถนัดในด้านต่างๆไม่เหมือนกัน อย่างเช่นว่า ผู้ชายถนัด ด้านกลไก โครงสร้าง ผู้หญิงถนัดงานละเอียดเช่นพวก textile อะไร อย่างนี้ ข้อสอบความถนัดนี้มีผลในแง่ข้างต้นบ้างหรือเปล่าครับ เช่น เน้นด้านทฤษฏี ท่องจำมากไป หรืออะไรทำนองนี้ หรือเป็นเพราะผมคิด ไปเอง แล้วพวกเรื่องผลการเรียนครับ คือผมไม่เห็นว่าพวกที่ได้เกรดมากกว่า จะจำเป็นว่า ต้องเก่งกว่าพวกได้เกรดน้อยในการทำโปรเจคจริงๆเลย พวกจีแพ็คเยอะบางทีก็เป็นพวกนักทฤษฏีสูง เอาเข้าจริงก็ทำงานไม่เห็น ได้เรื่องเท่าไหร่ เราควรมีระบบการวัดผลการเรียนที่ดีกว่านี้หรือเปล่าครับ หรือว่าไม่มีทางวัดได้อยู่ดี โดย นิสิตไอดี [22 มี.ค. 2546 , 14:59:21 น.] ข้อความ 4 เรื่องการประเมินผล ทดสอบความถนัด คัดสรรคนเข้ามาเรียนในแต่ละคณะฯ คิดวิธีการใดๆ..ผมว่า..ยากจะหาความสมบูรณ์ได้ เหมือนการคนหาทฤษฎีสมบูรณ์ทางวิทยาศาสตร์ จนป่านนี้ก็ยังหากันไม่พบ..บางทีอาจไม่มีก็ได้ แต่คนก็พยายาม..โดยเลี่ยงไปหาทฤษฎีย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกัน..แล้วมาอธิบายความจริงต่างๆ ความเท็จ..ความจริงเลยมั่วกันไปเรื่อยๆ ผมคิดว่า..เรื่องบางเรื่องอย่าไปหามันให้วุ่น ถ้าจะทดสอบอะไร..ก็จงทำมันไปเถอะ อาจ โดยใช้สันขาติญาณดิบๆที่ติดตัวมาแต่ชาติก่อน ก็น่าจะใช้ ..ผ่านทดสอบได้ก็ดี..จะได้ไปทำสิ่งอื่นต่อ ไม่ผ่าน..ก็อย่าไปกลุ้ม เพราะคนทดสอบเราไม่ใช่ พระเจ้าแน่นอน..เผลอๆพระเจ้าอาจให้เราไปอยู่ ในที่ที่เหมาะสมกว่า..มีคติอย่างนี้อาจไม่ถูกหรอกนะ แต่ผมว่าทำให้เราสบายใจดีถ้าทำได้..และทำให้ เรายังมีความเชื่อมั่นหรือมีคุณค่าในตัวเองอยู่อีก ผมว่า..เรื่องนี้สำคัญ ต้องมั่นสร้างกำลังใจให้ตนเอง ไว้เสมอนะครับ ..เหตุผลก็พิสูจน์ได้ต่างๆนานา เช่นเรียนเก่งได้เกรดดี แต่ทำงานไม่ได้เรื่อง ก็มีเยอะ..บางคนก็ยังทำชั่วติดคุก..ก็มี ฯลฯ การมั่นทำใจให้บริสุทธิ์ สะอาดและเป็นสุขเข้าไว้ แม้ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าจะได้ไปสวรรค์ในชาติหน้าหรือป่าว แต่ที่แน่ๆคือ..จะอยู่ในสวรรค์ของชาตินี้แน่ๆ และ ก็ต้องแน่นอนที่จะได้พบพานแต่สิ่งดีๆ แน่เลย พลังความดีงาม..เป็นอนุภาคทางบวกนะครับ น่าจะทำให้เอกภพ "พองตัว" เป็นอนันต์ มากกว่า ทำให้ "หดตัว" นะครับ บางที..เว้นคิดถึงเรื่องที่เรายังควบคุมมันไม่ได้ ก็น่าจะดีกว่านะครับ..รอให้มีปัญญามากขึ้น อำนาจในการควบคุม หรือการมีความรอบรู้ ก็จะพิจารณาเรื่องต่างๆได้โดยง่ายขึ้นกว่า ที่เรากำลังเป็นหรือกำลังวุ่นวาย..อยูขณะนี้ นะครับ โดย เพื่อนอาจารย์ [23 มี.ค. 2546 , 09:12:59 น.] ข้อความ 5 ซอยมือเร็วไปหน่อย..เลยพิมพ์ผิด เช่น ..ยาก..เป็น..อยาก ค้นหา..เป็น..คนหา...อันหลังยังพอได้เรื่อง ก็ต้องขอโทษด้วยครับ เรื่อง "เพศหญิง" ได้คัดสรรกันมามากขึ้น ก็พอมีเค้า...ผมว่าดีนะ เพราะบทบาทของผู้หญิงมีส่วนน้อยกับการปกครองในอดีต โดยเฉพาะในสังคมไทย แม้จะยกย่องกันบ้าง แต่ก็ยังน้อย ...เอกภพพอพองตัวมากเข้า..ก็ จะต้องถึงคราวหดตัวลง ..ผู้หญิงกลับมามีบทบาท มากขึ้นแทนผู้ชาย น่าจะอยู่ในช่วงเอกภพหดตัว ละมัง..ครับ อย่าไปกังวลเรื่องการแบ่งเพศมากนัก ในทางพุทธศาสนา..ไม่มีเพศในชั้นปรมัตต์ คือ ทุกคนที่เป็นมนุษย์สามารถบรรลุธรรมได้เท่ากัน สัญญาณการหดตัวของเอกภพ อาจขึ้นอยู่กับบทบาท ของสตรีก็ได้นะครับ ดรรชนีความเป็น "ตุ๊ด" อาจ พอเป็นตัวชี้แนะก็ได้เหมือนกัน ...หากผมต้องไปเกิดใหม่ ในช่วงเอกภพกำลังหดตัว ...แม้ผมเป็นเพศชาย แต่ก็อาจมีพฤติกรรมเป็นตุ๊ดก็ได้..who care? โดย ขออีกที [23 มี.ค. 2546 , 09:29:19 น.]

ไม่มีความคิดเห็น: