วันจันทร์, มีนาคม 21, 2548

การมองสถาปัตยกรรมกับการมองผู้หญิง


การมองสถาปัตยกรรมกับการมองผู้หญิง
เคยนึกตั้งคำถามกับตัวเองครับ ว่าเวลาอ่านหนังสือจำพวกนิตยสารบางเล่ม ที่เอางานสถาปัตยกรรมมาลง เหมือนว่าเขาจะไปถามผู้ออกแบบจริงๆว่า วางแนวความคิดยังไง แล้วแสดงผลออกมายังไง ในเชิงลึกผมไม่แน่ในนะครับว่าเขาไปถามมาจริงๆรึเปล่า ปัญหาอยู่ที่ว่า การจะเสพงานสถาปัตยกรรมที่ไม่มีในหนังสือ หรืองานที่ไม่รู้จะไปถามผู้ออกแบบที่ไหน เราจะรู้ถึงสิ่งที่สถาปนิกซ่อนไว้อย่างไร มันเป็นเรื่องที่ผมเคยเรียนมาแล้วแต่ก็ยอมรับในจุดหนึ่งว่า เวลาออกไปดูงานจริงๆ ผมไม่สามารถตีตวามconceptจากสิ่งที่เห็นได้เลย อาจารย์(และท่านอื่นๆ)คิดว่าพอจะฝึกฝนการมองงานสถาปัตยกรรมพวกนี้อย่างไรบ้างครับ เท่าที่ผมนึกดู เห็นว่าจะมีแนวทางดังนี้คือ 1.ต้องไปเป็นสถาปนิกเพื่อที่จะพูดภาษาเดียวกันรับรู้ในสิ่งต่างๆผ่านการออกแบบไปด้วยเพราะเชื่อว่าการมีประสบการณ์จะทำให้มองงานออก 2.ต้องไปเป็นนักทำนิตยสารเพื่อที่จะได้เรียนรู้กลวิธีการออกแบบต่างๆให้เท่าทัน สรุปว่าในความคิดผมคือ เราจำเป็นต้องมีประสบการณ์+การสังเกตุที่มากพอจึงจะสามารถดูออกว่างานนี้ดีอย่างไร เหมือนกับการดุผู้หญิงสวยๆซักคนรึเปล่าครับ ขอบคุณครับ

โดย นนกฮูก33 [1 ก.ย. 2546 , 08:54:27 น.]

ข้อความ 1
การ "สัมผัส" หรือมอง งานสถาปัตยกรรม ขอเริ่มต้น...อย่างนี้ก่อนนะครับ ผมเพิ่งอ่านงานเขียนวิจารณ์ในคอมลัมม์หนึ่งของหนังสือพิมพ์วันนี้ เกี่ยวกับประเด็นการสัมผัส ที่ใช้ "ฐานคิด" และ "ฐานข้อมูล" เพื่อ เป็นบทสรุปอันเป็นผลึกแห่ง "ความคิดรวบยอด" อันจะเป็นเงา สะท้อนของ "วิธีคิด และ "วิธีการ" ในการมอง "สถาปัตยกรรม" หรือปัญหาใดๆ นั่นคือ การมองเพียง "ปรากฏการณ์" หรือ "รูปแบบ" หรือ "เนื้อหา" หรือบางคนอาจรับรู้เพียงในแง่ของ "ความรู้สึก" หรืออาจทะลุไปถึงขั้นของ "เหตุผล" ...การพัฒนาการรับรู้ จากขั้นของความรู้สึก ไปยังขั้นของเหตุผลนั้น จำเป็น ต้องอาศัยความสัมพันธ์กับความสัมผัสที่เชื่อมโยงกัน ระหว่าง รูปแบบ กับ เนื้อหา (contence) และระหว่าง ปรากฏการณ์ กับ เนื้อแท้ (essence) ของแต่ละสิ่งที่เกิด ขึ้นและดำรงอยู่ เช่น งานสถาปัตยกรรม หรือ ผู้หญิง
(มีต่อ..ครับ)

โดย อาจารย์ [3 ก.ย. 2546 , 16:09:55 น.]

ข้อความ 2
ในงานศิลปนั้น ..ศิลปินมักแสดงการสื่อความหมายของ สิ่งเหล่านี้ไว้ในงานศิลป์ของพวกเขา งานสถาปัตยกรรม ก็น่าจะเป็นเรื่องทำนองเดียวกัน การสื่อต่อผู้ดู โดยเฉพาะ สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ระหว่าง รูปแบบ กับ เนื้อหา ซึ่งจะต้อง ง่ายในการสื่อความรวมไปถึง เนื้อแท้ กับปรากฏการณ์ด้วย ศิลปิน หรือ สถาปนิก ต้องซื่อสัตย์ที่จะแสดงออกมาให้ได้ชัด เจนและสัมผัสให้ได้ ...จึงจะเป็นงานที่ทรงคุณค่า เท่าที่เราสัมผัสกันนั้น ...ค่อนข้างแค่ความสัมพันธ์ของรูปแบบ กับเหตุผล แต่ปัญหาคือรับมักเดาเหตุผลที่แท้จริงของสถาปนิก ซึ่งแต่ละคนมักโมเมกันตามเหตุผลส่วนตน งานศิลปะหรือ งานสถาปัตยกรรม จึงมักไม่สะท้อนความคิดของศิลปินหรือสถาปนิกจริงๆ จึงกลายเป็นงานที่ไม่สมบูรณ์ในเรื่องของ "คุณค่า" กันเท่าไรนัก อาจเป็นเพราะ ฐานคิด หรือฐานข้อมูล ในการออกแบบไม่ชัดเจน หรือไม่สะท้อนในแง่ที่เป็นความรู้ได้ นั่นเอง ผมอาจสรุปเอาว่า ...คุณค่าของงานสถาปัตยกรรมที่รวมเอาความ เชื่อมโยงต่างดังกล่าว เราสัมผัสกันได้ไม่ครบและพร้อมมูลนัก ..หรือ มีฐานความคิด ไม่มีความลึกซึ้งพอในการเสนอ "ความรู้" ...กระมังครับ? ผมอยากให้ลองกลับไปทดสอบพื้นฐานหรือเรื่องราวในเจตจำนงของ สถาปนิก ที่เรายอมรับเป็นศาสตร์ในการศึกษากันดูในเรื่องสถาปัตกรรม บางที อาจให้คุณค่า ...ที่น่าจะสัมผัสครอบคลุม รูปแบบ กับ เนื้อหา และความเชื่อมโยงกันของ ปรากฏการณ์ กับ เนื้อแท้ ได้ครบถ้วนกระมัง ซึ่งก็น่าจะตัดสินว่า งานเหล่านี้ ให้แรงบันดาลใจและเรื่องราว ที่พอ เสริมฐานความคิด และนำไปสู่การเพิ่มพูนความรู้ให้กับเราได้หรือไม่?
...รวมถึงภาพหญิงเปลือยด้วย ....นะครับ ...

โดย อาจารย์ [3 ก.ย. 2546 , 16:11:11 น.]

ข้อความ 3
ในแง่ความคิดส่วนตน..สำหรับผม งานศิลปะ หรือสถาปัตยกรรม ควร สนองคุณค่าให้กับคนทุกระดับชั้น ของสังคมได้ ..ตามความรู้ที่แต่ละคน พึงมี ...งานไหนผมไม่เข้าใจได้ แม้มี ผู้อรรถาธิบาย แต่ก็ไม่เข้าใจ ผมว่านั้น ไม่ใช่ปัญหาของผม แต่เป็นปัญหาของ ศิลปิน หรือสถาปนิกคนนั้น ผมไม่เห็นด้วยกับศิลปะหรือสถาปัตยกรรม ที่ชื่นชมกันเฉพาะกลุ่ม (elite group) ผมจึงไม่เห็นด้วยกับงานออกแบบที่ดีเด่น โดยการตัดสินของกลุ่มคนพวกเดียวกัน ผมว่านี่เป็นคุณค่าปลอมๆ ที่เกิดจากความ คิดแบบแยกส่วน การแสวงหาข้อมูลในฐานความคิดของ ศิลปินหรือสถาปนิกนั้นมีความจำเป็น หากเราต้องการความรู้ความเข้าใจที่ คนออกแบบต้องการเสนอให้ครบ นั่น เป็นงานที่ขยายคุณค่าในระดับสูงๆต่อไป เช่น งานศิลปะหรือสถาปัตยกรรมที่โลก ยกย่องกันทุกวันนี้ ไม่ว่าใครได้มีโอกกส มองหรือสัมผัส ก็เข้าใจคุณค่านั้นได้เอง ผมว่ามันเหมือนการเขียนนิยายที่คนอ่านทั่วไป ยกย่องกันถ้วนหน้า....แหละครับ

โดย อาจารย์ [3 ก.ย. 2546 , 16:24:34 น.]

ข้อความ 4
จริงอยุ่ที่มันไม่ใช่ความผิดของuserแบบที่อาจารย์ว่าน่ะครับ มันอาจจะเป้นข้อดีก็ได้ที่งานซักชิ้นเราสามารถมองในแง่อื่นที่สถาปนิกไม่ได้คิดไว้(เหมือนกับที่อ.ทิพย์สุดาให้ความเห็นว่างานสถาปัตยกรรมไม่ควรจะตาย..ควรจะต่อยอดความคิดไปได้เรื่อยๆ) เพื่อที่จะคุยให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้นผมจะลองยกตัวอย่างอาคารที่เป็นเจ้าปัญหาให้ผมมาถามคำถามนี้นะครับ อย่างเช่นงานออกแบบสนามกีฬาasian gameที่เป็นคล้ายๆโดม3หลังต่อกัน หลายคนมองว่าเป้นหลังเต่าแต่จริงๆแล้วสถาปนิกมีแนวคิดมาจากformพญานาค..อะไรอย่างนี้น่ะครับ จริงๆแล้วผมกำลังแสวงหาแนวทางในการพัฒนาการออกแบบน่ะครับเลย ถึงตอนนี้จะยกตัวอย่างสถาปนิกที่ผมสนใจแนวทางการออกแบบของเขาให้อาจารย์เข้าใจผมมากขึ้นนะครับ ทาดาโอะอันโดะ อาจารย์คงเคยทราบมาบ้างว่าเขาเป้นสถาปนิกที่ไม่ได้เรียนมาโดยผ่านtextแต่เรียนรู้จากการไปสัมผัสงานสถาปัตยกรรมจริงๆ เมื่อกลับมาทำงานของเขาเองเขากลับสามารถสร้างงานดีๆได้(งานดีๆในความหมายของผมคืองานที่สื่อสารกับคนอื่นๆได้อย่างเช่นchurch of light) ผมเรียนรู้จากการดูงานของสถาปนิกท่านนี้ว่าเขากำลังค้นหาภาษาสากลในการพูดงานสถาปัตยกรรมก่อนที่จะทำการออกแบบ ซึ่งมันก็เป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องการสื่อสารกับคนทั่วไปที่มาใช้อาคารได้ดีไม่ใช่หรอครับผมว่ามันก็ไม่ใช่สูตรสำเร็จเสมอไปสำหรับการออกแบบงานสถาปัตยกรรมแบบที่อันโดะทำ แต่ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ผมกำลังทดลองอยู่น่ะครับ ถึงตอนนี้ อยากให้อาจารย์ช่วยยกตัวอย่างการมองงานสถาปัตยกรรมหน่อยครับ
ขอขอบคุณครับ

โดย นกฮูก33 [5 ก.ย. 2546 , 13:32:47 น.]

ข้อความ 5
เท่าที่ลองสังเกตดู...การถาม-ตอบ ในเรื่องของ ศิลปะหรือสถาปัตยกรรมก็ดี มักไม่เหมือนกับการ ถามตรง ตอบตรง เหมือนในวิชาคณิตศาสตร์ แต่ จะเป็นผลในแง่ความพอใจ มากกว่าความถูกต้อง พูดให้ง่ายเข้าคำถามหรือคำตอบต้องตีความกันบน เงื่อนไขของคนถามและคนตอบที่อยู่กันคนละเหตุการณ์กัน ในระยะหลัง เมื่อเผชิญประเด็นปัญหา หรือคำถามใดๆ ผมมักจะหาทาง "ย้อนรอย" ของเรื่องเหล่านั้นก่อนเสมอ เหมือนว่า..เวลาศึกษาถึงทฤษฎีทางสถาปัตยกรรมใด ก็ ต้องย้อนกลับไปดูที่มาที่ไปในแง่ปรัชญา ซึ่งมักเป็นพื้นฐาน ของทฤษฎีเหล่านี้เสมอ วิธีนี้ทำให้ความเข้าใจสำหรับผม ดีขึ้น เพราะได้ทราบ "ขบวนการ" มากกว่า สิ่งที่เห็นกันโดดๆ อันมักทำให้เกิดภาพลวงตาที่ตัวเราเป็นผู้กำหนดได้ง่าย สมัยที่ผมเรียนสถาปัตยกรรม ทั้งในวิชาประวัติศาสตร์หรือทฤษฎี การออกแบบ ครูมักเน้นสาระของผลที่ปรากฏหรือสิ่งที่เห็น (ใน ภาพ) มากกว่าการเรียนรู้ด้วยการช่วยกันวิเคราะห์ในเรื่อง ขบวนการ หรือที่มาที่ไปที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น วิธีนี้แม้เราอาจไม่ได้คำตอบ หรืออาจมีความหลากหลายในคำตอบก็ตาม แต่กระบวนการเรียนรู้จะพัฒนาการ ในแง่ของการคิดของแต่ละคนได้ มากกกว่าการจำที่หมายรู้ได้จากครู นี่อาจเป็นประเด็น ที่เสี้ยมสอนเราให้เห็นสถาปัตยกรรม อันมีพื้นฐาน มาจากภาพในหนังสือที่สวยต่างๆเหมือนหาได้ตามหนังสือแฟชั่นทั่วไป
(ยังมีต่อครับ)

โดย อาจารย์ [7 ก.ย. 2546 , 00:10:37 น.]

ข้อความ 6
ผมไม่ได้ติดตามสถาปนิกที่มีชื่อเสียง เช่น อันโดะ มากนัก นอกจาก เมื่อเมื่อนิสิตสนใจถามมา ก็จะลองไปค้นดูเพื่อจะได้คุยกับพวกเขา ได้รู้เรื่อง ..เพื่อนฐานการเรียนรู้เรื่องสถาปัตยกรรมของ อันโดะ ตาม ที่คุณเล่ามา ผมว่าน่าสนใจ และน่าจะเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีกว่าใน ห้องเรียน เหมือน คอร์บู แฟรงค์ คานท์ หรือใครอีกมาก ที่ศึกษากัน กับวิธีสัมผัส โดยเฉพาะพวกงานในอดีต ตอนผมแปลบทความที่ เกี่ยวกับ คานท์ ก็เห็นว่าแรงบรรดาลใจในเรื่องของแสง เขาก็ได้มา จากการไปสัมผัสงานในอดีต คอร์บูก็เช่นกัน ได้ผลแห่งการสัมผัสมา จากสถานที่ๆตนเคยอยู่เกาะ มิคาโนท (ชื่อไม่แน่ใจ?) ในกรีก ซึ่ง สถาปัตยกรรมมี plain surface เป็นปูนฉาบสีขาวเรียบ ตัดกับสี ของทะเล เป็นต้น ...สถาปนิกที่มีชื่อในอดีต จึงมักเป็นนักเดินทาง มากทีเดียว ..ถ้าคุณ นกฮูก กำลังจะใช้วิธีการเรียนรู้แบบนี้ ..ผมขอ สนับสนุนเต็มที่ ..ลองท่องเที่ยวให้ทั่วไทยนะครับ อาจพบแรงบัน ดาลใจบางอย่าง ที่ช่วยให้คุณสร้าง ฐานคิด หรือทฤษฎีการออกแบบ ที่เหมาะกับคนไทยก็ได้ การทำความเข้าใ จหรือ อ้างอิงงานสถาปัตยกรรมส่วนหนึ่ง มักใช้ วิธการอุปมาอุปไมย (analogy) ของสิ่งหนึ่งไปเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง ผมเคยเห็นภาพล้อของอาคารซิดนีย์โอเปร่า เป็นรูปเต่าสามตัวขี่ เลียงกัน หรือ ที่สถาปนิกไทย..ตั้งใจออกแบบอาคารธนาคารเอเซีย ให้เหมือนหุ่นยนต์ อ้างว่าเป็นการสะท้อนสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่ต้องอิงกับเท็คโนโลยี ส่วนอาคารที่คุณเอ่ยถึง ก็น่าจะพยายามให้ เป็นการออกแบบทำนองเดียวกัน แต่คนอาจรับรู้ตามที่สถาปนิก ต้องการ คือ ให้เป็นพญานาค ไม่ได้ละมังครับ

โดย อาจารย์ [7 ก.ย. 2546 , 00:13:19 น.]

ข้อความ 7
(ตอนจบ) ผมมีโอกาสสัมผัสสถาปัตยกรรมต่างแดนในสถานที่จริง ไม่มาก เพราะไม่ชอบการเดินทาง แต่เท่าที่อยู่เที่ยวในอิตาลี่ระยะหนึ่ง ผมชอบดูความเป็นองค์รวมของบริเวณนั้น ไม่เฉพาะอาคารที่มี ชื่อกันในหนังสือประวัติศาสตร์ ชอบดูพฤติกรรมของคนและ หมู่คนที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ว่าสัมพันธ์กันและกันอย่างไร ถือเอา ความรู้สึกในความเป็นสถานที่ หรือ เหตุการณ์ มากกว่า พฤติกรรม หรืออาคาร โดดๆอย่างเดียว ..เดียวนี้ ผมก็สัมผัสกรุงเทพ ในทำนองเดียวกัน แต่เพราะภาพเมืองที่ผมเห็น มันอีเหละเขระขระ (นึกศัพท์นี้มาได้ไง?) เลยยังไม่เกิดแรงบันดาลใจ ตามที่ คานท์ เคยอุปมา "เหมือนเด็กน้อย เดินผ่านไปแล้ว จะรู้ว่าตัวเองจะเป็นอะไรในอนาคตได้เลย" ...ไม่ เหมือนอารมณ์ตอนที่ผมเดินผ่านเข้าไปในเมือง เซน่า หรือฟลอเรนซ์ ที่เคยให้แรงบัน ดาลใจผม..ว่าอยากเกิดใหม่เป็น ไมเคิล แองเจโล ..แต่ต้องไม่เป็นตุ๊ด นะครับ โดยสรุป การสัมผัสสถาปัตยกรรม ถ้าจะให้มีผลกับ ฐานความคิดในการสร้างทฤษฎีสำหรับตนเอง ผม คิดว่าส่วนหนึ่งต้องศึกษาในแง่ความเป็นสถานที่ ที่สถาปัตยกรรมนั้นปรากฏในเหตุการณ์ที่เป็นจริง อย่าเอาเพียงศึกษาทางหนังสือ ซึ่งจะได้เพียงภาพ สวยๆงามๆอันเป็นเพียง จินตภาพอย่างเดียว ยกเว้น ในกรณีที่สนใจในแง่ปรัชญา ที่ถือเอาเป็นฐานคิด ของสถาปนิกผู้นั้น ก็ขอคุยมาสนุกกัน ..อย่าถือเป็นคำตอบที่เด็ดขาด แต่หากทำให้คุณ "ต่อยอด" ในความคิดของคุณได้..ก็ถือเสียว่านี่เป็น "ขยะ" ที่พอเอา มาทำรีไซเคิล สำหรับคุณ นกฮูก แล้วกัน ...นะครับ ป.ล. ผมโพ๊สต์ข้อความนี้กับพ็อกเก็ตพีซี ตัวหนังสืออาจเรียงในแต่ละบรรทัดไม่ได้ ระเบียบนัก....
ต้องขออภัยที่ทำให้อ่าน ลำบากสักหน่อยนะครับ

โดย อาจารย์ [7 ก.ย. 2546 , 00:14:54 น.]

ข้อความ 8
ขอตบท้ายอีกนิด อาคารสถาปัตยกรรมใด หรือศิลปะชิ้นใด สร้างให้เกิดแรงบันดาลใจ หรือสร้างจินตนาการ ให้คนแต่ละคนที่สัมผัสได้ ผมว่า..สิ่งนั้นหรือผลงานนั้น ทรงคุณค่าสำหรับคนๆนั้น ...แน่นอนครับ

โดย อาจารย์ [8 ก.ย. 2546 , 11:52:55 น.]

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ