วันพฤหัสบดี, มกราคม 22, 2552

ช่วยขยายความคำว่าcontemporaryให้กระจ่างหน่อยสิครับ

รู้สึกว่าเดี๋ยวนี้ใช้กันเกลื่อนมาก ๆเลยฮะ แบบว่ามันน่าจะมีอะไรมาต่อท้ายหน่อยฮะ เพราะมันมีเยอะจริง แต่ทำไมใคร ชอบเรียกให้มันโก้อยู่เรื่อยเลย แล้วอีกหน่อยคำ ๆนี้ควรจะมีอะไรมาต่อท้ายเหรอครับ เพราะ ใครก็ชอบพุดว่างานของตนไม่มีสไตล์ รู้สึกเหมือนว่ามันขาดอะไรไปอย่างงงงงงงนะครับ ในการนำเสนอผลงาน เหมือนกับพวกเครื่องจักรทำงานที่รวม ๆข้อมูลแล้วก็ประมวลผงออกมา รู้สึกแย่ครับ ยิ่งบางคนมีอีโง่มาก ก็ยิ่งแย่ไปใหญ่
โดย สสจ [9 ต.ค. 2546 , 07:16:41 น.]

ข้อความ 1
ผมเคยทราบ...มานานแล้วว่า เมื่อเอ่ยถึง comtemporary architecture เขามักหมายถึง สถาปัตยกรรมร่วมสมัย ผมเดาว่าคงอยากกำหนดสไตล์ ของลักษณะสถาปัตยกรรมที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน หรือในแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมา คงรวมสรุปแนวความคิดต่างๆในการออกแบบ ที่ใช้กันในปัจจุบัน หรือในแต่ละยุคสมัยด้วย แนวคิดที่ได้ยินกันตั้งแต่ปี ๑๙๙๐s ก็มี โพสต์แก่ๆ(ปลาย) ดีคอน และมินิมั่มหนุ่มๆ(ต้นๆ) ฯลฯ ในสมัยผมเป็นนิสิต เขามักเรียก สถาปัตยกรรมโมเดิร์น ว่าเป็น สถาปัตยกรรมร่วมสมัยในขณะนั้น (ราวๆปี ๑๙๖๐s) ...ลอง หาอ่านงานวิจัยของ ศ.ผุสดี เกี่ยวกับแนวคิดของสถาปนิกไทยในยุคนั้น..นะครับ ในปัจจุบันสมัย ปี ๒๐๐๐s นี้ ผมไม่แน่ใจว่า...สถาปัตยกรรมร่วมสมัยนี้ เป็นอย่างไร หรือนิยมแนวคิดอะไรที่เด่นชัดในเมืองไทย แต่สังเกตุว่านิสิตชอบพูดถึงงานของ อันโด๊ะ และพวกมินิมั่มนิสซึ่ม แต่หากมองงานโปรเจคก็ยังเป็นแบบ"โบราณ" ฟังชั่นนิสซึ่ม ผมคิดว่าอิทธิพลอาจารย์คงบังคับ หรือสอนกันแต่ สถาปัตยกรรมร่วมสมัยของอาจารย์ละมัง ส่วนมากเป็นแบบเชยสุดๆ แนวคิด ก็แคบๆ ไม่เน้นแนวคิดแปลกแยก หรือคิดแบบค์รวมเท่าไร หรือไม่มีการพัฒนาจากโมเดิร์นเท่าไรนัก พูดถึงการเปลี่ยนในแต่ละยุคสมัยในแง่งานสถาปัตยกรรมเมืองไทย ผมว่าเปลี่ยนแปลงช้ามาก เลยสังเกตความแตกต่างระหว่างสมัยยากมาก ยุคนี้น่าถือกันได้ว่าเป็นยุคดิจิตัล ก็ยังไม่เห็นสถาปัตยกรรมแบบดิจิตัลในเมืองไทย เห็นแต่ตึกติดป้าย "ดีแท็ค" โตๆไม่กี่ตึก นี่ก้อ กำลังรออ่านหนังสือเรื่อง digital architecture ของอจ.ธิดาศิริอยู่ น่าจะถือเป็นสถาปัตยกรรมงร่วมสมัยของยุคปัจจุบันได้กระมังครับ สรุปว่า..สำหรับเมืองไทย สถาปัตยกรรมร่วมสมัย กับสถาปัตยกรรมโบราณๆ..ในความเห็นผม มีความหมายไม่ต่างกันมากนัก เพราะแนวคิดในการออกแบบมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ทั้งคุณและผมเลยสับสนกับคำว่า "ร่วมสมัย" พอๆกัน คุยมาแบบคนไม่มีความรู้ "ร่วมสมัย" เอาเลย...นะครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [10 ต.ค. 2546 , 00:49:25 น.]

ข้อความ 2
คิดเป็นองค์รวมคืออะไรครับ?
โดย ??? [19 ต.ค. 2546 , 02:09:47 น.]

ข้อความ 3
คือหมายถึงการคิดเชิง "กระบวนการ" ออกแบบในแง่ความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมที่กำลังออกแบบ ในทุกสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน ยิ่งมากยิ่งดี จะได้ความหมายและเรื่องราว โดยเอา "ตัวเรา" เป็นศูนย์กลางของปัญหาต่างๆ เช่นองค๋รวมในแง่กระบวนการทางสังคม เมื่อสังคมมีปัญหา ตัวเราก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้วย ในปรัชญาทางพุทธ คือ อิทัปปัตยตา จะแก้ ปัญหาตามความเป็นจริง ต้องคิดแบบ อิทัปปัตยตา ลองหาอ่านแนวคิดนี้ เช่น..แนวคิดในการแก้ปัญหาสังคม ของท่าน อจ. ประเวศ วะสี และงานของท่านพุทธทาส ภิกขุ เป็นต้น...นะครับ
โดย ขออีกที [19 ต.ค. 2546 , 22:25:35 น.]

ข้อความ 4
แล้วอะไรคือprocessที่ควรจะเป็นล่ะครับ แค่ดูการใช้ ดูcontext ดูอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วเหรอครับ แล้วอะไรคือprocess ที่เค้าว่ามันหายไปล่ะครับ แบบว่าเคยถามอาจารย์ เค้าก็บอกแค่นี้ก็เป็นprocess ถ้าแค่นี้แล้วเราจะเขียนหรือแสดงออกมาทำไมล่ะครับ เหมือนเอาความกลวงของสมองมาแต่งให้งานดูมีคุณค่า แล้วอะไรควรเป็นprocess ที่เราควรทำที่แท้จริงล่ะครับ บอกตามตรงว่า...........เบื่อ สุด ๆ กับพวกชอบเอาความไม่มีอะไรมาทำให้มีอะไรด้วยสิ่งที่ไม่มีอะไร ..ขอบคุณ..
โดย สสจ [20 ต.ค. 2546 , 12:38:49 น.]

ข้อความ 5
ใจเย็นๆครับ อย่าเพิ่งเบื่อครับ ข้อมูลที่เรารับมาจากคนอื่น ก็เหมือนขยะที่เขาถ่ายออกมา ยิ่งเป็นความคิดทางวิชาการ อาจเป็นขยะล้วนๆ จนกว่าตัวเรา เอามารีไซเคิล นั่นแหละจึงเป็นความรู้สำหรับเรา จะเรียกว่าเป็นการบูรณาการก็ได้ ความคิดในการออกแบบ ที่ผม เห็นว่า ควรคิดเป็นกระบวนการ หรือองค์รวม ก็เพราะความเชื่อทางพุทธปรัชญา และทฤษฎีฟิสิกซ์ใหม่ พ้องกัน ตรงที่ว่า สรรพสิ่งใดๆในโลกนี้ ล้วนมีเหตุปัจจัย หรือความเชื่อมโยง กันทั้งสิ้น ไม่มากก็น้อย ตัวอย่างเช่น ทฤษฎี butterfly effect หรืือ ทฤษฎี "ผีเสื้อขยับปีก" เป็นต้น กระบวนการเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง ในการออกแบบ ขึ้นอยู่กับปัญญาความคิดของเรา ในการพิจารณาค้นหาเหตุปัจจัย ของกันและกัน เช่น แค่ออกแบบอาคารให้สัมพันธ์กับสถานที่ตั้ง ชุมชน เหตุการณ์ อาคารข้างเคียง หรือแวดล้อมอื่นๆโดยรอบ ตลอดจนขอบเขตที่โยงถึง ประเทศไทยทั้งหมด ต่อไปยังขอบเขตอื่นๆ จนถึงระดับจักรวาล ก็คงรากเลือดเอาการ แต่ยิ่งกระทำ ได้มากเท่าไร เราก็น่าจะพบ ความจริงในงานออกแบบของเราได้มากเท่านั้น ตามทฤษฎี หรือปรัชญาที่พล่ามไว้ข้างต้น รวมทั้งการออกแบบร่วมสมัย ที่เราดัดแปลงจากของเดิม หรือลอกแบบต่างประเทศก็ตาม ซึ่งก็ตามเหตุปัจจัย ของความเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง เท่าที่ปัญญาของเรา ก่อให้เกิดความคิดในการออกแบบดังนั้น...แหละครับท่าน
โดย เพื่อนอาจารย์ [21 ต.ค. 2546 , 01:45:39 น.]


1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล