วันศุกร์, สิงหาคม 31, 2550

การเรียนการสอนวิชา sk.d


ตอบ


ขอขอบใจจริงๆ ที่ชมและคุยมา..เลยขอเปิดใจอีก โดยยังไม่ทราบว่า เป็นจำเลยด้วยหรือปล่าว
ผมเชื่อที่ความรู้ และปัญญา ที่ทุกคนอาจเรียนทันและเลยกันหมดได้ เพราะบารมีที่สะสมกันมา อาจไม่เท่ากัน ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีศิษย์ และอาจารย์ ในความเป็นจริงทางการศึกษา ตามหลักพุทธศาสนา (ที่ผมเข้าใจ)


เรื่องวิชา skd ในความเข้าใจของผม เห็นว่า เป็นงานออกแบบเชิงปฏิบัติการ ในสตูดิโอ อย่างฉับไว คือเอาความรู้ที่เรียนและเข้าใจ มาในวิชาอื่น มาสังเคราะห์ หรือประยุกต์ใช้ แก้ปัญหาการออกแบบ ที่กำหนดตามโปรแกรมแต่ละครั้ง โดยคำนึงถึง คุณภาพทางความคิดเคร่าๆ พอได้ความเข้าใจทางคุณภาพความคิด ทางการออกแบบสถาปัตยกรรม ขั้น Ideation, Conceptual or Schematic design ไม่มุ่งสาระ รายละเอียดและความสมบูรณ์ เหมือน วิชา PD ...เพราะมีเวลาที่ทำงานน้อยกว่า ด้วยเวลารวม ประมาณ 6 ชั่วโมง

ความมุ่งหวังผลของวิชา skd เจาะจงตามวัตถุประสงค์ ของโปรแกรมแต่ละอัน ที่อาจารย์กำหนด ในความเห็นผม ควรระบุสิ่งนี้ไว้ในวัตถุประสงค์ หรือการประเมินผล ที่อ่านเข้าใจได้ ในโปรแกรมด้วย...สำหรับส่วนตัว ผมมักกระทำสิ่งนี้ในทุกโปรแกรม ที่รับผิดชอบ...ลักษณะ หรือชนิดของปัญหาในโปรแกรม ผมมักเน้นเรื่องจินตนาการเป็นหลักเสมอๆ พูดให้ชัดอยากเห็น ความคิดเชิงแปลก ใหม่แต่เป็นไปได้ หรือความคิดสร้างสรรค์นั่นเอง..สิ่งนี้สอนไม่ได้ แต่ผมว่ากระตุ้น ให้แต่ละคนดึงศักยภาพของตนที่อาจหลบซ่อน ให้ปรากฏได้แน่ (ซึ่งแน่นอน ต้องไว้ใจและศรัทธาผมด้วย..ช่วยไม่ได้จริง)

การประเมินสำหรับผมโดยส่วนตัว ศาสตร์ทางสถาปัตยกรรม แยกแยะออกเป็น เชิงปริมาณทั้งหมด เหมือนทางคณิตศาสตร์ได้ยาก เช่น 2+2 อาจ = 22 หรือไม่ใช่ = 4 ก็ได้ (ซึ่งเป็นการ analogy ไม่ตรงนัก) ปัญหาทางสถาปัตยกรรม ที่อ้างกันมากใน ศาสตร์ทางวิธีการ ที่ผมสนใจเป็นเฉพาะ ก็อ้างเสมอว่า เป็นปัญหาชนิดแบบเปิด (illdefined or wicked problem) คือเป็นปัญหา ที่ประเมินเชิงคุณภาพ มีเรื่องคุณค่า และความอคติส่วนบุคคล และของแต่ละสังคม-วัฒนธรรม เกี่ยวข้องอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ ศรัทธาและคุณค่า ของผู้ประเมินจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องด้วย..ผมชอบที่ Frank Lloyd Wright กล่าวอ้างไว้ว่า ตัวเขาไม่เคยสนใจเข้าร่วมการประกวดแบบใดๆ เพราะเห็นว่าแบบที่ประกวดชนะนั้น คือแบบของ ผู้ตัดสิน ไม่ใช่ของสถาปนิกที่กระทำอิสระโดยตรง ประเด็นนี้ คือว่า skd ที่ได้ผลดี ก็ต้องขึ้นอยู่กับ การประเมิน เชิงคุณภาพ ของอาจารย์แต่ละท่านด้วย ซึ่งหลากหลายมาก

การชี้แนะสำหรับของผม เท่าที่นึกได้ คือว่า ๑. ผลงานควรนำเสนอคุณภาพ ของ ทักษะ ฝีมือ และการเสนองานเชิง การเขียน เท่าที่ฝึกฝนกันมา และยอมรับตามรูปแบบนิยมเฉพาะของแต่ละยุคสมัย..คือพิจารณาจากผลงานของผู้ที่ ผ่านการประเมินที่ดีมาแล้ว (ถ้าต้องการพัฒนาการ)...เหนืออื่นใด ควร เน้นให้ปรากฏเห็น ถึง ความตั้งใจทำงาน และให้ได้รวมสาระที่จะอธิบายความคิด รวบรัดและไม่ซ้ำซ้อนด้วย..คล้ายที่เคยฝึกมาในวิชา sketch ๒. แสดงความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้อง ที่แต่ละคนศึกษามา ให้ปรากฏในงานด้วย เช่น คุณภาพทาง architectural form and space เป็นต้น ๓. ความคิดสรุปที่ดี ควรเข้าใจได้ ในแง่ ทึ่ง แปลกใหม่ หรือเชิงสร้างสรรค์อื่นมากๆ...เรื่องนี้ พูดให้ชัดยากจริงๆ แต่เห็นแล้ว พวกเราทั่วๆไป ควรรู้สึกได้ และพอพูด..บลา..บลา..ตามเหตุผลส่วนตัวได้ แต่พูดให้ชัดเหมือนคณิตศาสตร์ไม่ได้แน่นอน ๔. การพัฒนาโดยรวมของการนำเสนอในวิชานี้ ในแต่ละโปรแกรม หรืออาจารย์แต่ละท่าน ต้องศึกษาจาก ผลงานนิสิตที่แต่ท่านให้ เกรดสูง..ศึกษาแล้ว ผมคิดว่าคุณควรพิจารณาในสิ่งที่คุณเห็นด้วย และยอมรับได้ หากแต่พึงระวังด้วยว่า...อย่ามัวคิดเอาใจคนอื่น โดยละเลยเอาใจตัวเองด้วย..

ถึงกระทำดังที่ผมกล่าวข้างต้น..ด้วยความถ่อมตน ผมคาดเดาว่า...อาจได้เพียงความใกล้เคียง หรือน่าจะได้ผลที่ไม่น่าขาดทุน หากแต่อาจมีกำไรน้อย หรือมาก ไม่แน่นอน และยืนยันไม่ได้ นอกจากคิดว่าอย่างต่ำไม่น่าจะน้อยกว่า c
ครู หรืออาจารย์ทั่วไป ชอบความตั้งใจทำงาน ความขยัน เอาใจใส่ ของนักเรียน หรือนิสิต ซึ่งผลงานคุณน่าจะทำให้ปรากฏและเข้าใจได้ เมื่อสัมผัส แม้ว่านิสิต ผู้นั้นจะไม่เก่งเลอเลิศก็ตาม เช่นความคิดอาจพื้นๆธรรมดา ไม่ทึ่งหรือสร้างสรรค์นัก (ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคุณค่าแต่ละคนที่มองอีกแหละ) เพราะความตั้งใจ เหมือนการแสดงน้ำใจ แห่งความเคารพ นบนอบอาจารย์ทางหนึ่งด้วย

แต่ก่อน....เรื่องการวิจารณ์ หรือเสนอแนะ ผมเคยกระทำ ในวันจันทร์ต่อมา หนึ่งอาทิตย์หลังจันทร์ที่ทำงานในสตูดิโอ คือเปิดโอกาศให้ซักถามปัญหา แต่มีนิสิตสนใจโดยรวมน้อยลงเรื่อยๆ จึงต้องเลิกลาไป ขณะนี้เปลี่ยนเป็นการให้งาน skd ทุกจันทร์ติดต่อกัน ส่วนการวิจารณ์ ให้อ่านดูในผลงานแต่ละคนที่อาจารย์เขียนไว้ หรือเมื่อเห็นผลการประเมินแล้ว ก็ซักถามกันเป็นการส่วนตัว

สิ่งดังกล่าวนี้... จากกระทู้ ผมเห็นว่ายังมีปัญหาที่ตัวอาจารย์เจ้าของโปรแกรมด้วย..ด้วยความเคารพ ผมว่าแต่ละท่านรวมทั้งผมน่าจะมีปัญหาไม่เหมือนกัน...ในความคิดผม (ซึ่งไม่มีอำนาจบริหาร หรือตัดสินใจ) ถ้าวิชาใดมันไม่มีความสุข ทั้งผู้สอนและผู้เรียนแล้ว คิดแบบฟันธง ในทางที่เป็นไปได้ โดยไม่บังคับใคร...ก็ คือยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงวิชานั้นเสียเลย เพราะวิชานี้กระทำมานานตั้งแต่ก่อตั้งคณะนี้....อาจารย์อาจเลี่ยนกันแล้ว..แต่ไม่กล้าบอก......

กระนั้นก็ตาม..ในส่วนตัว ผมพยายามเลี่ยง ความเลี่ยน..แต่อยากหาทางให้คุณๆและผมมีความสุข สำหรับวิชานี้ เพราะยังเห็นว่า เรื่องจินตนาการ ที่เรามีกันมาแต่เด็ก อยากคงไว้ แต่ มันไม่รู้ไปเน้นให้ชัดๆได้ในวิชาอื่นใด..ก็เลยคิดว่า ควรใช้วิชานี้.....เพราะการจินตนาการ หากใช้เวลามากๆ ไตร่ตรองมากๆ มันก็ลบหายไปเร็วในที่สุด....เรื่องนี้แนะนำ และสอนกันยาก ทำได้เพียงการกระตุ้นให้ได้อารมณ์เท่านั้น....จินตนาการไปแล้วก็แล้วกัน ได้รู้ได้เห็น ก็อาจพอร่วมอารมณ์กันได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่เอาให้ประเมินกันชัดๆ ก็ยาก...เรียกว่าของใครของมันอยู่ดี.... ก็คล้ายคุยกันในเว็ปนี้แหละ มีอารมณ์อยากคุยก็คุย อยากตอบก็ตอบ ตรงมั่ง ไม่ตรงมั่ง ก็ไม่ควรแคร์ เพราะต่างคน ก็ต่างเข้าใจ... ก็นึกได้แค่นี้.. ทำให้คนตอบคนอ่านสบายใจแค่ไหน ก็แค่นั้น.. เลี่ยนเมื่อไหร่ หมดอารมณ์สนุก ก็เลิก เท่านั้นเองครับ

วิชา skd นี้โดยส่วนตัวผมอีกที (เพราะรับผิดชอบหลายคน และไม่รู้นิสิตรำคาญคนไหน). ..ถ้าต้องการเพิ่มเติม..กรุณานัดคุยเฉพาะของงานแต่ละคน ที่ผมเป็นผู้รับผิดชอบโปรแกรมได้ตลอดเวลา...แต่ต้องนัดมาส่วนตัวก่อน ถึงแม้ว่าผมยังไม่ได้ประเมินเสร็จก็ตาม ได้เห็นผลงานคุณ และเผชิญหน้ากันจะๆเลย..รับรองจะกระทำด้วยความเห็นอกเห็นใจ แก่กันและกันจริงๆ.. ด้วยความปรารถนาอยากให้ทุกคน รวมทั้งผมด้วย มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ด้วยเวลาที่เหลือของแต่ละคน อย่างมีความสุข และมีสัมมาทิฐิด้วยกันทุกๆคน

ก็เปิดใจตอบได้แค่นี้ และในเวลานี้นะครับ...ผมมันฉลาดไม่พอ..ที่ไม่สามารถเขียนตอบให้สั้นได้จริงๆจาก…เพื่อนอาจารย์

๑. คำตอบ skd สำหรับคนได้แต่..FFFFFF

เรื่องนี้ผมเองก็โดนถามมาเยอะ แทบทุกปี คำตอบก็มักลังเลอยู่เหมือนกันว่าตอบแบบเดิมคืออย่าไปแคร์มันมาก ก็ไม่น่าถูกต้องนัก กล่าวคือ เกรดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักเรียน เหมือนเงินก็สำคัญสำหรับคนทำงานทั่วไป ถ้าได้เกรดดี เวลาตอบพ่อแม่ว่าการเรียนเราเป็นอย่างไร ได้เกรดดีๆ พ่อแม่เราก็เป็นปลื้ม เราก็พูมใจว่าได้ตอบแทนพระคุณท่านทางหนึ่ง แต่การเรียนบางครั้งก็ไม่ราบรื่นเสมอไป เหมือนการดำเนินชีวิตนั่นแหละ สาเหตุมันเกิดจากหลายกรณี ความคิดเห็นอาจไม่พ้อง หรือไม่ได้มาตราฐานของอาจารย์ก็ได้ ทั้งๆที่ความคิดเห็นของคุณดีและถูกต้องก็ได้ การทำให้ได้เกรดดี หรือหาเงินได้มากๆ มันมียุทธวิธีมากมาย ทั้งดีและเลว ประเด็นสำคัญเมื่อได้สิ่งที่ต้องการมาแล้ว ก็อาจทำให้เราเองไม่มีความสุขแบบยั่งยืนก็ได้ ถ้ายึดทฤษฎี หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็น่าจะเป็นคำตอบนี้ได้ ผมเคยยกอ้างเสมอว่า ถ้าเงินและอำนาจ เป็นที่สุดของชีวิตแล้ว พระพุทธเจ้าคงไม่ละหนี ออกไปบวชเป็นภิกษุ ที่ไม่มีอะไรเลย ทั้งเกรด หรือเงิน..แน่ละถ้ามองเชิงจิตวิทยา คนเกิดมารวย ได้เกรดดีมาตลอด ก็คงชิน แต่ตรงกันข้าม เกิดมาจน เรียนห่วยมาตลอด ก็อยากลิ้มรสใหม่ๆบ้าง คิดอย่างนี้ ผมว่าเป็นธรรมดาของมนุษย์ คือชอบเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารนี้ ผมเชื่อว่าผู้มีปัญญา ก็ต้องคิดที่ไม่ธรรมดา มุ่งแสวงหาความสุขแบบยั่งยืนตามภูมิปัญญาของแต่ละคนเข้าไว้ น่าจะเป็นผู้เจริญในที่สุดได้...พล่ามมาเสียยืดยาวชักจะจบไม่ลง เอากันดื้อๆ อีกนิด..เมื่อคืนดูหนังพวกมาเฟียทั้งหลาย มุ่งหาเงินเป็นสรณะ เพราะเงินคืออำนาจ สำหรับสังคมมนุษย์ปัจจุบัน ผลของความสุดท้าย ตายโหงแทบทั้งนั้น อุปมาเหมือนนักเรียนมุ่งเรียนเพื่อเกรด หาใช่ความรู้ที่ตนเองประจักษ์ได้ ผมว่าน่าลงท้ายเป็นผู้ด้อยปัญญาในที่สุด คงเห็นนิพพานอยาก อย่าว่าแต่ได้สัมผัสเลยนะ...อาเมนน

ทิปสำรับเรียนให้ได้เกรดดี คือทำอะไรทำอย่างมีความสุข (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือธรรมมะของท่านพุทธทาสภิกขุ) หรือเรียนด้วยความสนุกร่าเริง บำรุงใจให้เปี่ยมด้วยความดีงามเสมอๆ สิ่งดีๆๆ เกรดดีๆๆ เงินดีๆๆ ก็มาหาเราแน่นอน ไม่ต้องไปเพรียกหาแน่เลย..จบจริงๆ

๒. ประโยชน์ของวิชา skd สำหรับผู้ที่เบื่อๆๆๆๆ

ในความเห็นส่วนตัว ผมมองวิชานี้ เป็นช่องทางที่จะฝึกฝนทักษะด้านจินตนาการล้วนๆได้ ซึ่งผมว่าจำเป็นต่อความคิดสร้างสรรค์ ผมจึงพยายามเน้นโปรแกรม ที่จินตนาการเป็นหลัก อีกทั้งนิสิตได้มีการฝึกฝนการสะท้อนความคิด ทางการขีดเขียน สร้างสื่อเพื่อให้ผู้อื่นประทับใจและเข้าใจได้ด้วย เรื่องเวลาทำงานผมมักให้โปรแกรมวันศุกร์ เพื่อมีเวลาไตร่ตรอง ช่วงวันหยุด วันจันทร์จะได้ตัดสินใจเสนอความคิดมาส่ง....บอกตรงๆผมเองไม่เบื่อและเห็นว่าน่าจะเป็น


ประโยชน์ดังกล่าว...ที่เคยพบมาเทอมละโปรแกรมที่ผมรับผิดชอบ ความคิดของนิสิตบางคนดีเหลือเชื่อ...น่าสนใจมาก เผอิญผมไม่ทราบจะบันทึกเก็บไว้อย่างไร...ไม่งั้นคงได้เห็นกันตามที่ผมพูด....ผมเคยเขียนบทความที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ ว่าการพัฒนาน่าจะใช้วิชานี้เป็นหลักได้อย่างดี..จินตนาการสอนกันไม่ได้ แต่อาจกระตุ้นกันได้.....ส่วนการประเมินผมดูความตั้งใจในการทำงาน ทักษะฝีมือ และจิตนาการที่พอเป็นรูปธรรม ไม่ใช่ความปารถนาล้วนๆ อีกทั้งดูความรู้เสริมที่นิสิต ได้มาจากการอ่านนิยายจินตนาการ หรืออื่นๆบ้าง...เขียนอะไรมาไม่เคยให้ต่ำกว่า c- เพราะไม่อยากทำลายน้ำใจกันมากนักโดยไม่จำเป็น... ผมมีความเห็นดังนี้นะ....

๓. สำหรับคนที่ชอบ comment ใน skd

เรื่องนี้ ขออนุญาตโต้กันมากหน่อยนะ....อยากบอกว่า..การเรียนวิชาอะไร ควรมองให้สนุก อย่ามองอะไรให้เป็นทุกข์น่าจะดีกว่า ขอแก้ต่างแทนดังนี้ อจ.ที่ไม่คอมเมนต์ อาจตั้งใจตรวจก็ได้ การวัดอาจใช้วิธีการ "ฉับพลัน" ชอบ หรือไม่ชอบซัดกันตรงๆ ท่านอจ.แสงอรุณ (อจ.เก่าของคณะเรา..ตายไปแล้ว) ที่ผมเคารพรัก ก็ใช้วิธีนี้ ผมก็ยอมรับว่าอ่านกฏเกณฑ์ท่านไม่เคยถูก นึกว่าบางงานได้ A กลับกลายเป็น F ตรงข้ามบางที่นึกว่าจะ F กลายเป็น A ผมกลับคิดว่ามันได้อารมณ์ดี คือค้นพบว่า ในชีวิตจริงของคนเรา มันก็พลิกผันได้บ่อยๆเช่นกัน ทำให้ผมได้คิดว่า ชีวิตนั้นมันเป็น เช่น "ไม่แน่หรอกนาย" โดยหาเหตุ บางทีไม่ได้เลย จริงๆนะ...ถ้ามองอะไรเป็นเรื่องสนุกเข้าไว้ ทำโปรแกรมซ้ำก็มันดี ถ้าผมทำมากครั้ง ผมก็จะคิดเปลี่ยนความคิดให้ได้ทุกครั้ง รับรองไม่เอาของเก่าถึงได้ A แล้วมาฉายซ้ำเด็ดขาด ผมเป็นเด็กบ้านนอก คิดอะไรแบบคนบ้านนอก ไม่เคยสงสัยคนเป็นครูทุกคนที่สอนผมมา...มองท่านในแง่ที่ดีมีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณค่าชีวิตของผมเองเสมอ...อยากให้นิสิตอย่าเป็นคนมองอะไรในแง่ร้าย..ไม่งั้นจะมีแต่ความเศร้าหมองโดยเราไม่รู้ตัวป่าวๆ...เชื่อเด็กบ้านนอกคนนี้เถอะ..ชีวิตจะมีแต่ความสุขจริงๆ..ไม่ได้หลอกตัวเองเลยที่ตอบมาแบบนี้ครับ...สาบานได้

๔. การบ่นกับตนเอง ที่โลกเมื่อวันวาน หายไปแล้ว.....

ไปอ่านมาหมดแล้ว...ใจแป้วลงเยอะ ภาพ skd วันนี้ ต่างจาก ๓๐ ปีก่อนมาก สมัยนั้นนิสิตแข่งกันทำงาน เพื่อขายความคิดแปลกๆ ที่ไม่เหมือนใคร หรือแม้แต่เพื่อนฝูง ก็ปิดกันเป็นความลับสนิท ..ฝึกฝนฝีมือกันสุดๆ..อจ.เพียงตอบกลับมาเป็นเกรดเท่านั้น แปลกันเองว่าอจ. แต่ละท่านคิดอย่างไร เช่น...ชอบที่สุด...ขอบบ้าง....เฉยๆ...ชอบเล็กน้อย...ฮ่วยแตก...ฮ่วยสุดๆ แทนค่าด้วย A..B..C..D..F อันสุดท้ายเคยเห็นอจ. ให้คะแนน ติดลบ..(ไม่เคยกังขา..เพราะรู้ว่า อจ. ก็เป็นคนมีกิเลสธรรมดา)...สมัยนั้นสนุกเป็นบ้าเลย ไม่ค่อยเครียดกันเหมือนสมัยนี้....ถ้านิสิตสถาปัตย์ไม่สนเรื่องจินตนาการ.. (เพราะขาดสิ่งนี้แล้ว ผมว่าอะไรก็ไร้ค่าหมด)... คิดแต่จะออกแบบเชิงปฏิบัติให้สำเร็จใน เวลาไม่ถึงวัน (ซึ่งไม่รู้คิดให้ถูกได้อย่างไร..นึกไม่ออกว่าอะไรคือเหตุผลพอเป็น absolute truth.ที่ยอมรับตรงกันได้ มาวัดกันเห็นชัดๆ)..กันแล้ว บางทีอาจต้องพิจารณาตัวเองเรื่องนี้ครับ...ขอเวลาคิดช่วงปิดเทอมนี้หน่อย....เศร้าใจจริงๆว่ะ

๕. ตอบผู้แสวงหา ในสิ่งที่ไม่มี.....

เหตุผลหนึ่งของผม คือว่า คุณเอาปัจจัยภายนอกมาเป็นเกณฑ์ อาจลืมปัจจัยภายใน คือตัวเองไป คุณจึงไปแสวงหากฎจากภายนอก คือครู ถ้าคุณชอบเรื่องกฎ ควรเน้นกฎของคุณ คือกฎที่เกิดภายใน เพราะเป็นของคุณโดยสมบูรณ์ และควรพัฒนาเสมอให้สัมพันธ์กับภายนอกบ้างและด้วย ..อันความเป็นอัฉริยะ และความโง่ เกิดจากกฏที่อาจทวนกระแส กับกฏภายนอก หรืออาจสัมพันธ์กันน้อยมาก อาจไม่สัมพันธ์เลยก็ได้ แต่อันหลัง อาจปรากฏ หรือยอมรับ หรือสาบแช่ง...หลังคุณตายไปแล้วก็ได้ คุณจะแคร์อย่างไรเรื่องนี้เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับ บุญกรรมเก่าหรือ ที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างมา....

ทัศนะคติเรื่องนี้สำคัญมากๆ ผมแน่ใจว่ากฏภายนอก การแสวงหาเพื่อให้รู้จริง อยากมาก และไม่ค่อยจะแน่นอนสม่ำเสมอๆ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ควบคุมไม่ได้ เพราะไม่ใช่ของ ของคุณ......ผมสอนตัวเองและลูกๆเสมอ...ส่วนตัว สำหรับผมพอเข้าใจ และเชื่อได้บ้าง เป็นบ้างครั้งบางคราว... แต่ลูกๆอาจไม่เชื่อ หรือไม่เข้าใจได้เลย..ผมก็ไม่ว่า แต่เวลาสร้างประสบการณ์ของกันและกัน จะช่วยไขปัญหาของแต่ละคนได้ที่สุดเองครับ

อย่าเป็นนักเสี่ยงโชค หรือนักการพนันเลยครับ มันเป็นอบายมุข ตามหลักพระพุทธศาสนา..เลิกเสีย...จะได้ไม่ต้องห่วง..กองสลากกินแบ่งรัฐบาลนี้ว่าจะเจ้งเลย

กลับไปรวมมาให้อ่านอีก...คงได้อ๊วก..แตก จนเลิกคิดเรื่องนี้นะๆๆๆจาก….เพื่อนอาจารย์
ผมมีความเห็นดังนี้นะ....

๓. สำหรับคนที่ชอบ comment ใน skd

เรื่องนี้ ขออนุญาตโต้กันมากหน่อยนะ....อยากบอกว่า..การเรียนวิชาอะไร ควรมองให้สนุก อย่ามองอะไรให้เป็นทุกข์น่าจะดีกว่า ขอแก้ต่างแทนดังนี้ อจ.ที่ไม่คอมเมนต์ อาจตั้งใจตรวจก็ได้ การวัดอาจใช้วิธีการ "ฉับพลัน" ชอบ หรือไม่ชอบซัดกันตรงๆ ท่านอจ.แสงอรุณ (อจ.เก่าของคณะเรา..ตายไปแล้ว) ที่ผมเคารพรัก ก็ใช้วิธีนี้ ผมก็ยอมรับว่าอ่านกฏเกณฑ์ท่านไม่เคยถูก นึกว่าบางงานได้ A กลับกลายเป็น F ตรงข้ามบางที่นึกว่าจะ F กลายเป็น A ผมกลับคิดว่ามันได้อารมณ์ดี คือค้นพบว่า ในชีวิตจริงของคนเรา มันก็พลิกผันได้บ่อยๆเช่นกัน ทำให้ผมได้คิดว่า ชีวิตนั้นมันเป็น เช่น "ไม่แน่หรอกนาย" โดยหาเหตุ บางทีไม่ได้เลย จริงๆนะ...ถ้ามองอะไรเป็นเรื่องสนุกเข้าไว้ ทำโปรแกรมซ้ำก็มันดี ถ้าผมทำมากครั้ง ผมก็จะคิดเปลี่ยนความคิดให้ได้ทุกครั้ง รับรองไม่เอาของเก่าถึงได้ A แล้วมาฉายซ้ำเด็ดขาด ผมเป็นเด็กบ้านนอก คิดอะไรแบบคนบ้านนอก ไม่เคยสงสัยคนเป็นครูทุกคนที่สอนผมมา...มองท่านในแง่ที่ดีมีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณค่าชีวิตของผมเองเสมอ...อยากให้นิสิตอย่าเป็นคนมองอะไรในแง่ร้าย..ไม่งั้นจะมีแต่ความเศร้าหมองโดยเราไม่รู้ตัวป่าวๆ...เชื่อเด็กบ้านนอกคนนี้เถอะ..ชีวิตจะมีแต่ความสุขจริงๆ..ไม่ได้หลอกตัวเองเลยที่ตอบมาแบบนี้ครับ...สาบานได้

๔. การบ่นกับตนเอง ที่โลกเมื่อวันวาน หายไปแล้ว.....

ไปอ่านมาหมดแล้ว...ใจแป้วลงเยอะ ภาพ skd วันนี้ ต่างจาก ๓๐ ปีก่อนมาก สมัยนั้นนิสิตแข่งกันทำงาน เพื่อขายความคิดแปลกๆ ที่ไม่เหมือนใคร หรือแม้แต่เพื่อนฝูง ก็ปิดกันเป็นความลับสนิท ..ฝึกฝนฝีมือกันสุดๆ..อจ.เพียงตอบกลับมาเป็นเกรดเท่านั้น แปลกันเองว่าอจ. แต่ละท่านคิดอย่างไร เช่น...ชอบที่สุด...ขอบบ้าง....เฉยๆ...ชอบเล็กน้อย...ฮ่วยแตก...ฮ่วยสุดๆ แทนค่าด้วย A..B..C..D..F อันสุดท้ายเคยเห็นอจ. ให้คะแนน ติดลบ..(ไม่เคยกังขา..เพราะรู้ว่า อจ. ก็เป็นคนมีกิเลสธรรมดา)...สมัยนั้นสนุกเป็นบ้าเลย ไม่ค่อยเครียดกันเหมือนสมัยนี้....ถ้านิสิตสถาปัตย์ไม่สนเรื่องจินตนาการ.. (เพราะขาดสิ่งนี้แล้ว ผมว่าอะไรก็ไร้ค่าหมด)... คิดแต่จะออกแบบเชิงปฏิบัติให้สำเร็จใน เวลาไม่ถึงวัน (ซึ่งไม่รู้คิดให้ถูกได้อย่างไร..นึกไม่ออกว่าอะไรคือเหตุผลพอเป็น absolute truth.ที่ยอมรับตรงกันได้ มาวัดกันเห็นชัดๆ)..กันแล้ว บางทีอาจต้องพิจารณาตัวเองเรื่องนี้ครับ...ขอเวลาคิดช่วงปิดเทอมนี้หน่อย....เศร้าใจจริงๆว่ะ

๕. ตอบผู้แสวงหา ในสิ่งที่ไม่มี.....

เหตุผลหนึ่งของผม คือว่า คุณเอาปัจจัยภายนอกมาเป็นเกณฑ์ อาจลืมปัจจัยภายใน คือตัวเองไป คุณจึงไปแสวงหากฎจากภายนอก คือครู ถ้าคุณชอบเรื่องกฎ ควรเน้นกฎของคุณ คือกฎที่เกิดภายใน เพราะเป็นของคุณโดยสมบูรณ์ และควรพัฒนาเสมอให้สัมพันธ์กับภายนอกบ้างและด้วย ..อันความเป็นอัฉริยะ และความโง่ เกิดจากกฏที่อาจทวนกระแส กับกฏภายนอก หรืออาจสัมพันธ์กันน้อยมาก อาจไม่สัมพันธ์เลยก็ได้ แต่อันหลัง อาจปรากฏ หรือยอมรับ หรือสาบแช่ง...หลังคุณตายไปแล้วก็ได้ คุณจะแคร์อย่างไรเรื่องนี้เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับ บุญกรรมเก่าหรือ ที่พระผู้เป็นเจ้าสร้างมา....

ทัศนะคติเรื่องนี้สำคัญมากๆ ผมแน่ใจว่ากฏภายนอก การแสวงหาเพื่อให้รู้จริง อยากมาก และไม่ค่อยจะแน่นอนสม่ำเสมอๆ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ควบคุมไม่ได้ เพราะไม่ใช่ของ ของคุณ......ผมสอนตัวเองและลูกๆเสมอ...ส่วนตัว สำหรับผมพอเข้าใจ และเชื่อได้บ้าง เป็นบ้างครั้งบางคราว... แต่ลูกๆอาจไม่เชื่อ หรือไม่เข้าใจได้เลย..ผมก็ไม่ว่า แต่เวลาสร้างประสบการณ์ของกันและกัน จะช่วยไขปัญหาของแต่ละคนได้ที่สุดเองครับ

อย่าเป็นนักเสี่ยงโชค หรือนักการพนันเลยครับ มันเป็นอบายมุข ตามหลักพระพุทธศาสนา..เลิกเสีย...จะได้ไม่ต้องห่วง..กองสลากกินแบ่งรัฐบาลนี้ว่าจะเจ้งเลย

กลับไปรวมมาให้อ่านอีก...คงได้อ๊วก..แตก จนเลิกคิดเรื่องนี้นะๆๆๆ

จาก….เพื่อนอาจารย์

ไม่มีความคิดเห็น: