วันพุธ, กุมภาพันธ์ 16, 2548

คนไทยด้อยกว่าต่างชาติตรงไหน?


จากสายตาเด็ก(เคย)นานาชาติอย่างผม บอกได้เลยครับ ว่าต่างกันอย่างเห็นได้ชัดที่ความคิด คนไทยไม่(ค่อยอยาก)รู้จัก ไม่ยอมรับ รากของตน แต่กลับพิศวงกับค่านิยมต่างประเทศ ทั้งญี่ปุ่นหรือแถบตะวันตก ทั้งๆที่ประชาชนในประเทศนั้นเขานับถือรากตนเอง และถือว่าประเทศตนเองนั้นเหนือกว่าใคร คนไทยเราไม่ค่อยมีตรงนี้ อย่างTadao Andoเค้าออกแบบงานแนวใหม่ แต่ก็ไม่ได้ละเลยความเป็นShinto เป็นเซนในงานเค้า เพราะมันทำให้เป็นเขา เป็นชาวญี่ปุ่น เป็นงานที่เขาเท่านั้นออกแบบได้ พอเราๆมาเห็น ก็...ก็อปงานเขามา หารู้เนื้อหาสาระในนั้นไม่ นี่แหละ ที่แตกต่าง... โดย Chiaroscuro aka Gloria [18 มิ.ย. 2547 , 15:15:11 น.] ข้อความ 1 เพราะว่ามันมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องกันซะจิง คนไทยนับถือฝรั่งมากกว่าคนไทยด้วยกันเองนี่มันก็หมักหมมมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ฝรั่งมีแต่ของดีของเจ๋งมาให้(ซื้อ)ตั้งแต่ปีมะโว้ เราก็ยังตะบี้ตะบันซื้ออยู่จนปัจจุบัน ผิดกะญี่ปุ่นที่เค้าเอามาแล้วก็มาศึกษาจิงจัง คิดเอง พัฒนาเอง บางอย่างดีกว่าฝรั่งอีก อันนี้นี่มันก็สืบเนื่องมาจากวิธีคิดและระบบสังคม วัฒนธรรมโดยแท้ คนไทยอยู่สบายในน้ำมีปลาในนามีข้าว อากาศร้อนกินแล้วก็นอนสบายๆ ใครจะมานั่งคิดประดิษฐ์อะไร แต่จิงๆญี่ปุ่นนี่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ไม่เถียงนะที่แบบว่ายังไม่ลืมราก แต่หันมาดูวัยรุ่นญี่ปุ่นสมัยนี้สิ ก็ดูproฝรั่งมากพอควรเลยนะ อย่างสถาปัตย์นี่ก็ต้องพูดกันอีกต่างหากเรยเพราะว่ายิ่งมีปัจจัยเฉพาะfieldนี้อีกมากมาย ที่ทำให้เค้ายังสามารถถ่ายทอดเอกลักษณ์ชาติออกมาได้ โดย กัมสลากัมสลัมกัมสลามานัม [19 มิ.ย. 2547 , 00:00:05 น.] ข้อความ 2 ผมอยากจะเริ่มตรงที่...พระท่านสอนว่า.. คนเรามักชอบมองเห็นแต่คนอื่นๆ ไม่ ชอบมองกลับมาที่ตนเอง..เลยไม่เห็นตัวตน หรืออาจคิดว่าตัวของเราของๆเรา มาดูเมื่อไร ก็ได้..ตอนนี้เอาเป็นดูหรือเลียนแบบคนอื่นก่อน หากไม่เข้าท่าหรือเบื่อดูคนอื่นแล้ว จึงกลับมาดู ตัวเอง ...ยิ่งคนแก่ใกล้ตาย..จะนึกแต่ของๆตัวเอง บางทีรากเน่าๆก็ยังมัวชื่นชมจนตัวตาย..อัตตานี้ แหละเป็นปัจจัยให้เวี่ยนว่ายกันในวัฏฏไม่สิ้นสุด เผลอๆเราก็อาจเคยเป็นเช่นอันโด๊..อันเด๋กันมาแล้ว เพราะพระท่านเคยบอกว่า คนคนหนึ่งมีเวลาการ เวียนเทียนเกิดตายมานับครั้งไม่ไหว เก็บกระดูกของ แต่ละภพชาติมากองรวมกัน สามารถกองได้สูงไม่ แพ้ความสูงเขาพระสุเมร...อีเวอเรส เรื่องของการติดยึดในเชื้อชาติเผ่าพันธ์..ผมว่าเป็น สัญชาตญาณหนึ่งของมนุษย์ หากเชื่อแน่ว่าตัวมีดี ก็คงอวด แต่ถ้าไม่แน่ใจก็อาจอุบไว้ก่อน เลียนแบบ มนุษย์ฝูงอื่นที่ดังกว่า ..เพราะเผลอๆก็อาจได้เดินตาม ฝูงอื่นๆนั้นได้ การเลียนแบบคนอื่น..ผมว่าทำได้ไม่นาน มันคง ไม่ฟิตกับกำพืดตัวเองสักวันใดก็วันหนึ่ง ...แต่อายุ ยังเยาว์ ก็ต้องชอบลอง ลองเล่นของเล่นคนอื่น มัน อาจเป็นการพัฒนาประสบการณ์ได้เหมือนกันนะ ในทางการเมืองกลุ่มคนที่รักกำพืดตัวเอง มักเป็น ชนชั้นปกครอง ไม่อยากให้คนในฝูงแยกฝูงออกไป ชอบคนฝูงอื่น เพราะพวกตนจะเหงา เลยมักหลอกล่อ ออกอุบายต่างๆนานาให้ช่วยกันรักฝูงรักเผ่าพันธ์ เกิดมาคลานได้เชื่องช้าอย่างไร ก็เอาไว้อย่างนั้น โดนสัตว์อื่นคลานเร็วไปแย่งอาหารได้ก่อน ก็ไม่สน ยอมตายเพื่อรักษากำพืด"คลานช้า"ไว้จนตาย สัตว์พันธ์นี้ ปู่ดาร์วินบอกว่ามักสูญพันธ์ในที่สุด เพราะโม้ไว้ยาว...เลยมีต่อ โดย เพื่อนอาจารย์[21 มิ.ย. 2547 , 10:07:23 น.] ข้อความ 3 เรื่องของกำพืดหรือการติดยึดในคุณค่าต่างๆของเผ่าพันธ์ พระท่านเลี่ยงไปว่า...เป็นเรื่องของสมมุติบัญญัติ ตั้งกันคิดกันเชื่อกันมาเอาเอง ความเป็นจริงไม่มี เพราะถ้าคนไทยยึดกำพืดเดิมๆ..ศาสนาพุทธก็คงรุ่งเรือง อยู่ในเมืองไทยขณะนี้ไม่ได้ โลกมันเปลี่ยนแปลงกันทุกวัน เราก็ควรเปลี่ยนมัน ตามไป อะไรยึดไว้ได้ก็ยึดไว้ ที่ไม่ได้ก็ต้องปล่อยวางบ้าง เรื่องรูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นเรื่องปาหี่ เปรียบ กับสินค้าก็เหมือนการสร้างยี่ห้อ ก็ว่ากันไป ไม่อยาก ให้คนในฝูงหมั่นไส้ ก็รักษากำพืดไว้หน่อย มีแบร์นไทยๆ ส่วนแบบไหน เป็นรากแท้รากเทียม รากที่เป็นสากล รากทางปรมัตตธรรม จะรู้หรือไม่ก็ว่ากันอีกเรื่อง ค้นกันจนกว่าจะค้นพบรากแท้ๆ ของทุกๆคนจริง นั่นแหละ โลกก็จะถึงวันเวลาอวสาน...วันสิ้นโลกจริงๆ ก็คงต้องเล่นปาหี่สถาปัตยกรรม.....กันต่อไปเรื่อยๆ ...นะครับ โดย โม้อีก [21 มิ.ย. 2547 , 10:13:11 น.] ข้อความ 4 เมื่อวานเราคุยกันในชั้นเรียนปีห้า วิชาสัมมนา โดยมีอจ.ดร.รชพร ชูช่วย ให้ข้อคิดของอิทธิพลทางความคิดของ ตะวันตกที่มีต่อการศึกษาและออกแบบ สถาปัตยกรรมในบ้านเรา มีประเด็นที่น่าสนใจหนึ่งคือ องค์ความรู้ ที่เกิดจากการบันทึกหรือรวบรวมความรู้ต่างๆ ของชุมชนหรือของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน อัน จะนำไปพัฒนาเป็นวิทยการอื่นๆต่อไปนั้น ทางประเทศตะวันตกเขากระทำเรื่องนี้กันมาก่อน มหาวิทยาลัยแห่งแรกก็เริ่มกันที่นั่น การเรียนรู้ ก็ได้แพร่หลายไปสู่คนทุกระดับของประเทศ ไม่กระจุกกันในแค่ชนชั้นปกครอง ความรู้เมื่อมีการแพร่ขยายก็มีพัฒนาการ วิทยาการต่างๆเกิดขึ้นตามมา วิชาสถาปัตยกรรม ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง และมีความเชื่อมโยงกับ วิชาการสาขาอื่นๆ ประเทศเราหรือในแทบทุกชุมชนทุกประเทศ ก็มีความรู้ต่างๆ(เพื่อการอยู่รอดของชุมชน)ของตน เกิดขึ้นกันทั้งนั้น แต่เผอิญเราไม่เคยคิดสร้างองค์ความรู้เหล่านี้ไว้เพื่อ ประโยขน์แก่คนอื่นๆในชุมชน หรือเพราะไม่มีวิทยาการการบันทึกที่ดีพอ หรือไม่ชอบการบันทึก ความรู้หลายเรื่องก็เลยถูกลืมและสูญหายไป ครั้น พอทางตะวันตกเกิดแหล่งเรียนรู้ ผู้นำของเราก็จึง ตระหนักถึงความสำคัญนี้ มหาวิทยาลัยเลยเกิดขึ้น แต่เราต้องเรียนรู้ในเรื่องที่เป็นองค์ความรู้ของ ชนชาติอื่น เรียนไปเราก็พัฒนาการเป็นวิทยาการ ไปใช้กันอย่างทุลักทุเลกันตลอดมา โดยเฉพาะทาง ด้านสถาปัตยกรรม เพราะเราสร้างหลักการออกแบบ จากรากเหง้าความรู้ของตะวันตก พอมารู้ตัวและอยากอวดรากเหง้าหรือความรู้ของตนเอง เราก็ไม่รู้เพราะหาความรู้ไม่เจอ เพราะไม่มีองค์ความรู้เรื่องของสถาปัตยกรรมที่ยอมรับทั่วกัน มาก่อน การเรียนรู้เรื่องสถาปัตยกรรมจึงกระจัดกระจาย จับเอาได้เป็นแบบรากแขนงฝอยๆ การปลูกฝัง รากเหง้าความรู้พวกนี้ก็ขาดๆเกินๆ จับหลักประเด็น ได้ยาก ความรู้ความเข้าใจและการแพร่หลาย ก็เลย ไม่หยั่งลึกลงในสำนึกของคนในชาติทั้งมวล ไม่ได้ ผลสรุปที่เป็นแก่นสารและการยอมรับได้โดยทั่วกัน ขณะนี้เรากำลังเริ่มย้อนรอยสร้างองค์ความรู้ โดย เฉพาะสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งเรามีกันมาก่อน แต่ ไม่เคยรวบรวมกันไว้เป็นองค์ความรู้เพื่อการแจก แถม หากมีการกระทำเพื่อสร้างองค์ความรู้นี้ต่อไป แม้ว่าจะได้องค์ความรู้จากรากที่จริงบ้างเท็จบ้าง ก็ยังดี และอาจหลงยึดถือเป็นรากเหง้าสมมุติของเราได้ต่อไป ..กระมัง..ครับ โดย เพื่อนอาจารย์ โม้มาอีก [23 มิ.ย. 2547 , 09:41:44 น.]

ไม่มีความคิดเห็น: