เข้าเรื่องดีกว่า
ไม่มีอะไรมากครับอาจารย์ อยากถามอาจารย์เล่นๆไว้ประดับความรู้ว่า....
อาจารย์คิดว่าที่ว่างในทางสถาปัตยกรรมนี่มันช่วยสงเสริมอำนาจบารมีให้กับผู้ใช้หรือเปล่าครับ คือลองคิดว่า ถ้าเราทำที่ว่าง ที่ว่างนึงให้คนไปชุมนุมประท้วงขับไล่(รักษาการ)นายก อาจารย์คิดว่าที่ว่างแบบไหนจะส่งเสริมให้กลุ่มผู้ชุมนุมมีพลังในการขับเคลื่อนมาก
หรือในทางกลับกัน ถ้า(รักษาการ)นายก ออกไปหา(ซื้อ)เสียง ที่ว่างแบบไหนที่ท่านจะสามารถพูดแล้วผู้คนเชื่อถือได้มากที่สุดครับ
แล้วก้ออีกว่าในสถานการ์บ้านเมืองแบบนี้ ที่ว่างแบบไหนที่ทำให้จิตใจคนไทยเย็นลงบ้างครับ ที่ๆนึงที่ผมคิดก้อคือ วัดแน่ๆ เพราะขนาดสนธิเข้าไปพูดในวัด พลังความเชื่อถือก้อเพิ่มมากขึ้นกว่าที่พูดข้างนอก เอ...มันเกี่ยวกับที่ว่างหรือสถาปัตยกรรมมั้ยครับ หรือมันเป็นเพราะคน
ก้อเลยอยากยกประเด็นนี้มาขอความเห็นจากอาจารย์นะครับ
ก้อเลยอยากยกประเด็นนี้มาขอความเห็นจากอาจารย์นะครับ
ขอบคุณครับ โดย เด็กตึกแถว(เพิ่งฟื้นคืนชีพ) [28 มี.ค. 2549 , 10:56:08 น.]
ข้อความ 1
ขอขอบคุณในไมตรีจิตที่เรายังคงมีเหมือนเดิม
เพราะช่วยส่งเสริมให้ครูแก่ๆมีความสุขมากขึ้น เมื่อใดที่ได้ทราบว่ายังมีศิษย์หรือเพื่อนเก่ายังคิดถึงกันอยู่
มุทิตาจิตหรือพรใดที่เราส่งให้ผู้อื่น พระท่านบอกว่า มันมักส่งต่อกลับมาที่ตัวของเราเองเช่นกัน...ครับ
เรื่องที่คุยมา คือ...ที่ว่าง vs. พฤติกรรม(ทั้งทางกายและใจ) เป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าตรึกตรองสำหรับสถาปนิก อย่างยิ่ง
ผมเคยได้ยินคำสัมภาษณ์ของคนที่เคยทำงาน ในบริษัทชินคอร์ปคนหนึ่งพูดเรื่องที่ว่างในเชิงความ สัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ในการทำงาน เขายกย่องคุณทักษิณ ว่าเป็นนายผู้ให้ที่ว่างทางความคิดแก่เขามาก จึงทำให้ เขานั้นมีความสุขในการทำงานอย่างยิ่ง เมื่อใดที่เขาใช้ที่ว่างนี้ หมดไปแล้ว เขาก็จะไปค้นหาเจ้านายใหม่อื่นที่ให้ที่ว่างมากกว่าต่อๆไป
ที่ว่างในเชิงทางความคิดนี้ เป็นประเด็นที่น่าสนใจ สำหรับอาชีพสถาปนิกนะครับ เช่นถ้าเราเจอครูที่ให้พื้นที่ว่างทางความคิดแก่ศิษย์มากๆ ศิษย์ส่วนมากก๊อาจมีความสุขในการเรียนมากขึ้น เช่นเดียวกัน ถ้าเราให้ที่ว่างมากพอกับคนที่ทำงานในสำนักงานสถาปนิกของเรา ลูกน้องเราก็น่าจะมีความสุขและสนุกในการทำงานช่วยเรา...นะครับ
ส่วนที่ว่างในเชิงปฎิสัมพันธ์ทางกายภาพ พวกเราคุ้นๆกันอยู่ เมื่อใดที่เกิดความพอดี ที่ว่างกายภาพนั้นก็เป็นคุณ ไม่ว่าจะเป็นที่ว่างเพื่อการชุมนุมหรือที่หาเสียงของนักการเมือง ..เช่นที่ว่างพอดีในระยะที่ยกมือไหว้หาเสียงแล้ว ชาวบ้านมองเห็นท่วงที่ที่น่าร๊าก..น่าสงสาร เป็นต้น
ความพอดี(ขนาดและจำนวน)ของที่ว่างในแต่ละกิจกรรมทั้งทางกายและใจ เป็นเรื่องที่สถาปนิกต้องแสวงหาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตราบใดที่ยังมีอาชีพนี้ แต่..พึงอย่ามองข้ามภาษิตโบราณ ที่ว่า...คับที่อยู่ได้..คับใจอยู่บ่ได้...นะนาย
เหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในการชุมนุมเร็วๆนี้ ผมคิดว่าเรามีพัฒนาการเรื่องที่ว่างไม่แพ้ต่างชาติ คือเรามีความสมบูรณ์ทั้งทางกายภาพและจิตใจ(ทางความคิด) เช่น เวทีที่ใช้ประกอบการชุมนุมเพื่อให้ข่าวสารข้อมูลและบันเทิง ถ้าให้สาระของที่ว่างมากๆ(ข้อมูลที่เราไม่ทราบมาก่อน)คนมาชุมนุมก็จะมีมากขึ้น เช่นเดียวกัน กับการเปิดที่ว่างทางกายภาพรองรับให้พอดีกัน ลองนึกภาพถ้ามีเวทีห่วยๆไม่โก้มโหฬาร ผมว่า การชุมนุมน่าจะกร่อยและมีคนโหรงเหรงแน่นอน
เวทีชุมนุมทางการเมืองเดี๋ยวนี้....จึงต้องดูมโหฬารไม่ให้แพ้เวทีคอนเสริตพี่เบิร์ด...ด้วยประการฉะนี้แล
ผมโม้คุยมาเท่าที่จะคิดได้ตอนนี้ เรื่องที่คุณถามมา สามารถใช้ทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกได้..นะครับ
มีบทความของนิสิตสถาปัตย์ระดับ เอกในเรื่องที่ว่าง ที่เผยแพร่ในมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คุณลองไปหาอ่าน(ในหมวดรวมบทความ)ดูเพิ่มเติม...นะครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [10 เม.ย. 2549 , 01:22:16 น.]
ข้อความ 2
ขอบคุณอาจารย์มากครับ แต่ลองไปหาที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่เจอหมวดนั้นอ่ะครับ มันต้องเป็นสมาชิกเว็บบอร์ดหรือเปล่าครับ ถึงจะเข้าไปได้ เพราะผมเจอแต่หัวข้อ 900 กว่าหัวข้อ ก้อพยายามศึกษา แต่เยอะเหลือเกินครับ
โดย เด็กตึกแถว [25 เม.ย. 2549 , 02:36:08 น.]
ข้อความ 3
ที่รวมบทความ http://www.geocities.com/midnightuniv/articlepage1.htm
หน้าหลัก http://www.geocities.com/midnightuniv/index.htm
ขอให้มีความสุขในการอ่านและศึกษา...นะครับ
หน้าหลัก http://www.geocities.com/midnightuniv/index.htm
ขอให้มีความสุขในการอ่านและศึกษา...นะครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [4 พ.ค. 2549 , 11:49:34 น.]
ข้อความ 4
อยู่ที่ลำดับ..123...ชื่อ..สถาปัตยกรรมปกติและที่ว่างที่ผิดปรกติ http://www.geocities.com/fineartcmu2001/newpage23.html
การที่จะสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใด ให้เกิด ตั้งอยู่ แล้วดับไป ทุกอย่างล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากสิ่งที่อยู่ภายในใจ แรงบันดาลใจสามารถสร้างสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นมากมายอย่างคาดไม่ถึง คุณมีความคิดอย่างไรกับการสร้างพื้นที่ว่างทางสถาปัตยกรรมจากแรงบันดาลใจ เชิญแสดงความเห็น
คำถามยอด..ยาก..เพราะกำกึ่งกับเรื่องโลกุตระกับโลกียะ เรื่องของการออกแบบสถาปัตยกรรม สาระคือ.. ทำให้แรงบันดาลใจที่เป็นนามธรรมล้วนๆ ให้ปรากฏ ออกมาเป็นรูปธรรมของสถาปัตยกรรมที่จับต้องได้ ..ก็แค่นี้เอง ส่วนแรงบันดาลใจหรืออุปทานภายในของใครจะมากจะน้อย อย่างไรไม่ใช่ประเด็นการออกแบบ มีมากสวยหรูแต่ออกมาไม่สมเจตนาก็เยอะ มีน้อยแต่ออกมาเลอะๆเทอะๆก็มาก
มีแนวคิดเรื่องที่ว่างในทำนองอิงพุทธปรัชญา เช่น เซ็น มีสถาปนิกฝรั่ง เช่น มีส หรือพวกกลุ่มเมตาโบลิซึ่ม พยายามทำกันมาในยุคก่อนๆ..วัดพุทธนิกายเซ้นในญี่ปุ่น....ก้อมีแล้ว โดยส่วนตัวก็มีแรงบันดาลใจในเรื่องนี้อยู่บ้าง เช่น อยากศึกษาเรื่องสถาปัตยกรรมพอเพียง หรือ minimalism อิงหลักพุทธ(ที่ผมยังรู้แบบงูๆปลาๆขณะนี้)
แต่...แนวคิดทำนองนี้ ไม่น่าขายได้ในยุคทุนนิยมสุดๆขณะนี้หรอกครับ ..ก็แค่คิดแบบคนแก่ใกล้ตาย...เอามันเท่านั้น ไม่อยากแนะนำคนอื่น ซึ่งมีอุปทานมากน้อยต่างกัน อันเป็นไปตามกรรมของแต่ละคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเอาเรื่องสมมุติธรรมมาปนเปกับปรมัติธรรม มันจะยุ่งเหยิง และหาคำตอบคนละคำถาม....ไม่ได้หรอกครับ คิดไปบอกไป ก็เป็นการโม้หรือเพ้อเจ้อไปปล่าวๆ...นะครับ
โดย ผู้ยังไม่รู้ [7 ส.ค. 2548 , 11:21:51 น.]
อาจารย์เคยคิดไหมคะ ว่าทำไมชีวิตคนเมืองทุกคนถึงดูเป็นรูปแบบขนาดนี้ เกิด เรียนๆๆๆ จบแล้ว ทำงานๆๆๆๆ ออฟฟิศบ้าง งานตัวเองบ้าง พอมีฐานะ ก็แต่งงาน สะสมเงินทอง มีลูกหลาน แก่ ตาย... ทำไมมันถึงดูเป็นรูปแบบเดียวกันหมดคะ หรือว่ามันเป็นไปตามที่เคยมีคำสอนไว้ ว่าวัยไหนต้องทำอะไร หรือหนูคิดมากไปเอง...
โดย ฮาฮา [26 เม.ย. 2548 , 21:03:59 น.]
ข้อความ 1
คนเราเกิดมาแล้วต้องดำเนินชีวิตกันไปทุกคน จนกว่าจะถึงวันตาย แล้วก็เกิดเวียนเทียนต่อไป รูปแบบคงต้องมีความคล้ายคลึงกันตามวัยเพื่อ ความอยู่รอดปลอดภัย ...เหมือนๆสัตว์พันธ์อื่นๆ คน"ไม่ธรรมดา" มักมีความต่างกันในรูปแบบ เช่นพระพุทธเจ้า...ไม่ธรรมดา อยู่ดีๆไม่ว่ากลับ เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเสียนิ..ต่างจาก วรรณะกษัตริย์ที่เคยเป็น อีกตัวอย่าง ที่อยากขอ..พระบรมราชานุญาต เอ่ยพระนาม คือ..สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯของเรา โลกของมนุษย์ทุกวันนี้ ต้องการความหลากหลายของ การดำเนินชีวิตกันมาก ..คนที่จะเลือกสร้างความหลากหลายได้ ต้องเป็นคน"ไม่ธรรมดา" คุณคิดจะเป็นไหมล่ะ ส่วนผมอยากลองเมื่อแก่...คือจากเคยหลอกเป็นอาจารย์มาแล้ว จะลองหลอกไปเป็นตาแก่...ขายกาแฟ..ดูบ้าง เพื่อส่งเสริมความหลากหลายของการดำเนินชีวิต ไงล่ะ...ครับ
โดย อาจารย์ ...ฮิฮิ [28 เม.ย. 2548 , 17:40:51 น.]
ข้อความ 2
หนูอยากเป็นคน "ไม่ธรรมดา"บ้างจังคะ แต่บางทีสังคมกับสิ่งแวดล้อมก็ทำให้หนูดำเนินชีวิต เป็นคน "ธรรมดา" จะแอบ"ไม่ธรรมดา" ก็บ้างในเวลานอกของตัวเอง ตอนนี้เพิ่งเรียนจบมา ก็ต้องสมัครงานหางานทำ อย่างคน"ธรรมดา" หรือกว่าที่หนูจะเป็นคน"ไม่ธรรมดา" ก็ต้องเมื่อหนูถึงจุดที่อยากทำไรก็ได้คะ... ทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้ทำงาน เพราะอยาก "เป็นคนไม่ธรรมดา" อย่างที่ตัวเองพอใจ เพราะอยากทำงานที่ตัวเองรักจริงๆ... เลยยังไม่ได้ทำงานเลยคะ.... โอ้ว กว่าที่ใครสักคนจะรู้ว่าตัวเองรักที่จะทำอะไร บางทีหนูก็อิจฉาคนที่มีฝันที่ตัวเองอยากทำจริงๆ บางทีเห็นคนนั่งทำดนตรีที่ตัวเองรัก หนูยังอิจฉาเลยคะ เมื่อไรหนูจะเจอบ้าง พยายามลองไปเรื่อยคะ...อยากเจ้ออยากเจอ
โดย ฮาฮา [28 เม.ย. 2548 , 19:13:21 น.]
ข้อความ 3
ลองหาเวลาทบทวนดู...บ่อยๆ...อาจเจอ มันเหมือนเจอแฟนแล้วรู้สึก...ปิ้ง.. ปิ้งมาก...ปิ้งนาน ก็แสดงว่าเราชอบเข้าแล้ว ร่างกายก็หลั่งสารเอ็นโดฟิลออกมา มันช่างสุขนี่กระไร คนเจริญภาวนาถึงขั้น ก็จะเกิดปิติกับสมาธินั้นเหมือนกัน พระท่านเตือนว่า แต่ต้องพิจารณาต่อไป เพราะปิติ นั้นเป็นอนิจจังเหมือนกัน แต่สำหรับปุถุชนอย่างเราๆ ต้องเริ่มทำสมาธิก่อน แล้วจึงค่อยปล่อยวาง ...เพื่อปิติในขั้นสูงต่อๆไป การงานที่เราต้องเริ่มทำ...ก็เหมือนกัน หาก เจองาน นายจ้าง ฯลฯ ที่ทำให้เรา...ปิ้ง...ก็ถือเป็นการ เริ่มต้นชีวิตการงานที่ดีแล้ว ...ถ้าไม่ปิ้ง...ก็อย่าดัน ทุรังเพราะอยากได้เงิน เพราะอาจเจอทุกข์ใจเอาได้ด้วย การจะไม่เป็น "ธรรมดา" นั้น ก็เหมือนการ พิจารณาสุขที่เราพบแรก แล้วก็เจริญขึ้นต่อๆไป ว่างๆลองไปเยี่ยม.. http://kannikar.bravehost.com/arjarncha/cha1.htm ที่ผมทำไว้ให้เพื่อนๆร่วมรุ่นที่กำลังใกล้เข้าโรง กันแล้ว .....นะครับ ป.ล.กำลังปรับปรุงให้วิดีโอชัดขึ้น...เร็วๆนี้ครับ
โดย อาจารย์...แฮะ..แฮะ [30 เม.ย. 2548 , 00:59:56 น.]
ข้อความ 4
ขอบคุณมากคะ อาจารย์ ฮิ ฮิ แฮะแฮะ
โดย ฮาฮา [30 เม.ย. 2548 , 19:52:42 น.]