วันอังคาร, พฤษภาคม 08, 2550

ลองฟังความเห็นของคนอื่น ที่มีต่อสิ่งที่เราตัดสินว่าสวย ดูครับ


นานนานจะอ่านเจอ บทความที่น่าถกเป็นประเด็นสาธารณะ เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมมั่ง น่าสนใจครับ เลยเอามาpostฝากเพื่อนอาจารยคับ เขียนโดย ชาตรี ประกิตนนทการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

สะพานพระราม ๘ ทัศนะอุจาด ทำลาย "ประวัติศาสตร์" ของ "เมือง"-กรุงเทพฯ


หลังจากสะพานพระราม ๘ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๕ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นของคนส่วนใหญ่ต่อสะพานพระราม ๘ ล้วนเป็นไปในเชิงบวกแทบทั้งสิ้น


หลากหลายคำพูดจากคนทั่วไปและหลายต่อหลายบทความ ที่ปรากฏทางหน้าหนังสือพิมพ์หรือวารสารต่างๆ แม้กระทั่งความคิดเห็นในอินเตอร์เน็ต ต่างมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะกล่าวถึงในแง่มุมใดๆ ก็ตาม อาทิ สะพานพระราม ๘ จะกลายเป็นสัญลักษณ์ใหม่ของกรุงเทพฯ สะพานพระราม ๘ มีรูปทรงที่สวยงาม สะพานพระราม ๘ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่แสดงออกซึ่งเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม เป็นต้น


แต่หลายคนคงไม่ทราบว่ากว่าที่สะพานพระราม ๘ จะเสร็จสมบูรณ์ ปรากฏให้เราเห็นเช่นปัจจุบันนี้นั้น ได้เกิดความขัดแย้งทางความคิดที่หลากหลายมาก่อนอย่างมากมาย มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อดีข้อเสียและข้อจำกัดต่างๆ มาไม่น้อย


แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ ความคิดเห็นที่ขัดแย้งอีกด้านนั้นกลับไม่ได้กลายเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่กว้างขวางแต่อย่างใด ทั้งนี้มิได้หมายความว่าความเห็นแย้งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอไป เพียงแต่สงสัยว่าสังคมให้ความสนใจต่อประเด็นถกเถียงดังกล่าวน้อยไปหรือไม่ ให้ความสนใจกับข้อมูลจากอีกด้านหนึ่งอย่างวิเคราะห์วิจารณ์ดีเพียงพอแก่การตัดสินใจหรือไม่ ซึ่งคำตอบที่พบก็คือไม่


แน่นอนความคิดคัดค้านหลายประการอาจขาดน้ำหนักที่น่าเชื่อถือ แต่ก็มีหลายประเด็นเช่นกันที่สังคมน่าจะต้องนำมาขบคิดว่ามีเหตุผลเท็จจริงแค่ไหนอย่างไร แต่สังคมกลับมิได้ใส่ใจกับประเด็นโต้แย้งเหล่านั้นเท่าที่ควร ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะมาจากความไม่ใส่ใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ได้มากระทบกับตัวเองโดยตรง


แต่ในกรณีของสะพานพระราม ๘ นั้นมีปัจจัยเสริมที่ทำให้สังคมส่วนใหญ่ละเลยความเห็นแย้งต่างๆ อย่างเฉยชายิ่ง นั่นก็คือได้มีการสร้างภาพลวงตาหรือข้อเท็จจริงลวงที่เป็นเพียงภาพเสมือนจริงมากกว่าที่จะเป็นความจริง จากฝ่ายสนับสนุนโครงการนี้ เพื่อให้สาธารณชนทั่วไปเห็นภาพเฉพาะด้านที่ดีของโครงการ จนทำให้เพิกเฉยต่อข้อมูลจากอีกด้านหนึ่ง โดยพยายามป้อนข้อมูลเพียงด้านเดียวเข้ามาหาเราทุกวันๆ จนทำให้ภาพเสมือนจริงเหล่านั้นกลายเป็นความจริงในความรู้สึกของเราไปในที่สุด


ดังนั้นบทความนี้จึงมุ่งที่จะเข้าไปศึกษาคำโฆษณาชวนเชื่อเหล่านั้นอย่างวิเคราะห์วิจารณ์ให้มากขึ้น พยายามเข้าไปตรวจสอบคำกล่าวอ้างต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสะพานแห่งนี้ ว่ามีข้อเท็จจริงตามคำโฆษณานั้นมากน้อยแค่ไหนอย่างไร หรือเป็นเพียงการกล่าวความจริงเพียงครึ่งเดียวเพื่อให้เห็นเพียงด้านที่ดีด้านที่เป็นบวกเท่านั้น อีกทั้งมีผลเสียใดๆ เกิดขึ้นบ้างตามมาหลังจากสะพานพระราม ๘ ได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ


แต่ด้วยข้อจำกัดในความรู้ของตัวผู้เขียน ทำให้เป้าหมายแห่งการตรวจสอบของบทความนี้จึงจำกัดอยู่เฉพาะเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของสะพานพระราม ๘ ที่ส่งผลต่อเมืองและอาคารทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง และวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องความมีเอกลักษณ์ไทยบางอย่างในตัวสะพานเท่านั้น โดยศึกษาถึงกระบวนการสร้างภาพมายาให้แก่รูปแบบตัวสะพาน ตลอดจนการสื่อสารต่อสาธารณชนทั่วไปผ่านบทความต่างๆ หรือคำกล่าวอ้างที่เราได้ยินกันจนชินหู ซึ่งบทความนี้ได้มุ่งประเด็นความสนใจในคำกล่าวอ้าง ๓ ประการหลักๆ ดังต่อไปนี้


๑. สะพานพระราม ๘ มีรูปแบบที่สวยงาม ดังนั้นจึงไม่เป็น "ทัศนะอุจาด" ของเมือง

๒. สะพานพระราม ๘ จะทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ใหม่ของกรุงเทพมหานคร

๓. สะพานพระราม ๘ เป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนเอกลักษณ์ไทย ดังนั้นจึงไม่ขัดแย้งกับบริบทแวดล้อมของเมืองเก่า


ทั้ง ๓ ประเด็นข้างต้นถึงแม้อาจจะไม่ได้มีการกล่าวตรงๆ ดังว่านี้ก็ตาม แต่คำพูดต่างๆ ที่ได้ยินได้ฟังและได้พบมานับตั้งแต่สะพานแห่งนี้เปิดใช้จนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วก็ไม่หนีจากความเชื่อ (ที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างจริงจังเลย) ดังกล่าวทั้ง ๓ ประการข้างต้นนี้แทบทั้งสิ้น


นอกจากนี้ทั้ง ๓ ประเด็นข้างต้นล้วนเป็นประเด็นทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ และต่างก็ได้รับคำโฆษณาเพียงด้านเดียวจากฝ่ายผู้รับผิดชอบโครงการ


ดังนั้นผู้เขียนจึงอยากที่จะนำเสนอข้อมูลอีกด้านเพื่อให้สังคมในวงกว้างเป็นผู้ตัดสินใจ ทั้งนี้มิใช่ว่าผู้เขียนมีเจตนาที่จะฟื้นฝอยหาตะเข็บ ติในสิ่งที่แก้ไขไม่ได้แล้ว หรือสิ่งที่ผู้เขียนกล่าวจะต้องเป็นความจริงทั้งหมดแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงอยากที่จะนำเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างและตั้งเป็นประเด็นข้อคิดเห็นเล็กๆ เอาไว้ เพื่อที่ว่าการตัดสินใจใดๆ ต่อโครงการในอนาคตข้างหน้าที่จะต้องมีอย่างแน่นอนนั้น จะได้มีการเปิดเป็นเวทีสาธารณะอย่างกว้างขวางมากกว่าที่เป็นอยู่ และให้โอกาสภาคประชาชนเข้าไปตรวจสอบมากขึ้น อย่าคิดเพียงว่าโครงการเช่นนี้เป็นเรื่องเฉพาะทางเฉพาะกลุ่ม เช่น พวกวิศวะ หรือสถาปนิก หรือเฉพาะแวดวงผู้รับผิดชอบโดยตรงเท่านั้น แต่โครงการเช่นสะพานพระราม ๘ นี้ เป็นโครงการที่ส่งผลกระทบทางสังคมมากกว่าที่คาดคิดกัน และเป็นประเด็นทางวัฒนธรรมมิใช่เรื่องทางเทคนิคเพียงอย่างเดียว

โดย ไทแมน [3 มี.ค. 2546 , 22:44:30 น.]



ข้อความ 1

http://www.matichon.co.th/art/art.php?select_date=2003/02/01&index=&show=2&selectid=0606010246 ขอโทดคับ มันยาวมากpost ไม่หมด ลองตามอ่านดูละกันนะคับ

โดย ต่อคับ [3 มี.ค. 2546 , 22:51:38 น.]

ข้อความ 2

ขอขอบคุณ ไทแมน เช่นเคยนะ ที่ยังคิดถึงกันอยู่ ว่าแต่..ยังอยู่ที่ต่างจังหวัดหรือที่กทม.กันแน่ แวะเวียนมาเยี่ยมน้องๆที่เพิ่งจบไปหรือป่าว? ปีนี้ มีมือคอมเสนองานหายห่วง เล่นเอางงๆ ใน"ความสวย" จนเพลินเลี่ยงดู "นิสัย" ของงาน ไปบ้างตามสมควร เมื่อกี้เพิ่งกลับมาจากประชุม ในเรื่องนี้ มีข้อสังเกตุให้พึงระวังว่า ต่อไปจะเกิด อาชีพทำงานคอมให้กับงานวิทยานิพนธ์กันแน่ ถ้าไม่พึงระวังให้ดีๆ มีงานในกลุ่มผมเขียนด้วยมือ อ่อน"ความสวย" ไปหน่อย ปรากฏเกือบเดี้ยง


ที่เกริ่นมาเรื่อง "ความสวย" นั้น น่าจะใกล้ เคียงข้อพิพาทเรื่องสะพานพระราม ๘ ที่ฝากมา ให้อ่าน..เท่าทีสังเกตทัศนะคติของพวกเรา มัก ไม่เป็นที่น่ายอมรับของสังคมส่วนใหญ่เท่าไรนัก เริ่มกันในสามกรณีใหญ่ที่แล้วมาเป็นต้น เช่น เรื่องสร้างทางรถไฟฟ้า ทำถนนเรียบแม่น้ำเจ้าพระยา และการคิดขุดเจ้าพระยา ๒ ก็มีการคัดค้านจากพวกเรา กันตรึม อันที่สำเร็จฝ่าการคัดค้านไปได้ คือ รถไฟฟ้า ในกทม. หากไปถามประชาชนทั่วไป เหมือนกรณี สะพานพระราม ๘ ขณะนี้ ผมว่าไม่มีใครเห็นด้วยกับที่เคยแย้งของพวกเรา มากนัก เพราะทั้งสองกรณีมันช่วยสนองตัณหา เรื่องการจราจรให้กับพวกเขามาก คนเรานั้น ขณะกำลังดิ้นรนหรืออดยากกัน เรื่องความงาม หรืองานศิลปะ ดูจะเป็นทางเลือกทีหลัง แต่เมื่อ ไรสะบายปากสะบายท้องกันแล้ว ก็จะร้องหา ความสุขอื่นต่อไป โดยเฉพาะตัณหาทางศิลปะ


ทั้งศิลปะและความจำเป็น (ไม่ใช่ความต้องการ) นั้นมีคุณค่าสำหรับมนุษย์เสมอ เพียงแต่ต้อง ตระหนักให้ดีว่า อะไรคือคุณค่าที่แท้จริงของ ศิลปะและความจำเป็นนั้น เพราะถ้าเกินเลยไป ก็ จะเป็นเรื่องของตัณหาทั้งนั้น ..ในทางพุทธฯ กล่าวถึงเรื่อง "ความงาม หรือความสวย" ที่ไกล ต่างจากที่พวกเราเชื่อกันหรือเรียนกัน บางครั้ง เราเองก็โดนเสี้ยมสอนให้รับรู้ ที่ไม่มีเหตุผล แข็งแรงพอเพียง ผมเองพักหลัง..ลดเรื่องเหล่านี้ ไปเยอะ ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับความงามที่เราเรียนกัน แต่เพราะไม่แน่ใจว่าการ"สัมผัส" ความจริงพรรค์นี้ ตรงกับของชาวบ้านหรือเปล่า บางครั้งก็กลัวกลาย เป็น"พวกนอกคอก" สำหรับสังคมสถาปนิกไทย ไปเลย เช่นเรื่องการอนุรักษณ์ ผมก็ยังหาคำอธิบาย ไม่ค่อยได้จุใจนัก เลยบางครั้งกลายเป็นคนหา กำพืดตัวเองไม่เจอ ..แต่พอเรื่องศาสนาพุทธแล้ว ชักจะสนใจว่า น่าจะเป็นรากเหง้าที่คนไทยควรศึกษา แล้วเอามาอธิบายหรือหาทางออกของการโต้แย้ง เรื่องดังที่ ไทแมน ฝากมา บางทีจะลดอัตตา หรือ ความกังวลใจไปได้บ้างนะครับ ผมมีคำอธิบาย ความงามในแง่พุทธศาสนาที่เก็บไว้พอสมควร รู้สึกเคยเอามาอ้างและโพสต์ไว้บ้างแล้ว โดย เฉพาะคำอธิบายของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกฯ นับว่าทันสมัยกว่าใคร ...ว่างจะกลับไปทบทวน เรื่องนี้อีกที


อาชีพของพวกเราถ้าจะขยายขอบเขตไปจากที่ เรียนรู้กันในคณะ น่าจะต้องเอาใจใส่กับทรรศนะ ของมวลชนเหมือนกัน ไม่งั้นพวกเราก็จะกลายเป็นพวก "เว่อ" ในสายตาของคนไทยส่วนมาก เหมือนในขณะนี้ ว่างๆ..บางทีอาจต้องกลับคืนสู่ "สามัญ" กันเสียบ้าง ก็น่าจะดี...นะครับ


ฝอยกันแค่นี้ก่อนนะ ...ดีใจที่ยังมาเจอกันอีก คิดหาหญิง "ชาวบ้าน" แต่งเมียหรือยัง? เอาที่ เชยๆแหละดี ..เพราะมีคู่แข่งน้อยกว่าหญิงเว่อ เรื่องนี้..คือสุดยอดของความสวยความงาม ยิ่งใหญ่กว่ากรณีการโต้แย้งเรื่องสะพานพระราม ๘ จริงๆ..นะครับ..จะบอกให้

โดย เพื่อนอาจารย์ [4 มี.ค. 2546 , 18:28:23 น.]

ข้อความ 3

อยู่เกาะครับอาจารย ปลีกตัวเขียนหนังสือเป็นงานหลัก tect เป็นงานรอง ถ้ามีสนพ .ไหนยอมพิมให้แล้วจะเอามาอวดครับผม

โดย ไทแมน [7 มี.ค. 2546 , 13:52:47 น.]

ข้อความ 4

ส่งมาให้อ่านบ้างสิ เผื่อจะเอาไปให้เขาพิมพ์ ว่าแต่ว่าเรืองความสวยความงามของพวกเรา คงต้องพูดกันเป็นเรื่องเป็นราว มีเหตุมีผล มีข้อพิสูจน์ มากกว่า บรา บรา บรา เพราะศาสตร์เรา ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นสิ่งสาธารณะ

โดย ครูประชาบาล [9 มี.ค. 2546 , 10:19:51 น.]

ข้อความ 5

หลายเรื่องก้อได้ความคิดมาจากตอนที่นั่งคุยกับครูหลายหลายหนแลัวก้อจดจดมาขยายความน่ะคับ ต้องขอบคุณครูประชาบาลไว้ล่วงหน้าเลยคับ ที่ช่วยให้ความคิดทั้งทางตรงและทางอ้อม ไว้เกลาเสร็จเมื่ไหร่จะส่งไปให้ดูแนนอนคับ

โดย ไทแมน [13 มี.ค. 2546 , 14:10:53 น.]

ข้อความ 6

ฝากให้..ไทแมน ลองพิจารณาดู...นะครับ


ความงามกับการพัฒนาทางจิตวิญญาณ


ในความจริงมีความงาม ถ้าเข้าถึงความจริงของสรรพสิ่ง ก็จะประสบความงาม การประสบความงามทำให้เกิด ความสุข ในธรรมชาติของสรรพสิ่งมีความงามอยู่ทั่วไป ความสุขที่ได้สัมผัสกับความงาม พัฒนาจิตใจให้สูงและ เจริญขึ้น ..ความงาม ๑๐ ประการที่ประสบได้ในวิถีชีวิต


๑. ความงามของธรรมชาติและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

๒. ศิลปะ เป็นความงามที่มนุษย์สร้างขึ้นควร เพื่อการลดกิเลส

๓. ความงามในงาน งานที่ทำอย่างประนีต ให้เกิดประโยชน์สำเร็จ

๔. ความงามในความรู้ รู้จริงรู้ทั่วรู้การเชื่อมโยงด้วยกันทั้งหมด

๕. ความงามของจิตใจ พัฒนาให้เจริญในพรมวิหารธรรม

๖. ความงามในวาจา ด้วยปิยวาจา ความจริง วจีสุจริต

๗. ความงามในการกระทำ ไม่เบียดเบียน มีศิลเป็นความงาม

๘. ความงามในความเป็นชุมชน การรวมตัวเอื้ออาทรกันตามโอกาส

๙. ความงามในสัญลักษณ์ทางศาสนา ส่งเสริมให้คุณค่าคำสอน

๑๐. ความงามในสติ(ศีล) สมาธิ และปัญญา เพื่อพัฒนาสู่สังคมแห่งความรู้

โดย เพื่อนอาจารย์ [22 มี.ค. 2546 , 09:39:51 น.]

ข้อความ 7

ผมเชื่อว่า เราสามารถหาทฤษฎีมากมายเพื่อมา อธิบายในสิ่งที่เราทำขึ้นมา ดังนั้นความงามตามทฤษฎีที่มีมาก่อนก็ตาม หรือความงามที่ไม่เคยมีปรากฎตามทฤษฎีก็ตาม ล้วนแล้วแต่ต้องตรวจสอบด้วยความรู้สึกทั้งสิ้น ความรู้สึกจึงเป็นเหมือนประตูบานแรกแห่งการนำ ทางให้พบความน่ารื่นรมย์แห่งองค์ประกอบต่างๆ รูปร่างที่เราเห็นปรากฎเป็นเพียงผลที่ได้รับจาก การรู้สึกในเบื้องต้น คำถามที่ผมมักคุยกับลูกค้าคือ คุณรู้สึกอย่างไร เราอยากฟังสิ่งที่เขารู้สึกมากกว่า สิ่งที่เรารู้สึก เพราะคนที่เรียนโดยการครอบ ความคิดอย่างพวกเรา กับลูกค้ามักรู้สึกแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เราค้นพบคือ ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่สอดคล้อง อย่างแท้จริงหรือขัดแย้งอย่างถาวร


โดย สันต์57 [22 มี.ค. 2546 , 19:19:59 น.]

คุณคือใคร?...ใคร่อยากถาม


อยากทราบว่าเพื่อนอาจารย์กับครูประชาบาลคือใครในคณะเราหรือครับ เป็นความลับหรือเปล่าอยากู้จังเลยครับ

โดย เด็กโง่ [12 ธ.ค. 2545 , 06:22:53 น.]

ข้อความ 1

ผมเคยฟังรายการวิทยุ และติดใจนักจัดรายการสาว เพราะซุ่มเสียงเธอไพเราะมาก ช่างพูดสรรจำนรรจา เลยอยากใคร่ได้ยลโฉม แต่พอค้นหาจนเจอะเจอ อารมณ์สุนทรีย์ที่เคยมีมาลดหายไปเกือบหมด เพราะความจริงดันไม่ตรงกับอุปทานที่คิดฝันไว้

ขณะนี้ก็กำลังติดใจการสนทนาธรรมะกับนักปฏิบัติ สาวคนหนึ่งในเว็บบอร์ด คุยมานานซาบซึ้งใจมาก แน่ใจว่าเป็นกัลยาณมิตรทางธรรมที่ดีมากผู้หนึ่ง ฝันไว้ว่าคงเป็นคนผิวขาวเนียน เรียบร้อย และคงน่ารัก แต่สาบาลกับตัวเองว่าจะไม่พยายามไปเจอตัวจริงๆเด็ดขาด เพราะกลัวฝันในรูปนั้นจะสลายไป พร้อมอคติในสาระ ที่จะต้องคุยกันต่อไป เนื่องจากยังไม่บรรลุอรหันต์ธรรม ยังมองเห็นสังขารเป็นปฏิกูลเดียวกันและเหมือนกันหมดไม่ได้ เลยอยากรักษาฝัน..ไม่ขอทราบข้อมูลอื่นที่ไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว

อีกเรื่อง ในการทดสอบอารมณ์สุนทรีย์ในเรื่องงานศิลปะ กับบรรดาผู้รักศิลปะและภาพวาดที่ส่วนมากเป็นเด็กๆ พบว่า..ในการดูภาพวาดที่บอกชื่อศิลปินที่มีชื่อเสียง กำกับไว้ด้วยที่ภาพนั้น จะได้คะแนนนิยมชมชอบ มากกว่าภาพวาดที่ไม่ระบุชื่อศิลปินไว้ ทั้งๆที่เป็น ภาพวาดเดียวกัน นี่คืออคติหนึ่งในเรื่องความสุนทรีย์

กลับมาเรื่องตัวจริง เสียงจริง ใครเป็นใครในที่นี่ ถ้าเผอิญรู้เข้า เชื่อไหม? อารมรมณ์ที่อยากพูดคุยกันจะ หมดหายไปทันที เพราะพอนึกหน้าทีไร อยากหนี ไปให้สุดโลก ยิ่งเจอประเภทแก่ชรา เหนียงคอห้อย ยิ่งเวทนาจนไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองที่ยังหนุ่มหล่อ ทั้งที่รู้ต่อไป ข้าก็จะเป็นเช่นเจ้า ..แต่ขอรอก่อนจ้ะ

เพราะฉะนั้น จะให้การคุยในเว็บบอร์ดนี้สนุก ต้องคิดเสียว่าทุกคนเป็นผีสาง ไร้รูปตัวตน แต่มีจิต ใต้สำนึกที่ดีบริสุทธิ์กันทุกคน คุยกันด้วยจิตเช่นนี้ จะมีอรรถรส และสุนทรีย์มากกว่าคุยกันแบบซึ่งหน้า เพราะสาระที่คุยอาจเกิดเพราะจิตปรุ่งแต่ง ไม่ใช่จิตแท้ ที่มุ่งสนใจในสาระและประโยชน์ของธรรมมากกว่าสิ่งอื่นใด

เมื่อคืนก่อน..กลับไปอ่านเรื่องกามนิต-วาสิษฏี ฉบับ แปลของเสถียรโกเศสและนาคะประทีป ..ภาคบนดิน ตอนที่กามนิตสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้า แล้วอยากรู้ ว่าเป็นใคร พระพุทธเจ้าก็เลี่ยงที่จะบอก เพราะอยาก ให้เอาที่สาระธรรมที่พระองค์กำลังโปรดกามนิต ไม่อยากให้ติดที่รูปลักษณ์ ชื่อเสียงและบรรดาศักดิ์ กามนิตก็ยังดื้อด้าน ไม่ยอมเชื่อธรรมที่แสดง แต่ อยากไปสอบถามพระพุทธเจ้าโดยตรงก่อนเชื่อ ตื่นเช้าเลย ตาลีตาเหลือกรีบออกจากบ้านคนปั้นหม้อ เพื่อจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าให้ได้ จนโดนโคบ้าขวิด ตายอยู่ข้างถนนในกรุงราชคฤห์ พระสารีบุตรผ่านมา พบและทราบเรื่องราวที่กามนิตประสงค์จะพบพระพุทธเจ้า ก่อนตายให้ได้ และพระสาวกก็มีฌานรู้ด้วยว่าพระพุทธเจ้า กำลังประทับอยู่ที่บ้านช่างปั้นหม้อนั่นเอง ที่ๆซึ่ง กามนิตเผ่นออกมาก่อนหน้า โดยไม่รู้ว่าตนอยู่พักร่วมกับ พระพุทธเจ้ามาตลอดคืนที่นั่น ..ท่านรำพึงว่า..กามนิต หนุ่มนี้ สนใจเพียงรูปลักษณ์ของพระศาสดา หาใช่ที่ พระธรรมคำสั่งสอนอันสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดไม่ ดังที่.. พระพุทธเจ้าได้สำทับไว้ก่อนหน้ากับกามนิตว่า ธรรมใดๆ.. ที่พิจารณาไว้แล้วว่าเป็นประโยชน์ และดีในการปฏิบัติกับ ตนเองได้แล้ว ก็ไม่ควรสนใจไปอีกว่าธรรมนั้น..เป็นของใคร หรือคนพูดนั้นเป็นใคร หล่อหรือสวยอย่างไร เป็น ศ.หรือ เป็น ดร.หรือไม่ ..ฯลฯ ....ดังนี้เป็นต้น

ก็เลยพล่ามมาเสียยาวเฟื้อยเหมือนเดิม ยังคงเป็นผีเร่ร่อน ในเว็บบอร์ดนี้อยู่ดี..ครับ

โดย เพื่อนอาจารย์ [12 ธ.ค. 2545 , 12:00:57 น.]

ข้อความ 2

ถ้าเช่นนั้นคุณเพื่อนอาจารย์ก็คงเป็นผีสางที่มีตบะแก่กล้าจริงๆครับ ได้พูดคุยกับคุณเพื่อนอาจารย์สนุกกว่าคุยกับเพื่อนๆรุ่นเดียวกันเยอะเลย แบบว่าจินตนาการของคุณเพื่อนอาจารย์มันช่างสูงส่งจนสุดที่ปรมัตถพิกัด+กับแนวคิดทางพุทธปรัชญาที่ไม่ใช่การงมงายสักแต่เชื่อเหมือนคนอื่นๆที่ยังหลงกับรูปลักษณ์ทางกายภาพ ว่างๆก็ขอความกรุณาเช่นเคยนะครั่บ(-_- )

โดย ผีจญิมโณเภดัย [12 ธ.ค. 2545 , 15:40:05 น.]

ข้อความ 3

ฮ่าๆๆ....นั่นสิ เหมือนความรักในเนตมั๊ย อาจารย์ ...ไม่เจอตัว เห็นในความคิด ไม่ฟังเสียงแต่ได้ยินก้องในความคิด ว่าดี...

โดย ชักจะเพี้ยนแล้วตรู [12 ธ.ค. 2545 , 17:45:36 น.]

ข้อความ 4

เป็นคำตอบที่ได้รู้จักและสัมผัสกับจิตวิญญาณมากเลยครับขอบคุณครับแอบนึกในใจเหมือนกันว่าจะได้คำตอบประมาณนี้ แต่ก็คิดไม่ได้ว่าท่านคือคนที่ผมเคยเดินผ่านที่คณะหรือที่ใดมุมไหนในโลกและไม่ได้ทักทายทั้งที่เหมือนเคยรู้จักและคุ้นเคยมานานในที่แห่งนี้ ถึงยัง..ไงก็ขอเคารพด้วยจิตคารวะผีเร่ร่อนในเว็บบอร์ดตนนี้อยู่ดีครับ

โดย กามนิตหนุ่ม [12 ธ.ค. 2545 , 18:03:13 น.]