วันพุธ, กันยายน 06, 2549

คิดฟุ้ง..คุยเฟื่อง


space..ไทยๆ

space หรือที่ว่างแบบ ไทยๆ หรือแบบพอเพียงนี่มันควรจะเป็นรูปแบบไหนครับอาจารย์ เป็นแบบโล่งๆจัดกิจกรรมหลากหลายได้ในแบบชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยสมัยก่อนหรือเปล่าครับ...แล้วมันจะเอามาใช้กับยุคสมัยนี้ได้อย่างอย่างไรครับ ...ขอบคุณอาจารย์มากครับ
โดย เด็กตึกแถว [13 ก.ค. 2548 , 18:42:35 น.]

ข้อความ 1
หรือว่าขึ้นอยู่กับกิจกรรมและวิถีชีวิตครับ
โดย เด็กตึกแถว [13 ก.ค. 2548 , 18:43:35 น.]

ข้อความ 2
พูดกันถึงที่ว่างในการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมไทย กิจกรรมและ วิถึชีวิตเป็นเรื่องสำคัญอย่างที่คุณอ้าง..ครับ

ความแตกต่างในเรื่องนี้หรือวัฒนธรรม ทำให้สถาปัตยกรรมของแต่ละชนชาติมี ความแตกต่างกัน มากกว่ารูปแบบ
ปัจจุบันวัฒนธรรมเชื่อมโยงกันมากขึ้น บางครั้งกลืนกินกันไปจนอาจยากที่จะ สังเกตุความแตกต่างได้ แต้ถ้าพิจารณากันให้ ละเอียดและเอาใจใส่มากขึ้น ความแตกต่าง ก็ยังเห็นๆกันได้อยู่

ความแตกต่างที่สำคัญ คือ เรื่องดินฟ้าอากาศ อันชี้นำหรือกำหนดให้วิถีชีวิตและกิจกรรม แตกต่างกันด้วย เรื่องที่ว่างของสถาปัตยกรรม ในอดีตของแต่ละชาติพึงเห็นได้ชัดเจน แม้ แต่ชาวเอเซียด้วยกันก็ตาม

ในหนังสือเรื่อง"เยินเงาสลัว" อธิบายเรื่อง ที่ว่างและสุนทรีย์ของชาวญี่ปุ่นได้อย่างน่าสนใจ หากมีใครศึกษาเรื่องทำนองนี้ เยินเงาสล้ว ในเรื่องที่ว่างของไทย ก็จะน่าสนใจไม่แพ้กัน

หากคุณมีเวลาลองไปเดินในบริเวณวัดพระแก้ว ตามลำพังและปล่อยอารมณ์ให้เต็มที่ ละก้อ คุณก็อาจได้สัมผัสสื่งนี้ได้ชัดเจนกว่ารูปทรง ที่พวกเรามักเน้นความต่างกันเป็นส่วนมาก จนบางทีเป็นการดัดจริต ติดยึดกับอดีตแบบ คนปัญญานิ่ม ไม่ลงลึกลงในความเข้าใจ สถาปัตยกรรมไทยที่เพียงพอ

ความคิดอย่างพอเพียงประสานความรู้ด้วย การมีสติปัญญาอย่างเพียงพอ เราก็จะสามารถ สร้างสถาปัตยกรรมที่งดงามและสมดุลป์กับ ธรรมชาติที่เราเป็นของแต่ละคนแต่ละชนชาติ ได้อย่างน่าชื่นชม.....นะครับ
โดย อาจารย์ [25 ก.ค. 2548 , 16:10:18 น.]

อยากรบกวนอาจารย์ช่วยอธิบายความสัมพันธ์ของ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ทั้งในทาง 1.พุทธศาสนา 2.วิทยาศาสตร์ 3.สถาปัตยกรรม เผื่อผมอาจจะเอาไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบอ่ะครับ.....ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้าครับ
ปล....ตอนนี้อาจารย์เป็นไงบ้างครับ....ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรงนะครับ แล้วจะไปทานกาแฟร้านอาจารย์ครับ
โดย เด็กตึกแถว [19 มิ.ย. 2548 , 00:58:13 น.]

ข้อความ 1
เรื่อง...อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

เมื่อตอนสองยามคืนก่อน ผมเขียนตอบมาแล้ว แต่.. ปรากฏว่ายาวเกินไป เซิฟเวอร์รับไม่ได้ เผอิญ.. ผมเข้าอินเทอร์เนทด้วยพีดีเอ จึงย้อนกลับไปแก้ไขไม่ได้ เลยต้องบรรเลงเพ้อเจ้อเรื่องนี้กันใหม่

นี่ถ้าอดีตเอาคืนมาได้ ผมก็คงยึดอดีต เอาข้อความที่ เขียนไว้ก่อนมาฉายซ้ำ...จึงไม่เป็นการคิดและเขียน ใน..ปัจจุบัน เมื่อเอาอดีตกลับมาได้ เราก็มักคิดเอาเป็น บันทัดฐาน เอาไปฉายซ้ำเรื่อยๆ บางครั้งก็ฝันเฟื่องไป.. อนาคต คิดปรับปรุงไปฉายซ้ำ หรือยัดเยียดให้เข้ากับเรื่อง ที่คล้ายๆกัน ....นี่เป็นตัวอย่างพฤติกรรมของผมที่เกิดขึ้น ในอดีตเมื่อคืนก่อนเท่านั้น..นะครับ ยังมีอีกมากมายที่ผม มักคิดและปฏิบัติทำนองนี้

ในแง่พุทธศาสนา...(เท่าที่สติปัญญาผมเข้าใจว่า)..เรามักติด ยึดกับ"อุปทาน" ของอดีต กับฝันเฟื่องเรื่องอนาคต เสมอๆ เลย ไม่เคยพบกับปัจจุบัน.. การฝึกเจริญสติและภาวนานั้น ก็เพื่อให้ จิตเข้าถึงปัจจุบันจริงๆ คนที่บรรลุธรรมในแนวทางพระพุทธศาสนา จะไม่ติดยึดกับอุปทานของ อดีตและอนาคต สภาพที่เกิดขึ้นของ ปัญญาในจิตขณะนั้น จึงเป็นเรื่องของความแท้จริงในสภาวะของ สรรพสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกสมมุติใบนี้ แต่...คนที่ยังยึดติดกับ อุปทานของอดีตและอนาคต ปัญญาที่เกิดขึ้นจึงไม่ตรงกับความเป็น จริงแท้ทั้งสิ้น...มันเป็นแค่ความจริงที่เกิดจากอุปทานที่ยึดไว้ในจิต ของแต่ละคน ...ซึ่งก็คือความจริงสมมุติของโลกในขณะนี้
โดย คุยครั้งที่ ๑ [20 มิ.ย. 2548 , 12:35:56 น.]

ข้อความ 2
ในแง่วิทยาศาสตร์...สาระของวิชาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (natural science) สำหรับนักวิทยาศาสตร์ ก็เพื่อการค้นหาความเป็นจริง ของธรรมชาติหรือของสรรพสิ่งทั้งหลาย พยายามศึกษากลไกของ ความเชื่อมโยงกันต่างๆนั่นเอง แต่เนื่องจากสภาวะจิตของนักวิทยา ศาสตร์ยังมีอุปทานติดยึดกับอดีตและอนาคต ไม่เป็นจิตปัจจุบัน ผล ทางทฤษฎีที่ประกาศ จึงเป็นความจริงสมมุติทั้งสิ้น ..พูดให้ฟังดี ก็ เป็นเพียงแค่ "เงา" ของความจริงเท่านั้น ...พ่อมดทางวิทยาศาสตร์ เช่น ไอสไตน์ เอง ก็ยอมรับในประเด็นนี้

ผลข้างเคียงของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (ที่ยังไม่สมบูรณ์) คือ วิทยาศาสตร์ ประยุกต์ที่แตกแขนงเป็นเทคโนโลยี ผลิตวัตถุกลไกต่างๆตามอุปทาน ของแต่ละคน จนทำให้ชีวิตของแต่ละคนสับสนวุ่นวายไปกันใหญ่ ก่อผล กระทบในเรื่องความสมดุลป์ของธรรมชาติต่างๆนานา ดังที่เราเผชิญ กันอยู่ในขณะนี้ และจะดำเนินต่อไปตามอุปทานที่ขยายเป็นความโกรธ โลภและหลง ....ตราบเท่าที่จิตยังห่างไกลกับสภาวะที่เป็นปัจจุบัน
โดย คุยครั้งที่ ๒ [20 มิ.ย. 2548 , 12:44:38 น.]

ข้อความ 3
ในแง่สถาปัตยกรรม ..เพราะจิตสถาปนิกยังข้องแวะกับอดีตและอนาคต ไม่เคยฝึกและเข้าใจความเป็นปัจจุบัน จึงนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ของ เทคโนโลยีมาต่อแขนงให้ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมเตลิดเปิดเปิง ออกไปอีก เลยกลับกลายเป็นตัวเร่งทำลายความสมดุลป์หรือความเป็น จริงของธรรมชาติต่อๆไป ถ้าเราฝึกจิตให้อยู่ปัจจุบันมากๆ เราก็จะเข้าถึง สถาปัตยกรรมพอเพียงหรือสถาปัตยกรรมยั่งยืนได้มากขึ้น รูปลักษณ์ของ มันจะเป็นอย่างไรนั้น ผมว่าขึ้นอยู่กับผู้สร้างสรรค์ จะให้เกิดความสมดุลป์กับ ธรรมชาติได้มากน้อยอย่างไร จนเกิดความพอดี..ที่ตรงกับปัจจุบันที่สุด ไม่ใช่ กับอดีตที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว หรือสำหรับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง และไม่จำเป็น ที่ต้องพยายามจะหยั่งรู้ไปให้ได้ก่อน ...

อาจารย์ฝรั่งของผมในอดีต เคยแย้งนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ที่นำเอา สถาปัตยกรรมในอนาคต ที่จะเกิดขึ้นในห้วงอวกาศมาให้วิจารณ์ ท่านบอกกลับไปว่า ...นั่นเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นอยู่ขณะนี้ ไม่ใช่สถาปัตยกรรมของอนาคต ..เพราะเรื่องของอนาคต..ไม่มี ใครหยั่งรู้ได้ ..นอกจาก "พระเจ้า"..เท่านั้น

นี่เป็นการโม้ที่ผมพยายามให้จิตของผมเป็นปัจจุบันที่สุด ...แต่อนิจจา จิตผมก็ยังติดกับอุปทานของอดีตและอนาคต อีรุงตุงนังเหมือนคนอื่น หรือคุณ..เช่นกัน..ไม่มีขอยกเว้นครับ ...โปรดอย่ายึดคำตอบของผม เป็นสาระ ขอเพียงให้ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในเรื่องที่คุณถามมา ก็พอแล้ว จงพยายามยึดคำเตือนของพระดีๆที่ว่า....ให้เราจงทำปัจจุบันที่เราคิดเรา รู้กันอยู่ขณะนี้(แม้เป็นความจริงสมมุติก็ตาม)..ให้ดีที่สุดก็แล้วกัน ขอให้งาน สถาปัตยกรรมของเรามีผลกระทบ(ด้านเลวๆ)กับต้วเราและผู้อื่น รวมทั้งกับ สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงรอบตัวเรา...ให้มันน้อยที่สุด..เท่าสติปัญญาเรามี อยู่ในขณะนั้น...ก็พอเพียงแล้ว...นะครับ
โดย คุยครั้งที่ ๓ [20 มิ.ย. 2548 , 12:46:27 น.]

ข้อความ 4
"อดีตสอนปัจจุบัน ปัจจุบันส่องอนาคต"..ให้อดีตเป็นครูแล้วทำปัจจุบันให้ดีที่สุด เพื่อที่อนาคตจะได้ไม่หันมาเสียใจหรือเสียดายในภายหลังใช่มั้ยครับ
โดย เด็กตึกแถว [21 มิ.ย. 2548 , 22:27:31 น.]

ข้อความ 5
ใช่เลย...ครับ
งานสถาปัตยกรรม...ไม่ต่างจาก "สากกะเบือ...ยันเรือรบ" จง ...ทำสากกะเบือให้ดีเท่ากับเรือรบ
นะครับ
โดย ถูกต้อง...นะคร๊าบบบ [23 มิ.ย. 2548 , 16:08:01 น.]

ข้อความ 6
เอ่อ อาจารย์ครับ แล้วศิลปะที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งหรือเปล่า...อะไรคือศิลปะที่ใกล้ชิดกับเรามากที่สุดครับ......แล้วคนเราจะเข้าถึงศิลปะที่อยู่ใกล้ชิดกับเราที่สุดได้อย่างไรครับ......
โดย เด็กตึกแถว [13 ก.ค. 2548 , 18:49:51 น.]

ข้อความ 7
ในซีดีที่แจกให้ไปอัดกันเองนั้น ในถังขยะฯ-๔ มีเรื่องเกี่ยวกับศิลปะ ในแง่พุทธศาสนา ที่ท่านพุทธทาส อรรถาธิบายไว้ ผมว่าน่าพิจารณาดูนะ ผมคิดว่าน่าจะได้คำตอบที่ใกล้เคียง ความ"เป็นจริง"ที่สุด

อย่าหาว่าเลี่ยงบาลีไม่ตอบตรงๆนะ ผมว่า"ความรู้"ของแต่ละคนไม่ได้มาจาก การบอกล่าว...แต่จะเกิดขึ้นจากความเข้าใจ ของแต่ละคนที่อาจแตกต่างกัน กัลยาณมิตร หรือ ครู ทำได้เพียงการชี้แนะบอกทาง ให้ศิษย์ได้เรียนรู้และเข้าใจด้วยตนเอง หากแต่ครูปัจจุบันชอบเอาความรู้"เทียม" ยัดบอกแก่ศิษย์กันทุกๆวัน....ไม่ถูกต้องนะครับ
โดย อาจารย์ [15 ก.ค. 2548 , 10:06:28 น.]

แวะมาทักทายครับ
ตอนนี้ทำทีสิสอยู่ บอกตามตรงว่าคิดถึงอาจารย์ครับ การตรวจแบบทีสิสค่อนข้างละเอียดมากครับ เหมือนกับจะต้องการให้นิสิตทำได้ดีในทุกๆเรื่อง ทั้งที่บางทีก็เป็นเรื่องธรรมดาๆอย่าง บันไดหนีไฟ ระยะต่างๆ ห้องน้ำ ห้องเครื่อง ...etc. อยากจะบอกอาจารย์ว่าผมไม่ค่อยเกิดinspirationในการทำแบบ อะไรเลยกับการตรวจแบบ แบบนี้ คือเป็นเหมือนการตรวจว่าเราทำถูก หรือผิด แต่ไม่ได้ทำให้เกิดจินตนาการ คิดถึงตอนตรวจกับอาจารย์ มาฟังอาจารย์พูด ได้แนวคิดบ้าง ก็นำมาใช้กับแบบได้ เเถมยังจะมีมุขตลกๆ เสมอครับ ก็ปีใหม่แล้วขอให้อาจารย์มีสุขภาพที่ดีครับ
โดย 218 [31 ธ.ค. 2547 , 14:01:58 น.]

ข้อความ 1
ขอขอบคุณในไมตรีที่มีระลึกให้กัน และขอให้พ้นทุกข์ในเร็วพลัน..นะครับ
พระท่านสอนไว้ว่า สุขใดไม่เท่าสุขที่เกิดจาก"ความว่าง" ในสังคมทางโลกนั้นมีความหลากหลายไร้ที่สิ้นสุด โดยเฉพาะมาตราฐานของมนุษย์ด้วยกันที่ต่าง กรรมต่างวัยและต่างวาระ

การดำเนินชีวิตนั้นก็คือการดำรงอยู่กับมันให้ได้ เมื่ออากาศร้อนก็ทนร้อน หนาวก็ทนหนาว เจอ ซูนามิ ก็ต้องทนเอา เพราะกรรมของเราดันทะลึ่ง ให้ได้เจอสิ่งต่างๆเหล่านี้ การรู้เข้าใจธรรมชาติเหล่านี้ ก็จะทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงหรือทนกับมันได้เพราะทางเลือกอื่นนั้นไม่มี..หากันไม่เจอ

การเรียนรู้ยังต้องมีกันต่อๆไปทุกคนตราบเท่าที่ตัวเรา ยังดำรงอยู่ พระท่านบอก..ชีวิต คือ สิกขา หรือการเรียนรู้..ครับ
ทีสิส ที่ว่า.. เป็นเรื่องจิ๊บจัอยมากเลยครับ สร้างจิตใจ ของคุณให้"ใหญ่" ไว้มากๆ มีทัศนะคติที่กว้างไกล เรื่องพรรค์นี้ก็จะไม่สร้างความกังวัลใจให้เราต่อไป

ปีใหม่นี้..ขอให้ทุกๆคนรับเอาแต่สิ่งดีมีแต่กุศลไว้กัน ทุกคนนะครับ...คิดถึงพวกคุณเช่นกันครับ
โดย อาจารย์(อดีต) [2 ม.ค. 2548 , 10:54:54 น.]

Energy Producing

ไม่ทราบว่าอาจารย์สนใจแนวคิดทางด้านนี้บ้างไหมครับ ส่วนตัวผมแล้วว่าน่าสนใจมาก แม้จะรู้สึกว่าไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้องเท่าไรนัก สำหรับสถาปัตยกรรมยุคอนาคต แต่ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีทีเดียว ตอนนี้ผมเรียนกับอาจารย์สุนทร อยู่ครับ ผมว่าแกมีความคิดที่น่าสนใจเยอะมากเลยครับ แต่ในเรื่องบางอย่างในการทดลอง หรือวิจัยต้องใช้งบประมาณและคนที่ที่มีความรู้ความสามารถมากครับ ตอนนี้อาจารย์สุนทร กำลังจะเลย Energy Producingไปแล้ว จะไปสู่ยุคใหม่อีก ไม่ทราบว่าอาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ

ปล มีงานสาระศาสตร์วันที่20 ตค นี้ มีเรื่องที่น่าสนใจและอาจารย์สุนทรก้อพูดด้วยครับ
โดย Wong [14 ต.ค. 2548 , 21:21:33 น.]

ข้อความ 1
ผมเคยคุยและฟังความคิดอจ.สุนทรเรื่องเกี่ยวกับพลังงาน และความเชื่อมโยงกับการออกแบบสถาปัตยกรรม
โดยส่วนตัวผมชื่นชมอจ.ในเรื่องงานวิชาการ เพราะอจ.เลือกแนวคิดที่ชัดเจนและค้นคว้าลงลึก
ผมเคยเชิญอจ.มาคุยเรื่องนี้ในวิชาสัมมนาฯ สร้าง
แรงบันดาลใจให้นิสิตมีความกระตือรือร้นได้อย่างมาก นับว่าเป็นคุณสมบัติของอจ.ยุคใหม่
คือไม่มัวคอยเอาแต่เสี้ยมสอนนิสิต หรือยัดเยียด ในสิ่งที่ตน..บางทีไม่สู้เข้าใจและรู้ไม่ลึกซึ้ง จึงมักสร้างแรงบันดาลใจให้นิสิตไม่ได้

ส่วนอจ.สุนทร นั้น..ถ้านิสิตได้ฟังก็จะเกิดความ สนใจในเรื่องที่อจ.ศึกษาและค้นคว้าวิจัย ทำให้รัก และเกิดแรงบันดาลใจ เช่นที่คุณกำลังเป็นอยู่ขณะนี้..ครับ

ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เราสนใจ ถ้ามีการสืบไปได้ตลอด วิชาการนั้นๆก็จะกลายเสมือนเป็นต้นไม้ใหญ่ แผ่กิ่ง ไปได้มาก คือมองเห็นความเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นๆได้ เป็นวงจรสัมพันธ์ต่อกันและกัน

ผมว่า..นี่คือสิ่งที่นักวิชาการมีหน้าที่ต้องทำในสำนักศึกษาทั้งหลาย
...นะครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [15 ต.ค. 2548 , 13:26:22 น.]

ข้อความ 2
ขอบคุณครับ
แต่ผมอยากทราบถึงแนวทางด้านสถาปัตยกรรมยุคใหม่ในของไทย ความเห็นอาจารย์น่ะครับ ไม่ทราบว่าอาจารย์มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ
โดย Wong [16 ต.ค. 2548 , 19:17:33 น.]

ข้อความ 3
ในความคิดผม เห็นว่าเรื่องบริบทหรือ context เป็นเรื่องที่สามารถเริ่มต้นแนวความคิดได้ทางหนึ่ง
การจะสร้างแนวคิดในการออกแบบสถ.ไทย ก็ จำเป็นต้องศึกษาและเข้าใจบริบทของสังคมไทย ให้ตรงกับสิ่งที่เป็นอยู่ นี่คือสิ่งที่ผมสนใจขณะนี้

ผมเริ่มจากการสัมผัสกับชุมชนที่รายรอบที่ตั้ง ศึกษาทั้งเรื่องกายภาพและลักษณะเฉพาะด้านนามธรรม เท่าที่ผมจะเข้าใจได้ แล้วนำมาเป็นจุดตัดสินใจ ในการเลือกแนวความคิด ปกติเรามักโดนสอนให้ สร้างจินตภาพบนโต๊ะเขียนแบบและลิสความต้องการ แล้วพยายามยัดเยียดหรืออนุโลมให้เข้ากับบริบท ที่เราไม่ค่อยเอาจริงเอาจังเท่าไร เพราะต้องรีบสร้างจินตภาพ เพื่อเอาไปตรวจกับอจ.ในสตูดิโอ ในสมัยผมอจ. ไม่ชอบสนทนาเรื่องความคิดเท่าไร อยากเห็นแบบ แล้วให้ความเห็นตามทัศนะของอจ.

การสร้างเรื่องราวหรือแนวคิดจากบริบทที่เป็นอยู่ และการคาดการณ์พอประมาณของที่ตั้งที่จะมีการเปลี่ยนแปลง และผลในอนาคต เป็นสิ่งที่ผมสนใจ ไม่สร้างหรือ กำหนดจินตภาพของสถ.ล่วงหน้าอย่างจริงจังนัก สนใจว่าสิ่งที่เราออกแบบจะไปส่งเสริมอะไรกับชุมชนได้บ้าง อย่าเอาแต่ออกแบบให้เป็นสิ่งแปลกหรือยกตนข่มท่านถ่ายเดียว

ส่วนเรื่องพลังงานหรือด้านเท็คโนโลยีเป็นเรื่องของยุคสมัย แต่หากสร้างมิติทางความคิดเรื่องนี้ในสเกลที่กว้างขี้น เข้าถึงระบบนิเวศของชุมชนโดยรวม ผมว่าจำเป็น..นะครับ

การออกแบบในลักษณะองค์รวมที่ให้ความสำคัญกับ
บริบท เป็นเรื่องการออกแบบสถ.ไทยที่ควรเอาใจใส่อย่างยิ่ง อย่างน้อยทำให้เราเข้าใจความเป็นตัวตนของเราและเปลือกนอก(บริบท)ที่หลอมการดำเนินชีวิตของเราได้ดีขึ้น..นะครับ... ผมขอแสดงความเห็นแค่นี้นะ ไม่ทราบตรงกับที่อยากรู้หรือปล่าว..ครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [22 ต.ค. 2548 , 08:39:22 น.]

ข้อความ 4
ขอบคุณครับ
โดย Wong [23 ต.ค. 2548 , 21:24:00 น.]

ถามอาจารย์ครับ
อาจารย์ครับ เวลาทำโปรเจกใดๆก็ตาม จำเป็นไหมที่จะต้องทำตาม design process ทุกขั้นตอนที่เรียนมา เป็นไปได้ไหมถ้าเราจะเริ่มโปรเจกหลังอ่านโปรแกรมและไปดู site มาแล้ว โดยที่ไม่ต้องมานั่งเขียน Tabulation ก่อน แล้วตามด้วย relationship diagram หรือ bubble diagram อะไรตามแบบอย่างที่เคยเรียนๆกันมา เพราะอ่านโปรแกรมกี่ปีกี่ปีเขาก็บอกให้ส่งแบบนี้

หรือว่าวิธีการนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้วในการออกแบบจริงๆครับ???
โดย นิสิตปี 4 [16 มิ.ย. 2547 , 23:03:06 น.]

ข้อความ 1
เรื่องวิธีการออกแบบ..จะว่าไปก็เป็นวิธีการใคร วิธีการมัน มีความหลากหลายตามประสบการณ์ ของแต่ละคนเป็นสำคัญ แต่เราก็สามารถปรับปรุง และพัฒนากันได้ (ซึ่งควรทำ) เพื่อให้เกิดผลดียิ่งขึ้น

การศึกษาวิธีการของผู้อื่นบางครั้งจำเป็น
ในการศึกษาเรื่องวิธีการ..methodology พยายาม รวบรวมขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆที่มีผลในการออกแบบ หรือการแก้ปัญหาที่ประสบผลสำเร็จมาบันทึกไว้

เรื่องของวิธีการออกแบบ เปรียบเหมือนเครื่องมือ ที่ใช้ในการทำงานทางความคิด หากมีเครื่องมือ มากและหลายแบบ ก็น่าจะสะดวกในการเลือก นำมาใช้ในกระบวนการทางความคิด...นะครับ

สำหรับเรื่องของ พื้นที่สำหรับกิจกรรมต่างๆ หรือ tabulation area มีประโยชน์ในการกำหนดขนาดของ ที่ว่างและขนาดรูปทรงของอาคาร ผมเคยเปรียบเทียบ เหมือนหีบห่อบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ลักษณะรูปทรงภายนอก ของอาคารน่าจะคล้ายคลึงกัน อีกทั้งขนาดของที่ว่าง ต่างๆจะมีผลในเรื่องการคำนวนราคาค่าก่อสร้าง อาคารภายหลัง(ในทางวิชาชีพ)

เรื่องของ diagram เป็นรูปลักษณ์ของระบบความ สัมพันธ์ของกิจกรรมต่างๆที่กำหนดขึ้นในอาคาร ที่กำลังออกแบบ เป็นสื่อความคิดหนึ่งในความเข้า ใจของผู้ออกแบบ เหมือนภาพเสก็ตทางความคิด หรือภาษาที่พูดอธิบายกัน อาจไม่จำเป็นมีแบบตายตัว ในการสื่อสารกันนัก ...แต่จะสะดวกในการกำหนด ขั้นตอนต่างๆของความคิดที่ซับซ้อน เช่น การทำ งานของกลไกเครื่องจักรกล เป็นต้น ส่วน bubble diagram อาจคุ้นกับสถาปนิก เพราะเหมือน ภาพเสก็ตเคร่าๆของแบบแปลน ...โดยสรุปเรื่องนี้ คุณอาจใช้รูปลักษณ์แทนความคิดความเข้าใจ อะไรก็ได้ ถ้าทำให้คุณเองเข้าใจความคิดของคุณ และถ่ายทอดให้ผู้อื่นร่วมเข้าใจได้ด้วย สื่อแบบไหน ก็น่าจะใช้ได้ นอกเหนือจากภาษาเขียนสามัญทั่วไป ภาษาของสถาปนิกมักนิยมเป็นภาพ ใกล้เคียงสิ่ง ที่เห็นจริงได้มากเท่าไรยิ่งดีครับ

วิธีการที่ดีที่สุด คือ วิธีการที่เราใช้แล้วได้ผลเลิศ ผมคิดว่าควรใช้วิธีการนั้น แต่อย่างที่บอก..คนคิด เก่ง คิดสร้างสรรค์ให้ได้ผลงานดีๆ มักเป็นคนที่มี หลายวิธีการทางความคิด มักไม่ติดยึดกับวิธีการใด วิธีการเดียวเสมอไป

ไม่ทราบคุยมาตรงประเด็นหรือป่าว...ครับ

อยากให้ลองอ่าน "ลายแทงความคิด" เขียนโดย คุณเกรียงศักดิ์ ...มีในห้องสมุด จะได้เข้าใจรูปแบบ ของความคิดต่างๆ และวิธีการอธิบายความคิดนั้นๆ ..นะครับ
โดย อาจารย์ [17 มิ.ย. 2547 , 11:26:16 น.]

ข้อความ 2
ขอบคุณครับ จะลองไปหาอ่านดู ได้เรื่องยังไงหรือสงสัยประการใดจะกลับมาคุยกับอาจารย์ใหม่ครับ
โดย นิสิตปี 4 [20 มิ.ย. 2547 , 22:34:09 น.]

projectที่เป็นระดับชาติจำเป็นต้องแสดงถึงความเป็นชาตินั้นรึเปล่าครับ?
เช่นสนามบินของประเทศต่างๆ จำเป็นรึเปล่าที่architectureควรจะทำให้รู้สึกถึงความเป็นชาตินั้นๆ ที่นั้นๆ อย่างสนามบินหนองงูเห่าถือว่าเป็นยังไงครับ?
โดย เด็กช่างสงสัย [3 เม.ย. 2547 , 21:40:18 น.]

ข้อความ 1
มันขึ้นอยู่กับสติปัญญาของคนตัดสิน..คนดู..คนใช้ ว่าความเป็น"ชาติ"มันอยู่ตรงไหน..ที่ไหน เราเสนอไปถ้ามันตรงใจกัน เกมก็จบ อาจได้รางวัล สถาปัตยกรรมดีเด่นของชาติ..จนทำให้เรากลายเป็น สถาปนิก"เทวดา" เป็นบ้าไปได้อีกนานๆ
อัตตาในเรื่องตัวตนของคนมีกิเลสนั้นมีสูง ชื่อตัวเอง นามสกุลตัวเอง กำพืดตัวเอง ฯลฯ ก็มักเชื่อว่ามีและ จะดีกว่าของคนอื่นๆ ความเป็นชาติเลยเกิดขึ้น คนในชาติจะงี่เง่าอย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองก็มัก ตอแหลบอกว่า ชาติเราดี ต้องอวดและเชื่อว่าดีไว้เสมอ ว่าชาตินี้สิ้นเมื่อใด..ตัวเองก็จะสิ้นตาม ทั้งๆที่ขณะชาติยังอยู่ แต่คนส่วนใหญ่ของชาติกำลังจะจนตาย ก็ยังบอกว่า พวกเอ็งต้องรักชาติอวดความเป็นชาติกันไว้นะ

โลกในอนาคต..ความเป็นชาติจะหลอกกันไม่ได้นาน เพราะจะมีการเคลื่อนย้ายคนไปอยู่ในชาติที่ให้ ประโยชน์ตนและครอบครัวสูงสุดกันทั้งนั้น
หลายคนที่เก่งๆมักย้ายไปเป็นคนอเมริกันกัน แล้วสังเกตุว่าพวกเขารักชาติอเมริกันกันมาก เพราะเป็นชาติที่ให้สิทธิคนในชาติ
เท่าเทียมกัน คนที่อยู่ได้ประโยชน์แล้วรู้สึกว่าเป็นเจ้าของ ประเทศที่ตนอยู่เหมือนๆกัน...นี่เป็นข้อสังเกตุ
เพราะคิดมาก..เลยคิดยาว..จึงมีต่อครับ
โดย อาจารย์ [8 เม.ย. 2547 , 11:31:43 น.]

ข้อความ 2
สถาปัตยกรรม..เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตก็จริง แต่ สถาปนิกอาจไม่ใช่..ไม่จำเป็นสำหรับคนทุกคน ยิ่งหลักสูตรที่ฝึกสถาปนิกในแนวคิดทุนนิยม สถาปนิกจึงเป็น "ผู้บริการ" สำหรับคนที่เห่อจะรับบริการ ยิ่งเลือกบริการแค่กับ"พวกเถ้าแก่"พอใจรับเศษเงิน คิดกันแบบร้ายๆ ..ก็ไม่ต่างหญิงบริการเท่าไรนัก หากพวก เถ้าแก่นึกสนุกอยากให้สถาปนิกแต่งทรงไทยมา บริการ พวกเราก็เลยเอาด้วย จะแต่งตัวเป็นนาง บริการแบบไทย หรือไม่แต่ง ก็เป็นแค่นางบริการ อยู่ดีแหละครับ

ยุคบ้าหาเงินสมัยนี้ เห่อการท่องเที่ยว อยากอวด เอาเงินต่างชาติ เลยเน้นการ"แต่งตัว"บริการกัน ใหญ่ เพื่ออวดความเป็นชาติไทยกันยกใหญ่

ผมเพิ่งกลับมาจากเที่ยวต่างจังหวัด หลายๆที่ที่เคย บริสุทธิ์เหมือนสาวพรมจารี เดี๋ยวนี้งอมกันทั่ว เหมือน หญิงโดนโทรมกันทั่วหน้า สถาปนิกสร้างสิ่งแปลกปลอม หลอกชาวบ้านเป็นผีเทวดาไปหมด ผมดูแล้วสังเวชใจ ถ้าเลือกเกิดใหม่ได้ ไม่อยากเป็นสถาปนิกสอนสถาปัตยกรรม
ที่แทบไม่ได้ให้ประโยชน์แก่ชาวบ้านคนส่วนใหญ่ของประเทศกันเลย

ถ้าพวกเราที่เป็นสถาปนิกเอาพระบรมราโชบาย ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง"ความพอเพียง"ยัดใส่ในหัวไว้บ้าง พยายามสร้างสรรค์สืบค้นสถาปัตยกรรมแห่งความพอเพียงกันแล้ว ความเป็นชาติ เอกลักษณ์ของชาติอย่างนี้จะยั่งยืน ไม่ใช่ความเป็นชาติแบบ"ตอแหล"ที่กำลังหลอกหลอนกันอยู่ขณะนี้

จะสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมพอเพียงได้ ตัวเองต้อง ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงก่อนใด ต้องเข้าใจสาระ ธรรมนี้ให้ถ่องแท้..จึงจะเป็นสถาปนิก"เทวดา"จริงๆ ไม่ใช่สถาปนิกบริการแต่งตัวไทยๆเลียนแบบย่าทวด ของเราที่"ตาย"ไปแล้ว แล้วไปปลุกผีให้ตื่นมาจาก หลุมหลอกหลอนกันเล่นสนุกไปวันๆ

ยังสติแตก..ยังมีต่ออีก
โดย ขออีกที [8 เม.ย. 2547 , 11:34:54 น.]

ข้อความ 3
ถ้าเขาอนุญาตให้โพสต์..ก็คงคุยจบเสียทีครับ
โปรเจ็คอะไรที่นับเป็นระดับชาติ ต้องคิดถึงหรือสท้อน คนที่เป็นพื้นฐานของประเทศ ไม่ใช่ชนชั้นปกครอง ไม่ใช่วัดกันที่ขนาดหรือความใหญ่โต แต่ทำอย่างไร จะกระจายทรัพยากรหรือเงินไปให้ทั่วประเทศ ตอนผมได้รับมอบหมายจากคณะฯให้เป็น"ตรายาง" พิจารณาสนามบินที่ว่านี้ ผมบอกท่าน"หัวหน้า" ไปว่า ไม่ควรเลือกมันทุกแบบ และไม่ควรให้มันสร้างสักแบบ เอามาออกแบบเป็นสนามบินเล็กกระจายกันให้ทั่ว ทุกตำบลกันเลย ชาวบ้านจะได้ใช้เดินเล่นหลังเสร็จทำนา ที่ผมสวนกระแสไปนั้น..ไม่ใช่ความคิดนี้จะวิเศษอะไรหรอก เพียงแต่พวกนักการเมืองเขาเลือกสถาปนิกและแบบ กันไว้แล้ว เราจะมาเสียเวลาบริการสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ไปทำไมกัน

ปัญหาสถาปัตยกรรมที่สนองความเป็นชาติที่คุณคุยมา เป็นปัญหา"สมมุติ"บัญญัติกันไป คิด..แสดง..กันไป ได้จนตาย..คุณจะเล่นบทยังไงให้ได้งานได้ผล ก็น่าจะพอแล้ว..เช่นถ้าจะทำเพื่อเป็นวิทยานิพนธ์ ให้จบไปเร็ว ก็ดูผลงานที่อาจารย์คณะเราเขาชอบ ก็ทำไปทำนองนั้นแหละ..ส่วนจะเป็นชาติเป็นไทย ยังไง ก็ขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของพวกครูที่จะให้คะแนคุณ อยากเป็นสถาปนิกบริการ..ก็คิดเสียว่าครูให้คะแนน คือ"เถ้าแก่" แต่งตัวตามบริการที่เขาชอบ ..แต่ถ้า คุณไปบริการเจ้านายแบบ"หลวงพ่อชา" หรือท่าน "พุทธทาส" (ซึ่งมรณะภาพไปแล้ว) ...เผลอๆจะเป็น คนละเรื่อง ความเป็นชาติที่ท่านเทศน์ให้รู้ อาจทำ ให้คุณเลิกเป็น"นางบริการ"ไปเลย

ว่าแต่..คุณไม่ได้กำลังทำวิทยานิพนธ์เอาเปรียญธรรมเก้าประโยคนะครับ.. แต่เอาปริญญาสถาปัตยกรรม ก็ต้องเลือก"เถ้าแก่"ให้ตรง จบไปจากคณะนี้แล้ว..ก็ค่อยว่าเรื่องความเป็นชาติ กันใหม่

ปัญหานี้..ถ้าไม่"ตอแหล"ก็ตอบไม่ได้ เพราะเป็นปัญหาของ เรื่องสมมุติ เป็นปัญหาโลกแตกครับ หาคำตอบ "ตัวเดียวอันเดียว" ไม่ได้ครับ
โดย ทีสุดท้าย [8 เม.ย. 2547 , 11:38:01 น.]

สถาปัตยกรรมกับพลังงานทดแทน

พอดีไม่ได้คุยกับอาจารย์นานเลย เลยอยากถามความคิดเห็นของอาจารย์ว่า ในเรื่องของพลังงานทดแทนที่ดูมีแนวโน้มสูง ว่าจะมาทดแทนการใช้พลังงานเดิมที่มาจากใต้พิภพ ที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าปัจจบันพลังงานทดแทน จะยังไม่มีประสิทธิภาพสูงมากนักแต่ก็มีแนวโน้ม ว่าจะมีการพัฒนาและใช้กันเพิ่มขึ้น และในสถาปัตยกรรมแบบ Green architecture ก็กำลังให้ ความสนใจกันอยู่ แต่ในวงการสถาปัตยกรรมของไทย นี่สิครับ มีการรณรงค์ การประกวด บ้านประหยัดพลังงาน เท่าที่ผมเห็น มักจะไม่มีสิ่งใหม่มากเท่าที่ควร เอะอะก็ช่องเปิด ลมพัดดี มีSolar cell ก็ชนะแล้ว ไม่ทราบว่าอาจารย์คิด เห็นอย่างไรครับ
โดย Wong - [25 มิ.ย. 2549 , 12:11:44 น.]

ข้อความ 1
สำหรับผม..แนวคิดเรื่องสถาปัตยกรรม ควรศึกษาและไตร่ตรองในเชิงของ"องค์รวม" มากกว่าการคิดแบบแยกส่วน ตามที่เราโดนสอนมา

สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ที่เกิดขึ้นและดับไปนั้น มีความเชื่อมโยงแก่กันและกันตลอดเวลา ไม่มีสิ่งใดอยู่เป็นเอกเทศ งานสถาปัตยกรรม ก็เช่นเดียวกัน

สถาปัตยกรรม การดำรงชีวิต ดำเนินชีวิต ฯลฯในบริบท ที่แตกต่างกัน ควรมีผลให้ลักษณะความคิดและการสร้างสรรค์ ต้องแตกต่างกันด้วย แต่เพราะตัณหา..ทำให้เราอยากผูกขาด ความคิดและการกระทำให้มีผลเหมือนๆกัน ก็เหมือน สินค้าบริโภคอุปโภคที่เราเห็นอยู่ในทุกวันนี้

เพราะสถาปัตยกรรมไม่ถูกต้องและเหมาะสม การสิ้นเปลือง พลังงานจึงเป็นปัญหาและเกิดความไม่สมดุลป์ การแสวงหาพลังงานทดแทนจึงต้องมีการดิ้นรนกัน

ผม..จะงดกล่าวถึงการใช้รถยนต์อย่างบ้าคลั่ง และการขยายเมือง อย่างไร้การควบคุม และความเหมาะสมกับบริบทที่ควรเป็น เอาแค่ตึกรามบ้านเรือนที่พวกเราช่วยกันรังสรรค์ ก็อาจพบปัญหาต่างๆมากมาย กิจกรรมการดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยใส่เสื้อผ้าบางๆ ไปเป็นสูทหรือเสื้อผ้าหนาๆ เมื่อร้อนเลยต้องใช้แอร์ กิจกรรมที่เคยอยู่ภายนอกกลายเป็นภายใน พื้นที่ว่างอาคารเลยมากขึ้น ทั้งๆที่ภูมิอากาศในบ้านเราสดใสเป็นส่วนมาก พื้นที่ว่างภายนอกที่เคยเป็นธรรมชาติกลับลดน้อยลง กลายเป็นถนนที่กว้างขึ้นรองรับรถยนต์ที่ใช้แทนอวัยวะ คือขาตัวเองมากขึ้น อุปกรณ์ทางเทคโนฯ ที่มาเสริมแต่งล้วนบริโภคพลังงานทั้งสิ้น

แนวคิดเรื่องการแก้ปัญหาสถาปัตยกรรมในเรื่องพลังงาน มีอยู่สองแนว คือ passive และ active อย่างแรก ก็แบบแนวคิด green architecture อย่างหลังคือใช้ สิ่งประดิษฐ์ทางเทคโนฯ เช่นแอร์หรือโซล่าเซล เข้าช่วย ถ้าสถาปนิกให้ความสำคัญและคิดค้นแบบแรกมากๆ เสริมแบบหลังน้อยๆ พลังงานก็อาจสิ้นเปลืองน้อยลง

การแก้ที่สถาปัตยกรรมแบบมีข้อจำกัด ผมว่าไม่พอ ต้องศึกษาและพิจารณาความเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นๆด้วย ที่สำคัญ คือรูปแบบของการดำเนินชีวิตที่เรายึดถืออยู่ปัจจุบัน ต้องปรับให้เหมาะสมด้วย

อยากให้คุณ Wong ลองกลับไปดูหนังจีนกำลังภายใน ดูฉากหรือสถาปัตยกรรมที่ผู้สร้างพยายามจำลองสิ่งที่น่าจะเป็นในอดีต แล้วกลับมามองสถาปัตยกรรมเมืองร้อนของเราในปัจจุบัน ผมว่าภาพในอดีตก็คงไม่ต่างจาก แนวคิด green architecture ที่เรากำลังย้อนรอยเท่าไรนัก...นะครับ

การมีเวลาทบทวนสิ่งที่เราทำมาแล้ว กำลังทำ หรือจะทำในภายหน้า ผมว่าสถาปนิกทุกคนควรกระทำ และต้องมีความอิสระให้มากพอ ความรู้ที่เรามีก็จะกลายเป็นสติปัญญาที่จะรังสรรค์สิ่งที่ดีและถูกต้องได้มากขึ้น

การใช้ความรู้ ควรเป็นไปพร้อมๆกับการลดละกิเลสตัณหาของตนให้เบาบางลง ยิ่งลดลงมากเท่าไร ความรู้ของเราก็จะกลายเป็นปัญญา ได้เห็นและทำเห็นสิ่งที่ถูกต้องได้มากยิ่งขึ้น...นะครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [29 มิ.ย. 2549 , 13:12:16 น.]

ข้อความ 2
อย่าไปกลุ้มใจกับเรื่องผลการประกวดแบบ
ผมชอบที่ท่าน Frank Lloy Wrigth เคยปรามาสไว้ว่า... แบบที่ชนะการประกวด ก็คือ แบบที่กรรมการยืมมือผู้เข้าประกวดให้กระทำตามที่ตัวเองคิดไว้แล้ว

ในชีวิตการทำงานของท่าน...ท่านจึงไม่เคยเข้าร่วมประกวดแบบ...เลยครับ
โดย ขออีกที [29 มิ.ย. 2549 , 13:30:38 น.]

ข้อความ 3
ขอบคุณครับ