วันอังคาร, ธันวาคม 27, 2548

การออกแบบรีสอร์ท

อยากรู้เรื่องราวรีสอร์ท

กำลังทำโปรเจกรีสอร์ทอยู่ครับ เป็นhealth and spa resort ไม่เคยทำมาก่อน ไม่รู้จะจับต้นชนปลายที่ตรงไหน เลยอยากรู้ เรื่องราวจากพี่และอาจารย์ผู้เปี่ยมซึ่งประสบการณ์น่ะครับ
อยากทราบถึงการวางผังที่มักทำกันในresort projectอย่างละเอียด
อยากทราบถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมที่นิยมและเป็นที่ชมชอบ
อยากทราบว่าระหว่างการวางอาคารเล็กๆกระจายเป็นหลายๆหลัง กับวางเป็นอาคารmassใหญ่ๆหลายๆชั้น ในโปรเจกรีสอร์ท อย่างไหนมีประสิทธิภาพและงดงามกว่ากัน
ส่วนของsoftscapeที่เป็นน้ำ ควรมีสักกี่ส่วนของพื้นที่ทั้งหมด
และอื่นๆที่จักควรแนะนำแก่ข้าน้อย ขอบคุณมั่กครับ
โดย นกเจ่า - [9 พ.ย. 2546 , 22:47:56 น.]

ข้อความ 1
ต้องการหาคำตอบแบบนี้...เรียนง่ายดี จะเอาไปใช้ทำแบบทีสิสหรือไง...ถ้าใช่ ไม่มีความรู้เรื่องนี้มาก่อนเลย แล้วเอาไปทำทีสิส จะต้องใช้เวลาเรียนรู้ อาจนานจนรับปริญญาไม่ทันแน่เลย
การเรียนรู้กันเยี่ยง "กัลยาณมิตร" ตนเองต้อง ซื่อสัตย์ เสนอความรู้ของตนเองก่อน อย่างเปิดเผยและจริงใจด้วย ใช้กลยุทธ์ "โยนหินถามทาง" จะเข้าท่ากว่า
กระทำได้อย่างนี้..แล้วผู้อื่นจึงจะร่วมแจมได้
ตามหลักธรรมะ จะรับ"ทาน"จากผู้อื่น ตนเองต้องให้"ทาน" ก่อน การเรียนรู้ก็เช่นกัน ต้องพึง"ให้" แก่กันและกัน อย่าเอาแต่อ้าปากคอยให้คนป้อน..ท่าเดียว
เสียศักดิ์ศรีความเป็นนสิตและสถาปนิกในภายภาคหน้าเอานะครับ
โปรดอย่าโกรธ....ที่เตือนมา
โดย เพื่อนอาจารย์ [19 พ.ย. 2546 , 11:09:11 น.]

ข้อความ 2
ความจริงแล้ว ผมก็ไม่ได้ความรู้น้อยนิดติดพสุธาขนาดที่คุณเพื่อนอาจารย์ติมาหรอกครับ บทความของผมในที่นี้ครั้งหนึ่งคุณเพื่อนอาจารย์ก็เคยเอาไปลงประจานในหนังสือเล่มหนึ่งสีขาวมาแล้ว คงจำย้ำเตือนกันได้นะครับ เพราะครานั้น ผมได้ร้อยเรียงเคียงความเป็นภาษาต่างประเทศไว้ แถมได้กะแดะใช้ชื่อนามว่าGloriaอีก ก็เป็นแค่กระผีกหนึ่งแห่งอดีต ก็ไม่อยากรื้อฟื้นแล้วครับ ที่ลงถามห้วนๆสั้นๆพลันนั้น เพราะเนื่องด้วยวันที่ลงไว้นั้น มีเหตุจำเป็นที่ต้องพิมพ์อย่างรวดเร็วฉับพลัน ไม่ทันได้แสดงลีลาท้าประลองใคร ผมกล้าบอกได้ว่า ผมก็พอที่จะมีหินขนาดหนึ่งที่สามารถปาหัวคนธรรมดาๆให้ตายคาโต๊ะดราฟได้สบายๆอยู่เหมือนกัน และคำถามที่ลงไป ก็ไม่ได้ใคร่อยากจะรู้ขนาดนั้น เพราะลำพังตนเองก็สามารถค้นหาได้ไม่ยากเย็น ก็ทุเรศตัวเองเหมือนกันที่เข็นคำถามโง่ๆออกไปเป็นครั้งแรก..........
โดย นกเจ่า [20 พ.ย. 2546 , 23:50:37 น.]

ข้อความ 3
ผมก็พอจะได้ความตามที่คิด ว่าโปรเจกเฉกนี้ ทำเป็นdeconstructionก็คงไม่งามไม่งดหมดจด ครั้นจะทำงานmodernแบบเดิมๆเสริมหลังคาhipใหญ่ๆเพื่อให้ผู้ไม่รู้ ดูว่าไทย ก็รู้สึกตะหงิดๆ ผนวกกับอาจารย์ท่านหนึ่ง ที่ตรวจแบบ กล่าวไว้อย่างน่าฟังจังเลยว่า "ก็ทำให้มันดูเป็นไทยๆ ทำๆไปเหอะ ฝรั่งเค้ามาดูก็ไม่รู้หรอก" ห้ามตนเองให้ไม่คิดไม่ได้ ว่า ถ้าท่านอาจารมาสเตอร์architectไทยท่านใดท่านหนึ่ง เกิดได้มาดูงาน"ไทยๆ"ที่ว่านี่ ก็คงแอบดูถูกอยู่ไม่น้อย นิสิตสถาปนิกส่วนใหญ่(รวมทั้งที่จบออกไปแล้วบางท่าน)ยังมีความคิด และผลงาน ออกมามีไม้ยมกตามมาด้วยตลอด เช่น "ไทยๆ" "modernๆ" "สวยๆ"...แต่ไม่ยักกะไทย ไม่ยักกะโมเดอน แล้วบางรายก็ไม่เห็นจะสวย เพราะทำเพราะคิด โดยไม่รู้ว่า ไทย เป็นอย่างไร modernเป็นอย่างไร สักแต่ว่าดูเหมือนๆ ก็พอใจ ไปห้องสมุด ก็ฉุดเอานิตยสารสวยๆ เอามาลอกมุมนู่นมุมนี่ ลอกแปลน แต่ตัวหนังสือไม่ยักกะอ่านสักตัว จึงไม่แปลก ถ้าเค้าจะบอกว่า เราอ่านหนังสือกันเฉลี่ยแล้ว6บรรทัด
โดย นกเจ่า [20 พ.ย. 2546 , 23:51:49 น.]

ข้อความ 4
เห็นตอนปีก่อน deconมาแรง ก็แรงตามกระแส ทำมันกันทั้งสตู รู้บ้างหรือไม่ ว่าปรัชญาของมันเป็นอย่างไร หลักการจัดองค์ประกอบของdeconเป็นอย่างไร รู้จักไหม superimposition รู้มั้ย ว่าทำไมต้องยุ่ง ก็ทำให้มันเฉียงๆ ดูเท่ห์ก็เจ๋ง ส่งและ อาจารย์บางท่านก็พลอยเออออไปด้วย เพราะก็ไม่รู้เรื่องพอกัน มาปีนี้งานแบบไทยมาแรง ก็จะทำมันแบบ"ไทยๆ"กันอีก กระหนกสักตัว เคยอยากจะเข้าใจบ้างหรือเปล่า เข้าถึงรูปทรงของมันที่derivedมาจากธรรมชาติบ้างไหม เส้นจอมแหคืออะไร รู้กันบ้างไหมว่าconแบบไทยมหัศจรรย์พันลึกขนาดไหน ผมว่ามันต้องรู้ขนาดนี้ก่อนนะ แล้วค่อยเอาไปดัดแปลง แฝง"ไม้ยมก"เข้าไป ผมเห็นเด็กถาปัดเดินมาคณะ ปั่นงานตรวจแบบแล้วก็เดินกลับ ไปดูหนัง ไปเที่ยว ไม่ขยันหน่อย อารมณ์หุ่นไขลาน ก็ตรงรี่กลับบ้านไปคิดแบบต่อ รอวันตรวจแบบอีกครา ช่วงนี้ มีศิลปะดีๆระดับประเทศ หรือระดับโลกด้วยซ้ำ มาโชว์ที่ฝั่งตรงข้าม ไม่เห็นจะเคยโผล่หน้าไปดูกันสักที นานๆจะเห็นเด็กถาปัดสักคน เด็กคณะอื่นยังจะเยอะกว่าอีก แล้วอย่างงี้วงการสถาปัตยกรรมจะเทียบระดับโลกได้เมื่อไหร่ เพราะสอนกันแต่ให้อยู่รอดในวงการสถาปัตย์เมืองไทย ต้องตามลูกค้า เอาใจลูกค้าบ้างล่ะ เราเป็นsalemanขายแบบบ้างล่ะ ยัดใส่หัวใส่จิตสำนึกนิสิตกันต่อๆไป ยิ่งรุ่นต่อๆไปงานก็ยิ่งเห่ยลงๆ ความเป็นครูกับศิษย์ ความเป็นวิชาช่าง ไม่เห็นจะเหลือหลอแล้ว ไม่รู้ทำไมพอถึงประเพณีอะไรๆก็ยังต้องเติม"ช่าง"ต่อหลังทุกที สิ่งเหล่านี้มันก็มีeffectต่อไปถึงคนทั่วไป ให้ไร้ซึ่งรสนิยมเรื่อยๆ ทำกันมาอยู่ได้ กล่องคอนกรีตขาวๆ อยากรู้ ว่าจะมีสักกี่คน ที่เดินผ่านแล้วเหลียวมองกล่องพวกนั่น เพราะมันก็เหมือนๆกันไปหมด เป็นผลจากการถูกล้างสมองด้วยสื่อเมืองนอก นิตยสารGA ทำออกมาอย่างนั้นแหละ ลืมรากตัวเองกันไปหมด... ขอโทษครับ ที่ออกความเห็นรุนแรงไปหน่อย พอดีกะลังweakๆ ก็เลยระบายออกมา หวังว่าคงไม่ด่าว่าหาความผมนะครับ ก็แค่ความเห็นจากหน่วยเล็กๆอย่างผม ที่เผอิญมีbackgroundต่างจากคนอื่นๆนิดหน่อย ยังไงก็ขอบคุณๆเพื่อนอาจารย์นะครับ ที่ติเตือนมา ผมอยากให้อาจารย์เป็นอย่างนี้ทุกๆท่าน เพราะถ้าเป็นผม เห็นกระทู้ถามเว้าซื่อๆโง่ๆเยี่ยงนี้ ก็คงทำเฉกเดียวกัน ขอบคุณครับ
โดย นกเจ่า [20 พ.ย. 2546 , 23:52:12 น.]

ข้อความ 5
อ้อ ผมหารูปสวยๆมาลงไว้ให้คุณเพื่อนอาจารย์นะครับ เห็นว่าคุณเพื่อนอาจารย์ ช่างล้ำลึกในพระพุทธศาสนาโดยแท้ ทั้งปรัชญา และอุบาย นับถือๆครับ
โดย นกเจ่า [20 พ.ย. 2546 , 23:58:00 น.]

ข้อความ 6
ดีใจยิ่งนักที่ได้พบคุณอดีตGloria อีก เลยต้องรีบคุยมา
ก่อนอื่นต้องขอโทษด้วยหากสิ่งที่คุยไปทำให้เกิดอารมณ์ เพียงแต่โยนหินถามทางผิดไปหน่อย แต่ได้หินชั้นยอดโยนกลับมา
อย่าเรียกว่าการที่นำการพูดคุยกับคุณ Gloria ในครั้งกระโน้น เป็นการประจาน เลยครับ แท้จริงแล้วเป็นการยกย่องกันมากว่านะครับ
ผมขอขอบคุณด้วยซ้ำที่พวกคุณๆทำให้ผมต้องสำรวจตัวเอง ขวนจวายแสวงหาความรู้เสียบ้าง อย่าคิดว่าสวมหัวโขนในความเป็น "ครู" แล้วจะวิเศษหรือเก่งกว่าศิษย์เสมอไป การแสวงหาความรู้จากการวิสัชชณากันและกัน ไม่มีคำว่าศิษย์หรืออาจารย์นะครับ
ผมเองก็มีส่วนรับผิดชอบการเรียนรู้ที่คณะฯนี้อยู่ด้วย ก็ยอมรับว่ายังมีความห่วยแตกอยู่มาก ยังต้องพัฒนากันตามกาลอยู่เรื่อยไป
ยิ่งมีผู้ร่วมด้วยช่วยกันอย่างเช่น คุณนกเจ่า หรือ Gloria (ก็ตาม) ผมเชื่อว่าการศึกษาที่นี่คงยังไม่ตายสนิทแน่ครับ
กำลังจะปลีกวิเวกไปจากบอร์ดนี้อยู่แล้วเชียว เพราะทำท่าจะเซ็งๆ พอเจอคุณนกเจ่า หัวใจผมกลับดันเต้นคึกคักขึ้นมาอีกเฮือก
เพราะยังไม่อยากให้บอร์ดนี้หมดคุณค่าของชุมชนเพื่อการศึกษาและความเป็นกัลยาณมิตรทางวิชาการ...จริงๆครับ
ขอขอบคุณ...ที่ส่งเสียงมาอีก..นะครับ ขอบคุณในทุกสิ่งที่ให้มาครับ
โดย เพื่อนอาจารย์ [21 พ.ย. 2546 , 01:45:22 น.]

ข้อความ 7
ถ้าอยากให้คุยเรื่องรีสอร์ทตามที่ตั้งกระทู้ ก็ขอให้บอกมานะครับ ยินดีคุยเรื่องนี้ โดยเฉพาะกับคุณเป็นพิเศษเลยครับ
เรียนอยู่ที่ภาคภูมิสถาปัตยกรรมหรือครับ?
โดย ขออีกที [22 พ.ย. 2546 , 02:08:20 น.]

ข้อความ 8
มิได้ๆครับ วันก่อนขออภัยอย่างรุนแรง ที่ได้แสดงตัวตนรุนแรงชนิดกระตุกขนหน้าแข้งหลายๆคน ต้องขอโทษจริงๆครับ ขอโทษคุณเพื่อนอาจารย์ด้วย เพราะยังไงเสีย ผมก็เป็นคนไทย ซึ่งยังต้องนับถือครูบาอาจารย์(ที่มีวิญญานแห่งครู)อยู่เหนือหัวไว้ก่อนแหละครับ ไม่เช่นนั้น เราก็จะเหมือนต่างชาตืไป ซึ่งก็อาจทำให้ทุกอย่างเจริญขึ้น แปลผกผันกันกับวัฒนธรรม และไม่ใช่ครับ ผมเรียนอยู่ภาคสถาปัตยกรรมธรรมชาติๆนี่แลครับ แต่เผอิญผมมีภูมิหลังต่างจากคนอื่นๆหน่อย เลยอาจมองบางอย่างจากดวงตาที่ต่างไป และก่อนหน้านี้ ผมก็เคยคิดอยากจะเข้าศิลปกรรมอยู่บ้าง(แต่ตอนนี้ไม่แล้วนะครับ แต่ก็ยังมีความคิดและมุมมองแรงไปหน่อย)แต่มาเข้าสถาปัตยกรรม เนื่องด้วยเห็นว่า จิตรกรรม สัจธรรมมันก็เป็นเพียงผืนผ้าใบเรียบๆ เป็นงานสำหรับผู้ที่เหนือไปแล้ว จึงจะได้แก่นสาระจากงานเหล่านั้น แต่สถาปัตยกรรม คือจินตนาการแห่งจิตรกรรม ที่ ถูกปั้นแต่งขึ้นบนโลกความจริง เพื่อปลอบโยนวิญญานของทุกผู้หมู่คน ทุกชนทุกชั้น ไม่กั้นแบ่งแยก แต่พอเข้ามา บางครั้งครา ก็เหนื่อยๆกับความเป็นไปของที่นี่เล็กๆ จนไม่รู้ว่าจะมีศิลปินแห่งชาติสถาปัตยกรรมไปทำไม ในเมื่อไม่เห็นสอนความเป็นศิลปินให้นิสิตเลย สอนแต่การเอาตัวรอด ถ้าผมมองจากมุมมองของคนนอกแล้ว ก็ต้องขอบอกว่า นิสิตหลายคนที่นี่นี้ธรรมดามากๆจนน่าเศร้า ความคิดความอ่านน้อยมาก It only needs a thought to create. ผมว่าความคิด สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดนะ แม้จะไม่ได้เป็นtect แค่คนขายข้าวมันไก่ที่เคยเจอ ยังมีความคิดน่านับถือกว่าเด็กถาปัดหลายๆคน ถ้าเอาคนขายข้าวมันไก่คนนั้น มาเรียนถาปัดได้ น่าจะดี... ส่วนเรื่องรีสอร์ท ถ้าได้ความกรุณาจากอาจารย์ ก็จะดีมากๆครับ ขอบคุณครับ

โดย Nokjao [23 พ.ย. 2546 , 23:43:16 น.]

ข้อความ 9
ข้อความที่โม้..ยาวไป เลยต้องแบ่งเป็นตอนๆ
ความคิด ความตั้งใจ ที่จะเรียนรู้เพื่อค้นหา ความรู้ที่ "เป็นจริง" ซึ่งเราอาจไม่รู้ชัดได้ แต่จะมี เป็นดรรชนีบางตัวชี้ถึงการพัฒนาชีวิตที่ดีเกิดขึ้นได้ครับ ถ้าลองศึกษาทฤษฎีความรู้ที่อ้างถึงเหตุปัจจัย เช่นในเรื่องของพุทธศาสนา หรือศาสนาอื่นๆ ไม่เว้นแม้ "ศาสนา" ใหม่ที่เราเรียกกันว่า วิทยาศาสตร์ เราก็อาจเข้าในเรื่องของสรรพสิ่ง ที่เชื่อมโยงกันนั้น เป็นอย่างไร ก็เกิดสิ่งอย่างนั้น
ผมคิดว่าบางครั้ง..เราอาจต้องละสิ่งสัมผัสนอกตัวเรา เช่นคนอื่น ถ้าเขาจะเป็นอย่างไร อะไรที่ไม่ดีไม่งามเราก็อย่า ไปลุ่มหลงรวมเข้าไปอีกคน ก็หมดทุกข์...ผมเองก็มีอารมณ์ ดุเดือดเลือดผล่านในเรื่องของคนอื่น? หรืออะไร? มีเรื่อง นอกตัวที่เราขัดแย้งมาก่อน แต่พอนานเข้า ค้นหาชีวิตเราไปรื่อยๆ ก็จะทำให้ผ่อนคลายอารมณ์บ่จ๋อย ลงไปได้มากเลยครับ เพราะ รู้จักตัวเองมากขึ้นๆ
อย่างไรเสีย...อย่าลืมคำที่ผู้รู้ มักกล่าวไว้ว่าเราต้องตระหนักถึง "ความเป็นบัณฑิต ที่พึงมีความอ่อนน้อมถ่อมตน" ไว้เสมอๆนะครับ
(มีต่อนะครับ)
โดย เพื่อนอาจารย์ [24 พ.ย. 2546 , 15:31:15 น.]

ข้อความ 10
เผอิญผมได้หนังสือแปลเรื่อง .."ทำเมืองให้น่าอยู่" The GAIA Atlas of Cities หาซื้อได้ที่ร้านซีเอ็ด หนังสือจะเน้นถึงบริบทของความเป็นระบบทางนิเวศวิทยา งานออกแบบสถาปัตยกรรมรีสอร์ท ...ผมคิดว่า น่าต้องเติมเรื่องทำนองนี้ลงไปบ้าง บางทีถ้าเราเห็นด้วย ก็อาจทำให้กระบวนทัศน์ในการออกแบบเปลี่ยนแปลงไป เพราะในพื้นที่แต่ละแห่ง หากเราพิจารณาความเป็นองค์รวมในบริบท ที่เกี่ยวข้องกัน การออกแบบสถาปัตยกรรมที่แต่งเติมลงไป ก็ไม่น่าจะมีรูปแบบเดียวกันหมด และเป็นอย่างอดีตเสมอไป เท่าที่ผมสังเกตุ การเติมใส่อย่างลุ่มหลงในวัตถุสถาปัตยกรรม เกินไป อาจทำลายความสมดุลย์ของระบบนิเวศโดยที่เราไม่รู้ ซึ่งเป็นปัญหาที่เรากระทำกันมาในแทบทุกสาขาวิชาในอดีต พวกเราแทบทุกคน มักถูกประนามว่ากำลังทำให้โลกธรรมชาติ หายนะลงไปทุกๆวัน โดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ครับ
โปรดอย่าไปโทษคณะฯที่ละเลยเรื่องพื้นฐานทางความคิดนี้ เพราะการศึกษาอะไรติดยึดแบบแยกส่วน เราก็อาจไม่เห็น ความสัมพันธ์ของระบบที่เป็นองค์รวม แต่ถ้าเราคอยตระหนัก และทบทวนความรู้อยู่เสมอๆ เราก็อาจพัฒนาให้สร้างปัญหา ได้ลดน้อยลงไป ไม่จำเป็นต้องจับเจ่ากันแต่ความรู้ในคณะนี้
(มีต่อครับ)
โดย ขออีกที [24 พ.ย. 2546 , 15:35:40 น.]

ข้อความ 11
ผมเองก็พยายามพัฒนาการเรียนรู้อยู่แทบทั้งชีวิต นี่ก็กำลังศึกษาเรื่องการออกแบบโรงพยาบาลกับนิสิต พยายามนำเสนอเรื่องการทบทวนกระบวนทัศน์สุขภาพ กันเสียก่อน แล้วค่อยตามเรื่องการออกแบบรูปแบบสถาปัตยกรรม ที่ให้สอดคล้องกับกระบวนทัศน์ทางสุขภาพใหม่ๆที่เปลี่ยนไปแล้ว อย่างเช่น เทคโนโลยีในอนาคต ที่ประยุกต์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติใหม่ๆ เราอาจสามารถรักษาสุขภาพพื้นฐานด้วยตัวเองได้เอง โรงพยาบาลอาจเป็นสถานที่แค่ช่วยเติมเพิ่มความรู้ในการดูแล สุขภาพของพวกเราให้ดีขึ้นไปอีกเท่านั้น อาจไม่ใช่เช่นโรงฆ่าสัตว์ หรือซ่อมสัตว์ แบบผิดๆพลาดๆทั้งในกระบวนการรักษาและการ ออกแบบสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาลอย่างที่เป็นอยู่ก็ได้นะครับ
ผมอาจโม้แบบไม่เห็นคำตอบที่เป็นรูปธรรมจะๆ แต่เชื่อว่าถ้าแนวคิด ของสถาปนิกทันสมัย ทันพอๆกับวิทยาการในสาขาต่างๆที่พัฒนาไป รูปแบบสถาปัตยกรรมที่แต่ละคนนำเสนอ ก็น่าถูกต้องแน่นอน และมีความ หลากหลายมากๆ ซึ่งล้วนเป็นเรื่องการส่งเสริมชีวิตที่ดีงามกันทั้งนั้น
การออกแบบรีสอร์ทก็เช่นกัน หากเน้นที่คุณภาพของระบบนิเวศ ที่เราควรจะถนอมกันไว้ รูปแบบสถาปัตยกรรม ก็อาจมีความอ่อนน้อม ถ่อมตนมากกว่า หรือแตกต่างจากที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบันก็ได้ ซึ่ง การศึกษาน่าจะลองรับการเสนอของครูและนิสิตทุกๆคน งานการศึกษา จะไม่ใช่แค่หากันในห้องเรียน หรือในสาขาวิชาของเราเพียงเท่านั้น การศึกษาแบบสหวิชา จึงจำเป็นมากขึ้นในอนาคต เช่น วิชาชีวพันธุกรรม อาจต้องนำมาเสริมความคิดในการออกแบบรีสอร์ทก็ได้
สนใจเรื่องปัญหาหรือความรู้ทางระบบนิเวศวิทยา ลองหาทางพูดคุย กับอาจารย์ในภาควิชาอื่น เช่นภูมิสถาปัตยกรรม เช่น อจ. ดร. ดนัย เป็นต้น คุณอาจได้แนวทางศึกษาที่ลุ่มลึกต่อไปได้ โครงการออกแบบ รีสอร์ทเท่าทีผมสัมผัส มักเลียนแบบชุมชนโบราณ ที่เกิดขึ้นเพราะ เทคโนโลยีที่จำกัดในขณะนั้น เป็นรูปแบบ "หมู่บ้านท่ามกลางป่าเขา" ซึ่งมีผลกระทบทางนิเวศน้อยกว่าปัจจุบัน หากเรายังเลียนแบบคนโบราณ กันอีกต่อๆไป เพราะด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่ไม่เหมือนกัน เราอาจเลือกใช้รูปแบบปัจจุบัน ที่สร้างผลกระทบกับธรรมชาติได้น้อย กว่ามาก และก็ไม่จำเป็นต้องคงรูปแบบเดิมๆ
(ยังไม่หมดครับ)
โดย อีกที [24 พ.ย. 2546 , 15:39:52 น.]

ข้อความ 12
ผมเคยตรวจทีสิสโครงการณ์ทำนองนี้ เห็นแล้วก็มีอารมณ์เช่นที่คุณ ตำหนิมานั่นแหละ บางโครงการ ไม่บอกเรื่องแหล่งพลังงานที่จะ ป้อนให้โครงการกันเลย หรือจะหาวิธีสงวนพลังงานกันอย่างไร บางโครงการยึดครองที่สาธารณะ สถาปัตยกรรมกลายเป็น "จรเข้ ขวางคลอง" เลยก็มี สำมะหาอะไรกับการลงลึกในรูปแบบที่แก้ปัญหา เชิงระบบนิเวศวิทยา ซึ่งพวกเราตระหนักและสะสมความรู้กันยังน้อยมาก
เราคงต้อง"ปฏิวัติ" ความคิดกันทุกๆคน เพื่อความรู้ที่ถูกต้องให้มากที่สุด ทั้งจากผู้ปกครอง และประชาชนที่ถูกปกครอง ไม่งั้น คณะศึกษานั้น ชุมชนนั้น หรือประเทศนั้น คงต้องล่มสลายในไม่ช้า โลกในอนาคต มีผู้รู้โม้ว่า ..จะเป็น โลกที่ซื้อขายความรู้เพื่อหารับประทานกัน ถึงจะรวยเร็ว จะเป็นสถาปนิก รวยเร็ว ต้อง "ขาย" ความคิด ที่เป็นความรู้ ตรงกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ปัจจุบัน จึงจะร่ำรวยได้ (ทั้งเงินทั้งบุญ) ...แม้ว่าอาจจะ.. เจ้งหรือขาดทุน กันก่อนในคณะนี้ ....ตอนส่งโปรเจ็ค หรือทีสิส ..นะครับ
จะเอากันอย่างไรดี...ครับ
โดย และก้อ..อีกที จบภาคแรก [24 พ.ย. 2546 , 15:47:14 น.]

รากเง่าคนไทย












คนไทยด้อยกว่าต่างชาติตรงไหน? -------------------------------------------------------------------------------- จากสายตาเด็ก(เคย)นานาชาติอย่างผม บอกได้เลยครับ ว่าต่างกันอย่างเห็นได้ชัดที่ความคิด คนไทยไม่(ค่อยอยาก)รู้จัก ไม่ยอมรับ รากของตน แต่กลับพิศวงกับค่านิยมต่างประเทศ ทั้งญี่ปุ่นหรือแถบตะวันตก ทั้งๆที่ประชาชนในประเทศนั้นเขานับถือรากตนเอง และถือว่าประเทศตนเองนั้นเหนือกว่าใคร คนไทยเราไม่ค่อยมีตรงนี้ อย่างTadao Andoเค้าออกแบบงานแนวใหม่ แต่ก็ไม่ได้ละเลยความเป็นShinto เป็นเซนในงานเค้า เพราะมันทำให้เป็นเขา เป็นชาวญี่ปุ่น เป็นงานที่เขาเท่านั้นออกแบบได้ พอเราๆมาเห็น ก็...ก็อปงานเขามา หารู้เนื้อหาสาระในนั้นไม่ นี่แหละ ที่แตกต่าง... โดย Chiaroscuro aka Gloria [18 มิ.ย. 2547 , 15:15:11 น.] ข้อความ 1 เพราะว่ามันมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องกันซะจิง คนไทยนับถือฝรั่งมากกว่าคนไทยด้วยกันเองนี่มันก็หมักหมมมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ฝรั่งมีแต่ของดีของเจ๋งมาให้(ซื้อ)ตั้งแต่ปีมะโว้ เราก็ยังตะบี้ตะบันซื้ออยู่จนปัจจุบัน ผิดกะญี่ปุ่นที่เค้าเอามาแล้วก็มาศึกษาจิงจัง คิดเอง พัฒนาเอง บางอย่างดีกว่าฝรั่งอีก อันนี้นี่มันก็สืบเนื่องมาจากวิธีคิดและระบบสังคม วัฒนธรรมโดยแท้ คนไทยอยู่สบายในน้ำมีปลาในนามีข้าว อากาศร้อนกินแล้วก็นอนสบายๆ ใครจะมานั่งคิดประดิษฐ์อะไร แต่จิงๆญี่ปุ่นนี่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ไม่เถียงนะที่แบบว่ายังไม่ลืมราก แต่หันมาดูวัยรุ่นญี่ปุ่นสมัยนี้สิ ก็ดูproฝรั่งมากพอควรเลยนะ อย่างสถาปัตย์นี่ก็ต้องพูดกันอีกต่างหากเรยเพราะว่ายิ่งมีปัจจัยเฉพาะfieldนี้อีกมากมาย ที่ทำให้เค้ายังสามารถถ่ายทอดเอกลักษณ์ชาติออกมาได้ โดย กัมสลากัมสลัมกัมสลามานัม [19 มิ.ย. 2547 , 00:00:05 น.] ข้อความ 2 ผมอยากจะเริ่มตรงที่...พระท่านสอนว่า.. คนเรามักชอบมองเห็นแต่คนอื่นๆ ไม่ ชอบมองกลับมาที่ตนเอง..เลยไม่เห็นตัวตน หรืออาจคิดว่าตัวของเราของๆเรา มาดูเมื่อไร ก็ได้..ตอนนี้เอาเป็นดูหรือเลียนแบบคนอื่นก่อน หากไม่เข้าท่าหรือเบื่อดูคนอื่นแล้ว จึงกลับมาดู ตัวเอง ...ยิ่งคนแก่ใกล้ตาย..จะนึกแต่ของๆตัวเอง บางทีรากเน่าๆก็ยังมัวชื่นชมจนตัวตาย..อัตตานี้ แหละเป็นปัจจัยให้เวี่ยนว่ายกันในวัฏฏไม่สิ้นสุด เผลอๆเราก็อาจเคยเป็นเช่นอันโด๊..อันเด๋กันมาแล้ว เพราะพระท่านเคยบอกว่า คนคนหนึ่งมีเวลาการ เวียนเทียนเกิดตายมานับครั้งไม่ไหว เก็บกระดูกของ แต่ละภพชาติมากองรวมกัน สามารถกองได้สูงไม่ แพ้ความสูงเขาพระสุเมร...อีเวอเรส เรื่องของการติดยึดในเชื้อชาติเผ่าพันธ์..ผมว่าเป็น สัญชาตญาณหนึ่งของมนุษย์ หากเชื่อแน่ว่าตัวมีดี ก็คงอวด แต่ถ้าไม่แน่ใจก็อาจอุบไว้ก่อน เลียนแบบ มนุษย์ฝูงอื่นที่ดังกว่า ..เพราะเผลอๆก็อาจได้เดินตาม ฝูงอื่นๆนั้นได้ การเลียนแบบคนอื่น..ผมว่าทำได้ไม่นาน มันคง ไม่ฟิตกับกำพืดตัวเองสักวันใดก็วันหนึ่ง ...แต่อายุ ยังเยาว์ ก็ต้องชอบลอง ลองเล่นของเล่นคนอื่น มัน อาจเป็นการพัฒนาประสบการณ์ได้เหมือนกันนะ ในทางการเมืองกลุ่มคนที่รักกำพืดตัวเอง มักเป็น ชนชั้นปกครอง ไม่อยากให้คนในฝูงแยกฝูงออกไป ชอบคนฝูงอื่น เพราะพวกตนจะเหงา เลยมักหลอกล่อ ออกอุบายต่างๆนานาให้ช่วยกันรักฝูงรักเผ่าพันธ์ เกิดมาคลานได้เชื่องช้าอย่างไร ก็เอาไว้อย่างนั้น โดนสัตว์อื่นคลานเร็วไปแย่งอาหารได้ก่อน ก็ไม่สน ยอมตายเพื่อรักษากำพืด"คลานช้า"ไว้จนตาย สัตว์พันธ์นี้ ปู่ดาร์วินบอกว่ามักสูญพันธ์ในที่สุด เพราะโม้ไว้ยาว...เลยมีต่อ โดย คนชอบโม้ [21 มิ.ย. 2547 , 10:07:23 น.] ข้อความ 3 เรื่องของกำพืดหรือการติดยึดในคุณค่าต่างๆของเผ่าพันธ์ พระท่านเลี่ยงไปว่า...เป็นเรื่องของสมมุติบัญญัติ ตั้งกันคิดกันเชื่อกันมาเอาเอง ความเป็นจริงไม่มี เพราะถ้าคนไทยยึดกำพืดเดิมๆ..ศาสนาพุทธก็คงรุ่งเรือง อยู่ในเมืองไทยขณะนี้ไม่ได้ โลกมันเปลี่ยนแปลงกันทุกวัน เราก็ควรเปลี่ยนมัน ตามไป อะไรยึดไว้ได้ก็ยึดไว้ ที่ไม่ได้ก็ต้องปล่อยวางบ้าง เรื่องรูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นเรื่องปาหี่ เปรียบ กับสินค้าก็เหมือนการสร้างยี่ห้อ ก็ว่ากันไป ไม่อยาก ให้คนในฝูงหมั่นไส้ ก็รักษากำพืดไว้หน่อย มีแบร์นไทยๆ ส่วนแบบไหน เป็นรากแท้รากเทียม รากที่เป็นสากล รากทางปรมัตตธรรม จะรู้หรือไม่ก็ว่ากันอีกเรื่อง ค้นกันจนกว่าจะค้นพบรากแท้ๆ ของทุกๆคนจริง นั่นแหละ โลกก็จะถึงวันเวลาอวสาน...วันสิ้นโลกจริงๆ ก็คงต้องเล่นปาหี่สถาปัตยกรรม.....กันต่อไปเรื่อยๆ ...นะครับ โดย โม้อีก [21 มิ.ย. 2547 , 10:13:11 น.] ข้อความ 4 เมื่อวานเราคุยกันในชั้นเรียนปีห้า วิชาสัมมนา โดยมีอจ.ดร.รชพร ชูช่วย ให้ข้อคิดของอิทธิพลทางความคิดของ ตะวันตกที่มีต่อการศึกษาและออกแบบ สถาปัตยกรรมในบ้านเรา มีประเด็นที่น่าสนใจหนึ่งคือ องค์ความรู้ ที่เกิดจากการบันทึกหรือรวบรวมความรู้ต่างๆ ของชุมชนหรือของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน อัน จะนำไปพัฒนาเป็นวิทยการอื่นๆต่อไปนั้น ทางประเทศตะวันตกเขากระทำเรื่องนี้กันมาก่อน มหาวิทยาลัยแห่งแรกก็เริ่มกันที่นั่น การเรียนรู้ ก็ได้แพร่หลายไปสู่คนทุกระดับของประเทศ ไม่กระจุกกันในแค่ชนชั้นปกครอง ความรู้เมื่อมีการแพร่ขยายก็มีพัฒนาการ วิทยาการต่างๆเกิดขึ้นตามมา วิชาสถาปัตยกรรม ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง และมีความเชื่อมโยงกับ วิชาการสาขาอื่นๆ ประเทศเราหรือในแทบทุกชุมชนทุกประเทศ ก็มีความรู้ต่างๆ(เพื่อการอยู่รอดของชุมชน)ของตน เกิดขึ้นกันทั้งนั้น แต่เผอิญเราไม่เคยคิดสร้างองค์ความรู้เหล่านี้ไว้เพื่อ ประโยขน์แก่คนอื่นๆในชุมชน หรือเพราะไม่มีวิทยาการการบันทึกที่ดีพอ หรือไม่ชอบการบันทึก ความรู้หลายเรื่องก็เลยถูกลืมและสูญหายไป ครั้น พอทางตะวันตกเกิดแหล่งเรียนรู้ ผู้นำของเราก็จึง ตระหนักถึงความสำคัญนี้ มหาวิทยาลัยเลยเกิดขึ้น แต่เราต้องเรียนรู้ในเรื่องที่เป็นองค์ความรู้ของ ชนชาติอื่น เรียนไปเราก็พัฒนาการเป็นวิทยาการ ไปใช้กันอย่างทุลักทุเลกันตลอดมา โดยเฉพาะทาง ด้านสถาปัตยกรรม เพราะเราสร้างหลักการออกแบบ จากรากเง่าความรู้ของตะวันตก พอมารู้ตัวและอยากอวดรากเง่าหรือความรู้ของตนเอง เราก็ไม่รู้เพราะหาความรู้ไม่เจอ เพราะไม่มีองค์ความรู้เรื่องของสถาปัตยกรรมที่ยอมรับทั่วกัน มาก่อน การเรียนรู้เรื่องสถาปัตยกรรมจึงกระจัดกระจาย จับเอาได้เป็นแบบรากแขนงฝอยๆ การปลูกฝัง รากเง่าความรู้พวกนี้ก็ขาดๆเกินๆ จับหลักประเด็น ได้ยาก ความรู้ความเข้าใจและการแพร่หลาย ก็เลย ไม่หยั่งลึกลงในสำนึกของคนในชาติทั้งมวล ไม่ได้ ผลสรุปที่เป็นแก่นสารและการยอมรับได้โดยทั่วกัน ขณะนี้เรากำลังเริ่มย้อนรอยสร้างองค์ความรู้ โดย เฉพาะสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งเรามีกันมาก่อน แต่ ไม่เคยรวบรวมกันไว้เป็นองค์ความรู้เพื่อการแจก แถม หากมีการกระทำเพื่อสร้างองค์ความรู้นี้ต่อไป แม้ว่าจะได้องค์ความรู้จากรากที่จริงบ้างเท็จบ้าง ก็ยังดี และอาจหลงยึดถือเป็นรากเง่าสมมุติของเราได้ต่อไป ..กระมัง..ครับ โดย โม้มาอีก [23 มิ.ย. 2547 , 09:41:44 น.] ข้อความ 5 จู๋เล็กกว่าฝรั่งเยอะค่ะ โดย สาวซิง [10 ต.ค. 2547 , 22:26:07 น.] ข้อความ 6 คงไม่ถึงขนาดแสดงความคิดเห็นฟันธงว่าคนไทยด้อยกว่าตรงไหน และคงไม่ใช่ข้ออ้างอิงอะไรเป็นเรื่องเป็นราวนะคะ เรื่องนึงที่สังเกตมาสักพักใหญ่คือคนไทยโดยทั่วไป จะเป็นคน "ผิวๆ" คือ สนอกสนใจง่าย เข้ามาหาง่าย เฮโน่นเฮนี่ แต่ไม่ยอมลงลึกมาก และอะไรที่ทำท่าว่าจะไม่สนุกจะไม่ค่อยทำ ซึ่งไม่อยากฟันธงว่ามันไม่ดี ข้อดีอาจจะเป็นทำให้คนไทยรับโน่นรับนี่มาได้ง่ายๆ (แต่รับมาแล้วเป็นไงต่อก็อีกเรื่อง) เรื่องที่ อ.รชพร อธิบายเป็นคำตอบที่มีประเด็นในหัวข้อที่น้องสัมนา แล้วก็เป็นเรื่องที่โครตน่าหงุดหงิดใจ ความรู้ ข้อมูล และสมบัติของประเทศตัวเองไม่ค่อยได้ใส่ใจบันทึกศึกษา เผลอๆหลายๆชาติอาจจะมีข้อมูลของเรามากกว่าที่เรามีซะด้วยซ้ำ แล้วก็มานั่งงมหาความเป็นไทยจากตะกร้าที่ไม่ได้เก็บอะไรไว้เป็นชิ้นเป็นอัน เซ็ง จริงๆแล้ว ความที่ในตะกร้ามีแต่ของไม่เป็นเรื่องเป็นราว แล้วก็เต็มไปด้วยของจากคนอื่น นี่หรือเปล่าที่แสดง"ความเป็นไทย"ของแท้ โดย M_M [15 ม.ค. 2548 , 20:32:00 น.]

วันอาทิตย์, ตุลาคม 09, 2548

เกี่ยวกับการเรียนการสอน












เรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอน อ่านจนมึน ...สงสารผู้บริหารคณะฯ ซึ่งถ้าได้อ่านเรื่องที่บ่นกันมา ก็คงจะบอกเหตุผลให้เข้าใจได้แน่ หลายๆเรื่องคงต้องหาทางเผชิญหน้า แล้วพูดคุยกัน ถ้าอยากรู้กันจริงๆ โดยเฉพาะ กับท่านรองคณบดี ฝ่ายกิจการนิสิต ซึ่งควรจะใกล้ชิดกับบรรดานิสิตที่สุด ส่วนในเรื่องวิชาการ... บรรดาอาจารย์ก็พยายามกันนะ ผมเห็นแต่ละคนก็ตั้งใจสอนกันมาก บางทีอาจสอนกันมากเกินไป ควรน่าจะ ชลอให้นิสิตหัดเรียนรู้และสอนกันเองบ้าง จะว่าไปแล้ว การเรียนรู้นั้นเป็นเรื่องตัวใครตัวมันจริงๆ ใครอยากรู้มาก ก็ต้องแสวงหาทั้งจากครูหรือแหล่งอื่นๆ ครูนั้น..จริงๆแค่เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เท่านั้น แค่เพียงคอยสร้างแรงจูงใจและชี้แนะในการแสวงหาความรู้ ให้ตามที่นักเรียนสนใจ ก็ถือว่าเป็นครูที่...วิเศษแล้ว ทัศนคติเก่าๆของครู มักยึดถือสาระที่ตนเองรู้และเข้าใจ แล้วมุ่งถ่ายทอดให้นักเรียนเป็นสำคัญ ก็คงด้วยความเมตตาธรรม แต่ชะล่าใจตรงที่ สิ่งที่ตนรู้นั้นอาจเป็นความเท็จ เป็นสิ่งหมดสมัย ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในสภาวะการณ์ปัจจุบัน ครูในกระบวนทัศน์ใหม่ จึงต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน กับนักเรียนตลอดเวลา ความรู้ที่มีจึงจะทันสมัย เพราะเป็นความรู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา นอกเหนือจากสาระความรู้ที่บอกเล่ากันในห้องเรียน ซึ่งเป็นแค่สมมติฐานของความจริงที่ต้องการตรวจสอบ ได้ตลอดเวลาแล้ว เทคนิคและวิธีการสอน เป็นเรื่อง สำคัญที่ต้องออกแบบให้เกิดความสนุกและความน่าสนใจ ในการเรียนรู้ร่วมกันให้ได้ เหมือนความสนุกสนานที่คนต่างวัย มาเล่นเรียนรู้ร่วมกันได้ ในแง่หนึ่ง ...ความรู้ที่ได้รับในการเรียน ก็เหมือนอาหาร ซึ่งเมื่อใครกินแล้ว ..ก็ย่อย ..ก็ถ่าย ไม่มีอะไรตกค้างเหลือไว้ จะถูกแปรรูปไปเป็นกลไกทางความคิดให้กับสมอง ทำให้คิดดีก็ได้ ทำให้คิดชั่วก็ได้ ตามสถานะกรรมของแต่ละคน (ยังมีต่อ...นะครับ) โดย เพื่อนอาจารย์ [29 ก.ย. 2546 , 16:58:26 น.] ข้อความ 10 ทุกวันนี้ ..ผมไม่มีความรู้ที่เรียนจากคณะนี้ในอดีตเหลืออยู่เลย ไม่คอยใส่ใจเก็บไว้ เพราะมันแปรรูปไปหมดแล้ว กลายเป็นความรู้ ที่อาจเป็นเท็จสิ่งใหม่ก็ได้ หากไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่อๆไป มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน อาจถือเป็นที่สถิตวิทยาได้ก็จริง แต่จะไม่ใช่แห่งเดียวอีกต่อไป ยังมีแหล่งอื่นๆ ที่คนสามารถเรียนรู้ ด้วยตนเองลำพังก็ยังได้ เฉกเช่นข่าวสารที่ไม่จำเป็นรู้ได้เพียงจากคนเดินทาง เช่นในอดีตเพียงอย่างเดียว ครูก็เช่นกัน ไม่ใช่แหล่งเรียนรู้ สำคัญของนักเรียนอีกต่อไป บทบาทของครูสมัยใหม่ คือพี่เลี้ยง อาจช่วยเหลือจัดกระเป๋า เดินทางให้นักเรียนในตอนแรกๆ เพื่อใช้ในการเดินทางแสวงหา ความรู้ไปชั่วชีวิต ของใช้ในกระเป๋าเดินทาง ก็ต้อง มีการเปลี่ยนแปลง จัดของกันใหม่ เครื่องใช้ที่ครู เคยเตรียมไว้ให้เดิม ล้าสมัยก็ต้องเปลี่ยน ใช้ไม่ได้ ก็ต้องทิ้ง หาสิ่งใหม่ที่จำเป็นมาทดแทนกัน ฉันใด ความรู้ที่เรียนมาในอดีต ก็ฉันนั้น ครูเอง ก็ต้องเรียนรู้ไปตลอดชีวิต ถ้าไม่อยากงี่เง่า ก็ต้องร่วมเรียนรู้ไปกับนักเรียน อย่าเอาแต่หลงสอนสั่งนักเรียน หรือแพร่ความรู้ที่อาจกลายเป็นเท็จเอาเมื่อไรก็ได้ ถ้าไม่มั่นคอยตรวจสอบและ เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา พล่ามมาถึงนี้แล้ว ..ต้องขอเตือนกันว่า เมื่อต้องเป็นนักเรียน ก็อย่าคอยแต่บริโภคความรู้ถ่ายเดียว ต้องรู้จักผลิต รู้จักปรุงก่อนบริโภคบ้าง ครูเองก็อย่าหลงความรู้ที่ตนมีอยู่ หรือ หลงอำนาจคอยแต่ให้นักเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองรู้เท่านั้น แล้วก็อย่าเอาแต่คอยป้อนความรู้ให้นักเรียนตลอดเวลา... ลองสลับบทบาทกัน(ในเชิงความคิด)บ้าง บางที การเรียนรู้อาจพิศดารและมีชีวิตชีวามากขึ้นกว่าปัจจุบันนี้ ก็ได้...นะครับ โดย ขออีกที [29 ก.ย. 2546 , 16:59:57 น.] ขอจับความเรื่องที่กลุ้ม คือ..เรียน..มาก..มาก เรียนกันบนความทุกข์ มากกว่าความสุข ผมว่ามีกันทุกสถาบัน มีครูปริมาณมาก ปริมาณความรู้ที่แต่ละคนมี ก็อยากโยน ไปให้มากตาม แต่ละวิชาเลยมีงานเพี๊ยบ มันเป็นอย่างนี้เอง ..ครูถ้าไม่สอนมาก เจ้านายก็ไม่ชอบ ยิ่งจะออกนอกระบบ ครูจึงต้องอวดรู้ให้มากๆ ให้งานเยอะๆ โดยไม่มีใครใส่ใจใครอื่น หรือครูอื่น เป็นการเรียนการสอนกันในเชิงปริมาณ เพราะหาคุณภาพจริงๆ ...หายากมากครับ เหมือนอย่างที่ผู้รู้กล่าวว่า เราเรียนรู้กัน ในเรื่องความเท็จมากกว่าความจริง ความ จำเป็น ...ซึ่งเพราะไม่รู้เราเลยตั้งโรงเรียน นึกว่าจะเรียนรู้หาความจริงอย่างมีความสุข แต่ดันเป็นความทุกข์เพราะเรียนความเท็จ เป็นส่วนมาก ...แต่เราก็นึกว่าเป็นความจริง เป็นประโยชน์แก่ทุกคน ..ซึ่งไม่น่าจะจริง การเรียน..ให้เป็นสุขเหมือนการทำงานที่ มีมากๆ เราต้องมีกลยุทธ์วิธีคิดกันนะครับ คนเรียนเก่ง (อาจนึกว่าเป็นทุกข์) มักมีความคิดเชิงกลยุทธ์ดี รู้จักแยกแยะเลือกทำเลือกเรียน ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แล้วออกแบบวิธีเรียน ให้บรรลุผลที่ตั้งไว้ ..คนรวยทางธุระกิจ ก็เก่ง การคิดทำนองนี้ ..แต่ทั้งหมดอาจต้องเครียด กันตามอุปทานที่ตั้งไว้ บรรลุผล แต่ไม่ได้เสวยสุข เพราะโดนโรคมะเร็งตามล้างจนตายก็มี อยากสรุปว่า ..นิสิตต้องรู้จักการบูรณาการ ความรู้ เหมือนการเลือกขยะ เลือกเอามา คัดสรรอีกที เอาไปใช้ประโยชน์แก่ตนเองได้ แต่ก็ต้องทนเหม็นกันบ้างตอนเรียน ...นะครับ หรือจะเรียกว่ากลุ้มก็ได้ ทนไปหน่อยเดี๋ยว ประสาทก็ชาไปเองแหละครับ โลก..มันเป็นเช่นนี้เอง อดทนอีกหน่อย ...เดี๋ยวก็ดีเอง ศึกษาเรื่อง ..อิทธิบาทสี่ ..บ้างนะเธอนะ โดย เพื่อนอาจารย์ [10 ก.ค. 2546 , 13:34:48 น.] ผมเคยเขียนบทความ ...สถาปนิกออกแบบเพื่อใคร? แอบ บันทึกไว้ในเว็บไซท์ ถ้าสนใจว่าโม้ไว้อย่างไร ก็ไปสืบหา กันเอาเอง ...ไม่อยากโฆษณาตัวเองให้น่าเกลียดกว่านี้ เรื่องของกิเลสตัณหาหรืออุปทานของคนแต่ละคน คิด ตามรู้หรือวิเคราะห์กันได้ไม่จบสิ้น พระท่านจัดลำดับคน ไว้ด้วยวิธีวัดกันทางด้านจิตใจ ว่าใครกิเลสน้อยกว่ากัน โดยใช้ดรรชีของการวัดที่ความสมบูรณ์ด้วยศีลห้า และ วัตถุหรือกายที่ครอบครองของคนแต่ละคนกัน ก็จะรู้ว่า ใครดีใครชั่วมากน้อยกว่ากัน สถาปนิกบางคนอาจมีกิเลสหรืออุปทานหรืออีโก้ ทั้งมากและ น้อยกว่าเจ้าของงาน ...ส่วนมากที่มาร่วมงานกันได้ เพราะมีมาก น้อยพอๆกัน จึงมี "ความเกิด" ของงานสถาปัตยกรรม ให้ยึดกัน ชอบบ้างเกลียดบ้าง ตามอำนาจของอุปทาน หรือ "มายา" ทางความคิดและความรู้สึก ..ถ้า.เอาเรื่องนี้มาใส่ใจแล้วพยายามจะรู้ คงเปลืองเวลาเปล่าๆ หากไม่ตามรู้ของเหตุปัจจัยที่เป็นต้นตอของ อุปทานที่แย้งกัน สถาปนิกนั้น..มักถือว่าเป็นผู้ฝึกฝนมาดีแล้ว อาจจะพอน่าเชื่อถือกว่าเจ้าของงาน ..ที่อาจไม่เอาไหนดันมาติ? (มีต่ออีกครับ) โดย เพื่อนอาจารย์ [18 มิ.ย. 2546 , 12:53:52 น.] ข้อความ 2 แต่ในก้นบึ้งของใจเรา ถ้าเอาศีลห้าเป็นที่ตั้ง ..จริงหรือ? ว่า เรา....สถาปนิก ..เป็นผู้ฝึกฝนมาดีแล้ว??? ทั้งด้านจิตใจและกาย ที่เลวน้อยกว่าเจ้าของงาน ..มีความรู้และเข้าใจมนุษย์อื่นที่ไม่ใช่ เราหรือลูกเมียของเรา ได้ทัดเทียมกันจริงหรือไม่? มุ่งบริการสร้าง สภาพแวดล้อมให้ดีที่สุดกับเจ้าของงาน เพื่อเมตตาธรรม หรือ เพื่อเอาเงินในกระเป๋าของเขา...ยังตะกละเอาแต่เงิน ไม่บริการเขา มากๆ ความเป็นกัลยาณมิตรแก่กันและกัน จึงไม่เกิดขึ้น ต้นรัก(เก๊ๆ) ก็ตายซาก ...นี่เป็นปัจจัยหนึ่งของอุปทานความไม่พอใจในแต่ละ คนก็เกิดขึ้น สุภาษิตไทยเชิงสัปดล น่าพอเชื่อได้....ว่า "ยามรักกัน ดมตดกัน..ยังว่าหอม ..แต่ยามเกลียดกันต่างใส่น้ำหอมปารีส ดัน ติกันว่าเหม็นเสียนิ" ผมยังเชื่อว่า..สถาปนิก และเจ้าของงาน ต้องสร้างสรรค์ความรัก และมีเมตตาธรรมแก่กันและกัน หลีกเลี่ยงการเบียดเบียนซึ่งกัน และกันให้น้อยเข้าไว้ ...ความอิ่มเอิบในจิตใจของกันและกันก็น่าจะเกิดขึ้น แถมยังมีสารเอ็นโดรฟิลหลั่งให้ร่างกายเกิดความสมดุลย์ ..ตายช้าขึ้นมากทีเดียว ....ถามส่งท้ายว่า ..มีความอิ่มเอิบในจิตใจ แล้ว ยังมีของแถมทำให้ร่างกายทรุดช้าลงไปอีก ..อย่างนี้ยังมีค่าน้อยกว่าความ ต้องการเงินเป็นค่าแบบ...หรือไม่?.. การติงานของเรา ถ้าแปลงให้เป็น ความรู้ความเข้าใจที่ต้องทบทวนกันเพื่อให้เกิดเป็นสติปัญญาต่อไป จะไม่เป็นประโยชน์แก่เราหรือ?........ครับ ...ทว่า ติด้วยรัก กับติเพราะชัง แตกต่างกันนะครับ...อย่างหลัง อาจนำไปสู่การเบียดเบียนกันขั้นทำลาย ศีลห้ากันก็ได้.....นะครับ โดย ขออีกที [18 มิ.ย. 2546 , 12:54:32 น.] ต้องขอชมเชยว่า..หนูอ้วน เป็นคนมีน้ำใจ และห่วงใยผู้อื่นและคณะฯ..พอๆกับห่วงใยตัวเอง ซึ่งตรงกันข้ามกับ "นักศึกษาโพ๊สต์มอร์เดิร์น" อื่น ที่หลายคนเหมาคิดว่า เป็นพวกไม่เอาไหน..สนใจ แต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น นี่ถ้า...หนูเผอิญเรียนวิชาสัมมนาปีห้าที่คณะนี้ คงคุยกันสนุก เพราะในชั้นเรียนเมื่อวาน(อังคารนี้) เราเปิดใจคุยกันเรื่องนี้ ...การศึกษาในทศวรรษหน้า ท่านวิทยากรที่เชิญมาก็เคยเป็นอาจารย์เก่า มี ความคิดแปลกแยกดี .....แต่ การพูดหรือคิดเอามัน ถ้าไม่แรงพอก็เปลี่ยน โลกทัศน์ของคนในสังคมหรือโดยเฉพาะผู้บริหาร ได้ยาก ...ต้องเห็นใจกันด้วยว่า เมื่อเป็นผู้ปฏิบัติ ในสิ่งที่ตนเองไม่แน่ใจ ก็จะเป็นเรื่องซับซ้อน ที่จะดำเนินการตามกระแสที่โอดครวญกัน ..ไม่ง่ายนัก...หรืออาจเชื่องช้าไปหน่อย โลกในสมัย(ปัจจุบัน)ของหนูอ้วนนี้ มันอลังการ์มาก มีหลายสิ่งถาโถมเข้ามาให้สังคมไทย ได้รับรู้อะไรมากมาย เรียกว่ารับกันไม่ทัน เห็นอะไรที่ชอบ คนชาติอื่นทำ ก็อยากคิดแข่งขันทำอย่างเขาหรือให้ชนะเขาบ้าง เลยอยากแสวงหาเครื่องมือช่วยเหลือในเรื่องที่จะแข่งขัน เช่นจากสถานศึกษาเป็นต้น ..ซึ่งต้องเตรียมการ ที่น่าเสียดายคือ เรายังติดกับโลกทัศน์เก่าๆ ที่แบ่งแยก ผู้บริหารออกจากผู้ถูกบริหารหรือรัฐบาลออกจากประชาชน สังคมหรือชุมชนที่ควรเป็นกัลยาณมิตร..ร่วมด้วยช่วยกันจึงไม่เกิดขึ้น เอาแต่สร้างทิฏฐิมานะแก่กันและกัน ไม่ยอมเสียศักดฺ์เสียศรี ที่จะช่วยกันคิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการศึกษาให้ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน..จึงไม่เกิดขึ้นได้ (มีต่ออีกนิด...) โดย เพื่อนอาจารย์ [11 มิ.ย. 2546 , 11:10:05 น.] ข้อความ 2 โรงเรียนติววิชาพิเศษ..สถาปัตยกรรม ..จึงเกิดขึ้น เพราะความจำเป็นและความต้องการเครื่องมือแข่งขันดังกล่าว ซึ่งผมว่าก็น่าจะดี และก็ต้องยอมให้เกิดขึ้น อย่าไปคิดฮุบกิจการเขามาทำเสียเอง เดี๋ยวจะกลายเป็นพวกปลาใหญ่กินปลาเล็ก ผมอยากสรุปว่า การเรียนรู้ของทุกคน..ไม่มีวันจบสิ้น และจะมีความหลากหลายในความต้องการของแต่ละปัจเจกชน มากขึ้น จำเป็นที่ต้องแสวงหาความรู้ในหลายๆ สถานที่การศึกษา ..และก็คงเป็นเรื่องยากที่จะพบแหล่ง การเรียนรู้แห่งเดียวให้ได้ตักตวงความต้องการ ให้ครบถ้วน ...โลกในอนาคตจึงต้องรู้วิธีการแสวง หาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งอื่นๆตลอดเวลา แล้ว เราจึงจะเชื่อมั่นได้ว่าจะแข่งกับใครๆที่ต้องการได้ แต่..ว่า พระท่านเตือนให้คิดแข่งขันกับตัวเอง ทุกๆวันเป็นดีที่สุด ..อย่ามัวไปคิดแข่งขันกับคนอื่น ให้อกแตกตายเปล่าๆ....ครับ โดย ขออีกที [11 มิ.ย. 2546 , 11:12:37 น.] ส่วนมากเวลาพบนิสิต ที่ไม่ค่อยคุ้นหน้า มักจะแซวเสมอ บางคนทั้งๆที่เคยเรียน ด้วยกัน ก็มักแซวว่ามาจาก ม.ไหน? ไม่มีเจตนาร้าย ..อยากให้ศิษย์อาจารย์ สนิทกัน ไม่อยากให้แบ่งแยกกันเลย เพราะไหนๆก็มาร่วมสังฆกรรม สถาปัตยกรรม ด้วยกัน ...ว่าแต่ว่าอย่าลืมเรื่องที่บอก ทำเรื่องสถาปัตยกรรมรวมกันกับธุระกิจ ให้ครบวงจรนะครับ ...ทำนองสถาปัตยกรรม เอื้ออาทรนั่นแหละครับ แข่งกับรัฐฯไง? โดย เพื่อนอาจารย์ [26 ก.พ. 2546 , 17:15:03 น.] ข้อความ 2 อืม...ยังต้องสัมภาษณ์อีกครับ คัดออกอีกเพียบเลยครับ ยังไม่แน่นอน ครับ.....เรื่องสถาปัตยกรรมเอื้ออาทรนั่นเท่าที่ฟังๆดูมา เห็นว่ารัฐยังต้อง เข้าไปช่วยอีกหลังละประมาณ แปดหมื่นบาท ถ้าตามนโยบายที่จะสร้าง ให้ครบล้านยูนิตก็แปดหมื่นล้านบาท...... เวลาฟังข่าวเรื่องนโยบาย ต่างๆของประเทศเนี่ยผมมีความรู้สึกแปลกๆทุกทีเลย รัฐมีเงินจำนวน มากมายมหาศาลในการทำนู่นทำนี่ แต่ทำไมลุงแก่ๆที่เป็นยามแถวบ้าน ผมยังมีเงินเดือนไม่ถึงหกพัน... ...ระดับชั้นของสังคมยังมีช่องว่างอีกแยะ บ้านกลางกรุง+บ้านอะไรต่อ มิอะไรที่กำลังจะตามมาอีกเพียบในระดับ 4-5 ล้านบาท ... ยามแถวบ้านผม เวลานอนก็นอนในป้อมนั่นแหล่ะครับ โดย ลูกศิษย์ [27 ก.พ. 2546 , 12:08:34 น.] ข้อความ 3 เรื่องงานของรัฐฯขณะนี้ ถ้ามองกันในแง่บวก ก็ต้องกล่าวว่าเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ อย่าถือว่าจะเป็นเรื่องจริงจัง ที่ว่า "ท่าน" จะทำให้ความยากจนหายไปจากเมืองไทย ภายในหกปี ...เมื่อมีคนที่สมมุติว่ารวย ก็ ย่อมมีสมมุติว่าจนควบคู่กันไปเสมอแหละ ต้องยอมรับว่า "คนไม่รู้" ยังชอบความหวัง ลมๆแล้งๆกันอยู่เสมอ มักใช้เป็นยากล่อม ประสาททางใจ ไม่ต่างกับยาบ้าทางกายนัก เผอิญ..ยังไม่ถึงเวลาของอนาคต ที่จะมีใคร ฆ่าตัดตอนคนขายความหวังลมๆแล้งขณะนี้ การไม่ต้องติด "ยา" แบบนี้ มีทางเดียวที่แก้ คือสร้างความคิดที่เรียกว่า "สันโดษ" เท่านั้น คือหมายถึงความสุขในสิ่งที่ตนมี ซึ่งตรงข้ามกับ ความไม่สันโดษ คือความสุขในสิ่งที่ตนไม่มี แต่ ผู้มี "ปัญญา" นั้นต้องไม่สันโดษในการค้นหา ความ "เป็นจริง" ของโลกที่เป็นของเราขณะนี้ เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า "ครู" ที่ยิ่ง ใหญ่ของพวกเรา (ทุกศาสนา) ที่ไม่ยอมสันโดษ กับสิ่งที่ท่านบรรลุคือ "ฌาน" หรือเช่นความรวย ของคนที่แสวงกันอยู่ทุกวันนี้ ทั้งๆที่เป็นสุขที่ไม่จริง ผมชอบความคิดที่ว่า "พระเจ้า" มักเป็นอะไรก็ได้ ในสิ่งที่เราคาดไม่ถึง แม้แต่ "คนยาม" ที่ยังนอน อยู่ในป้อมยามขณะนี้ ถ้าเผอิญเขานอนอย่างมี "ความสุข" เพราะเมื่อหลับแล้วก็คงไม่ต่างกันกับ คนนอนในที่ไหนๆ ลองพิจารณาตัวอย่างศาสดา ของพวกเรา มักเป็นพระเจ้าในรูปของผู้ยากไร้ เสมอ ...มีทัศนะคติอย่างนี้แหละที่ผมว่าเป็นการ พัฒนาตนไม่ให้เกิดการแบ่งแยกกันในทุกเรื่อง เข่นเดียวกับ ครู-ศิษย์ นั้นในความจริงไม่มี มีแต่ ในความสมมุติกันเท่านั้น ...เพราะ โง่-ฉลาดพอกัน ไม่แตกต่างกับ คนยาม-นายกฯ ฯลฯ ที่รวยจนพอกัน ว่าแต่ "ความจริง" ของความฉลาดหรือความรวย ที่เรามีความหวังกันนั้น ..มันคืออะไรกันแน่? อ่านจบ..งงกันไหม? ครับ โดย เพื่อนอาจารย์ [28 ก.พ. 2546 , 09:37:01 น.] ข้อความ 4 งงนิดหน่อย...ครับ...55 อาจารย์ครับ ถ้าเจ้าชายสิทธารัตถะไม่ได้เกิดมาเป็นกษัตริย์ ถ้าไม่ได้เกิด มาเพียบพร้อม เค้าจะมองเห็นความเป็นจริงที่หรือเปล่าครับ... โดย ลูกศิษย์ [28 ก.พ. 2546 , 20:42:04 น.] ข้อความ 5 ศาสดาในศาสนาอื่นมักไม่ใช่กษัตริย์ ก็ยังปฏิวัติอำนาจต่างๆได้ ตามในประวัติศาสตร์ ในกรณีของพระพุทธเจ้านั้น ท่านดำรง อยู่ใน "วิถี" ที่ต้องบรรลุพระสัมมาโพธิญาณ ดังนั้นในภพชาติสุดท้าย จึงต้องอยู่ใน "เงื่อนไข" หรือปัจจัย ที่จะต้องทำให้บรรลุ เป้าหมายที่ตั้งใจพระทัยไว้แน่นอน เงื่อนไขในสมัยพุทธกาล ไม่เหมือนใน สมัยโรมัน หรือในจีน ที่ทำให้เกิด "ศาสดา" เช่นพระไครสต์หรือ เล่าจื้อ ขงจื้อ แต่พระองค์ เกิดอยู่ท่ามกลางความหลงผิดในแง่ความรู้ ในขณะนั้น เช่นลัทธิพระเวท ทั้งหลาย รวม ทั้งการแบ่งชั้นวรรณะ จึงเป็นการปฏิวัติกัน ทางความรู้ความคิดเป็นส่วนใหญ่ ก็คงเหมือน เช่นนักวิทยาศาสตร์หรือนักปรัชญาในยุคนี้ ที่ต้องมีการเรียนรู้วิชาทั้งหลายมาก่อน จึงจะปฏิวัติ หรือสร้างทฤษฎีใหม่ๆได้ ไม่งั้นการยอมรับก็ จะไม่เพรียบพร้อม กรณีของพระพุทธองค์ ถ้าย้อนศึกษาประสบการณ์ในอดีตแล้ว จะไม่มีข้อกังขาในสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ได้เลย เช่นยศฐาบันดาศักดิ์ หรือความร่ำรวยทั้งหลาย ที่สุดท้ายก็ต้องละ เพราะไม่เป็นความจริงที่ยั่งยืน หรือทำให้เกิดความ "หลุดพ้น" นั่นเอง ตัณหา อุปทาน และสุขในชีวิต คือความทุกข์ทั้งสิ้น จะพ้นความทุกข์ถึงขั้น "วิมุติ" นั้น ต้องเพื่อการละ ทั้งสิ้น ....เรื่องนี้ซับซ้อนจริงๆครับ ปัญญาที่ สะสมกันมาน้อยของพวกเราไม่พอ จำต้องอาศัย กุศลธรรม ที่ต้องสะสมกันต่อไปอีกนานครับ จึงจะเข้าใจ ..ขนาดเกิดมาในกาลที่พระพุทธศาสนา ยังปรากฏให้ศึกษากัน ..ก็ยังขยาดไม่ยอมรู้กันเลย พูดหรือคิดกันเรื่องนี้แล้ว ...จะเหนื่อยเอาการจริงๆ แฮะ.......๕๕๕๕๕๕๕ โดย เพื่อนอาจารย์ [1 มี.ค. 2546 , 15:11:32 น.] ข้อความ 6 ขอบคุณครับ อะไรคือExistentialism ขอเวลาหน่อยนะครับ...ผม ต้องกลับไประลึก ทบทวน และค้นคว้าดู เคยอ่านหนังสือพวกปรัชญา รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องมามาก พอมาอ่านงานเขียน ของคุณสมัคร บุราวาส เข้าใจอะไร ได้มากขึ้น แล้วจะลอกมาให้อ่าน ระหว่างนี้ ถ้าคุณชอบสะสมหนังสือ ผมว่าแวะไปที่ร้านหนังสือ ลองพลิกดู หนังสือของท่าน ที่เขาเอากลับมาพิมพ์ ขายกันใหม่ คุณจะทึ่งท่านผู้รู้ท่านนี้มาก โดยเฉพาะฉบับรวมเรื่องปรัชญาตะวันตก ล้วนๆ (จำชื่อเต็มไม่ได้) เล่มหนา ราคา ประมาณ ๔๐๐ บาท ได้อ่านแล้วรับรอง รู้เรื่องปรัชญา "สิ่งมีอยู่" ของความคิด ตะวันตกนี้ได้เข้าใจแน่นอน ถ้าเป็นเรื่อง ในพุทธศาสนา ก็คือเรื่อง "อัตตา" ซึ่ง ละเอียดลึกซึ้งไปจนไม่อยากเชื่อกันเลย พูดไว้แค่นี้ก่อนนะ ..ถ้าไปอ่านตามที่ผมแนะนำ แล้วมาสอบถามคุยกัน ผมว่าจะสนุก คือผมก็จะ ได้เรียนรู้จากคุณด้วย..นะครับ เราทั้งหมดก็ จะทะลุมิติการเรียนของกันและกัน ชนิดไม่ธรรมดา เลยทีเดียว ผมขอฝากภาษิตหนึ่งของของการเรียนรู้ทิ้งไว้ดังนี้.. "Tell me, I forget. Show me, I remember. But let me participate, I understand." คุณว่าวิธีการสอนของคณะเราเป็นแบบไหน? โดย เพื่อนอาจารย์ [11 ม.ค. 2546 , 09:34:50 น.] ข้อความ 2 เผอิญตรงกับวันหยุด..วันเด็ก เลยขอถือโอกาสวันนี้ เริ่มกันเลยในเรื่องนี้ ...ขอเป็นกุศลธรรมสำหรับวันเด็ก ผมขอยึดถือในข้อเขียนของคุณสมัคร บุราวาศ นะครับ ในหนังสือของท่านเรื่อง "ปัญญา" จุดกำเนิดและ กระบวนการพัฒนาปัญญาของมนุษยชาติ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ศยาม ...เรื่องนี้เป็นหัวเรื่องของบทที่ ๕ "ว่าด้วยความมีอยู่" หรือ Existence พอสรุปเนื้อความ ดังนี้คือ... ความรู้ใดที่เราต้องการ ต้องเป็นความรู้ใน..สิ่งมี ไม่ใช่ความรู้ใน..สิ่งที่ไม่มี พอกล่าวกันถึงตรงนี้ ก็เลยเกิดเรื่องราวว่า ความรู้จากสิ่งมีอยู่นั้นเป็นอย่างไร? จนเกิดวิชาการที่เรียกว่า ภววิทยา (Ontology) สอนกัน เรื่องปรัชญาสิ่งที่มี ...Existentialism นั่นเอง คำว่า ภวะ หรือ ภพ แปลว่า ความมีอยู่ ...Existence สิ่งที่มี (Being) คือสิ่งที่เป็นต้นเหตุแห่งผัสสะ ด้วย ..หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ อะไรที่รับรู้ได้ ด้วยอวัยวะดังกล่าว ถือว่าเป็น สิ่งที่มี นักปรัชญาบางพวกสืบต่อไปเน้นเฉพาะใจ หรือผัสสะที่เกิดภายในของ จิต แย้งว่าสิ่งที่รับรู้ได้นั้น เป็น มโนภาพ หรือความคิด ของจิตที่ปรุงแต่งขึ้นมา (เช่นในวลี..I think, therefore I am ของเดค๊าทซ์) เกิดแนวคิดปรัชญาในเรื่องนี้คือ Idealism หรือ มโนภาพนิยม เน้นสิ่งที่มี "ภายใน" แยกออกมาจาก ปรัชญาของสิ่งที่มี "ภายนอก" คือ Materialism หรือ พวกสสารนิยม อันหลังเป็นวิทยาศาสตร์ที่เราเรียน กันในสิ่งที่มี ทางกายภาพหรือวัตถุ อันหลังเป็น วิทยาศาสตร์เชิงจิตวิทยา สิ่งที่มีภายในใจของคนเรา (ลองอ่านรายละเอียดในหนังสือของท่าน..นะครับ) สิ่งที่มี ..ของสถาปัตยกรรมรวมไว้ทั้งสองแนวทาง คือ อะไรที่เป็นสสาร หรือ matter และอะไรที่เป็น มโนภาพเกิดในใจ มีวิชาและแนวคิดในการออกแบบ เพื่อให้เป็น "สิ่งที่มี" เกิดขึ้นมากมาย เริ่มกันตั้งแต่ สิ่งที่มี ของวิทรูเวียส ที่คนแปลให้พวกเรารู้ว่า สถาปัตยกรรม คือ สิ่งที่มี ..ที่ต้องมีคุณลักษณะพร้อม ในสามอย่างคือ commodity firmness และ delight เป็นต้น (ควรไปตามอ่านใน "สรรพสาระทางทฤษฎี สถาปัตยกรรมตะวันตก" ของ ดร.ฐานิศวร์ เจริญพงศ์ ในเรื่องนี้ด้วย...นะครับ) ส่วนในธรรมะของพุทธศาสนา ความจริง หรือ สิ่งที่มี จะเป็นเรื่องพิศดารที่เหนือมิติวิชาการของโลก เพราะ จะละเอียดลึกซึ้ง จนคนส่วนมาก ไม่กล้ารู้ อาจกลัวจน หัวหด ก็ได้ เพราะ "สิ่งที่มี" แบ่งระดับการรับรู้ตาม สิติปัญญาของผู้อยากรู้ถึงสามระดับ คือระดับที่เป็นแบบ สมมุติบัญญัติ (ต่ำสุดที่เราเคยชินกัน) ระดับสองที่เป็น แบบสมมุติสัจจะ (เป็นเรื่องทฤษฎีที่ลึกซึ้งขึ้นหรือสัมมาทิฏฐิ) และระดับสูงสุดที่เป็น สิ่งที่มี แบบปรมัตถ์สัจจะ คือเป็น ความจริงสูงสุดที่ลึกซึ้งและสูงกว่า Ultimate Reality หรือ ความแท้จริงอันติมะของพวกนักปรัชญา Existentialism ทั้งหลาย (ต้องลองและมั่นศึกษาพุทธศาสนากัน..นะครับ) (.....ยังมีต่อครับ) โดย เพื่อนอาจารย์ [11 ม.ค. 2546 , 16:15:30 น.] ข้อความ 3 ลองทดสอบความรู้เรื่องนี้กันดู ..เป็นของกัลยาณมิตรทาง ธรรมของผมนะครับ ..ถ้าสนใจจริงจะแจ้งชื่อและแหล่งที่มา ให้ทราบ ..บันทึกนี้เกี่ยวกับเรื่องนี้จริงๆครับ ต้องอ่านกัน ด้วยสมาธิที่ตั้งมั่น ..แล้วตามไปรู้ในศัพท์ธรรมที่ไม่ได้บอกไว้ เริ่มกันเลยครับ.....(ผมขอใช้ตัวอักษรเน้นทั้งหมดนะครับ) โดยความจริงอันสูงสุด โดยความจริงแท้ๆ แล้ว(Absolute Truth หรือ 'ปรมัตถธรรม') สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้น ไม่มีหรือไม่ใช่อะไรมากไปกว่า ๔ สิ่งต่อไปนี้ คือ (๑) จิต (๒) เจตสิก (๓) รูป (๔) นิพพาน จิตกับเจตสิกนั้นเป็นธรรมชาติที่จะเกิดร่วมกันดับพร้อมกันเป็นแต่ละ ขณะๆ ไป (คือจิตแต่ละดวงที่เกิด-ดับสืบต่อ จะมีเจตสิกเกิดร่วมกัน และดับไปร่วมกันเสมอ) บางครั้งก็จะได้ยินเรียกรวมกันว่าเป็น 'นาม' และนามหรือจิตกับเจตสิกนี้ ก็เป็น 'นามธรรม' รูปเป็นธรรมชาติอีกชนิดหนึ่ง รู้อารมณ์ไม่ได้ และมีสภาพเสื่อมสลายไป แตกดับไปอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกันกับนาม รูปนี้ เป็น 'รูปธรรม' ทั้งจิต-เจตสิก-รูป เป็นธรรม (คือ เป็นสภาพธรรม เป็นสภาวธรรม เป็นธรรมชาติ) ฝ่ายโลกียะ (โลกียธรรม) ฝ่ายการเวียนว่ายตายเกิด ฝ่ายสังสารวัฏ ฝ่ายวัฏฏสงสาร เป็นธรรมฝ่ายทุกข์ ทั้งจิต-เจตสิก-รูป นี้ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป สืบต่อกันไปเรื่อยๆ ตามแต่เหตุปัจจัย (คือ กิเลส-กรรม-วิบาก) (คำว่า 'วิบาก' ก็คือผล คือ ผลของกรรมนั่นเอง ส่วนคำว่า 'กรรม' นั้นแปลว่าการกระทำ กรรมจึงมีทั้งกรรมดี กรรมไม่ดีและกรรมกลางๆ หรือก็คือ กุศลกรรม อกุศลกรรมและอพยากตธรรม) กล่าวคือ เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เกิด จิตกับเจตสิกนั้นๆ หรือรูปนั้นๆ ก็จะเกิด เมื่อหมดเหตุปัจจัย จิตกับเจตสิกนั้นๆ หรือรูปนั้นๆ ก็เสื่อมสลายดับไป แล้วก็จะมีจิตกับเจตสิกและรูปใหม่ๆ เกิดต่อเนื่องเสมอไป กฏตายตัวของธรรมชาติทั้งปวงในวัฏฏสงสาร สรรพสิ่งสรรพสัตว์ทั้งปวงในวัฏฏสงสารหรือในธรรมชาติฝ่ายโลกียะ หรือในธรรมชาติฝ่ายทุกข์นั้น ล้วนตกอยู่ภายใต้กฏเหล็กแห่งธรรมชาติ กฏเหล็กนี้เป็นกฏธรรมชาติ ตายตัว ดิ้นไม่ได้ และปรากฏอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้คือได้เข้าไปเกิดปัญญารู้แจ้งแทงตลอด ธรรมชาติทั้งปวงอันรวมไปถึงกฏธรรมชาตินี้ด้วยหรือไม่ก็ตาม กฏเหล่านี้ก็ดำเนินอยู่ตลอดเวลาในโลก ในวัฏฏสงสาร ทำหน้าที่ อย่างเที่ยงแท้ที่สุด พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเพียงผู้เข้าไปตรัสรู้ หรือเข้าไปเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงเกี่ยวกับกฏนี้และเกี่ยวกับ ธรรมชาติทั้งปวง ทั้งยังทรงมีเมตตานำมาแสดงเปิดแผ่ให้สรรพสัตว์ ผู้มีปัญญาน้อย บารมีน้อย ไม่สามารถตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้เอง ได้สามารถรู้เห็นประจักษ์ความจริงเหล่า กฏเหล็กเหล่านี้ ได้ด้วย ผ่านทางพระธรรมคำสั่งสอนและแนวทางปฏิบัติเพื่อการเกิดปัญญา สู่การพ้นทุกข์ที่ทรงให้ไว้นั่นเอง กฏธรรมชาตินี้ มีชื่อเรียกที่รู้จักกันทั่วไปว่า พระไตรลักษณ์ หรือ สามัญญลักษณะ คำว่า 'สามัญญลักษณะ' คือ ลักษณะที่มีเสมอกันหมดในธรรมชาติ (ฝ่ายโลก ฝ่ายโลกียะ หรือ ฝ่ายทุกข์) ทั้งปวง พระไตรลักษณ์ หรือ สามัญญลักษณะ มี ๓ ประการ คือ (๑) ไม่เที่ยง 'อนิจจัง' คือ ความเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงทนถาวรอะไร (๒) เป็นทุกข์ 'ทุกขัง' คือ ล้วนคงทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปไม่ได้ ต้องมีอันเสื่อมสลาย ต้องมีอันเปลี่ยนแปลงผันแปรหรือดับไป อย่างแน่แท้ (๓) ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของๆ ใคร 'อนัตตา' กล่าวคือ ธรรมชาติฝ่ายทุกข์ทั้งปวงนั้น ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของใคร ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง ไม่มีใครสามารถบงการ ชี้นิ้วหรือบังคับบัญชาให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้เลย + + + + + + + + + + นี่เป็นแค่อธิบายแย้งปรัชญาของ Existentialism เล็กน้อยเท่านั้น (ลองเปรียบเทียบกับวิทยาศาสตร์ควอนทัมปัจจุบันด้วยนะครับ) เป็นไงบ้างครับ...ผมอยากสรุปไว้ว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นที่สุดของวิชาการทั้งหลาย ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ สำหรับชีวิตของมนุษย์ทั้งโลก ...ไม่ใช่แค่ จิตนิยม หรือวัตถุนิยม แต่สัมพันธ์กันเป็นองค์รวมของ ปัญญานิยม ..Wisdomism เมื่อเรามีปัญญาใหญ่ จิตใหญ่ สมองใหญ่ เรื่อง สิ่งที่มี ทางวิชา สถาปัตยกรรม ที่พวกเรากำลังศึกษาจะเป็นเรื่องง่ายที่จะรู้และเข้าใจ เพราะเป็นเรื่องของสิ่งที่มี (ซึ่งมักจะเป็นสิ่งไม่มี) ที่เล็กๆจิ๊บจ้อย ....จริงๆครับ โดย เพื่อนอาจารย์ [11 ม.ค. 2546 , 16:17:33 น.] ข้อความ 4 การมีอยู่จริงของความจริงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยตรรกะ ซึ่ง เป็นแนวทางของพุทธที่ให้เข้าถึงด้วยความรู้จากภายใน แต่การเข้าถึงความจริงตามตะวันตก มักตั้งสมมุติฐานแล้วใช้วลีหรือ สัจพจน์เข้ามาอธิบายการมีอยู่ของความจริง โดย lyo [15 ม.ค. 2546 , 05:09:17 น.] ข้อความ 5 ผมได้อ่านหนังสือที่เพื่อนอาจารย์นำเสนอมาแล้วครับ แต่ที่ไม่เข้าใจก็ คือแนวทางของลัทธิที่พยายามอธิบายสังคมและก่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลง หากเพื่อนอาจารย์มีหนังสือใดแนะนำช่วยชี้แนะด้วยครับ โดย lyo [18 ม.ค. 2546 , 15:41:50 น.] ข้อความ 6 ผมดูเหมือนจะเคยอ่านบทความ จุดเปลี่ยนความคิดของยุคสมัยอยู่บ้าง แต่ไม่ค่อยซีเรียดมากนัก ความคิด เลยมักหยิบโย่ง ไม่คอ่ยคงเส้นคงวาเท่าไร มีบทความที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นำมา เสนอในเว็บมาก เกี่ยวกับลัทธิละสังคม เช่น ทฤษฎีวิพากษ์(Critical Theory)ของกลุ่ม นักคิดแฟรงค์เฟริทสคูล ..ลองไปเลือกอ่านดู เข้าตรงของรายชื่อบทความได้ที่..url http://www.geocities.com/midnightuniv/articlepage1.htm ลองเริ่มที่บทความเพื่อเห็นภาพเคร่าๆก่อน แล้วค่อยเจาะไปที่รายละเอียดตามหนังสืออ้างอิง อาจช่วยสร้างกรอบรวมได้กว้างขึ้น การศึกษา อะไรนั้นผมมักใช้คติที่ว่า ..อย่าเชื่อและอย่าปฏิเสธ หรือหลักกาลามสูตรของพระพุทธศาสนานั่นแหละ การรู้จักตั้งคำถามแล้วสืบเสาะหาคำตอบ ถือเป็น ลักษณะของนักปรัชญาแล้วนะครับ โดย เพื่อนอาจารย์ [20 ม.ค. 2546 , 09:00:44 น.] ความถนัดทางสถาปัตย์ นั่งคิดย้อนกลับไปตอนสอบเอนทรานซ์ ตอนนี้ก็ปี4แล้ว ก็คิดว่า ข้อสอบตอนนั้นมันก็ไม่เห็นจะเป็นข้อสอบความถนัดที่ดีเลย (แต่ผม ก็ จำไม่ค่อยได้แล้วว่าข้อสอบออกอะไรๆชัดเจน) เพราะผมว่า พูดถึงคณะเรา คือ ออกแบบ Idea สร้งสรรค์ แต่ไม่ใช่วาด รูปสวย มือดี ซึ่งผมคิดว่า ความคิดเป็นหลัก แล้วมือที่ดีช่วยส่งเสริม ผมไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้ข้อสอบเป็นไงแล้ว คุ้นๆที่สอบกันตอนนู้นก็ เขียนtive ที่คะแนนมากสุด ( อย่างการมอง plan front side อันนี้ผมว่าใช่ได้นะ ดูว่าใครมองแบบ 3 มิติ ได้ดี)ผม ว่ามันไม่น่าคะแนนมากสุด ผมว่ามันไม่จำเป็น อย่างตอนนี้ผมเห็น เพื่อนผม มือแม่งอย่างห่วยเลย แต่ความคิดมันไม่ใช่ งานมันดีเลยที เดีบว และ มีสำนึกดีด้วย มันใช่comนะเพราะมือมันไม่ดี ผมดูมันน่าจะ เป็น creative ที่ดีได้เลย มัน เอน เข้ามาได้ไงมันก็ไม่รู้ มันเคยเข้ามา ติว วาดรูป แล้วมันก็หนีไปเพราะมันอายเพื่อนๆ แถมปัจจุบันมีสื่อมากกว่า การวาดรูป ด้วยไม่รู้ ข้อสอบเป็นยังไงบ้างปีนี้ ผมไม่ได้ ไม่ชอบวาดรูปนะ ผมชอบเลยแหละ โดย ธุลีscape [8 ม.ค. 2546 , 23:46:49 น. เรื่องข้อสอบความถนัด สำหรับการสอบ เอ็นทร้าน ผมไม่อยากวิจารณ์ว่าเหมาะสม หรือไม่อย่างไร เดี๋ยวจะกลายเป็น "การยกตน ข่มท่าน" เป็นสิ่งไม่ดีต่อบัณฑิตที่พึงกระทำ บอกตามตรง ผมชอบทำข้อสอบที่ไม่ตรงกับ ที่ผมถนัด หรือที่ไม่มีประโยชน์อะไรกับผมเลย ในตอนนั้น เพราะถ้าผมทำข้อสอบนั้นได้ และเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไปพยายาม คิดทำให้เป็นประโยชน์ได้ ..ผมน่าจะเป็น คน..ไม่ธรรมดา ซึ่งผมชอบเป็น แต่ยังไม่เป็น อย่างที่ว่าได้ซักที ..(แต่เป็นหลายทีครับ)..๕๕๕ ผมเห็นด้วยที่ว่าการเขียนรูปสวย ไม่ได้หมายความว่า จะออกแบบได้สวยด้วย แต่ก็มีประโยชน์ในแง่ทักษะการสร้าง หรือ การเห็นภาพในใจ แล้วนำจินตภาพนั้นออกมา จำลองให้สื่อกันได้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งจะสืบนำไปสู่ทักษะการคิดแบบเห็นภาพ หรือ Image Thinking ซึ่งเป็นลักษณะการคิดที่สำคัญเหมือนกัน เคยมีการทดลอง พบว่านักเรียนสายวิทย์มักบันทึกข้อมูลไว้ ในใจแบบ ตัวเลข ข้อความ หรือเป็นเรื่องราว แบบ verbal information ส่วนพวกนักเรียน สายศิลป์มักตรงกันข้าม บันทึกเป็นภาพ หรือ องค์ประกอบเป็นแบบโครงสร้าง ที่นึกเป็นภาพได้ คือเป็นแบบ non-verbal information ตัวอย่างที่ใช้ทดลองเช่น โปสเตอร์ ประกาศจับ โจร ที่มักให้ข้อมูลทั้งสองอย่างรวมกันไว้ใน โปสเตอร์คือ ภาพเสก็ตหรือภาพถ่ายจริงผู้สงสัย (non-verbal) และรายละเอียดของข้อความเช่น เพศ ความสูงเชื้อชาติ นำหนัก หรือรายละเอียดรูปพรรณสัญฐาน ต่างๆ (verbal) คนเห็นโปสเตอร์แบบนี้ จะถ่ายทอดข้อมูล ที่เน้นชนิดข้อมูลต่างกัน และก็มีคนที่มีทักษะกระทำได้ ดีทั้งสองอย่าง ...สถาปนิกควรมีทักษะในการรับรู้ข้อมูลให้ได้ในหลายๆชนิด เช่นเห็นสูตรคณิตศาสตร์ ก็จะนึกเป็น ภาพได้ หรือเห็นภาพก็บอกสูตรสำเร็จได้ นักวิทยาศาสตร์ ที่เป็นอัจฉริยะ จะมีทักษะการรับรู้ทั้งภาษาวิทย์และภาษาศิลป์ สถาปนิกที่จะเป็นอัจฉริยะ ก็ควรเป็นเช่นกัน ..จริงไหม? ผมเองเป็นนักเรียนบ้านนอก โดนพระเจ้าถีบให้มาเรียน ที่คณะนี้ วาดรูปได้คะแนนสู้พวกนักเรียนสวนกุหลาบ ที่เมืองหลวงไม่ได้เลย ความคิดรสนิยมก็บ้านนอก ไม่ทัน สมัยในทุกเรื่อง ซึ่งความต่างนี้ลดน้อยมากในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยี เช่น ทีวี มีกันได้ทุกจังหวัด ..ถ้ารักการเรียน ก็จะพัฒนาทักษะที่ขาดได้แน่นอน ผมก็พัฒนาจากชั้นเรียน และกับเพื่อนที่วาดรูปเก่ง ยอมตัวเป็นคนรับใช้ติดตามเพื่อน ไปวาดรูปกัน ก็ได้ทักษะหรือได้วิทยายุทธ์เพิ่มเหมือนพวก เรียนวิทยายุทธ์ในหนังจีนกำลังภายในทั่วไป .. ถ้าไม่ชอบอะไรแรกๆ เช่น การวาดรูป หรืออะไรก็ตามเพราะ เราไม่ถนัด อย่าเพิ่งหนี ลองไปฝึกดูก็อาจเปลี่ยนเป็นชอบ ก็ได้ เพราะการวาดรูปมันเสริมทักษะการคิดแบบเห็นภาพ ก็สำคัญพอๆกับการคิดเห็นสูตรในงานสถาปัตยกรรม คิดให้ได้หลายๆรูปแบบ รวมทั้งคิดเหมือนเครื่องคอมพ์ (virtual reality) ได้ด้วย ผมว่า..จำเป็นสำหรับสถาปนิก ในสหศวรรษใหม่นะครับ วิชาการหลายแหล่ในคณะฯหรือในอินเทอร์เนท ในห้องสมุด ในร้านขายเอกสารหรือชีทประกอบการสอนของคณะเรา รวมทั้งวิชาที่สอนเรียนกันในห้องเรียน ผมมักเปรียบเหมือน กองขยะและการเรียนรู้ คือ การฝึกทักษะฝึกเลือกสรรขยะนั่นเอง ผู้เรียนต้องรู้จักเอาเศษขยะเหล่านี้ไปสร้างสรรสิ่งใหม่ๆและ ทำให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของเราแต่ละคนให้ได้ เพราะฉะนั้นอย่าพึงมองข้ามขยะอะไรที่เราอาจนึกว่าไม่มีค่า เช่น การวาดรูป เพราะถ้ามองกันดีๆ ก็จะเห็นประโยชน์ดังกล่าวได้ เพราะที่นี่หรือที่ไหนก็เป็นวิชาการ แบบกองขยะแทบทั้งนั้น ให้ดีหน่อยก็เอามาจัดใส่กล่องใส่ถังเป็นหนังสือ หรือการบรรยาย แยกแยะกันออกมาเป็นของใครของมัน ซึ่งอาจทำให้สะดวกกับลูกค้า ได้เลือกสรรขยะ เอาไปแยกแยะ แล้วก็นำไปใช้เป็นขยะความรู้ของ แต่ละคนได้ง่ายขึ้น ..ก็เท่านั้นเอง คิดหรือมีคติอย่างนี้ บางทีอาจทำให้จิตของเราใหญ่พองโตขึ้นบ้างนะครับ ผมคุยมาตรงที่จะต้องการคุยหรือป่าว? ไม่รู้นะ เพราะเป็นคน ที่ชอบคุยให้ตัวเองฟังเป็นส่วนมากๆ ...ครับ โดย เพื่อนอาจารย์ [10 ม.ค. 2546 , 16:06:03 น.] ข้อความ 2 ข้อสอบความถนัดฯ ปีนี้ ก็ง่ายกว่าปีที่แล้วมากๆ ค่ะ ไม่มีการมองแบบเปอร์สเปคทีฟ ส่วนใหญ่จะเป็นการออกแบบ เหมือนว่าจะดูความคิด ข้อสอบก็ แบบว่า มีไม่ไผ่มาแท่งนึง เราจะเอาไปทำอะไรได้บ้าง แบบนี้ล่ะค่ะ อีกข้อก็เป็น แผ่นซีดี แล้วก็มีช่องให้วาดภาพนะคะ แบบว่า มีเส้นโค้งๆ อยู่มุมล่าง มีเส้น ตรงๆแนวนอนอยู่ตรงกลาง ให้เราวาดภาพแบบจินตนาการ ให้หัวข้อมา 2 หัวข้อ รู้สึกว่าจะเป็น พักผ่อนหรือฤดูร้อน อะไรนี่ กับ งานเลี้ยง ค่ะ และยังมีแบบว่าให้ออกแบบกรงนกที่เลี้ยงปลาได้ ให้กะคนที่อยู่บ้าน เล็กๆ ต้องการความสะดวกสบาย ทำนองนี้ล่ะค่ะ ก็ยอมรับค่ะ ว่าตัวเองก็วาดรูปไม่เก่ง แต่ว่าเป็นคนที่ชอบออกแบบ ชอบ จินตนาการ ก็เลยคิดอยากจะเข้ามาเรียนในคณะนี้ สำหรับคะแนน เอนท์ที่ซุ่มเก็บมาก็พอจะเข้า ม. ในกรุงเทพ ได้ แต่ด้วยเหตุผลส่วนตัวว่า กลัว กลัวสังคม กลัวความเป็นเด็กบ้านนอกของตัวเอง จะทำให้ตัวเอง ดูแตกต่าง ก็เลยตัดสินใจ เลือก ม. ต่างจังหวัดดีกว่า โดย กิ๊ฟ [16 มี.ค. 2546 , 15:59:32 น.] ข้อความ 3 อยากถามอาจารย์อีกนิดนึงฮะ คือพักหลังนี่ จะมีเด็กผู้หญิงสอบเข้ามาได้มากกว่าเด็กผู้ชายเรื่อยๆ อยากทราบว่า เป็นเพราะข้อสอบหรือเปล่าครับ คือ ผมคิดว่าผู้ชายและ ผู้หญิงมีความถนัดในด้านต่างๆไม่เหมือนกัน อย่างเช่นว่า ผู้ชายถนัด ด้านกลไก โครงสร้าง ผู้หญิงถนัดงานละเอียดเช่นพวก textile อะไร อย่างนี้ ข้อสอบความถนัดนี้มีผลในแง่ข้างต้นบ้างหรือเปล่าครับ เช่น เน้นด้านทฤษฏี ท่องจำมากไป หรืออะไรทำนองนี้ หรือเป็นเพราะผมคิด ไปเอง แล้วพวกเรื่องผลการเรียนครับ คือผมไม่เห็นว่าพวกที่ได้เกรดมากกว่า จะจำเป็นว่า ต้องเก่งกว่าพวกได้เกรดน้อยในการทำโปรเจคจริงๆเลย พวกจีแพ็คเยอะบางทีก็เป็นพวกนักทฤษฏีสูง เอาเข้าจริงก็ทำงานไม่เห็น ได้เรื่องเท่าไหร่ เราควรมีระบบการวัดผลการเรียนที่ดีกว่านี้หรือเปล่าครับ หรือว่าไม่มีทางวัดได้อยู่ดี โดย นิสิตไอดี [22 มี.ค. 2546 , 14:59:21 น.] ข้อความ 4 เรื่องการประเมินผล ทดสอบความถนัด คัดสรรคนเข้ามาเรียนในแต่ละคณะฯ คิดวิธีการใดๆ..ผมว่า..ยากจะหาความสมบูรณ์ได้ เหมือนการคนหาทฤษฎีสมบูรณ์ทางวิทยาศาสตร์ จนป่านนี้ก็ยังหากันไม่พบ..บางทีอาจไม่มีก็ได้ แต่คนก็พยายาม..โดยเลี่ยงไปหาทฤษฎีย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกัน..แล้วมาอธิบายความจริงต่างๆ ความเท็จ..ความจริงเลยมั่วกันไปเรื่อยๆ ผมคิดว่า..เรื่องบางเรื่องอย่าไปหามันให้วุ่น ถ้าจะทดสอบอะไร..ก็จงทำมันไปเถอะ อาจ โดยใช้สันขาติญาณดิบๆที่ติดตัวมาแต่ชาติก่อน ก็น่าจะใช้ ..ผ่านทดสอบได้ก็ดี..จะได้ไปทำสิ่งอื่นต่อ ไม่ผ่าน..ก็อย่าไปกลุ้ม เพราะคนทดสอบเราไม่ใช่ พระเจ้าแน่นอน..เผลอๆพระเจ้าอาจให้เราไปอยู่ ในที่ที่เหมาะสมกว่า..มีคติอย่างนี้อาจไม่ถูกหรอกนะ แต่ผมว่าทำให้เราสบายใจดีถ้าทำได้..และทำให้ เรายังมีความเชื่อมั่นหรือมีคุณค่าในตัวเองอยู่อีก ผมว่า..เรื่องนี้สำคัญ ต้องมั่นสร้างกำลังใจให้ตนเอง ไว้เสมอนะครับ ..เหตุผลก็พิสูจน์ได้ต่างๆนานา เช่นเรียนเก่งได้เกรดดี แต่ทำงานไม่ได้เรื่อง ก็มีเยอะ..บางคนก็ยังทำชั่วติดคุก..ก็มี ฯลฯ การมั่นทำใจให้บริสุทธิ์ สะอาดและเป็นสุขเข้าไว้ แม้ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าจะได้ไปสวรรค์ในชาติหน้าหรือป่าว แต่ที่แน่ๆคือ..จะอยู่ในสวรรค์ของชาตินี้แน่ๆ และ ก็ต้องแน่นอนที่จะได้พบพานแต่สิ่งดีๆ แน่เลย พลังความดีงาม..เป็นอนุภาคทางบวกนะครับ น่าจะทำให้เอกภพ "พองตัว" เป็นอนันต์ มากกว่า ทำให้ "หดตัว" นะครับ บางที..เว้นคิดถึงเรื่องที่เรายังควบคุมมันไม่ได้ ก็น่าจะดีกว่านะครับ..รอให้มีปัญญามากขึ้น อำนาจในการควบคุม หรือการมีความรอบรู้ ก็จะพิจารณาเรื่องต่างๆได้โดยง่ายขึ้นกว่า ที่เรากำลังเป็นหรือกำลังวุ่นวาย..อยูขณะนี้ นะครับ โดย เพื่อนอาจารย์ [23 มี.ค. 2546 , 09:12:59 น.] ข้อความ 5 ซอยมือเร็วไปหน่อย..เลยพิมพ์ผิด เช่น ..ยาก..เป็น..อยาก ค้นหา..เป็น..คนหา...อันหลังยังพอได้เรื่อง ก็ต้องขอโทษด้วยครับ เรื่อง "เพศหญิง" ได้คัดสรรกันมามากขึ้น ก็พอมีเค้า...ผมว่าดีนะ เพราะบทบาทของผู้หญิงมีส่วนน้อยกับการปกครองในอดีต โดยเฉพาะในสังคมไทย แม้จะยกย่องกันบ้าง แต่ก็ยังน้อย ...เอกภพพอพองตัวมากเข้า..ก็ จะต้องถึงคราวหดตัวลง ..ผู้หญิงกลับมามีบทบาท มากขึ้นแทนผู้ชาย น่าจะอยู่ในช่วงเอกภพหดตัว ละมัง..ครับ อย่าไปกังวลเรื่องการแบ่งเพศมากนัก ในทางพุทธศาสนา..ไม่มีเพศในชั้นปรมัตต์ คือ ทุกคนที่เป็นมนุษย์สามารถบรรลุธรรมได้เท่ากัน สัญญาณการหดตัวของเอกภพ อาจขึ้นอยู่กับบทบาท ของสตรีก็ได้นะครับ ดรรชนีความเป็น "ตุ๊ด" อาจ พอเป็นตัวชี้แนะก็ได้เหมือนกัน ...หากผมต้องไปเกิดใหม่ ในช่วงเอกภพกำลังหดตัว ...แม้ผมเป็นเพศชาย แต่ก็อาจมีพฤติกรรมเป็นตุ๊ดก็ได้..who care? โดย ขออีกที [23 มี.ค. 2546 , 09:29:19 น.]

วันจันทร์, มีนาคม 21, 2548

การมองสถาปัตยกรรมกับการมองผู้หญิง


การมองสถาปัตยกรรมกับการมองผู้หญิง
เคยนึกตั้งคำถามกับตัวเองครับ ว่าเวลาอ่านหนังสือจำพวกนิตยสารบางเล่ม ที่เอางานสถาปัตยกรรมมาลง เหมือนว่าเขาจะไปถามผู้ออกแบบจริงๆว่า วางแนวความคิดยังไง แล้วแสดงผลออกมายังไง ในเชิงลึกผมไม่แน่ในนะครับว่าเขาไปถามมาจริงๆรึเปล่า ปัญหาอยู่ที่ว่า การจะเสพงานสถาปัตยกรรมที่ไม่มีในหนังสือ หรืองานที่ไม่รู้จะไปถามผู้ออกแบบที่ไหน เราจะรู้ถึงสิ่งที่สถาปนิกซ่อนไว้อย่างไร มันเป็นเรื่องที่ผมเคยเรียนมาแล้วแต่ก็ยอมรับในจุดหนึ่งว่า เวลาออกไปดูงานจริงๆ ผมไม่สามารถตีตวามconceptจากสิ่งที่เห็นได้เลย อาจารย์(และท่านอื่นๆ)คิดว่าพอจะฝึกฝนการมองงานสถาปัตยกรรมพวกนี้อย่างไรบ้างครับ เท่าที่ผมนึกดู เห็นว่าจะมีแนวทางดังนี้คือ 1.ต้องไปเป็นสถาปนิกเพื่อที่จะพูดภาษาเดียวกันรับรู้ในสิ่งต่างๆผ่านการออกแบบไปด้วยเพราะเชื่อว่าการมีประสบการณ์จะทำให้มองงานออก 2.ต้องไปเป็นนักทำนิตยสารเพื่อที่จะได้เรียนรู้กลวิธีการออกแบบต่างๆให้เท่าทัน สรุปว่าในความคิดผมคือ เราจำเป็นต้องมีประสบการณ์+การสังเกตุที่มากพอจึงจะสามารถดูออกว่างานนี้ดีอย่างไร เหมือนกับการดุผู้หญิงสวยๆซักคนรึเปล่าครับ ขอบคุณครับ

โดย นนกฮูก33 [1 ก.ย. 2546 , 08:54:27 น.]

ข้อความ 1
การ "สัมผัส" หรือมอง งานสถาปัตยกรรม ขอเริ่มต้น...อย่างนี้ก่อนนะครับ ผมเพิ่งอ่านงานเขียนวิจารณ์ในคอมลัมม์หนึ่งของหนังสือพิมพ์วันนี้ เกี่ยวกับประเด็นการสัมผัส ที่ใช้ "ฐานคิด" และ "ฐานข้อมูล" เพื่อ เป็นบทสรุปอันเป็นผลึกแห่ง "ความคิดรวบยอด" อันจะเป็นเงา สะท้อนของ "วิธีคิด และ "วิธีการ" ในการมอง "สถาปัตยกรรม" หรือปัญหาใดๆ นั่นคือ การมองเพียง "ปรากฏการณ์" หรือ "รูปแบบ" หรือ "เนื้อหา" หรือบางคนอาจรับรู้เพียงในแง่ของ "ความรู้สึก" หรืออาจทะลุไปถึงขั้นของ "เหตุผล" ...การพัฒนาการรับรู้ จากขั้นของความรู้สึก ไปยังขั้นของเหตุผลนั้น จำเป็น ต้องอาศัยความสัมพันธ์กับความสัมผัสที่เชื่อมโยงกัน ระหว่าง รูปแบบ กับ เนื้อหา (contence) และระหว่าง ปรากฏการณ์ กับ เนื้อแท้ (essence) ของแต่ละสิ่งที่เกิด ขึ้นและดำรงอยู่ เช่น งานสถาปัตยกรรม หรือ ผู้หญิง
(มีต่อ..ครับ)

โดย อาจารย์ [3 ก.ย. 2546 , 16:09:55 น.]

ข้อความ 2
ในงานศิลปนั้น ..ศิลปินมักแสดงการสื่อความหมายของ สิ่งเหล่านี้ไว้ในงานศิลป์ของพวกเขา งานสถาปัตยกรรม ก็น่าจะเป็นเรื่องทำนองเดียวกัน การสื่อต่อผู้ดู โดยเฉพาะ สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ระหว่าง รูปแบบ กับ เนื้อหา ซึ่งจะต้อง ง่ายในการสื่อความรวมไปถึง เนื้อแท้ กับปรากฏการณ์ด้วย ศิลปิน หรือ สถาปนิก ต้องซื่อสัตย์ที่จะแสดงออกมาให้ได้ชัด เจนและสัมผัสให้ได้ ...จึงจะเป็นงานที่ทรงคุณค่า เท่าที่เราสัมผัสกันนั้น ...ค่อนข้างแค่ความสัมพันธ์ของรูปแบบ กับเหตุผล แต่ปัญหาคือรับมักเดาเหตุผลที่แท้จริงของสถาปนิก ซึ่งแต่ละคนมักโมเมกันตามเหตุผลส่วนตน งานศิลปะหรือ งานสถาปัตยกรรม จึงมักไม่สะท้อนความคิดของศิลปินหรือสถาปนิกจริงๆ จึงกลายเป็นงานที่ไม่สมบูรณ์ในเรื่องของ "คุณค่า" กันเท่าไรนัก อาจเป็นเพราะ ฐานคิด หรือฐานข้อมูล ในการออกแบบไม่ชัดเจน หรือไม่สะท้อนในแง่ที่เป็นความรู้ได้ นั่นเอง ผมอาจสรุปเอาว่า ...คุณค่าของงานสถาปัตยกรรมที่รวมเอาความ เชื่อมโยงต่างดังกล่าว เราสัมผัสกันได้ไม่ครบและพร้อมมูลนัก ..หรือ มีฐานความคิด ไม่มีความลึกซึ้งพอในการเสนอ "ความรู้" ...กระมังครับ? ผมอยากให้ลองกลับไปทดสอบพื้นฐานหรือเรื่องราวในเจตจำนงของ สถาปนิก ที่เรายอมรับเป็นศาสตร์ในการศึกษากันดูในเรื่องสถาปัตกรรม บางที อาจให้คุณค่า ...ที่น่าจะสัมผัสครอบคลุม รูปแบบ กับ เนื้อหา และความเชื่อมโยงกันของ ปรากฏการณ์ กับ เนื้อแท้ ได้ครบถ้วนกระมัง ซึ่งก็น่าจะตัดสินว่า งานเหล่านี้ ให้แรงบันดาลใจและเรื่องราว ที่พอ เสริมฐานความคิด และนำไปสู่การเพิ่มพูนความรู้ให้กับเราได้หรือไม่?
...รวมถึงภาพหญิงเปลือยด้วย ....นะครับ ...

โดย อาจารย์ [3 ก.ย. 2546 , 16:11:11 น.]

ข้อความ 3
ในแง่ความคิดส่วนตน..สำหรับผม งานศิลปะ หรือสถาปัตยกรรม ควร สนองคุณค่าให้กับคนทุกระดับชั้น ของสังคมได้ ..ตามความรู้ที่แต่ละคน พึงมี ...งานไหนผมไม่เข้าใจได้ แม้มี ผู้อรรถาธิบาย แต่ก็ไม่เข้าใจ ผมว่านั้น ไม่ใช่ปัญหาของผม แต่เป็นปัญหาของ ศิลปิน หรือสถาปนิกคนนั้น ผมไม่เห็นด้วยกับศิลปะหรือสถาปัตยกรรม ที่ชื่นชมกันเฉพาะกลุ่ม (elite group) ผมจึงไม่เห็นด้วยกับงานออกแบบที่ดีเด่น โดยการตัดสินของกลุ่มคนพวกเดียวกัน ผมว่านี่เป็นคุณค่าปลอมๆ ที่เกิดจากความ คิดแบบแยกส่วน การแสวงหาข้อมูลในฐานความคิดของ ศิลปินหรือสถาปนิกนั้นมีความจำเป็น หากเราต้องการความรู้ความเข้าใจที่ คนออกแบบต้องการเสนอให้ครบ นั่น เป็นงานที่ขยายคุณค่าในระดับสูงๆต่อไป เช่น งานศิลปะหรือสถาปัตยกรรมที่โลก ยกย่องกันทุกวันนี้ ไม่ว่าใครได้มีโอกกส มองหรือสัมผัส ก็เข้าใจคุณค่านั้นได้เอง ผมว่ามันเหมือนการเขียนนิยายที่คนอ่านทั่วไป ยกย่องกันถ้วนหน้า....แหละครับ

โดย อาจารย์ [3 ก.ย. 2546 , 16:24:34 น.]

ข้อความ 4
จริงอยุ่ที่มันไม่ใช่ความผิดของuserแบบที่อาจารย์ว่าน่ะครับ มันอาจจะเป้นข้อดีก็ได้ที่งานซักชิ้นเราสามารถมองในแง่อื่นที่สถาปนิกไม่ได้คิดไว้(เหมือนกับที่อ.ทิพย์สุดาให้ความเห็นว่างานสถาปัตยกรรมไม่ควรจะตาย..ควรจะต่อยอดความคิดไปได้เรื่อยๆ) เพื่อที่จะคุยให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้นผมจะลองยกตัวอย่างอาคารที่เป็นเจ้าปัญหาให้ผมมาถามคำถามนี้นะครับ อย่างเช่นงานออกแบบสนามกีฬาasian gameที่เป็นคล้ายๆโดม3หลังต่อกัน หลายคนมองว่าเป้นหลังเต่าแต่จริงๆแล้วสถาปนิกมีแนวคิดมาจากformพญานาค..อะไรอย่างนี้น่ะครับ จริงๆแล้วผมกำลังแสวงหาแนวทางในการพัฒนาการออกแบบน่ะครับเลย ถึงตอนนี้จะยกตัวอย่างสถาปนิกที่ผมสนใจแนวทางการออกแบบของเขาให้อาจารย์เข้าใจผมมากขึ้นนะครับ ทาดาโอะอันโดะ อาจารย์คงเคยทราบมาบ้างว่าเขาเป้นสถาปนิกที่ไม่ได้เรียนมาโดยผ่านtextแต่เรียนรู้จากการไปสัมผัสงานสถาปัตยกรรมจริงๆ เมื่อกลับมาทำงานของเขาเองเขากลับสามารถสร้างงานดีๆได้(งานดีๆในความหมายของผมคืองานที่สื่อสารกับคนอื่นๆได้อย่างเช่นchurch of light) ผมเรียนรู้จากการดูงานของสถาปนิกท่านนี้ว่าเขากำลังค้นหาภาษาสากลในการพูดงานสถาปัตยกรรมก่อนที่จะทำการออกแบบ ซึ่งมันก็เป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องการสื่อสารกับคนทั่วไปที่มาใช้อาคารได้ดีไม่ใช่หรอครับผมว่ามันก็ไม่ใช่สูตรสำเร็จเสมอไปสำหรับการออกแบบงานสถาปัตยกรรมแบบที่อันโดะทำ แต่ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ผมกำลังทดลองอยู่น่ะครับ ถึงตอนนี้ อยากให้อาจารย์ช่วยยกตัวอย่างการมองงานสถาปัตยกรรมหน่อยครับ
ขอขอบคุณครับ

โดย นกฮูก33 [5 ก.ย. 2546 , 13:32:47 น.]

ข้อความ 5
เท่าที่ลองสังเกตดู...การถาม-ตอบ ในเรื่องของ ศิลปะหรือสถาปัตยกรรมก็ดี มักไม่เหมือนกับการ ถามตรง ตอบตรง เหมือนในวิชาคณิตศาสตร์ แต่ จะเป็นผลในแง่ความพอใจ มากกว่าความถูกต้อง พูดให้ง่ายเข้าคำถามหรือคำตอบต้องตีความกันบน เงื่อนไขของคนถามและคนตอบที่อยู่กันคนละเหตุการณ์กัน ในระยะหลัง เมื่อเผชิญประเด็นปัญหา หรือคำถามใดๆ ผมมักจะหาทาง "ย้อนรอย" ของเรื่องเหล่านั้นก่อนเสมอ เหมือนว่า..เวลาศึกษาถึงทฤษฎีทางสถาปัตยกรรมใด ก็ ต้องย้อนกลับไปดูที่มาที่ไปในแง่ปรัชญา ซึ่งมักเป็นพื้นฐาน ของทฤษฎีเหล่านี้เสมอ วิธีนี้ทำให้ความเข้าใจสำหรับผม ดีขึ้น เพราะได้ทราบ "ขบวนการ" มากกว่า สิ่งที่เห็นกันโดดๆ อันมักทำให้เกิดภาพลวงตาที่ตัวเราเป็นผู้กำหนดได้ง่าย สมัยที่ผมเรียนสถาปัตยกรรม ทั้งในวิชาประวัติศาสตร์หรือทฤษฎี การออกแบบ ครูมักเน้นสาระของผลที่ปรากฏหรือสิ่งที่เห็น (ใน ภาพ) มากกว่าการเรียนรู้ด้วยการช่วยกันวิเคราะห์ในเรื่อง ขบวนการ หรือที่มาที่ไปที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น วิธีนี้แม้เราอาจไม่ได้คำตอบ หรืออาจมีความหลากหลายในคำตอบก็ตาม แต่กระบวนการเรียนรู้จะพัฒนาการ ในแง่ของการคิดของแต่ละคนได้ มากกกว่าการจำที่หมายรู้ได้จากครู นี่อาจเป็นประเด็น ที่เสี้ยมสอนเราให้เห็นสถาปัตยกรรม อันมีพื้นฐาน มาจากภาพในหนังสือที่สวยต่างๆเหมือนหาได้ตามหนังสือแฟชั่นทั่วไป
(ยังมีต่อครับ)

โดย อาจารย์ [7 ก.ย. 2546 , 00:10:37 น.]

ข้อความ 6
ผมไม่ได้ติดตามสถาปนิกที่มีชื่อเสียง เช่น อันโดะ มากนัก นอกจาก เมื่อเมื่อนิสิตสนใจถามมา ก็จะลองไปค้นดูเพื่อจะได้คุยกับพวกเขา ได้รู้เรื่อง ..เพื่อนฐานการเรียนรู้เรื่องสถาปัตยกรรมของ อันโดะ ตาม ที่คุณเล่ามา ผมว่าน่าสนใจ และน่าจะเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีกว่าใน ห้องเรียน เหมือน คอร์บู แฟรงค์ คานท์ หรือใครอีกมาก ที่ศึกษากัน กับวิธีสัมผัส โดยเฉพาะพวกงานในอดีต ตอนผมแปลบทความที่ เกี่ยวกับ คานท์ ก็เห็นว่าแรงบรรดาลใจในเรื่องของแสง เขาก็ได้มา จากการไปสัมผัสงานในอดีต คอร์บูก็เช่นกัน ได้ผลแห่งการสัมผัสมา จากสถานที่ๆตนเคยอยู่เกาะ มิคาโนท (ชื่อไม่แน่ใจ?) ในกรีก ซึ่ง สถาปัตยกรรมมี plain surface เป็นปูนฉาบสีขาวเรียบ ตัดกับสี ของทะเล เป็นต้น ...สถาปนิกที่มีชื่อในอดีต จึงมักเป็นนักเดินทาง มากทีเดียว ..ถ้าคุณ นกฮูก กำลังจะใช้วิธีการเรียนรู้แบบนี้ ..ผมขอ สนับสนุนเต็มที่ ..ลองท่องเที่ยวให้ทั่วไทยนะครับ อาจพบแรงบัน ดาลใจบางอย่าง ที่ช่วยให้คุณสร้าง ฐานคิด หรือทฤษฎีการออกแบบ ที่เหมาะกับคนไทยก็ได้ การทำความเข้าใ จหรือ อ้างอิงงานสถาปัตยกรรมส่วนหนึ่ง มักใช้ วิธการอุปมาอุปไมย (analogy) ของสิ่งหนึ่งไปเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง ผมเคยเห็นภาพล้อของอาคารซิดนีย์โอเปร่า เป็นรูปเต่าสามตัวขี่ เลียงกัน หรือ ที่สถาปนิกไทย..ตั้งใจออกแบบอาคารธนาคารเอเซีย ให้เหมือนหุ่นยนต์ อ้างว่าเป็นการสะท้อนสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่ต้องอิงกับเท็คโนโลยี ส่วนอาคารที่คุณเอ่ยถึง ก็น่าจะพยายามให้ เป็นการออกแบบทำนองเดียวกัน แต่คนอาจรับรู้ตามที่สถาปนิก ต้องการ คือ ให้เป็นพญานาค ไม่ได้ละมังครับ

โดย อาจารย์ [7 ก.ย. 2546 , 00:13:19 น.]

ข้อความ 7
(ตอนจบ) ผมมีโอกาสสัมผัสสถาปัตยกรรมต่างแดนในสถานที่จริง ไม่มาก เพราะไม่ชอบการเดินทาง แต่เท่าที่อยู่เที่ยวในอิตาลี่ระยะหนึ่ง ผมชอบดูความเป็นองค์รวมของบริเวณนั้น ไม่เฉพาะอาคารที่มี ชื่อกันในหนังสือประวัติศาสตร์ ชอบดูพฤติกรรมของคนและ หมู่คนที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ว่าสัมพันธ์กันและกันอย่างไร ถือเอา ความรู้สึกในความเป็นสถานที่ หรือ เหตุการณ์ มากกว่า พฤติกรรม หรืออาคาร โดดๆอย่างเดียว ..เดียวนี้ ผมก็สัมผัสกรุงเทพ ในทำนองเดียวกัน แต่เพราะภาพเมืองที่ผมเห็น มันอีเหละเขระขระ (นึกศัพท์นี้มาได้ไง?) เลยยังไม่เกิดแรงบันดาลใจ ตามที่ คานท์ เคยอุปมา "เหมือนเด็กน้อย เดินผ่านไปแล้ว จะรู้ว่าตัวเองจะเป็นอะไรในอนาคตได้เลย" ...ไม่ เหมือนอารมณ์ตอนที่ผมเดินผ่านเข้าไปในเมือง เซน่า หรือฟลอเรนซ์ ที่เคยให้แรงบัน ดาลใจผม..ว่าอยากเกิดใหม่เป็น ไมเคิล แองเจโล ..แต่ต้องไม่เป็นตุ๊ด นะครับ โดยสรุป การสัมผัสสถาปัตยกรรม ถ้าจะให้มีผลกับ ฐานความคิดในการสร้างทฤษฎีสำหรับตนเอง ผม คิดว่าส่วนหนึ่งต้องศึกษาในแง่ความเป็นสถานที่ ที่สถาปัตยกรรมนั้นปรากฏในเหตุการณ์ที่เป็นจริง อย่าเอาเพียงศึกษาทางหนังสือ ซึ่งจะได้เพียงภาพ สวยๆงามๆอันเป็นเพียง จินตภาพอย่างเดียว ยกเว้น ในกรณีที่สนใจในแง่ปรัชญา ที่ถือเอาเป็นฐานคิด ของสถาปนิกผู้นั้น ก็ขอคุยมาสนุกกัน ..อย่าถือเป็นคำตอบที่เด็ดขาด แต่หากทำให้คุณ "ต่อยอด" ในความคิดของคุณได้..ก็ถือเสียว่านี่เป็น "ขยะ" ที่พอเอา มาทำรีไซเคิล สำหรับคุณ นกฮูก แล้วกัน ...นะครับ ป.ล. ผมโพ๊สต์ข้อความนี้กับพ็อกเก็ตพีซี ตัวหนังสืออาจเรียงในแต่ละบรรทัดไม่ได้ ระเบียบนัก....
ต้องขออภัยที่ทำให้อ่าน ลำบากสักหน่อยนะครับ

โดย อาจารย์ [7 ก.ย. 2546 , 00:14:54 น.]

ข้อความ 8
ขอตบท้ายอีกนิด อาคารสถาปัตยกรรมใด หรือศิลปะชิ้นใด สร้างให้เกิดแรงบันดาลใจ หรือสร้างจินตนาการ ให้คนแต่ละคนที่สัมผัสได้ ผมว่า..สิ่งนั้นหรือผลงานนั้น ทรงคุณค่าสำหรับคนๆนั้น ...แน่นอนครับ

โดย อาจารย์ [8 ก.ย. 2546 , 11:52:55 น.]

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 16, 2548

เวลาของการ present ขายงาน












ผมมีปัญหาค้างคาใจมานานแล้ว คือ เมื่อเวลาผมpresentงานของผมกับอาจารย์ สุดท้ายผมมักจะพูดในส่วนที่มันยังเป็นจุดอ่อน ปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ผมยังแก้ได้ไม่หมด แต่เวลาหมดก่อน ไปด้วย ผล ทั้งเพื่อนและอาจารย์ บอกว่า จะพูดจุดอ่อนของเราไปทำไมวะ เดี๋ยวขายงานไม่ได้ การที่เราบอกอย่างนั้นไปแย่หรือครับ ที่เราบอกในส่วนที่งานยังมีปัญหา หรือว่า ช่างแม่ง งานขายได้แล้ว ให้ลูกค้าเผชิญกับความจริงเอง ผมยังสับสน โดย เด็กฝึกงาน [14 เม.ย. 2546 , 10:32:26 น.] ข้อความ 1 การสารภาพบาป.. ต้องกระทำต่อหน้า "พระ" หรือ กัลยาณมิตร ถึงจะได้ผล หากไปทำกับคนอื่นที่ไร้ เมตตาธรรม ไม่สนใจเอาทุกข์คนอื่นมาเป็นทุกข์ ของตนเพื่อช่วยเหลือ ...ก็ป่วยการที่จะไปสารภาพ การนำเสนองานให้ "ลูกขุน" ในการเรียนสถาปัตย์ฯนั้น โดย"ธรรมเนียม" เขามาเสนอความ "เก่ง" ที่เพียร สร้างมาในขั้นแบบร่าง เพื่อให้คนอื่นเห็นความสามารถ และอธิบายความคิดของเราที่เป็นรูปธรรม ว่าตั้งแต่เริ่ม เรียนรู้มาในคณะนี้นั้น มีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ..คือคิดเป็น คิดถูก คิดดี ว่างั้นนะ ส่วนมากพวกลูกขุน มักชอบชี้โทษกันอยู่แล้ว ความบกพร่องในงานไม่ต้องบอก เขาชอบหากันอยู่แล้ว การตรวจสอบอย่างนี้ หากมีเหตุผลบอกความบกพร่อง ให้ผู้เรียน ..ก็จะเกิดประโยชน์ ช่วยการเรียนรู้ได้ แต่ถ้าไม่สร้างความเข้าใจได้ เพราะผู้ตรวจสอบ เอาแต่ใช้อารมณ์ มีอัตตาในตนเองสูง ก็จะมีผลเสีย ทางด้านจิตวิทยาในการเรียนรู้ ..คือสร้างกรอบ ความคิดหรือทัศนะคติที่เลวให้กับผู้เรียนต่อๆไปได้ การชมเชยในการนำเสนอของผู้เรียน ..จำเป็นน่าจะมีนะ ตรวจหาความดีกันบ้าง ..ก็น่าช่วยเสริมกำลังใจกัน แต่ "ผู้ใหญ่" เมืองไทย มักไม่ค่อยเห็นดี เพราะ เกรงว่าเด็กจะเหลิง ..ซึ่งก็อาจจริง อย่างไรก็ตาม "ครูเลว" ชมอะไรที่เป็นเท็จ หรือติอะไรที่ไม่จริง ก็เป็นผลเสีย แก่ผู้เรียนทั้งสิ้น ..ดูอย่าง องคุลิมาล เคยเก่งมาก่อน หลังสอบผ่านเข้ามาเรียน ...เละตุ้มเปะ เพราะเจอครูเลว ตอบมาแบบปรับทุกข์กันนะ..ดูไม่ค่อยเป็นวิชาการเท่าไร เพราะไม่อยากให้ "กลุ้ม" ในสิ่งที่ไม่เป็นเรื่อง เรื่องบางเรื่อง ..บางทีก็ต้องเลือกที่จะละเสียบ้าง ตัดสินใจคิดทำอย่างนี้ ..รู้ว่าเป็น "กุศล" แน่นอน เช่นความซื่อสัตย์ในตัวเอง ..ใครจะว่าอย่างไร ก็...ช่างแม่ง..มัน ก็น่าจะหมดกลุ้มได้นะครับ ผมอยากลงท้ายว่า ..อันความรู้นั้นมีมากมาย พอๆกับขยะ ..กองไหนที่เรานำมาใช้แล้วเกิด เป็น "ปัญญา" ส่งผลให้เรามีความสุขความเจริญ โดยไม่เบียดเบียนใครหรือสัตว์ใด ..อันนั้นเป็น ความรู้ "จริง" ไม่อย่างงั้น ก็เป็นขยะเลวๆนี่เอง โดย เพื่อนอาจารย์ [15 เม.ย. 2546 , 09:39:38 น.]

คนไทยด้อยกว่าต่างชาติตรงไหน?


จากสายตาเด็ก(เคย)นานาชาติอย่างผม บอกได้เลยครับ ว่าต่างกันอย่างเห็นได้ชัดที่ความคิด คนไทยไม่(ค่อยอยาก)รู้จัก ไม่ยอมรับ รากของตน แต่กลับพิศวงกับค่านิยมต่างประเทศ ทั้งญี่ปุ่นหรือแถบตะวันตก ทั้งๆที่ประชาชนในประเทศนั้นเขานับถือรากตนเอง และถือว่าประเทศตนเองนั้นเหนือกว่าใคร คนไทยเราไม่ค่อยมีตรงนี้ อย่างTadao Andoเค้าออกแบบงานแนวใหม่ แต่ก็ไม่ได้ละเลยความเป็นShinto เป็นเซนในงานเค้า เพราะมันทำให้เป็นเขา เป็นชาวญี่ปุ่น เป็นงานที่เขาเท่านั้นออกแบบได้ พอเราๆมาเห็น ก็...ก็อปงานเขามา หารู้เนื้อหาสาระในนั้นไม่ นี่แหละ ที่แตกต่าง... โดย Chiaroscuro aka Gloria [18 มิ.ย. 2547 , 15:15:11 น.] ข้อความ 1 เพราะว่ามันมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องกันซะจิง คนไทยนับถือฝรั่งมากกว่าคนไทยด้วยกันเองนี่มันก็หมักหมมมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ฝรั่งมีแต่ของดีของเจ๋งมาให้(ซื้อ)ตั้งแต่ปีมะโว้ เราก็ยังตะบี้ตะบันซื้ออยู่จนปัจจุบัน ผิดกะญี่ปุ่นที่เค้าเอามาแล้วก็มาศึกษาจิงจัง คิดเอง พัฒนาเอง บางอย่างดีกว่าฝรั่งอีก อันนี้นี่มันก็สืบเนื่องมาจากวิธีคิดและระบบสังคม วัฒนธรรมโดยแท้ คนไทยอยู่สบายในน้ำมีปลาในนามีข้าว อากาศร้อนกินแล้วก็นอนสบายๆ ใครจะมานั่งคิดประดิษฐ์อะไร แต่จิงๆญี่ปุ่นนี่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ไม่เถียงนะที่แบบว่ายังไม่ลืมราก แต่หันมาดูวัยรุ่นญี่ปุ่นสมัยนี้สิ ก็ดูproฝรั่งมากพอควรเลยนะ อย่างสถาปัตย์นี่ก็ต้องพูดกันอีกต่างหากเรยเพราะว่ายิ่งมีปัจจัยเฉพาะfieldนี้อีกมากมาย ที่ทำให้เค้ายังสามารถถ่ายทอดเอกลักษณ์ชาติออกมาได้ โดย กัมสลากัมสลัมกัมสลามานัม [19 มิ.ย. 2547 , 00:00:05 น.] ข้อความ 2 ผมอยากจะเริ่มตรงที่...พระท่านสอนว่า.. คนเรามักชอบมองเห็นแต่คนอื่นๆ ไม่ ชอบมองกลับมาที่ตนเอง..เลยไม่เห็นตัวตน หรืออาจคิดว่าตัวของเราของๆเรา มาดูเมื่อไร ก็ได้..ตอนนี้เอาเป็นดูหรือเลียนแบบคนอื่นก่อน หากไม่เข้าท่าหรือเบื่อดูคนอื่นแล้ว จึงกลับมาดู ตัวเอง ...ยิ่งคนแก่ใกล้ตาย..จะนึกแต่ของๆตัวเอง บางทีรากเน่าๆก็ยังมัวชื่นชมจนตัวตาย..อัตตานี้ แหละเป็นปัจจัยให้เวี่ยนว่ายกันในวัฏฏไม่สิ้นสุด เผลอๆเราก็อาจเคยเป็นเช่นอันโด๊..อันเด๋กันมาแล้ว เพราะพระท่านเคยบอกว่า คนคนหนึ่งมีเวลาการ เวียนเทียนเกิดตายมานับครั้งไม่ไหว เก็บกระดูกของ แต่ละภพชาติมากองรวมกัน สามารถกองได้สูงไม่ แพ้ความสูงเขาพระสุเมร...อีเวอเรส เรื่องของการติดยึดในเชื้อชาติเผ่าพันธ์..ผมว่าเป็น สัญชาตญาณหนึ่งของมนุษย์ หากเชื่อแน่ว่าตัวมีดี ก็คงอวด แต่ถ้าไม่แน่ใจก็อาจอุบไว้ก่อน เลียนแบบ มนุษย์ฝูงอื่นที่ดังกว่า ..เพราะเผลอๆก็อาจได้เดินตาม ฝูงอื่นๆนั้นได้ การเลียนแบบคนอื่น..ผมว่าทำได้ไม่นาน มันคง ไม่ฟิตกับกำพืดตัวเองสักวันใดก็วันหนึ่ง ...แต่อายุ ยังเยาว์ ก็ต้องชอบลอง ลองเล่นของเล่นคนอื่น มัน อาจเป็นการพัฒนาประสบการณ์ได้เหมือนกันนะ ในทางการเมืองกลุ่มคนที่รักกำพืดตัวเอง มักเป็น ชนชั้นปกครอง ไม่อยากให้คนในฝูงแยกฝูงออกไป ชอบคนฝูงอื่น เพราะพวกตนจะเหงา เลยมักหลอกล่อ ออกอุบายต่างๆนานาให้ช่วยกันรักฝูงรักเผ่าพันธ์ เกิดมาคลานได้เชื่องช้าอย่างไร ก็เอาไว้อย่างนั้น โดนสัตว์อื่นคลานเร็วไปแย่งอาหารได้ก่อน ก็ไม่สน ยอมตายเพื่อรักษากำพืด"คลานช้า"ไว้จนตาย สัตว์พันธ์นี้ ปู่ดาร์วินบอกว่ามักสูญพันธ์ในที่สุด เพราะโม้ไว้ยาว...เลยมีต่อ โดย เพื่อนอาจารย์[21 มิ.ย. 2547 , 10:07:23 น.] ข้อความ 3 เรื่องของกำพืดหรือการติดยึดในคุณค่าต่างๆของเผ่าพันธ์ พระท่านเลี่ยงไปว่า...เป็นเรื่องของสมมุติบัญญัติ ตั้งกันคิดกันเชื่อกันมาเอาเอง ความเป็นจริงไม่มี เพราะถ้าคนไทยยึดกำพืดเดิมๆ..ศาสนาพุทธก็คงรุ่งเรือง อยู่ในเมืองไทยขณะนี้ไม่ได้ โลกมันเปลี่ยนแปลงกันทุกวัน เราก็ควรเปลี่ยนมัน ตามไป อะไรยึดไว้ได้ก็ยึดไว้ ที่ไม่ได้ก็ต้องปล่อยวางบ้าง เรื่องรูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นเรื่องปาหี่ เปรียบ กับสินค้าก็เหมือนการสร้างยี่ห้อ ก็ว่ากันไป ไม่อยาก ให้คนในฝูงหมั่นไส้ ก็รักษากำพืดไว้หน่อย มีแบร์นไทยๆ ส่วนแบบไหน เป็นรากแท้รากเทียม รากที่เป็นสากล รากทางปรมัตตธรรม จะรู้หรือไม่ก็ว่ากันอีกเรื่อง ค้นกันจนกว่าจะค้นพบรากแท้ๆ ของทุกๆคนจริง นั่นแหละ โลกก็จะถึงวันเวลาอวสาน...วันสิ้นโลกจริงๆ ก็คงต้องเล่นปาหี่สถาปัตยกรรม.....กันต่อไปเรื่อยๆ ...นะครับ โดย โม้อีก [21 มิ.ย. 2547 , 10:13:11 น.] ข้อความ 4 เมื่อวานเราคุยกันในชั้นเรียนปีห้า วิชาสัมมนา โดยมีอจ.ดร.รชพร ชูช่วย ให้ข้อคิดของอิทธิพลทางความคิดของ ตะวันตกที่มีต่อการศึกษาและออกแบบ สถาปัตยกรรมในบ้านเรา มีประเด็นที่น่าสนใจหนึ่งคือ องค์ความรู้ ที่เกิดจากการบันทึกหรือรวบรวมความรู้ต่างๆ ของชุมชนหรือของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน อัน จะนำไปพัฒนาเป็นวิทยการอื่นๆต่อไปนั้น ทางประเทศตะวันตกเขากระทำเรื่องนี้กันมาก่อน มหาวิทยาลัยแห่งแรกก็เริ่มกันที่นั่น การเรียนรู้ ก็ได้แพร่หลายไปสู่คนทุกระดับของประเทศ ไม่กระจุกกันในแค่ชนชั้นปกครอง ความรู้เมื่อมีการแพร่ขยายก็มีพัฒนาการ วิทยาการต่างๆเกิดขึ้นตามมา วิชาสถาปัตยกรรม ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง และมีความเชื่อมโยงกับ วิชาการสาขาอื่นๆ ประเทศเราหรือในแทบทุกชุมชนทุกประเทศ ก็มีความรู้ต่างๆ(เพื่อการอยู่รอดของชุมชน)ของตน เกิดขึ้นกันทั้งนั้น แต่เผอิญเราไม่เคยคิดสร้างองค์ความรู้เหล่านี้ไว้เพื่อ ประโยขน์แก่คนอื่นๆในชุมชน หรือเพราะไม่มีวิทยาการการบันทึกที่ดีพอ หรือไม่ชอบการบันทึก ความรู้หลายเรื่องก็เลยถูกลืมและสูญหายไป ครั้น พอทางตะวันตกเกิดแหล่งเรียนรู้ ผู้นำของเราก็จึง ตระหนักถึงความสำคัญนี้ มหาวิทยาลัยเลยเกิดขึ้น แต่เราต้องเรียนรู้ในเรื่องที่เป็นองค์ความรู้ของ ชนชาติอื่น เรียนไปเราก็พัฒนาการเป็นวิทยาการ ไปใช้กันอย่างทุลักทุเลกันตลอดมา โดยเฉพาะทาง ด้านสถาปัตยกรรม เพราะเราสร้างหลักการออกแบบ จากรากเหง้าความรู้ของตะวันตก พอมารู้ตัวและอยากอวดรากเหง้าหรือความรู้ของตนเอง เราก็ไม่รู้เพราะหาความรู้ไม่เจอ เพราะไม่มีองค์ความรู้เรื่องของสถาปัตยกรรมที่ยอมรับทั่วกัน มาก่อน การเรียนรู้เรื่องสถาปัตยกรรมจึงกระจัดกระจาย จับเอาได้เป็นแบบรากแขนงฝอยๆ การปลูกฝัง รากเหง้าความรู้พวกนี้ก็ขาดๆเกินๆ จับหลักประเด็น ได้ยาก ความรู้ความเข้าใจและการแพร่หลาย ก็เลย ไม่หยั่งลึกลงในสำนึกของคนในชาติทั้งมวล ไม่ได้ ผลสรุปที่เป็นแก่นสารและการยอมรับได้โดยทั่วกัน ขณะนี้เรากำลังเริ่มย้อนรอยสร้างองค์ความรู้ โดย เฉพาะสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งเรามีกันมาก่อน แต่ ไม่เคยรวบรวมกันไว้เป็นองค์ความรู้เพื่อการแจก แถม หากมีการกระทำเพื่อสร้างองค์ความรู้นี้ต่อไป แม้ว่าจะได้องค์ความรู้จากรากที่จริงบ้างเท็จบ้าง ก็ยังดี และอาจหลงยึดถือเป็นรากเหง้าสมมุติของเราได้ต่อไป ..กระมัง..ครับ โดย เพื่อนอาจารย์ โม้มาอีก [23 มิ.ย. 2547 , 09:41:44 น.]

ชีวิตหลังเรียนจบสถาปัตย์


อยากให้อาจารย์ เล่าตอนอาจารย์กำลังจะจบว่าอาจารย์เตรียมตัวอย่างไร ในการออกไปเป็นผู้ใหญ่(ทำงาน)ครับ

โดย นิสิต ปี 5 [25 ก.ย. 2546 , 01:01:30 น.]

ข้อความ 1
การวางแผนชีวิตหลังเรียนจบ เป็นเรื่องดี แต่อย่าไปซีเรียสกับความสำเร็จหรือล้มเหลว ในแผนมากนัก การวางแผนที่ดี คือมีแผน ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ในสมัยของผม ...จบแล้วต้องหาเงินเลี้ยงตัวเอง เพราะคนคอยเลี้ยงดูไม่มี และเพราะเรียนในคณะนี้ ได้เห็นแต่สิ่งสวยงาม และฝันค้างของบรรดาครูถึงแดนสิวิไลซ์ ตะวันตก เลยพักนั้น..เพ้อจะไปเมืองนอกให้ได้ จบแล้ว แต่เกรดไม่ดี เพราะรักสนุกมากกว่า รักเรียนแบบบ้าเรียน เลยต้องปิดช่องว่าง เรื่องเกรด หากจะไปเรียนที่เมืองนอก ในสมัยนั้น ต้องเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ท๊อปเทน (ivy-league schools)เท่านั้น ถึงจะแน่จริง
ไปทำงานเพื่อเพิ่มเกรดในสำนักงานสถาปนิกชั้นนำตอนนั้น เพราะรุ่นพี่สนับสนุน ลำพังฝีมือเขียนตีฟที่มีตอนนั้น เขาไม่รับ เพราะยังไม่เข้าขั้นมือเซียน แต่อาศัยตื้อหน้าด้าน ทำไปถึงสามปี พอพบเนื้อคู่จึงลาออก สัญจรไปเมืองนอกทันที ไปที่มหาวิทยาลัย ชั้นนำอย่างว่า เดินไปเคาะประตูห้องคณบดีฝรั่ง เพื่อสมัครเรียน ด้วยความมั่นใจ เพราะมีจดหมายครูของผม ซึ่งเป็นศิษย์ คนโปรดของท่านอยู่ในมือ พอครูฝรั่งอ่านเสร็จ ยิ้มทำเล่นตัวอยู่สักพัก ก็นัดให้มาเรียนกันเลย สมัยนั้นเข้าเรียนที่ ยูเอสเอ ง่ายเหมือนปลอกกล้วย เพราะอยู่ใน ช่วงสงครามเวียตนาม คนหนุ่มๆมะกันไปสงครามกันหมด พวกหนุ่มกระเหรี่ยงเลยสบายทั้งการเรียนและการงาน
แต่ถ้าผมเป็นคุณ..อยู่ในสมัยนี้ ผมจะอยู่เที่ยว ที่เมืองไทย เรียนรู้ชีวิตให้ทะลุปรุโปร่ง ทำ ความรู้จักกับสถาปัตยกรรมและชีวิตคนไทย ให้ครบทุกจังหวัด แล้วจึงค่อยไปชุบตัวเมืองนอก แต่ถ้าครั่นเนื้อครั่นตัวอยากเรียนต่อเอามากๆ ผมแนะนำว่า ..น่าจะไปสมัครเรียนเปรียญธรรมเก้าประโยค มุ่งเป็นสมภารหรืออาจารย์สอนบาลีธรรมให้ได้ ทำได้อย่างนี้..ผมเดาว่าจะมีกระบวนทัศน์ใหม่ ที่ไม่ธรรมดาแน่นอน และจะดำเนินชีวิต ต่อไปอย่างมีความมั่นใจ มีความหมาย และสร้างสรรค์ งานสถาปัตยกรรม ได้ดีกว่าคนรุ่นเก่าๆ อย่างแน่นอน (เพราะตอบยาว...เลยต้องมีต่อ..ครับ)

โดย เพื่อนอาจารย์ [29 ก.ย. 2546 , 17:09:29 น.]

ข้อความ 2
ที่เล่ามาเพราะรู้แก่ใจว่า คุณถามเอามัน ถึงบอกไป คุณก็ไม่เชื่อ เพราะการวางแผน ชีวิตของใครนั้น เชื่อตามกันไม่ได้ และไม่ควรเชื่อ ต้องวางกันเอง ต้องอาศัยพระพรหมเป็นลูกน้อง คอยแก้ไขให้ หากแผนเกิดสดุดหรือมีปัญหา จะได้ไม่ต้องฆ่าตัวตายแบบพวกคนงี่เง่าใจร้อน ตรงนี้..นึกถึงตอนที่ผมไปอ้อนแม่ยายเพื่อขอแต่ง กับลูกสาว คือภรรยาผมในปัจจุบัน ผมบอกแผนการ ชีวิตเสียยืดยาว เพราะตั้งใจเตรียมทำมา และใช้เวลา มากกว่าตอนทำทีสิสด้วยซ้ำ คุณอาจลองเอาคำวิจารณ์แผน ของแม่ยายผม ไปลองพิจารณาก็ได้นะครับ แม่ยายผมวิจารณ์ว่า ...คนเราไม่ต้องวางแผน บ้าแผนบอไปให้มากเรื่อง ...จงอยู่ และมีชีวิตไปวันๆ ให้ดีกับปัจจุบันกาล ก็พอแล้ว...เพราะ ชีวิตย่อม ดำเนินไปตามกรรมของเรา ทำกรรมดี ชีวิตก็จะดำเนินไปทางดี หากทำกรรมชั่ว ชีวิตก็จะดำเนินไปในทางชั่ว
ฟังดูก็ง่ายดี ....แต่คงปฏิบัติได้ยาก เพราะตาม หลักทางพุทธศาสนาแล้ว นี่เป็นอาการของจิต ที่อยู่กับ "ปัจจุบัน" ซึ่งเป็นสาระอันสำคัญยิ่งในการ เจริญภาวนาทางพุทธศาสนา คนวางแผน มักหมกมุ่นกับเวลาของอนาคต ที่ยังมาไม่ถึง และพะวงกับเวลาของอดีตที่ยังคอยหลอกหลอนอยู่ บางคนถึงขั้น...กลัวอนาคตจะไล่ล่าเหมือนท่านนายก ก็มี ผมว่าไม่ต่างอะไรกับคนกลัวผี กลัวตาย กลัวเกิด และ สารพัดกลัวอื่นๆ แต่ถ้ากลับกัน..หันมาฝึกให้สติอยู่กับ ปัจจุบันกาล อย่างน้อยก็น่าจะทำให้ช่องว่างระหว่างอนาคต กับอดีตแคบลงๆ ถ้าฝึกไปเรื่อยๆ ก็อาจบรรลุสถานะปัจจุบันล้วนๆ คือเป็นความไร้กาล ก็ได้...นะครับ
นั่นหมายความว่า..ชีวิตที่ดำเนินไปตามธรรมชาติ และสิ่งที่เราพึงต้องการอย่างกลมกลืนกัน..คือ ด้วยความต้องการบนพื้นฐานที่จำเป็นเท่านั้น ชีวิตทำนองนี้ พระพุทธองค์ ได้ปฏิบัติเป็นแบบจำลอง ให้ทราบกันมาแล้ว ....แต่มีปัญหาเหลืออยู่ตรงที่ คนส่วนมากยังกลัวๆ และไม่กล้าหาญพอที่จะดำเนินรอยตาม ... ก็เลยต้องสร้างโวหารแบบสมมุติกันว่า ..แผนการชีวิตของฉัน .. ควรเป็นเช่นไร? ..วานช่วยบอกที ..แม้ฉันจะไม่เชื่อ ...ก็ตามที

โดย ขออีกที [29 ก.ย. 2546 , 17:11:30 น.]

วันพฤหัสบดี, มกราคม 13, 2548

ความกลัว..กับ..ความจริง


วิธีการค้นหา"ความจริง" มีมากมายและมีวิวัฒนาการมาช้านาน ความกลัว...ทำให้มนุษย์เข้าหาสิ่งยึดเหนี่ยว ศาสนาของความกลัวจึงอุบัติขึ้น
มนุษย์อยู่กับศาสนานี้มานาน จึงพัฒนาเป็นศาสนาของศีลธรรมกับสังคม ศาสนาของศีลธรรมยึดเอา"พระเจ้า"แห่งความกรุณาเป็นที่พึ่ง สิ่งที่เหมือนกันของสองศาสนานี้ คือ การมีพระเจ้ารูปร่างอย่างเดียว กับมนุษย์อยู่ในความรู้สึกนึกคิด ศาสนาพุทธ.. ต้องก้าวพ้นไปจากศาสนาของความกลัวและศีลธรรม ถือเป็นวิวัฒนาการของศาสนาระดับสูงสุด.. คือความมีอิสรภาพสูงสุด ของมนุษย์นั่นเอง จงมีความรู้สึกทางศาสนาครอบคลุมสรรพสิ่งทั้งหมดของเอกภพ จึงจะทำให้มนุษย์มีอิสรภาพ ไม่ต้องถูกคุมขังภายในตัวของมนุษย์เอง เพราะไม่มี"พระเจ้า" อยู่ในความรู้สึกนึกคิดอีกต่อไป ความว่างของเอกภพ กับพุทธปรัชญาจึงเป็นเรื่องเดียวกัน เรื่อง"ความว่าง" คือ คำสอนสำคัญ ของศาสนาพุทธ และมีเฉพาะในศาสนาพุทธ...เท่านั้น

ในหนังสือ Idea & Opinions ไอน์สไตน์ สนับสนุนในเรื่องนี้ ศาสนา ของความกล้ว ต้องมี"พระเจ้า"เป็นที่พึ่ง แล้วพัฒนาต่อเป็นศาสนาของศีลธรรม บัดนี้ "ความรู้สึกทางศาสนาสากลจักรวาล.. Cosmic Religion Feeling" คือ ความรู้สึกทางศาสนาที่ครอบคลุมสิ่งทั้งหมดของเอกภพ ได้ถูกค้นพบแล้ว...ศาสนาพุทธ โดยเฉพาะตามที่เราเรียนรู้จาก ข้อเขียนมหัศจรรย์ของ โชเปนเฮาเออร์ มีความรู้สึกทางศาสนาเช่นนี้ สูงมาก นับเป็นเรื่องยากมากที่จะอธิบายความรู้สึกเช่นนี้ให้แจ่มแจ้งกับบุคคล ที่ไม่มีความรู้สึกเช่นนี้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อไม่มี"พระเจ้า"ที่มี รูปร่างของมนุษย์ตรงกันกับความรู้สึกทางศาสนาสากลจักรวาล

ชาวพุทธ(แท้)..ไม่ควรให้ผู้อื่นมากล่าวเตือน...เช่นนี้เลย...ครับ

โดยคุณ : เด็กข้างวัด - 02/11/2004 11:56