เกี่ยวกับแนวคิดสถาปัตยกรรมหลังทันสมัย..
Post-Modern theory of Architecture
ในราวปี 1960s เกิดความข้องใจและไม่พอใจกระแสของความทันสมัยโดยเฉพาะในทางแถบอเมริกาเหนือ ที่สะท้อนออกมาเป็นหนังสือสองเล่ม คือ The Death and Life of Great American Cities (1961) เขียนโดย Jane Jacobs และ Complexity and Contradiction in Architecture (1966) (งานเขียนและวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของ Robert Venturi) นาง Jacobs ชี้ให้เห็นผลงานการออกแบบที่ล้มเหลวในการเชื่อมโยงกับชุมชนในรูปลักษณ์ของความเพ้อฝันของอาคารยุคทันสมัย ที่ซึ่ง Venturi วิจารณ์ว่าไร้ซึ่งความหมาย เพราะถูกออกแบบด้วยการเน้นถึงความเรียบง่าย และบริสุทธ์จนขาดความซับซ้อนที่ตรงกันข้ามกับคุณค่าเดิมที่มีของสถาปัตยกรรมในประวัติศาสตร์ ความไม่พอใจนี้ถูกเน้นย้ำในปี 1972 ถึงการทำลายทิ้งของอาคารสูงสำหรับอยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย (คนอเมริกันนิโกร) Pruitt-Igoe ในเมือง St. Louis อาคารที่พักอาศัยนี้สูง ๑๔ ชั้นที่สร้างได้ราว ๒๐ ปี โดยสถาปนิก Yamasaki (สถาปนิกคนเดียวกันที่ออกแบบอาคารคู่เวิร์ลเทรดที่โดนทำลายไปแล้ว) และเป็นแบบที่ได้รับรางวัลจากสมาคมสถาปนิกอเมริกันเสียด้วย เช่นเดียวกันกับการทุบทิ้งอาคารลักษณะเดียวกันในยุโรปและอเมริกาเหนือในสิบปีต่อมา กรณีเหล่านี้ถือเป็นสาเหตุของการเริ่มต้นของยุคหลังทันสมัย..หรือโพสท์โมเดิร์น หนังสือของ Venturi เรื่อง Learning from Las Vegas (ร่วมกับ Denise Scott Brown (ภรรยา)..และ Steven Izenour) พิมพ์ในปี 1972.เกิดขึ้นมาจากการศึกษาค้นหาสถาปัตยกรรมของความเป็นมนุษย์ขึ้นมาใหม่ ที่ถูกละเลยไปด้วยความบริสุทธ์อันเคร่งครัดของยุคทันสมัย ผู้เขียนพยาพยามเสนอแนะถึง ความสนุกสนานของสถาปัตยกรรมธุระกิจการค้า และป้ายโฆษณาทั้งหลายของเมือง Las Vegas และตามทางด่วนของเมืองด้วย Venturi และหุ้นส่วน John Rauch เสนอการออกแบบสถาปัตยกรรมในลักษณะใหม่ที่มีความคิดหลักแหลม มีความเป็นมนุษย์ และมีประวัติศาสตร์เป็นการอ้างอิง เช่น Tucker House, Katonah, N.Y. (1975), และ Brant-Johnson House, Vail, Colo. (1976). มีการสืบทอดความคิดของ Lutyens ผู้ซึ่งเน้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งกันในความรู้สึก และความซับซ้อน (ตามชื่อหนังสือของเขา) อันเป็นผลการออกแบบและการเรียกร้องลึกๆในงานของ Venturi และสถาปนิกอื่นที่เห็นพ้องกัน เช่น Charles Moore และ Michael Graves. โดยเฉพาะในงานของ Graves การออกแบบ Portland Public Service Building, Portland, Ore. (1980-82), และ Humana Tower, Louisville, Ky. (1986), มีลักษณะกล่องเช่นอาคารสูงในยุคทันสมัย หากแต่แต่งเติมด้วยการตกแต่งด้วยของที่ระลึกบางสิ่งเอามาจากประวัติศาสตร์ เช่น แนวเสาเรียงรายอิสระ ขอบระเบียงหลังคา ช่องโค้งกับสลักยึดบน และสิ่งอื่นที่แอบเอาของอดีตมาใช้ เช่นเดียวกับงาน Piazza d'Italia, New Orleans (1975-80), และอาคาร Alumni Center, University of California ที่เมือง Irvine (1983-85), ของ Moore ที่เชื่อมั่นในเรื่องสีสรรของอาคารที่ตั้งใจตอบสนองคุณค่าตามรสนิยมของมวลชน ทีไม่เคยได้รับการตอบสนองจากงานสถาปัตยกรรมในยุคทันสมัยเลย |
|
Michael Graves, Portland Public Service Building, Portland, Ore. (1980-82), |
อารมณ์เช่นนี้โดนปลุกเร้าขึ้นในเมือง Venice ปี 1980 เมื่อกลุ่มสถาปนิกชาวอเมริกันและยุโรปรวมตัวกัน ประกอบด้วย Venturi, Moore, Paolo Portoghesi, Aldo Rossi, Hans Hollein, Ricardo Bofill, and Lon Krier, นำเสนองานออกแบบต่างๆของพวกเขาขึ้นในงานแสดงนิทรรศการ ชื่อ "The Presence of the Past." ซึ่งจัดโดยองค์กร the Venice Biennale กลุ่มสถาปนิกนี้ถือเป็นสถาปนิกยุคหลังทันสมัยที่สำคัญ เป็นตัวแทนของมุมมองที่แตกต่าง หากแต่ร่วมกันในความทะเยอทะยานที่จะขจัดความหวาดกลัวในความทรงจำของอดีตสถาปัตยกรรมแบบทันสมัยให้หมดสิ้น
นอกจากการใช้องค์ประกอบในรูปแบบของความสนุก ออกแบบอาคารแบบไร้รสนิยม..kitsch ในทางตรงกันข้าม พวกสถาปนิกอื่นอย่างเช่น Allan Greenberg และ John Blatteau, เลือกใช้รูปแบบอย่างคลาสสิกที่ตรงไปตรงมา เช่นการตกแต่งห้องรับรองของกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯในเมือง Washington, D.C. (1984-85). อีกตัวอย่างที่มีความสมบูรณ์ในเรื่องประวัติศาสตร์อาจเป็นอาคาร J. Paul Getty Museum, Malibu, Calif. (1970-75), อีกความพยายามในการออกแบบลักษณะของคลาสสิกใหม่คือ งานของ Langdon and Wilson,ที่อ้างถึงเอกสารและการแนะนำทางด้านโบราณคดี ด้วยการเน้นลักษณะที่แท้จริง ตามแบบบ้านพักชาวโรมัน..Herculaneum เดิม คู่แฝดที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ในประเทศอังกฤษ คือรูปแบบของแบบสมัยนิยม.. populist ในงานของ Graves—คู่ขนานกับงานของ Terry Farrell (TV-am Studios, Camden Town, London, 1983), และงานของ James Stirling (Clore Gallery at the Tate Gallery, London, 1980-87), มีความเป็นคลาสสิกอย่างเถรตรง เจริญรอยตาม Quinlan Terry (Riverside Development, Richmond, Surrey, 1986-88), Julian Bicknell (Henbury Rotunda, Cheshire, 1984-86), and John Simpson (Ashfold House, Sussex, 1985-87). จิตวิญญาณการรื้อฟื้นออกแบบชุมชนในรูปแบบของคลาสสิก เสนอแนะในประเทศฝรั่งเศษด้วย อาคารรัฐสภา-- Senate Building, rue de Vaugirard, Paris (1975), ของ Christian Langlois และ อาคารประชุมภูมิภาค--Regional Council Building in Orleans (1979-81). การเน้นบริบทของสภาพแวดล้อมของชุมชนแผ่ขยายไปทั่วฝรั่งเศษ เช่นในงานออกแบบโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆของสถาปนิก Ricardo Bofill เช่น Les Espaces d'Abraxas, Marne-la-Vallee, ใกล้เมือง Paris (1978-83) ลักษณะเด่นของเสาขาด ด้วยคอนกรีตสำเร็จรูป เรียงรายสะท้อนลักษณะของภาษาออกแบบอย่างคลาสสิกที่จำกัด แต่มีความหมายเกินเลยออกไป แนวคิดที่สามของยุคหลังทันสมัย สะท้อนโดยความเป็นเหตุ-ผลแบบใหม่ (โดยทั่วไปหมายถึงการใช้เหตุผล..Rationality ระคนกันได้กับความไร้เหตุผล…Psyco-logic ในบางขณะ และต่อมาก็พัฒนาเป็นเรื่องเหตุปัจจัย คือเอานัยของเงื่อนไขมาประกอบการใช้เหตุผลด้วย) โดยรวมเข้ากันขององค์ประกอบที่สะท้อนคลาสสิกที่ตัดแยกออกเป็นชิ้นๆของศตวรรษที่ ๑๙ และศตวรรษที่ ๒๐ ตอนต้น แนวคิดในกระแสนี้เป็นส่วนของการสะท้อนออกในความเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของชุมชน โดยการรวมแรงกดดันทางธุระกิจการค้า และมโนทัศน์ของยุคทันสมัย แนวคิดเชิงเหตุ-ผลใหม่-- Neorationalism นี้เริ่มขึ้นในอิตาลี่ ที่ซึ่งสถาปนิก Aldo Rossi ได้เขียนหนังสือที่ทรงอิทธิพลชื่อ L'architettura della citt’ (1966; The Architecture of the City). Rossi's Modena Cemetery (1971-77) นำเสนอเรื่องหลักการเบื้องต้นที่เคร่งครัดของคลาสสิก และความสนใจเรื่องสภาพแวดล้อมโดยรวมของเขา เพราะมันเป็นการสะท้อนรูปแบบของชนบทในบ้านนอกและโรงงานต่างในเมือง Lombardy ในเวลาเดียวกัน มโนทัศน์ของความเป็นเหตุ-ผลนิยมใหม่ ได้เกิดขึ้นครั้งแรกกับคนสวิสพูดอิตาเลียน เช่นในงานออกแบบ Mario Campi (Casa Maggi, Arosio, 1980); โดยสถาปนิก Mario Botta; และ Bruno Reichlin และงานออกแบบบ้าน Casa Tonino, Torricella (1972-74) โดย Fabio Reinhardt เป็นชิ้นส่วนเก่าแก่อันหนึ่งในตำนานการออกแบบของ Palladio เรื่องคอนกรีตสีขาว ใกล้เคียงกับงานชิ้นนี้คือกลุ่มอาคารในมลฑล Basque รวมถึงงานออกแบบโรงเรียนที่เมือง Ikastola (1974-78) โดย Miguel Garay และ Jose-Ignacio Linazasoro; และ Casa Mendiola at Andoian (1977-78) โดย Garay; และงานออกแบบ Rural Centre at Cordobilla (1981) โดย Manuel Iniguez และ Alberto Ustarroz. หลายโครงการของสถาปนิกเยอรมัน Oswald Matthias Ungers--เช่นงานออกแบบ Stadtloggia ในศูนย์การค้า the Hildesheim marketplace (1980)—เสนอเรื่องทำนองเดียวกันของสภาพแวดล้อมตามหลักเหตุ-ผลนิยมใหม่ในเยอรมัน มีอิทธิพลต่อการเติมแต่งอาคารให้กับเมืองประวัติศาสตร์อื่นๆในเยอรมัน อิตาลี่ และฝรั่งเศษ สถาปนิกชาวเวนิส ชื่อ Hans Hollein ก็ถ่ายทอดความคิดเลือกสรรชนิดหยิบโน่นผสมนี่อย่างรุนแรง เช่นลักษณะพิเศษภายในของสำนักงานท่องเที่ยวออสเตรีย ในเมืองเวียนนา (1978), ซึ่งมีลักษณะย้อนยุคตามสมัยของเมืองที่เคยออกแบบโดย Otto Wagner และ Josef Hoffmann. งานออกแบบชุมชนของสถาปนิกชาวเบลเยี่ยมชื่อ Rob Krier ได้สะท้อนแนวคิดใหม่เหล่านี้ โดยสามารถเห็นได้ในงานอาคารที่อยู่อาศัยในเมือง Ritterbergstrasse, Berlin (1978-80). น้องชายของเขา, Leon Krier, ได้รับอิทธิพลทางความคิดทั้งจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เรื่องรูปลักษณ์ของความเชื่อการวางผังแม่บทเมืองที่รุนแรง ในลักษณะรูปแบบอย่างคลาสสิกอย่างง่าย และโจมตีอย่างแรงในสิ่งที่เห็นว่าระเบียบเมืองและศักดิ์ศรีมนุษย์โดนทำลายด้วยวิทยาการสมัยใหม่
|
เกี่ยวกับ Robert Venturi สถาปนิกผู้นำของยุคหลังทันสมัย | |
เกิดในเมือง Philadelphia, มลรัฐ Pennsylvania ในปี 1925 ที่ซึ่งเขาเติบโตจนกลายเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียง เขาเรียนที่มาวิทยาลัย Princeton ได้รับปริญญาตรีทางศิลปะและปริญญาโททางด้าน Fine Arts. เขาได้รับทุนการศึกษาของ American Academy ใน Rome และเริ่มงานอาชีพในช่วงหลังของหลังปี 1950's. เป็นหุ้นส่วนกับ John Rauch ตั้งแต่ปี 1964 และกับภรรยาคือ Denise Scott Brown เพิ่มจากการประสบความสำเร็จในอาชีพสถาปนิก เขาเขียนหนังสือหลายเล่มเป็นที่นิยม เช่น เรื่องComplexity and Contradiction in Architecture, และเรื่อง Learning from Las Vegas; ซึ่งเป็นที่โจทย์ขานกันอย่างกว้างขวาง เขาขยายความคิดสร้างสรรค์ไปถึงการออกแบบ หม้อต้มกาแฟ นาฬิกาไก่ขัน จานและชาม หรือแม้แต่เชิงเทียนด้วย |
1961 Venturi House Chestnut Hill, PA | 1961 Guild House Philadelphia, PA |
1973 Art Museum Oberlin, OH | 1976 Franklin Court Philadelphia, PA |
เขาเคยทำงานกับ Louis Kahn และกับ Eero Saarinen ด้วยในระยะเริ่มแรกของอาชีพสถาปนิก เขาได้รับอิทธิพลอย่างมากจากงานของ Michelangelo, Palladio, Le Corbusier และ Alvar Aalto. สำหรับ Aalto เขากล่าวว่า “งานของ Alvar Aalto มีความหมายสำหรับเขามากสำหรับสถาปนิกยุคทันสมัย มันเป็นลักษณะที่เคลื่อนไหว สัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง เป็นแหล่งเรียนรู้ที่วิเศษในเรื่องศิลปะและเทคนิควิธีการออกแบบ." สถาปัตยกรรมของเขา เกี่ยวโยงกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกันและกัน ประวัติศาสตร์และรูปแบบของอาคารสะท้อนในความคิดสร้างสรรค์ของเขา ก็เพื่อการตอบสนองกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ แม้มันจะแตกต่างจากอาคารอื่นก็ตาม แต่ละอาคารถูกเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมของมัน เขาถูกจัดอยู่ในกลุ่มสถาปนิกของยุคหลังสมัย แม้เขาจะไม่เห็นด้วยกับความเชื่อบางอย่างของยุคหลังสมัยนี้ |
1980 Gordon Wu Hall Princeton, NJ | 1983 Molecular-Bio Lab Princeton, NJ |
1991 Sainsbury Wing National Gallery | 1994 Emergency Services Orlando, FL |
เขาออกแบบด้วยรูปทรงที่ง่ายแต่สื่อเป็นรูปสัญลักษณ์ บ่อยครั้งเขาใช้ความตลกและเย้ยหยันในการออกแบบ เขาใช้ลักษณะผสมของสากลนิยม (international style) และศิลปะแบบสุดโต่ง (pop art) ร่วมสมัยเป็นแนวทาง งานออกแบบของเขาสามารถเห็นได้จากการจัดแจงในรูปพื้นผิว ที่เป็นการตกแต่งและเป็นเชิงอนุสาวรีย์ถาวร (Monumentality) เขาใช้รูปเครื่องหมายและรูปแบบสัญลักษณ์ ทั้งในแง่งานทางกร๊าฟฟิค เป็นคุณสมบัติที่รวมอยู่ในการออกแบบของเขา "สถาปัตยกรรมควรเกี่ยวของกับความมีนัยยะและสัญญลักษณ์ และการอ้างอิงควรมาจากหรือเกี่ยวข้องกับสังคมและสภาพแวดล้อมในเชิงประวัติศาสตร์ของอาคาร" Robert Venturi นำคำกล่าวที่คุ้นเคยของ Mies van der Rohe ที่กล่าวว่า "น้อยคือมาก..less is more" มาเปลี่ยนเป็นคำพูดของเขาที่ว่า "น้อยคือน่าเบื่อ..less is a bore" นี่ไม่ได้หมายความว่าเขาสนใจการประดับประดาเพื่อผลในตัวมันเองเท่านั้น แต่หมายถึงความมีคุณค่าทั้งทางรูปทรงและความหมายของมันด้วย เขาพัฒนาหลายความคิดที่กลายเป็นแบบชุดสำเนา (นำไปใช้ซ้ำๆ) เช่น แยกหลังคาจั่วธรรมดาออกเป็นสองส่วนตรงแนวกลาง ใช้ช่องหน้าต่างกว้างเป็นรูปจัตุรัส อีกทั้งรูปครึ่งวงกลมที่ใหญ่เกินขนาดในการออกแบบของเขาด้วย หน้าต่างกลมเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในแนวความคิดของงานออกแบบที่สำคัญ
|
1996 MCA La Jolla San Diego, CA | 1995 Memorial Hall Harvard Universtiy |
|
เกี่ยวกับ… Robert A.M. Stern | |
Stern ...ถือว่าเป็นสถาปนิกและนักการศึกษาชั้นแนวหน้าอีกผู้หนึ่งของยุคหลังทันสมัย ได้รับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และไปได้ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเยลในปี 1965. ในขณะนั้นเป็นผู้กำกับโครงการของ the Architectural League ในเมือง New York ซึ่งสถาปัตยกรรมของเมืองนี้มีอิทธิพลกับเขาอย่างมาก เขายังเป็นที่ปรึกษาของรายการโชว์ทางโทรทัศน์ของ CBS ชื่อรายการ Eye on New York ซึ่งมีสถาปนิก Philip Johnson เกี่ยวข้องอยู่ด้วย
|
1974 Lang Residence Washington, CT | 1976 Westchester Residence NY |
1983 Chilmark Residence | 1986 Residence at Wilderness Point |
Stern ให้ความสำคัญกับการยึดถือแนวปฏิบัติเรื่องการจัดองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกัน แต่ก็พอใจที่จะแหกกฎเหล่านั้นด้วย กับมโนทัศน์ที่ได้จากการเดินทาง ซึ่งเสริมคุณค่าในความเอาใจใส่ต่อการสื่อสถาปัตยกรรมที่ต้องการหักล้างรูปแบบเดิมของสถาปัตยกรรมยุคทันสมัย เขาไม่สนใจการเลียนแบบที่ถูกต้องเคร่งครัด เมื่อมาเป็นรูปทรงในงานของเขา เขาสร้างสรรค์งานศิลปะที่เด่น ไม่น่าเบื่อและซ้ำๆกัน เพราะมันถูกตีความใหม่แทนการเลียนแบบเดิมที่คุ้นเคยกันมา |
1991 Disney World Resort Disney | 1992 Newport Bay Club Euro Disney |
1993 Roger Tory Peterson Institute | 1995 Medical Center Celebration, FL |
ผ่านการพิจารณาบริบทของสภาพแวดล้อม งานออกแบบที่อยู่อาศัยแถบฝั่งทะเลตะวันออก ทั้งปริมณฑลและที่ตั้งเฉพาะจุดของอาคาร อาคารที่เขาออกแบบขึ้นอยู่กับภูมิสถาปัตยกรรมและความสัมพันธ์ที่มันเกี่ยวข้องกับบริเวณโดยรอบของอาคาร เขาเชื่อว่าสถาปัตยกรรมผูกพันอยู่กับการแปรเปลี่ยนทันใดของเหตุการณ์ในสภาพแวดล้อมนั้นๆ รูปแบบของแผ่นไม่ซ้อนทับกัน (shingle style) เขาใช้มากในงานออกแบบที่อยู่อาศัยในแถบฝั่งตะวันออก มันกลายเป็นแบบฉบับเฉพาะเป็นเครื่องหมายการค้าของ Stern
|
1999 Bangor Public Library Bangor, ME | ด้วยวัสดุที่ใช้เช่น อิฐ คอนกรีต และไม้ในการตกแต่งผิวหน้า การตัดกันของผืนหน้าอาคารโดยการใช้วัสดุหลายๆอย่าง ผิวของวัสดุเป็นลักษณะหลักที่เน้นมากโดย Stern….เขากล่าวอ้างเรื่องนี้ว่า…"วัสดุสามารถบังคับให้เกิดรูปทรง และเสนอแนะอะไรที่เป็นไปได้บ้างสำหรับคอนกรีตอัดแรงในงานสถาปัตยกรรม หรือชนิดอื่นๆของคอนกรีต และนั่นคือทุกวัสดุสามารถเป็นไปตามที่สถาปนิกต้องการให้เป็น." งานออกแบบของ Stern แสดงความบริสุทธ์ในเรื่องคุณภาพของแสงธรรมชาติและที่ว่างที่เกิดจากการหุ้มห่อด้วยแผ่นผืน ในรูปปริมาตรที่เขาสร้างสรรค์ขึ้นมา |
งานออกแบบในช่วงแรกของ Stern มีขีดจำกัดในเรื่องภูมิลำเนาของเขาขณะนั้นด้วย ในการทำงานที่ในเมือง New York ที่ซึ่ง Meier, Graves, Hejduk, Gwathmey, และ Eisenman (the New York Five) ได้งานออกแบบมากมาย ตรงกันข้ามงานส่วนมากที่ Stern ทำในเมือง New York ถ้าไม่เป็นบ้านอยู่อาศัย ก็จะเป็นอาคารเช่าพักอาศัยเท่านั้น ในช่วงนั้นเขาพยายามที่จะสร้างความต่างกันในทางความคิดจากงานของ Robert Venturi. งานออกแบบของเขากลายเป็นเรื่องการเพาะเมล็ดพันธ์ของรูปแบบสถาปัตยกรรม ที่จะแสดงความเป็นตัวมันเองออกมาได้มากกว่าเป็นแค่เพียงรูปแบบจำลองตามประวัติศาสตร์ ที่ถูกลดความขัดแย้งกันให้น้อยลงในสถาปัตยกรรมของยุคหลังทันสมัยนี้ อย่างไรก็ตาม Stern ก็ได้ชื่อว่าเป็นสถาปนิกของยุคหลังทันสมัยคนหนึ่งด้วย (บางส่วนของเนื้อหาผสมผเสเรียบเรียงและใช้ภาพ… จาก….http://www.Archpedia.com และ World Encyclopedia Britannica ฉบับซีดีรอม) |
เพื่อความเข้าใจเรื่องแนวคิดหลังสมัยให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาวิชาอื่นๆ มีหนังสือเรื่อง.ทฤษฎีโพสท์โมเดิร์น เขียนโดย STEVEN BEST & DOUGLAS KELLNER คุณสมเกียรติ ตั้งนะโม จากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาเรียบเรียงบางส่วนของสาระในหนังสือนี้ กล่าวถึงการเปรียบเทียบแนวคิดระหว่างยุคทันสมัยและหลังทันสมัย ซึ่งผมยกมาอ้างไว้บ้างแล้ว ในเรื่องแนวคิดทันสมัยและอิทธิพลทางการศึกษาของบาวเฮาส์ แต่ยังมีอีกส่วนที่ยังน่าสนใจเกี่ยวกับแนวคิดหลังสมัยโดยเฉพาะ..จึงขอเพิ่มเติมให้พิจาณาเพิ่มเติม..(บางส่วนผมตัดทอน..เรียบเรียงพื่อความกระชับ) ดังนี้ วาทกรรมต่างๆเกี่ยวกับหลังสมัยใหม่ ยังปรากฎตัวในขอบเขตของทฤษฎีและเพ่งลงบนการวิจารณ์เกี่ยวกับทฤษฎีสมัยใหม่ และข้อถกเถียงกันต่างๆสำหรับความแตกร้าวของทฤษฎีสมัยใหม่ - ไล่ลำดับจากโครงการปรัชญาของ Descartes, ไปจนถึง the Enlightenment (เทียบได้คือ..ยุคทันสมัยของเรเนอซองค์นั่นเอง), จนกระทั่งถึงทฤษฎีทางสังคมของ Comte, Marx, Weber และคนอื่นๆ - ได้ถูกวิจารณ์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาเพื่อวางรากฐานการทำให้เป็นองค์ความรู้, การทำให้เป็นสากล และข้ออ้างแบบรวมทั้งหมด, การอวดอ้างต่อการค้นหาความจริงที่อยู่เหนือคำโต้แย้ง และลัทธิเหตุผลอันหลอกลวงและน่าสงสัย ในทางกลับกัน บรรดาผู้ปกป้องเกี่ยวกับทฤษฎีสมัยใหม่ ได้โจมตีลัทธิสัมพัทธนิยมหลังสมัยใหม่ (postmodern relativism), ลัทธิความไร้เหตุผล (irrationalism), และสุญญนิยม ..กังขานิยม (nihilism) ยิ่งไปกว่านั้น ทฤษฎีหลังสมัยใหม่ยังวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนความจริง และความเชื่อสมัยใหม่ที่ว่าทฤษฎีเป็นกระจกเงาสะท้อนความจริง โดยแทนที่ฐานะสภาพทางทัศนียวิทยาและลักษณะสัมพัทธ์ที่ว่า ทฤษฎีต่างๆ อย่างเก่งที่สุด ก็เพียงให้ทัศนียภาพเพียงบางส่วนของวัตถุต่างๆ และการเป็นตัวแทนของการรับรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับโลกนั้นเป็นเพียงสื่อกลางทางประวัติศาสตร์และทางภาษาเท่านั้น ทฤษฎีหลังสมัยใหม่หรือโพสท์โมเดิร์นบางทฤษฎี ปฏิเสธอย่างสอดคล้องต้องกันเกี่ยวกับทัศนียภาพขนาดใหญ่ (macroperspective) ทั้งหมดในเรื่องของสังคมและประวัติศาสตร์ ซึ่งได้รับการชื่นชอบโดยทฤษฎีสมัยใหม่หรือโมเดิร์น ทฤษฎีหลังสมัยใหม่เห็นด้วยและให้การสนับสนุนเกี่ยวกับทฤษฎีเล็กๆและการเมืองขนาดเล็ก (microthery and micropolitics..จากงานเขียนของ…Lyotard) ทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นยังปฏิเสธข้อสันนิษฐานต่างๆของทฤษฎีโมเดิร์นเกี่ยวกับความสอดคล้องกันทางสังคม และความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเหตุเป็นผล. ทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นสนับสนุนความหลากหลาย, ลักษณะพหุวิสัย, การแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, และลักษณะที่ไม่แน่นอนคลุมเครือ นอกจากนี้ ทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นยังละทิ้งเรื่องของเหตุผลและอัตบุคคลที่เป็นหน่วยเดียว (unified subject) ซึ่งได้รับการยืนยันโดยทฤษฎีโมเดิร์นเป็นจำนวนมาก ด้วยการสนับสนุนการกระจายออกจากศูนย์กลางทางสังคมและทางภาษา และอัตบุคคลที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย (fragmented subject) ด้วยเหตุนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนเกี่ยวกับแนวคิด ในที่นี้จึงอยากจะใช้ศัพท์คำว่า "ความเป็นหลังสมัยใหม่" ( postmodernity) เพื่ออธิบายถึงยุคสมัยที่ตามมาหลังจาก "ความเป็นสมัยใหม่" (modernity), และใช้คำว่า "ลัทธิหลังสมัยใหม่" (postmodernism) เพื่ออรรถาธิบายถึงขบวนการต่างๆและสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นในขอบเขตทางวัฒนธรรม ที่สามารถได้รับการจำแนกแยกแยะจากขบวนการต่างๆของสมัยใหม่ (modernist), รวมไปถึงตำรับตำราทั้งหลาย และปฏิบัติการต่างๆ ในหนังสือนี้ ผู้เขียนยังแยกความแตกต่างระหว่าง "ทฤษฎีสมัยใหม่" (modern theory) กับ "ทฤษฎีหลังสมัยใหม่" (postmodern theory) ด้วย, เช่นเดียวกับระหว่าง "การเมืองสมัยใหม่" (modern politics) ซึ่งได้ถูกสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมาโดยพรรคการเมือง, รัฐสภา, หรือการเมืองแบบสหภาพแรงงาน (trade union politics - รูปแบบองค์กรทางการเมืองที่รวมตัวกันโดยคนงานเพื่อต่อรองกับนายจ้าง) ในทางที่ตรงข้ามกันกับ "การเมืองหลังสมัยใหม่" (postmodern politics) ที่เชื่อมสัมพันธ์กับการเมืองขนาดเล็กที่มีฐานของท้องถิ่น (locally base micropolitics) ซึ่งท้าทายต่อขบวนการอันกว้างขวางของวาทกรรมต่างๆ และรูปแบบที่ถูกทำให้เป็นสถาบันต่างๆขึ้นมาของอำนาจ เพื่อให้ความกระจ่างแจ้งต่อความสับสนและวาทกรรมหลากรูปแตกต่างกันของโพสท์โมเดิร์น อันดับแรก ผู้เขียนจะนำเสนอวิธีการทางโบราณคดีหรือการขุดค้นเกี่ยวกับคำศัพท์ (จาก… Structuralism จนถึง… Post-structuralism) อธิบายอย่างละเอียดถึงประวัติศาสตร์ของมัน การนำมาใช้ในช่วงแรกๆ และความหมายที่ขัดแย้งกันต่างๆ ต่อจากนั้น ก็จะไปดูกันถึงพัฒนาการเกี่ยวกับทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นร่วมสมัยในบริบทของช่วงหลังทศวรรษที่ 1960s ในประเทศฝรั่งเศษ ที่ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับเงื่อนไขของโพสท์โมเดิร์นใหม่อันหนึ่งกลายมาเป็นแนวทางหรือแก่นแกนสำคัญในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970s ผมตั้งใจไว้ว่าจะลองหาต้นฉบับของหนังสือนี้ทั้งเล่ม มาลองอ่านดูเพื่อความเข้าใจในแนวกว้างของแนวคิดหลังสมัยนี้ แล้วจึงย้อนกลับมาดูว่ายังมีประเด็นอื่นอีกไหม? ที่เราสามารถมาประยุกต์ใช้กับการตีความในอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม แทนที่สนใจเพียงการรับแนวทางการตีความที่สถาปนิกหลังทันสมัยอื่นกระทำการตีความและประยุกต์ใช้กันไปแล้ว..แต่ด้วยการสร้างความเข้าใจถึงรากเหง้า ต้นตอ หรือแม้กระทั่งความหลากหลายมุมมองของทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งที่เราแต่ละคนสนใจกัน น่าจะก่อให้เกิดความแตกฉาน ขยายวงกว้างทางความคิดออกไปได้นอกเหนือการรับรู้เพียงแค่วาทกรรมของแขนงวิชาเดียวทางสถาปัตยกรรมเท่านั้น |
| |
ยังมีอีกงานเขียนที่ผมอ่านพบเกี่ยวกับ “กระแสความคิด” ของโพสท์โมเดิร์น คืออะไร..จากปฏิกริยาแบบมาร์กซ์ สู่ การเมืองแบบปฏิบัตินิยม โดย คุณ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ที่เป็นเรื่องหนึ่งรวมไว้ใน ทฤษฎีและความรู้ ในยุคโลกาภิวัฒน์ ของสถาบันวิถีทรรศน์ โดยมูลนิธิวิถีทรรศน์, ปีที่๕, ฉบับที่ ๑๙ ได้อธิบายเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและสังคมตามที่กล่าวอ้างไว้ข้างต้นอย่างดี โดยเฉพาะกล่าวถึงปฏิกริยาที่ปัญญาชนไทยมีต่อโพสท์โมเดิร์น..เช่นความคลั่งไคล้ที่มีคำว่าโพสท์โมเดิร์นปะหน้า ทั้งที่ยังไม่มีคำตอบที่ดี..ว่าอะไรดีกว่าอดีต และก็ยังไม่มีทางหาคำตอบที่ดี..ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือในอีกกลุ่มคนตรงกันข้ามที่บอกปัดอย่างไม่ใยดี อีกทั้งโจมตีว่า โพสท์โมเดิร์น ก็ไม่มีอะไรใหม่ เพียงแค่เป็นเรื่องเลอะเทอะเหลวไหล ขณะที่อีกลุ่มที่ “เป็นกลาง” พยายามที่จะอธิบาย โพสท์โมเดิร์น ให้มีประโยชน์กับสังคม เพื่อใช้เป็นวิธีคิดและเครื่องมือในการสร้างงานวิชาการและการเมืองบางอย่างขึ้นมาเป็นที่ยอมรับกันโดยเฉพาะกลุ่มเป็นกลางที่ว่า โพสท์โมเดิร์น เป็นกระแสความคิดหนึ่งที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย แยกย่อย กระจัดกระจาย ไม่ได้ก่อรูปเป็นทฤษฎีที่มีกฎระเบียบที่ชัดจนนัก ไม่มีอุดมการณ์เพื่ออนาคต ไม่ได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงโลก และยังไม่ได้พูดถึงลักษณะของสังคม (การเมือง) ที่พึงปรารถนา ความคลุมเคลือนี้จึงมักถูกต่อต้านโดยนักสังคมศาสตร์บางคนว่า โพสท์โมเดิร์น ใช้การไม่ได้ นักปรัชญาก็ยังแย้งว่ามันไม่ได้พูดถึงอะไร นอกไปจาก..ความสงสัยและกังขา เป็นลัทธิสุญญนิยมเพื่อการหักล้างทำลายเท่านั้น (ในทางสถาปัตยกรรม..เป็นเพื่อผลทางการตลาดเท่านั้นเองเช่น..อาคารทรงโรมัน....ผมว่าเอง) แต่สิ่งที่ผมสนใจคือการให้คำตอบที่พอน่ารับไว้พิจารณาคือข้อสรุปของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดของ โพสท์โมเดิร์น ที่คุณ ศิโรตม์เขียนไว้ในหัวข้อ โพสท์โมเดิร์นคืออะไร? ความว่า..ดังนี้ …โพสท์โมเดิร์น ตั้งคำถามกับความเชื่อที่ว่าความรู้นั้นเหมือนกระจก ส่วนโลกก็เหมือนวัตถุที่เราเอากระจกไปส่องให้เห็นได้อย่างถ้วนทั่ว สำหรับโพสท์โมเดิร์นแล้ววัตถุนั้นอยู่ห่างไกลจนไม่มีทางที่กระจกบานใดจะส่องได้ทั่วถึงและการจ้องมองวัตถุนั้นก็สัมพันธ์อย่างมากกับตัวตนและตำแหน่งแห่งที่ของบุคคลผู้ถือกระจกเอง... …สำหรับโพสท์โมเดิร์นแล้ว ศาสตร์และความรู้ทั้งหลายที่สร้างขึ้นอย่างมีระเบียบแบบแผนโดยมีเป้าหมาย ที่จะอธิบายโลกและเข้าถึง “ความจริง" นั้น แท้จริงแล้วจึงเป็นแค่คำอวดอ้างที่ได้รับการค้ำยันจากระบบอำนาจในสังคม จนทำให้คำอวดอ้างนี้ยิ่งใหญ่และกลายเป็นความรู้ที่จริงแท้และไม่มีวันเป็นอย่างอื่นได้... …โพสท์โมเดิร์นยอมรับการมีอยู่ของความจริง แต่การพูดถึงความจริงนั้นก็สัมพันธ์กับภาษาและถ้อยคำ ซึ่งไม่มีวันที่จะสะท้อนความเป็นจริงทั้งหมดให้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบได้ และที่เราทำได้อย่างมากที่สุดก็คือมองเห็นข้อจำกัดนี้ และไม่อวดอ้างว่าได้เข้าถึงความรู้อันยิ่งใหญ่ใดๆที่เป็นเสมือนกุญแจไขไปสู่ความลึกลับของจักรวาล.... …โพสท์โมเดิร์นไม่ได้ล้มล้างภาวะสมัยใหม่ ไม่ว่าจะในทางภูมิปัญญาหรือในทางโลกกายภาพ แต่สิ่งที่โพสท์โมเดิร์นทำคือการท้าทายและขัดแข้งขัดขาภาวะสมัยใหม่ไปตลอดเวลา แล้วเตือนให้ภาวะสมัยใหม่ตระหนักว่าตนเองไม่ได้เป็นบรรทัดฐานหนึ่งเดียวในการมองโลกและตัดสินความถูกผิดของจักรวาลไปตลอดเวลา... …โพสท์โมเดิร์นไม่ได้เสนออะไรที่ชัดเจน เพราะตัวโพสท์โมเดิร์นเองเป็น "กระแสความคิด" มากกว่าเป็น "สำนักคิด" ที่มีระเบียบวิธี ปรัชญา และเป้าหมายในการศึกษาที่ชัดเจนตายตัว แต่อย่างไรก็ดีนี้ไม่ได้หมายความว่าโพสท์โมเดิร์นจะไม่มีอะไรบางอย่างร่วมๆกันเสียเลย และยิ่งไปกันใหญ่ หากจะบอกว่าโพสท์โมเดิร์นไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสารอยู่ข้างใน.... ก็น่าจะจริงตามที่ผู้เขียนอธิบายไว้ ถ้าเราขีดขั้นให้ โพสท์โมเดิร์น หมายถึง “หลังสมัยใหม่” เป็นความแปลกแยกอย่างชัดเจนออกจาก “สมัยใหม่” ก็อาจทำให้เกิดวิวาทะกัน เช่นว่าสังคมไทยยังไม่พร้อมยอมรับการเข้าสู่ โพสท์โมเดิร์น จึงยังไม่น่ามีอยู่จริง ทั้งๆที่ โพสท์โมเดิร์น บ่งบอกถึงปฏิกริยาที่นักคิดจำนวนไม่น้อยมีต่อความผิดปกติของ ความคิด, ความเชื่อ, ความรู้, แบบแผนปฏิบัติ, สถาบัน และอะไรอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับยุคที่เป็นภาวะสมัยใหม่ไปพร้อมๆกัน ข้อสังเกตหนึ่งที่สำคัญคงเป็นไปได้ว่า บางสังคมเช่น ประเทศไทย อาจไม่ได้อยู่ในสังคมสมัยใหม่ที่สมบูรณ์ การดำรงหรืออาจมีอยู่ของ โพสท์โมเดิร์น จึงดำเนินควบคู่กันไป โดยที่อันหลังเป็นกระแสที่เป็นปฏิกริยาทางความคิดต่ออันแรกในเกือบทุกด้านเท่านั้น ยังไม่ปรากฏเด่นชัดในทางปฏิบัติ ผมเองคิดว่าสิ่งนี้เห็นได้ชัดในงานสถาปัตยกรรม หรือแม้กระทั่งงานศิลปะอื่นก็ตาม ยิ่งในด้านการศึกษาที่นักวิชาการด้านนี้ ยังแทบแยกแยะกันออกไม่ได้เลย อีกทั้งกระบวนการศึกษาสถาปัตยกรรมยังเน้นการปฏิบัตินำความคิด หากผลกระทบที่เกิดขึ้นยังไม่รุนแรง ความคิดที่สนับสนุนแนวทางการปฏิบัตินั้นก็คงต้องดำรงอยู่ต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง….หรือไม่ก็ แนวคิดสมัยใหม่กับแนวคิดหลังสมัยใหม่ จะอยู่ผสมปนเปและปะปนกันอย่างวุ่นวายขณะนี้…ลองมาพิจารณาเรื่องการถามตอบต่อไปนี้นะครับ…ในประเด็นคำถามของคุณ Gloria …เป็นการพูดคุยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน..ในเว็บบอร์ด โดยเด็กไทยที่มีความรู้ภาษาต่างชาติอย่างดี..ลองพยายามอ่าน..แปลคำถามของเขานะครับ | |
When will Post-modern(comtemporary)gonna end? Since Renaissance, the arts and the architectures are remarkably remarkable and unique! Until it came to now--the Post modern. Post modern is not a period, indeed! It doesn't have its own distinctive style. It's just a jumble of old styles being recycled and used again confusingly. I mean, why do we still use the corinthian lintels?! The classic period had ended for many centuries! Why don't we try to search for new ideas and create our own period, like the way Le Corbusier, Mies Van de Rohe, etc. created the Modern or the Functionalism? They had avoided the classic useless decorations as hard as they could, but now we are using them again! Instead of heading for the future, why are we stepping backward? โดยคุณ : Gloria - [ 25 ม.ค. 2002 , 14:27:09 น. ] --------------------------------------------------------------------------------ตอบ….. คำกล่าวอ้างของข้อเขียนต่างๆข้างต้น ก่อนมาถึงคำถามนี้..น่าจะเป็นคำตอบได้บ้างแล้วนะครับ..ต่อไปเป็นการคุยกัน ตอบกันเป็นการอ้อมๆ อาจไม่ตรงนัก ..ในความเห็นผมเรื่องวิชาการตอบกันตรงบางทีไม่ได้ ดีไม่ดีอาจเป็นต่างคนส่องกระจกเบี้ยวดูกันไปก็ได้เหมือนกัน ยิ่งต่างคนทำเป็นผู้รู้แล้วจริงๆไม่รู้เลย หรือหลงความรู้ผิดๆนึกว่าถูกต้อง..เลยยิ่งหลงไปกันใหญ่ทีเดียว ไม่ทราบว่าคุณ Gloria เป็นนิสิตหญิงต่างชาติ ที่เคยเห็นเดินไปมาอยู่ในคณะหรือป่าว ได้ข่าวว่าคณะเราเดี๋ยวนี้เข้าขั้นอินเตอร์แล้วนะ คือมีหลายเชื้อชาติมาร่วมเรียนกัน..ซึ่งดีมากๆ เรื่องทฤษฎีการสืบค้นในความรู้ทั้งหลายในโลกนี้...ผู้รู้บางท่านบอกเปรียบว่าเหมือนการแกว่งไกวของลูกตุ้ม คือย้อนไปย้อนมา แต่ตำแหน่งที่ดูเหมือนจะกลับมาที่เดิม..นั้นไม่ใช่เสียทีเดียวครับ มันมีส่วนคล้ายและแตกต่างกันอยู่ นานๆทีถึงจะมีการก้าวกระโดดเล็กน้อย ก็จะทำให้ความรู้นั้นเป็นที่ฮือฮาสักหน่อย เช่นตอนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมและหลังสงคราม..Modernism ยุคไอทีก็น่าจะเป็นยุคก้าวกระโดดสำคัญอยู่บ้าง..เช่นงานของ Kazuyo Sejima ที่อ้างเรื่องการสะท้อนข่าวสาร ผมว่าน่าจับตาดูนะครับอาจมีทฤษฎีก้าวกระโดดที่น่าสนใจกว่าโพสท์โมเดิร์นก็ได้ การเรียนรู้มันเวียนว่ายวนอยู่ในน้ำเหมือนปลา อย่างนี้แหละครับ จนกว่าปลาบางตัวมีครีบงอกกลายเป็นขา แล้วก็สามารถกระโดดมาอยู่บนบกแล้วก็เริ่ม เวียนวนหาความรู้อยู่บนบกแถวนั้นอีกต่อๆไป...ไม่จบสิ้นเป็นสังสารวัฏ ประเด็นคือว่า ความรู้ที่เรากำลังสืบค้นอยู่นี้เป็นความรู้จริง หรือไม่ เป็นไปเพื่อประโยชน์การยกระดับจิตวิญญาณ หรือการดำรงชีวิตที่เป็นมนุษย์สมบูรณ์หรือป่าว น่าจะต้องตรวสอบกันอยู่เหมือนกันนะครับ |
หมายเหตุ…สำหรับประเด็นนี้ผมอยากเพิ่มเติมเรื่องที่เคยอ่านมา ใน หนังสือ “ภิกษุกับนักปรัชญา” คุยกัน โดยคุณงามพรรณ เวชชาชีวะ แปลไว้น่าอ่านมาก ตอนหนึ่งที่พระธิเบต..หลวงพ่อ มัตติเยอ ริการุ กล่าวตอบเรื่องศิลปะและการแสวงหาสิ่งใหม่ ในแนวทางพุทธปรัชญาไว้ดังนี้…. | |
ความหมายของสิ่งใหม่ ความปรารถนาที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ ความกลัวที่จะลอกเลียนแบบของเก่าในอดีต เป็นการให้ความสำคัญกับ "บุคคลิก" แก่ความเป็นปัจเจกชนที่เข้าใจว่า จะแสดงออกโดยวิธีที่ไม่เหมือนใคร และมุมมองที่พยายามทำในทางตรงกันข้าม..คือสลายการยึดมั่นในอัตตาที่มีพลัง การแข่งขันที่จะทำไม่เหมือนใคร อย่างมากก็ฉาบฉวย เช่นศิลปินพยายามที่จะปลดเปลื้องจินตนาการให้เป็นอิสระ มักไม่ปรากฏในศิลปะศักดิ์สิทธ์ของศาสนา (พุทธสายธิเบต) แบบดั้งเดิม ที่มีไว้เพื่อสร้างเป็นสื่อวัตถุที่ใช้ในการทำสมาธิและเพ่งพิจารณา ช่วยเจาะลึกลงสู่ธรรมชาติของความจริง ศิลปะโดยทั่วไปเพื่อการปลุกอารมณ์ แต่ศิลปะศักดิ์สิทธ์นั้นเพื่อทำอารมณ์ให้หยุดนิ่ง การเต้นรำ การดนตรีทางศาสนา พยายามที่จะเชื่อมต่อเรากับความรู้และการปฏิบัติทางจิตวิญญาณ โดยการใช้สัญลักษณ์ ศิลปินดั้งเดิม (เพื่อศิลปะศักดิ์สิทธ์) ใช้ทักษะทั้งหมดสร้างศิลปะ แต่ไม่เคยปลดปล่อยจินตนาการให้เป็นอิสระ เพียงเพื่อคิดค้นสัญลักษณ์หรือรูปแบบใหม่ล้วนๆเท่านั้น ศิลปะศักดิ์สิทธ์นั้น ใช่ว่าจะติดยึดอยู่กับอดีตเพียงเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิญญาณจะเพิ่มส่วนประกอบใหม่ๆ ที่ได้จากประสบการณ์การทำสมาธิเพื่อเติมความรุ่มรวยอยู่ในศิลปะอยู่เสมอ..ศิลปินจะถอดใจและใส่พรสวรรค์ทั้งหมดลงในงานที่ทำ แต่บุคลิกของพวกเขาจะหายไปอยู่เบื้องหลังงานจนหมด ด้วยเหตุนี้ภาพวาดของธิเบตจึงไม่ปรากฏชื่อศิลปิน..ศิลปะยังทำหน้าที่เป็นสื่อระหว่างชุมชนวัดกับฆราวาส พระเองจะแสดงการร่ายรำอันงดงามที่สอดคล้องกับการทำสมาธิภายในที่อยู่ในขั้นต่างขณะนั้นด้วย..การร่ายรำจึงเหมือนการแสดงธรรมให้รู้ด้วยสื่อของการเคลื่อนไหวทางร่างกาย (bodily knowledge) ชาวบ้านในท้องถิ่นจะไม่พลาดงานฉลองในลักษณะนี้...ชาวบ้านยังสนใจงานศิลปะของศิลปิน เช่นรูปเคารพ "มันดาลา" ไม่ได้ตัดขาดจากศิลปะ แต่ไม่นิยมศิลปินที่หลงใหลไปในจินตนาการของตัวเอง..ซึ่งต่างจากศิลปินตะวันตกที่สร้างงานศิลปะที่สะท้อนด้วย "บุคลิก" ของศิลปินเองเสมอ..ศิลปะของตะวันออกมักเป็นลักษณะคลาสสิก ที่แสดงความยิ่งใหญ่ ด้วยการสร้างสรรค์กันมาต่อเนื่องเป็นแรมปี จึงทำให้เขาคิดถึงความแตกต่างระหว่างปรมาจารย์ทางจิตวิญญาณของธิเบต ที่สอนจากประสบการณ์ที่ได้จากการเพ่งพิจารณาหรือการทำสามาธิมานานปี.. ไม่ใช่ศิลปะแบบง่ายๆที่นิยมของตะวันตก โดยผู้สอนวิถีทางจิตโดยศิลปินปัจจุบันไม่มีประสบการณ์เป็นของตัวเอง หรือเป็นเพียงการสอนด้วยการพูดคุยที่ไม่ได้แสดงออกถึงความรู้อันแท้จริง สิ่งสำคัญที่สุดในการรับรู้ความจริงที่สะท้อนมาในงานหรือศิลปะนั้น ควรศึกษากันให้ลึกซึ้งและนำมาใช้กับตัวเอง และตระหนักรู้ได้ในความจริง ไม่ใช่แค่เพียงคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมาโดยการทุ่มเทเต็มที่เพียงอย่างเดียวนั้น จะมีประโยชน์อะไรหรือ? ..ชีวิตทางจิตวิญญาณแตกต่างจากการวิ่งไล่ตามสิ่งใหม่หรือช่วยการค้นพบสิ่ง (ที่นึกเอาว่า) เรียบง่าย สิ่งที่เราอาจสูญเสียรสชาติไปแล้ว ในทางกลับกัน เราน่าจะ..ทำชีวิตของเราให้ง่ายขึ้นด้วยการไม่ทรมานตัวเองเพื่อการได้มาในส่งที่เราไม่ต้องการมันจริงๆ และเราควรทำจิตของเราให้ง่ายขึ้นด้วยการไม่หวลหาอดีตและจินตนาการถึงอนาคตอีกต่อไป การสร้างสรรค์มักหมายถึงการแสดงออกถึงความรู้สึกส่วนตัวภายในทันที ซึ่งวนเวียนไปมาในขอบข่ายและแนวโน้มที่มีเงื่อนไขของความเคยชิน ดังนั้น จึงไม่ช่วยให้ปลดเปลื้องตัวเราจากอวิชชา (ความไม่รู้) ความปรารถนา หรือความเป็นศัตรู ฯลฯ ได้ จึงไม่ทำให้เราเป็นมนุษย์ที่ดีขึ้น ฉลาดหรือมีเมตตามากขึ้น การสร้างสรรค์ที่แท้ ต้องประกอบด้วย การสลัดเปลือกที่ห่อหุ้มของอวิชชาและความยึดมั่นในตัวเราไปทีละขั้น เพื่อค้นพบธรรมชาติที่แท้ของจิตและปรากฏการณ์ นั่นคือการค้นพบสิ่งใหม่โดยแท้จริง…ผมขอนำมาเสริมไว้เพื่องานสร้างสรรค์สำหรับสถาปนิกด้วยนะครับ..)…. ขอตอบเป็นภาษาไทย…จะได้คิดเป็นไทยคล่องกว่าตอบเป็นภาษาฝรั่งซึ่งต้องคิดแบบฝรั่ง หวังว่าคุณ Gloria อ่านไทยได้คล่องนะครับ โดยคุณ : เพื่อนอาจารย์ - [ 30 ม.ค. 2002 , 09:23:10 น.] ตอบ….กลับ ไม่ใช่หรอกครับ ผมเป็นแค่เด็กปี1ไร้เดียงสาคนหนึ่งเท่านั้น แต่ผมก้อเคยเห็นผู้หญิง Foreighner คนนั้นเหมือนกัน คุณเพื่อนอาจารย์ครับ คุณคิดรึเปล่าครับว่าการที่จะเกิดการ "ก้าวกระโดด" ของยุคสมัยได้จำเป็นต้องมีผู้ที่ "ดื้อรั้น" ในความคิดและยืนหยัดจะทำสิ่งที่แตกต่างออกไป ซึ่งบางครั้งต้องใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อให้สังคมยอมรับ อย่าง Van Gogh ที่เปลี่ยนศิลปะจาก academic เป็นศิลปะแห่ง "อารมณ์" อย่างแท้จริง หรือ le corbusier และความคิดแบบ functionism ที่เป็นผู้บุกเบิกคนหนึ่งของยุค Modern เขาเหล่านี้ต้องทนกับคำวิจารย์และคำด่ามากมายในยุคตนเอง แต่ก็ไม่เคยคิดจะเปลี่ยนไปตามกระแส เป็นไปได้ไหมครับว่ายุค post-modern นี้ไม่มีคนพันธุ์นี้แล้ว? โดยคุณ : Gloria - [ 30 ม.ค. 2002 , 17:29:54 น.] --------------------------------------------------------------------------------
ตอบ….. โลกในไซเบอร์สเปส..นี่แปลกแท้..เป็นโลกแห่งความไร้เพศไร้เชื้อชาติกันจริงๆ มีหรือ ? ชื่อเป็นฝรั่งมีความหมายของเพศหญิง แต่ดันมีคำตอบเป็น..คนไทยเพศชายเสียนิ… ถ้าเป็นนิสิตปีหนึ่ง ตั้งคำถามเหล่านี้ได้ ก็นับว่ามีฐานความรู้ความเข้าใจสถาปัตยกรรมไม่ธรรมดา ยิ่งมีทักษะในภาษาอังกฤษดี ยิ่งได้เปรียบใหญ่ เพราะสามารถหาอ่านตำราสถาปัตยกรรมได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นสินทรัพย์ทางความรู้มากกว่า การหาเอาหรือโดนยัดเยียดกันแค่ในห้องเรียน จุดอ่อนอย่างมากของนักเรียนไทย คือ เพียงแสวงหาความรู้แค่ในระบบหรือในห้องเรียนเท่านั้น ซึ่งผมคิดว่าปัจจุบันไม่พอเพียง และจะไม่เหมาะกับบางคนที่ต้องการรู้นอกเหนืออาจารย์ คือ รู้และเข้าใจกันแค่ในห้องเรียน การโต้แย้งทางความคิดจึงมักไม่ค่อยเกิดขึ้นนัก คุณ Gloria ควรใช้ความได้เปรียบทางภาษา และศึกษาจากตำราต่างประเทศให้มากนะครับ อ่านไปก็คิดไปด้วย อย่าเอาแต่เชื่อพวกสถาปนิกฝรั่งช่างพูดอย่างเดียว ต้องศึกษาเปรียบเทียบความรู้ทำนองเดียวกัน ในต่างสาขาวิชาอื่นบ้าง อย่างเช่นแนวคิดเรื่อง โพสท์โมเดิร์น หรือ ดีคอนสตรั๊คชั่น อาจทำให้เข้าใจประเด็น ทางฤษฎีในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น และอาจนำมาใช้เป็น application ในทางสถาปัตยกรรมที่เป็นของตัวเองได้ดีและสดกว่า applications ของ Eisenman และ Tschumi แทนที่จะคอยตามเอาอย่างเขาในงานที่เขาโฆษณาไว้ตามหนังสือสถาปัตยกรรม ความดื้อรั้นที่พอดีพองามและอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคุณสมบัติหนึ่งของผู้มีความคิดสร้างสรรค์ อาจไม่จำเป็นต้องเหมือน เลอคอร์บูซิเออร์ หรือสถาปนิกคนอื่น หรือบิลเกตส์ที่ปฏิเสธโรงเรียน ( เพราะขืนอยู่เรียนต่อไปก็เปล่าประโยชน์) สมัยนี้อาจต้องอาศัยนิสิตที่ฉลาดและมีเมตตาธรรมด้วย คือทนเรียนตามกระแสไป แต่รอโอกาสช่วยสอนการทวนกระแสความคิด (ทางอ้อม) ให้บรรดาอาจารย์ด้วยในเวลาเดียวกัน ก็เหมือนอย่าง Eisenman เขาก็เรียนไป คิดทวนกระแสไปจนถึงระดับปริญญาเอก แล้วต่อมายังยึดอาชีพสถาปนิกและนักการศึกษาไปด้วย ซึ่งเป็นผลดีทำให้วงการสถาปัตยกรรมมีสีสรรค์มากขึ้น สำหรับเมืองไทยก็ยังรอนิสิตอย่างนี้อยู่ เพื่อสร้างการก้าวกระโดดทางวิชาสถาปัตยกรรมที่เป็นแนวทางของตนเองกันเสียที คุณ Gloria ก็ช่วยเอาความรู้มากหรือคำถามมาอัดกันแรงๆหน่อยในบอร์ดนี้ อาจารย์คณะนี้จะได้รู้เสียมั่ง ใครเป็นใครนะครับ..ไม่เป็นนิสิตแค่ "ขาจู๋" กันเสมอไป โดยคุณ : เพื่อนอาจารย์ - [ 31 ม.ค. 2002 , 22:29:52 น.] -------------------------------------------------------------------------------- |
Good idea, Master's Friend. I too would love to see this forum highly academic. But since I myself know virtually nothing about architectural theories (particularly contemporary ones), I would also like to see topics in other areas raised here. As for myself, should there be anything a cross between architecture, engineering, physics and maths, I will be happy to help keep the discussion going on. โดยคุณ : TC - [ 1 ก.พ. 2002 , 16:59:15 น.] -------------------------------------------------------------------------------- | |
ตอบ … จุดอ่อนสำคัญอันหนึ่ง คือรากฐานความคิดทางปรัชญา ที่เป็นจุดเริ่มของ theory building ในความคิดของแต่ละคน ยังขาดครูและผู้สนใจ กับการเรียนการสอนปรัชญาในคณะนี้ (นี่ยังไม่รวมถึงแบบจำลองทฤษฎีของภาษาคณิตศาสตร์ หรือความรู้พื้นฐานธรรมชาติของทฤษฎีฟิสิกส์ใหม่ปัจจุบัน) เราจึงตามความคิด อันเป็นรากฐานทางทฤษฎีของพวกฝรั่งไม่ได้ สิ่งที่เราเรียนรู้กัน ก็เพียงการดัดแปลง applications (ผลการตีความเป็นรูปแบบสำเร็จ) ของพวกสถาปนิกฝรั่ง ซึ่งเป็นผลปลายเหตุของความคิดทางสถาปัตยกรรมตะวันตกทั้งหลาย หรือไม่..หรือตรงกันข้าม..ยังลุ่มหลงในสถาปัตยกรรมอดีต เชื่อถือในลัทธิพราหมณ์ของความเป็นอาตมัน ความเป็นถาวรนิรันดร์กาล ที่ไม่ยอมหรือไม่รู้จะพัฒนากันอย่างไรต่อไป อย่างเช่นไม่มีการเน้นในศาสนปรัชญาทางพุทธ ในการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมไทยกันเลย ทั้งๆที่แนวคิดปรัชญาหรือทฤษฎีฟิสิกส์ใหม่ ทั้งหลายกำลังเคลื่อนตัวเข้าหาปรัชญาแนวพุทธ หรือปรัชญาอื่นของตะวันออกเข้าทุกที เช่น ทฤษฎีควอนตัม..เรื่องการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลง ทฤษฎีองค์รวมของ ชีววิทยากระบวนระบบ (Systems Biology) เป็นต้น ในเรื่อง The Turning Point ของ ฟริตจ็อฟ คาปร้า พูดเรื่องเหล่านี้ไว้มากทีเดียว ผมเสียดายที่นักคิดนักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์อย่างคุณ สมัคร บุราวาส มีน้อยเหลือเกินในเมืองไทย เสียดายที่ท่าน(ตาย)จากไปเร็วด้วย ไม่อย่างนั้นงานเขียนทางปรัชญาวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ของท่าน จะมีมากกว่าเท่าที่มีเผยแพร่กันตอนนี้ ที่สำคัญคือ การเชื่อมปรัชญาหลายแหล่ของตะวันตกเข้ากับศาสนาปรัชญาของพุทธศาสนา อันทำให้พวกเราได้เรียนรู้และเห็นความสำคัญของพุทธศาสนา ที่เกี่ยวข้องในทางความคิดและทฤษฎีมากยิ่งขึ้น ก็อยากให้สิ่งเหล่านี้เคลื่อนเข้าห้องเรียนในคณะฯเรากันเสียที การมองเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่เห็นมีการขยับตัวกันเลย...ก็เหงาใจจริงๆ โดยคุณ : เพื่อนอาจารย์ - [ 4 ก.พ. 2002 , 14:48:57 น.] กล่าวโดยสรุปแล้ว งานสถาปัตยกรรมน่าจะพอมองเห็นความแตกต่างได้ง่ายกว่าแนวคิดทางปรัชญาหรือแม้แต่ในงานศิลปะ การพิจารณานั้นควรใช้หลักการเปรียบเทียบกันระหว่างโพ๊สโมเดิร์นกับโมเดิร์นนั้นแตกต่างกันอย่างไรเสียก่อน ซึ่งในงานสถาปัตยกรรมอาจมองได้ชัด โดยเฉพาะในเมืองไทยซึ่งถือว่าโรงเรียนสถาปัตยกรรมเริ่มสอนกันโดยแนวคิดของยุคทันสมัย (โมเดิร์น) เป็นหลัก ครูสอนสถาปัตยกรรมส่วนมากได้รับการฝึกและศึกษามาจากยุคสมันนี้ทั้งสิ้น จะว่าไปแล้วแนวทางการสอนสถาปัตยกรรมปัจจุบัน…กล่าวกันแบบฟันธงลงได้เลยว่า..ก็ยังเน้นหลักการออกแบบของยุคโมเดิร์นยังไม่เสื่อมคลาย แม้ในด้านสังคมและการเมืองก็ยังมีสิ่งเหล่านี้หลงเหลืออยู่ เช่น การยังเชื่อในทัศนะของ “ความโง่ที่ไม่เท่าเทียมกัน” อยู่ …หมายความว่ายังชื่อในความเป็นผู้ชำนาญการ และสถาปนิกนั้นยังเป็นผู้ที่รู้ดี และยังเป็นผู้ที่ควรกำหนดว่าความต้องการและรศนิยมทางสุนทรียศาสตร์ของผู้ใช้นั้นควรเป็นเช่นไร อิทธิพลทางการศึกษาที่สำคัญคือ แนวทางการศึกษาของ Bauhaus ซึ่งเป็นแนวทางของยุคทันสมัยที่ยอมรับกันชัดเจน คือการรวมจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะอุตสาหกรรม และสถาปัตยกรรม เข้าเป็นโรงเรียนศิลปะและการออกแบบ งานทางสถาปัตยกรรม มักเป็นที่รวมของศิลปะในแทบทุกแขนงกันไว้เสมอ สุนทรียศาสตร์ของยุคทันสมัย จะว่าไปแล้วปรากฏขึ้นมาในรูปแบบสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก บรรดานักทัศนะศิลป์ หรือ ศิลปินโมเดิร์นนิสท์ (the new avant-grade modern movement) เช่น Picasso และ Mondrian เป็นต้น แทบบทั้งนั้น ในหนังสือ Space Time and Architecture เขียนโดย Sigfried Giedion กล่าวถึงแนวคิดทางสถาปัตยกรรมของยุคทันสมัยไว้อย่างชัดเจนในเรื่องเหล่านี้ กระนั้นก็ตาม..ในเมืองไทยก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวในความสำคัญของยุคหลังสมัยที่มีอิทธิพลทางความคิดศิลปะและการเมือง ในทางการเมืองการเริ่มต้นที่เห็นได้ชัดคือความมั่นคงในระบอบประชาธิปไตย และการต่อต้านลัทธิ “ผู้ชำนาญการ” คือผู้นำทางเผด็จการในทุกรูปแบบ แม้สิ่งนี้อาจยังไม่ครอบคลุมในองค์กรย่อยๆต่างๆอื่นในสังคมไทย แต่ก็น่าเป็นสัญญานของการเปลี่ยนแปลงที่อาจเหมาได้ว่าจะมีการพัฒนาการในต่อๆไป…ตามข้อสันนิษฐานหนึ่งที่ว่า..โครงสร้างในเชิงเอกภาพปิด(close unity)ใดๆ จะไม่มีความเป็นจริงได้ต่อไป เช่น ความเชื่อในกฎเกณฑ์และระเบียบจะไม่สามารถสร้างสังคมในรูปแบบเดียวได้เลย เช่นเราไม่สามารถนำไปใช้บังคับให้ทุกคนนับถือศาสนาคริสต์อย่างเดียว เพื่อทุกคนจะมีความสุขเท่าเทียมกัน หรือเรื่องของมนุษย์นิยม เหตุผลนิยม หรือแม้แต่สังคมนิยม อันเป็นการพยายามสร้างเอกภาพให้ทุกคนเชื่ออย่างนั้นเพียงอย่างเดียว แล้วจะสร้างสังคมให้มีความสุข และสมบูรณ์แบบได้ แต่ความจริงที่ปรากฏในอดีตนั้นล้มเหลว ใช้การไม่ได้ และหาสังคมที่นับถือศาสนาเดียวไม่ได้เลย…ความคิดทำนองนี้ก็ปรากฏให้เห็นในงานสถาปัตยกรรม ที่เคยมีความพยายามเสนอการสร้างรูปแบบสากล (International Style) ขึ้น เช่นในงานเขียนหนังสือตามชื่อนี้โดย Phillip Johnson ซึ่งสถาปนิกผู้เขียนเองก็หันมาปฏิเสธเรื่องนี้เสียเองในต่อมา กล่าวโดยสรุป แนวคิดหลังสมัย ปฏิเสธแนวคิดตรรกะเชิงเส้นตรง ที่เหตุย่อมเท่ากับผล เป็นวิธีคิดอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ต้องยอมรับวิธีอื่นที่สร้างแรงบันดาลใจได้ด้วย ต้องยอมรับความหลากหลายในทุกสิ่ง ดังนั้นแนวคิดหลังสมัยจึงรื้อฟื้นคุณค่าเก่าแบบดังเดิมขึ้นมาใหม่ กลับไปยอมรับการใช้สมองอีกส่วนที่ใช้แรงบันดาลใจ, ความเชื่อ, ความรัก, อารมณ์ หรือจริยธรรม ที่ยุคทันสมัยได้เมินเฉยไป เข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินใจด้วย และกลับมาเน้นวิทยาศาสตร์ของความเป็นมนุษย์ (Humanity Science) เทียบเคียงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ(เชิงวัตถุ-เครื่องจักรกล)ที่เน้นโดยยุคทันสมัยเพียงอย่างเดียว ในต่างประเทศหากย้อนกลับไปราวทศวรรษ แนวคิดหลังสมัยทางด้านศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมได้รับความสนใจอย่างมาก พอๆกับการใช้ประโยชน์ของนวัตกรรมของข่าวสารสารสนเทศที่ก้าวหน้าของยุคหลังอุตสาหกรรม งานศิลปะและสถาปัตยกรรมของยุคหลังสมัย ได้รังสรรค์ความยุ่งยากซับซ้อน (complexity) ความขัดแย้ง (contradiction) ให้อยู่รวมกันในเอกภาพเปิด (open unity) มีรูปแบบที่ต่างกัน (heterogeneous style) และสร้างภาษาที่ตอบโต้กันอย่างเร้าใจขึ้น สำหรับสังคมไทยสิ่งที่มองเห็นได้ชัดดังกล่าวแล้วคือ การเมืองที่เป็นประชาธิปไตย, การมีส่วนร่วม และมีการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกันมากยิ่งขึ้น เอาละครับ..มาถึงคำถามสำคัญที่คุณ Gloria เกริ่นไว้ว่า แล้วแนวคิด “หลังสมัย” จะสิ้นสุดลงหรือไม่? และเมื่อไร? เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งใดในโลกใบนี้นั้น ผมคิดว่ามีการสิ้นสุดหรือเปลี่ยนแปลงแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่พ้น แม้ในเรื่องอื่นในความคิดคำนึงของมนุษย์ ส่วนเป็นเวลาใดตอนไหน จะระบุเป็นเด็ดขาดย่อมไม่ได้ เดี๋ยวจะเหมือนเรื่องที่โดนวิจารณ์กันเมื่อ Charles Jencks นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ประกาศวันและเวลาการสิ้นสุดของแนวคิดสถาปัตยกรรมทันสมัย ซึ่งตรงกับวันและเวลาที่อาคารพักอาศัย Pruitt-Igoe ณ เมือง St. Louis ในสหรัฐอเมริกา โดนรื้อทำลายลงพอดี…สำหรับผมพอจะเห็นการเปลี่ยนแปลงเริ่มเกิดขึ้นแล้ว (อาจเป็นเรื่องของแนวคิด Deconstruction ก็ได้) เพราะได้อ่านบทความสรุปการสัมมนากันมาเกี่ยวกับเรื่องนี้…After Post-Modernism..ซึ่งใช้ชื่อย่อว่า APM ในการสัมมนาที่เมืองชิกาโกเสียด้วย แต่ยังมีเรื่องทราบที่ค้างใจอยู่จึงขอระบายไว้ก่อนดังนี้…ผมเคยอ่านพบจากที่ไหน?..จำไม่ได้…แต่เคยเข้าใจบทความที่เขาเขียนไว้ดังนี้… | |
ความคิดเบื่องต้นของโพสท์โมเดิร์น เรื่องนี้ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด หากแต่มีความจริงแฝงเล้นอยู่บ้าง มันเปรียบเสมือนนั่งร้านคนงานในงานก่อสร้างที่ทำให้เรื่องราวของ โพสท์โมเดิร์น ดูอาจเข้าท่าขึ้นบ้าง เรื่องราวของคติทางความคิดต่างๆ คติโบราณ… เริ่มในสมัยของชาวกรีกและโรมัน เราเผชิญกับคำถามมากมาย เช่น เรารู้ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้อย่างไร? เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร? โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร? คนโบราณระลึกได้ว่าสิ่งที่ปรากฏอาจเป็นภาพลวงตาของความน่าเชื่อถือ ความคงที่ ที่รูปร่างของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งแท้จริงแล้วมีอาการและความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แล้วเราจะมีวิธีรู้ว่าสิ่งต่างๆเป็นความแท้จริงได้อย่างไรกัน? ปัญหาที่เสนอนี้ คนโบราณแยกสรรพสิ่งทั้งหลายออกโลกที่มองเห็นด้วยตา และโลกที่เป็น “จริง” ซึ่งมีความสมบูรณ์ เป็นองค์รวมและศักดิ์สิทธ์ ด้วยสิ่งศักดิ์สิทธ์ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่เราจะจับชั่วขณะของ “ความจริง” ของโลกสมมุตินี้ได้. โดยไม่อ้างถึงการเวียนว่ายตายเกิดของเรา เราเห็นความไม่สมบูรณ์ ความอ่อนแอ และหลายสิ่งที่สึกกร่อน ด้วยความช่วยเหลือของหลักเหตุผลอันศักดิ์สิทธ์และคณิตศาสตร์ สิ่งที่สึกกร่อนกลับกลายเป็นสิ่งราบเรียบ เป็นสิ่งสมบูรณ์สิ่งแล้วสิ่งเหล่าต่อการรับรู้ของเรา ความคิดเป็นอภินิหารของสิ่งศักดิ์สิทธ์แสดงให้รู้ว่า โลกที่แท้จริงคือ มโนทัศน์ที่เกิดขึ้นประจำวันของเรา ที่สืบทอดมาจากรูปแบบความคิดที่แสวงหากันมาก่อนหน้า โดยคนโบราณ คติสมัยใหม่… เริ่มต้นในสมัยเรเนอซองค์ (แต่ค่อยๆเป็นการเปลี่ยนจากคติโบราณที่สืบต่อกันมาจนถึงยุคสมัยกลางของยุโรป) ค่อยๆเปลี่ยนจากการถูกสอนให้เชื่อพระเจ้าคือความจริง—พระเจ้าในโบสถ์ ต่อมากลายเป็นการสอนตามทางบันทึกต่างๆในตำรา นักคิดที่ฉลาดบางคนเริ่มเชื่อการพบเห็นของตนเองและของหมู่คณะมากขึ้น แทนที่ยึดเอาพระเจ้าเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มนุษย์เองกลายมาเป็นบรรทัดฐานการตัดสินความเป็นจริงของสรรพสิ่งทั้งหลายต่อมา ความฉลาดของมนุษย์สามารถเกี่ยวข้องทั้งความจริงและความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงตลอดเวลา ความแน่นอนกำหนดวิธีการเพื่อค้นหาความจริงและประเมินผลที่ปรากฏเพื่อการพิจารณาความน่าเชื่อถือ ความพอเพียงที่ยอมรับในความเป็นจริงของสิ่งที่ตรวจสอบ ไสยศาสตร์และจารีตนิยมถูกแทนที่โดยความมีเหตุผลและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (วิธีที่ตรวจสอบได้ด้วยมวลชน) วิทยาการและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ถือเป็นสัญญานความรุ่งเรื่องของสังคม จนกระทั่งถึงมนุษย์สามารถควบคุมธรรมชาติด้วยความรู้และเครื่องมือของเขาเอง กระนั้นก็ตาม นักปรัชญาทั้งหลายก็ยังคงลำบากกับคำถามเดิมของความจริงนั้นเรารู้มันได้อย่างไร? Kant เสนอว่าเราไม่อาจรับรู้ความเป็นจริงของสรรพสิ่ง แต่เราสามารถเข้าใกล้ความจริงด้วยมโนภาพในใจที่เข้ากันได้กับสิ่งที่มันเป็น คำว่า “ปรากฏการณ์” มาจาก Kant หมายถึง สาระสำคัญของ “การใกล้ชิดกับความเป็นจริง” อย่างไรก็ตาม ในหลายปีต่อมา นักปรัชญาเริ่มตระหนักว่ามีทะเลขวางกั้นเป็นอุปสรรคให้ย่างก้าวไปไม่ถึงความเป็นจริง เพราะเรามีชีวิตในช่วงเวลาและสถานที่เฉพาะ ที่มีการกำหนดเงื่อนไขโดยชุดพิเศษของวัฒนธรรมและประสบการณ์ หากปราศจากพระเจ้าที่เป็นตัวเชื่อมเรากับความจริงแล้ว เราสามารถไปถึงได้อย่างไร? เราสามารถขยายขีดจำกัดของเราเองไปถึงสรรพสิ่งที่เป็นความแท้จริงได้อย่างไร? นี่ยังเป็นคำถามที่ยากและยังไม่มีข้อสรุปมานานนับปีแล้ว คติหลังยุคทันสมัย 'Postmodernism', เป็นคำที่ยังบอกถึงความเกี่ยวข้องตอบสนองในวงกว้างๆกับคำเดิมทันสมัย ความทันสมัยเกี่ยวข้องกับการยึดวิทยาศาสตร์เป็นตัวนำเราไปสู่ถนนของความรุ่งเรืองก้าวหน้า แต่ยุคหลังทันสมัย ตั้งคำถามว่าวิทยาศาสตร์ตามลำพังจะนำเราไปถึงได้จริงหรือ? ขณะที่ยุคทันสมัยได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์และวิทยาการที่ก้าวหน้ามากมายในการพัฒนาชีวิตที่ดีขึ้น ยุคหลังทันสมัยกลับไปมองซ้ำและฉงนใจว่าชีวิตเรานั้นแท้จริงแล้วดีไปกว่าการเป็นแค่ของจุกจิกและของเล่นทั้งหลายหรือไม่? มองไปที่ความสุดยอดของยุคทันสมัยในศตวรรษที่ ๒๐ ผลที่เกิดขึ้นคือความรุนแรงในรูปแบบของ ชาตินิยม เผด็จการเบ็ดเสร็จ ความชำนาญการนิยม การบริโภคนิยม และสวัสดิการสมัยใหม่ ซึ่งเราอาจเห็นความมีประสิทธิภาพและพัฒนาขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังมองเห็นการบั่นทอนความเป็นมนุษย์ลงไปด้วย ชีวิตเรากลายเป็นหรือมีผลกระทบจากเครื่องกลไกทั้งหลาย สำหรับคำถามซ้ำซากเกี่ยวกับ อะไรคือความจริงและความรู้? นักหลังทันสมัยนิยม อาจกล่าวว่า “ความจริง คือสิ่งที่ทุกคนตกลงยอมรับกัน” หรือ “ความจริงคืออะไรๆที่ใช้งานได้” หรือ “เฮ้..ไม่มีความจริง ..หากมีแต่สิ่งละอันพันละน้อยของความจริงโลดเล่นอยู่รอบๆ” นักยุคหลังทันสมัย โน้มเอียงไปทางปฏิเสธมโนทัศน์ของความจริงที่เกิดจากคติโบราณ แทนที่ด้วยความจริงเป็นความไม่คงที่ ความจริงที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา-เทศะ (ที่ว่าง) ที่ครอบครองอยู่ขณะนั้น และมุมมองที่หลากหลาย แทนที่จะค้นหามโนทัศน์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง น่าจะกลับมายินดีกับการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันและไม่คงที่ของแต่ละชีวิตจะดีกว่า ในหนังสือ ERIC Digest, Hlynka และ Yeaman (1992) เน้นประเด็นหลักๆของความคิดหลังทันสมัยไว้ง่ายๆ ดังนี้
ในบทอีกหนึ่ง Hlynka และ Yeaman (1992) แนะนำ (แบบแดกดัน!) ๔ ขั้นตอนง่ายๆของการกลายเป็นนักหลังทันสมัยนิยม คือ
ความคิดหลังทันสมัย เกิดมาจากแขนงวิชาของมนุษย์ศาสตร์ ระหว่างประเพณี-ปรัชญา วรรณคดีวิจารณ์ ศิลปะศาสตร์ สิ่งนี้ช่วยให้เห็นความแตกต่างระหว่างนักออกแบบและนักวิจารณ์หลังทันสมัยนิยม เหมือน C. P. Snow แย้งไว้ในหนังสือ The Two Cultures (1969), คนในแขนงวิชาวิทยาศาสตร์ มองเห็นอะไรที่แตกต่างจากคนในแขนงวิชามนุษย์ศาสตร์ ในแขนงวิชาการออกแบบ เช่น เรื่องการเรียนการสอน เกิดจากจิตวิทยาด้านพฤติกรรมมนุษย์ วิทยาการกระบวนระบบ และทฤษฎีการจัดการ มองเห็นว่า โลกที่มองผ่านแว่นขยายของ “วิทยาศาสตร์” นักหลังทันสมัยเอนเอียงมองเห็นในสิ่งที่เป็นวิกฤต ด้วยแว่นขยายของมนุษย์ศาสตร์ เป้าหมายของศิลปินหรือนักวิจารณ์ คือ ไม่เน้นความมากมายในการอธิบาย การทำนาย การควบคุม หากแต่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ การชื่นชมปรีดา และการตีความในความหมายต่างๆ หลายปีมานี้ แนวทางหลังทันสมัยได้ขยายรวมเข้าด้วยกันของ วิทยาศาสตร์ ความเสมอภาพสตรี การศึกษา และวิทยาศาสตร์สังคม แต่ทิศทางยังคงเหลือไว้กับการตีความหมายมากกว่าการทำนายหรือควบคุมบังคับในสิ่งที่มองหาความเป็นจริงของมัน….. ต่อไปนี้เป็นเรื่องของนักปรัชญาคุยกัน เพื่อค้นหาว่ามีแนวทางความคิดเกิดต่อจากยุคหลังทันสมัยหรือไม่….การอ่านเรื่องของปรัชญานั้น ผู้รู้บางท่านแนะว่าให้อ่านไปเรื่อยๆอย่าเอาจริงเอาจังในเรื่องคำ ประโยคของความเรียงมากนัก อ่านไปแล้ว เผอิญถ้ามันโยงเข้ากับความเข้าใจเดิมที่เรามี ก็รับเอาไว้..ไปครุ่นคิดต่อทีหลัง ถ้าไม่ได้เรื่องได้ราว ก็ผ่านไปแบบไม่รู้ไม่ชี้แล้วกัน…กระทำอย่างนี้ได้แล้ว ก็จะระงับอาการงงและความปั่นป่วนในความคิดของเราได้…ก็ลองอ่านดูนะครับ แนวคิดต่อจาก …After…ยุคหลังทันสมัย จากเอกสารรายงานการประชุมของมหาวิทยาลัยชิคาโก (APM-After Postmodernism papers) เมื่อวันที่ ๑๔–๑๖ เดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. ๑๙๗๗ (อ่านได้จาก.. http://www.focusing.org/apm.htm) มีแนวคิดต่อจากยุคหลังทันสมัย-จริงหรือ? ยุคหลังทันสมัยผ่านพ้นไปแล้วหรือ? คำตอบ คือ ไม่จริงทีเดียว มีความหมายซ้อนกันอย่างจงใจของคำว่า “ภายหลัง” ยุคหลังทันสมัย "เรายังคงรักษาการวิพากวิจารณ์ความทันสมัยอยู่ แต่เราเลยไปแล้วแบบทึกทักเอาว่า ยุคหลังสมัยได้เริ่มมีการประกาศขึ้นแล้ว เราตั้งคำถามเบื้องต้นทุกคำถาม แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า “ทุกสิ่งที่แล้วมาหมดสิ้นไป” นี่เป็นประกาศสรุปของการประชุม "APM" ที่มหาวิทยาลัยชิกคาโกจำนวน ๙๓ คน ส่วนมากเป็นนักปรัชญา กับบางคนเป็นนักมานุษยวิทยา นักสังคมวิทยา และคนอื่นๆ ร่วมกันสนทนากันว่าจะขยายความคิดที่ดูเหมือนเป็นทางเลือกที่กำหนดให้โดยยุคหลังทันสมัยกันอย่างไรกระบวนการที่เสนอไว้เป็นจริงหรือ หรือไม่มีความเป็นจริงทั้งหมดเลย คำประกาศมีว่า….. "ใช่ ทุกคำยืนยันเป็นจุดได้เปรียบ…(และ) คำกล่าวทั้งหมดเกี่ยวข้องกับ “อภิปรัชญา” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้เข้าใจว่า แต่เพราะมันหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงทำได้ไม่มากไปกว่า… (จบ ลงที่) ย้ายจุด (ยืน) ตรงกลางเสีย อย่าเพิ่งตกลงใจ สร้างรอยแยกเข้าไว้ ไม่ต้องมีการใส่ใจ มีความสงสัย (aporia) แล้วจึงเปลี่ยนแปลงมันเสียหรือ? ต่อจาก…ยุคหลังทันสมัย มันยังคงถูกสัญญาไว้ว่า
เราเพิ่งผ่านช่วงเวลาของการปฏิวัติและอิสระ ต่อการลดความสำคัญของตรรกะเบื้องต้นทั้งลาย และวิทยาศาสตร์ที่เป็นลักษณะ “วัตถุประสงค์นิยม” แต่เมื่อยุคหลังทันสมัยชื่นชมการปฏิเสธทางเลือกเหล่านี้ หุ่นยนต์ทางวิทยาศาสตร์ก็เข้ามาแทนที่ เพียงการปฏิเสธ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อสันนิษฐานและคุณค่าที่ยังคงกำหนดนโยบายทางด้านสังคมและขนบธรรมเนียมของเราอยู่ขณะนี้ ในด้านปรัชญา มันเป็นวินัยที่ยึดถือกันมา และมักเกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อสันนิษฐานนั้นๆ และต้องคอยตรวจสอบด้วยว่ามันสามารถเป็นไปได้อย่างไรบ้าง หลายคนได้รวบเอาข้อเท็จจริงที่มีคำกล่าวเกี่ยวกับความคิดเก่ามาใช้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความล้มเหลวได้ แต่นั่นเป็นการกล่าวของยุคหลังทันสมัย ที่ทำให้เราหมดโอกาสใช้วิธีและภาษาที่ใหม่สดหรือ? ปัญหาและการวิจารณ์ยุคหลังทันสมัยเป็นที่เข้าใจกันแพร่หลายในปัจจุบัน แต่หลายคนก็ไม่อยากที่จะให้ถูกยกเลิกไป ราวกับว่าคำเดิมทุกๆคำ มีความลำบากใจที่จะนำกลับมาใช้กับอภิปรัชญาเดิม มันถึงเวลาที่จะเคลื่อนจากความขบขันครึ่งๆกลางๆไปก็จริง แต่บางเวลาทั้งหมดก็เป็นจริงเกินไปสำหรับ “การโต้แย้งของยุคหลังทันสมัย” ซึ่งครั้งหนึ่งเคยปฏิเสธความจริงทุกสถานะภาพ ไม่มีแม้อย่างอื่น—ไม่มีทั้งหมดที่คงเหลือไว้ ในทางปฏิบัติ เราทั้งหมดทำได้ดีกว่านั้น จากการสนทนาเจาะกันอย่างตรงประเด็น จุดมุ่งหมายของการประชุมไม่ใช่เพื่อการตกลงเป็นข้อสรุปร่วมกัน แต่เปิดให้เสนอความคิดใหม่ที่ขยายต่อจากยุคหลังทันสมัย หลายคน “กล่าวหา” ว่าเป็น “แค่” ยุคหลังทันสมัย มากกว่า “สืบต่อจาก” ยุคหลังทันสมัย หรือแม้แต่เป็น “ก่อน” ยุคหลังทันสมัย แต่ก็มีหลายคนร่วมเสนอโครงการที่ไปเกินจากยุคหลังทันสมัย หลังการสัมมนาในกลุ่มย่อยอย่างแข็งขัน มีข้อสรุปตามประเด็นดังนี้… เราไม่ได้ติดกับดักของอภิปรัชญา ถ้านำข้อเขียนของ Heidegger’s critique มาพิจารณาเราจะพบว่า , Wittgenstein เสนอว่าแนวคิดทางอภิปรัชญา “ไม่ ควบคุมอะไรที่หมายถึงสิ่งที่เราพูด” เขาแสดงให้เห็นว่าความคิดเหล่านี้ยากที่จะเห็นประโยชน์จากคำพูดธรรมดา ในด้านปรัชญานั้น—เขาเองก็ไม่อยากกระทำในทำนองนี้เช่นเดียวกัน . เราไม่ต้องการใช้เพียงวิธีกล่าวเชิงนิเสทเท่านั้น ถ้าเราดำเนินชีวิตในระบบของตรรกะ ด้วยการแยกแยะและทิ้งไว้เพียงรอยแยก ความขัดแย้ง ความสงสัย ปล่อยปะละเลย ความเหลืออด ความโศรกสลด ความสูญเสีย ช่องว่าง หรือความเปลี่ยนแปร เราก็จะไม่มีชีวิตในระบบของตรรกะ โดยไม่ต้องแยกออกเป็นส่วนๆ เราสามารถพูดได้จากสถานะภาพของความเป็นมนุษย์ที่ประณีตขึ้น—จากอะไรอื่นละที่เราจะพูดได้? เราพัฒนาภาษาที่ข้ามเลยข้อเขียนต่างๆ ทุกวันนี้ นักปรัชญาส่วนมากหันความสนใจกลับมาสู่ชุมชนเล็กๆ เราอาศัยเวลาเป็นปีๆที่จะรู้ใจความที่แน่ชัดของมันที่ไม่ใช่อย่างอื่นเลย เราสบายใจที่จะกล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับ Wittgenstein" (หรือ Heidegger, หรือ Peirce, หรือ บางคนที่ไม่ใช่คนพิเศษของเรา) เราสืบไปได้ช่วงหนึ่งของภาษาหรือการใช้ถ้อยคำที่ข้ามเลยเรื่องราวหรือใจความของข้อเขียน ไม่ใช่ทำมันให้เลือนลางไป หากแต่เป็นการเปิดเส้นทางของความคิดใหม่ๆ เท่านั้น ทฤษฎีและการปฏิบัติที่เปิดให้กับแต่ละคน พวกนิยม Heidegger พบข้อตกลงเดียวกับพวก Wittgenstein ในเรื่อง “ความสำคัญในเชิงปฏิบัติ..the primacy of the practical," ไม่ใช่ความคิดที่การปฏิบัติอยู่เหนือความคิด แต่เป็นสิ่งเตือนใจที่สำคัญว่าโดยการกระทำของเรา จะทำให้เราค้นพบตัวเองในสถานการณ์หนึ่งมากกว่าสิ่งที่นึกคิดขึ้นเอง ความนึกคิดเกิดขึ้นในทุกสถานะภาพ นี่เป็นข่าวร้ายสำหรับคนที่ต้องการทำทุกสิ่งทุกอย่างให้สรุปออกมาเป็นกฎเกณฑ์ต่างๆ แต่เดี๋ยวนี้มันไปไกลเกินกว่ายุคหลังทันสมัยแล้ว อรรถาธิบายต่างๆหนีความเป็นยุคหลังทันสมัย หรือไม่ก็ ไม่เป็นทั้งสองเรื่องทั้งของตรรกะและการตัดสินตามอำเภอใจ เราสามารถามตัวเองว่าเรารู้คำอรรถาธิบายนั้นอย่างไร และมันมีผลกับความหมายในคำพูดของเราอย่างไรบ้าง เราค้นพบตัวเราเองนั้นได้อย่างไร? มักไกลเกินกว่าความรู้ความเข้าใจของเราจะสามารถเข้าถึงได้ มันเปิดเผยความเป็นไปได้ที่ว่า เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากแบบจำลองความคิดดั้งเดิมต่างๆ และอาจเกิดจากการนิเสธของสิ่งเหล่านั้นด้วย กายสัมผัสมนุษย์ “รู้” ได้โดยการไปอาศัยผูกพันกับสถานการณ์และจักรวาล ทุกๆวันเรากระทำสิ่งต่างในสถานการณ์ที่มากมายโดยไม่ได้เปิดเผยว่าจากอะไรที่กำลังทำอยู่ แต่เราสามารถสังเกตเห็นได้ใน การยุติ ความลังเลใจนิดๆหน่อยๆ—ไม่จงใจที่จะตัดสินใจ—แต่มีความกระตือรือร้นที่จะปรับกระบวนการใหม่ หลังสมัยของ Merleau-Ponty (นักปรากฏการณ์ศาสตร์) เราสามารถกล่าวได้ว่ากายสัมผัสนั้น ไม่ใช่แค่ที่ว่างด้านหลัง (และด้านหน้า) ของเราเท่านั้น หากแต่เป็นสถานการณ์โดยรอบตัวเรานั่นเอง ในทุกวันการกระทำเป็นการดูดซับประสบการณ์ ที่ช่วยสร้างเสริมความชำนาญในการกระทำเพื่อตอบสนองกับสัมผัสหนึ่งๆของสถานการณ์ของเราเสมอๆ ความรู้สึกในกายสัมผัสที่ถูกต้องนั้น จะบรรลุถึงได้ด้วยความเป็นองค์รวม…a right body-feel that completes a gestalt. ที่ผู้เกี่ยวข้องรวบรวมความรู้ทั้งหมดที่ผ่านทางเลือกของยุคหลังสมัย มันเกินกว่าความเป็นทฤษฎี และความจงใจ ตัวอย่างที่ถูกหยิบยกมา เช่น… Foucault ผิดตรงที่… กายสัมผัสไม่เคย “ถูกทำลายโดยประวัติศาสตร์” มีการรู้ “จาก” กายสัมผัสมากกว่าอะไรที่ “เกิดกับ” กายสัมผัสจากบนลงล่าง การรู้โดยกายสัมผัสอย่างไรที่เกี่ยวข้องกับการพูดและการคิด? แนวทางการตอบคำถามนี้คือ “ไม่มีสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการรู้โดยกายสัมผัสและประโยคภาษาต่างๆ แต่มีความสัมพันธ์ผิวเผินระหว่างสิ่งเหล่านั้น กล่าวได้ว่าเป็นการกีดกันการรู้โดยกายสัมผัสที่ลดลงได้ แต่ก็ยังสามารถมีผลต่อการปรับปรุงและนำสืบต่อไป พูดได้ว่าไม่ใช่เป็นการแสดงแทน ลอกเลียน จะเป็นได้เพียงการพรรณนาเท่านั้น ความเป็นไปได้ของการรู้โดยกายสัมผัส และความเกี่ยวข้องกับภาษาอย่างน้อยได้แล่นผ่านการยืนยันทางเลือกของยุคหลังสมัย แม้ไม่เลยต่อไปได้ทั้งหมดก็ตาม จริยศาสตร์ใหม่กำลังมาถึง ค่านิยมทางสังคม จริยธรรม นำการกระทำไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไปในยุคต่อจากยุคหลังทันสมัย กระบวนทัศน์แนวคุณธรรมทั้งหมดต้องถูกเปิดเผยมากขึ้น แต่ควรละความสงสัยและคุณธรรมที่แตกต่างกันไว้ก่อน เราได้ยินตัวอย่างมากมายที่ว่าค่านิยมทางสังคมและกฎเกณฑ์ ถูกกำหนดขึ้น “จาก” การปฏิบัติที่สืบต่อกันมา และจากความปรารถนาที่จะปรับปรุงการปฏิบัติเหล่านั้นให้ดีขึ้น ความไม่พึงพอใจสามารถสร้างขึ้นจากรูปแบบและค่านิยมทางสังคมเดิมๆก็ได้ อัตราและปริมาณของ “สิ่งที่ยังไม่มีรูปแบบ” นำไปสู่ความคิดแปลกใหม่เกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ Heidegger กล่าวไว้ว่า “ความไม่พึงพอใจนี้ คือการคงความเป็นมนุษย์ไว้นั่นเอง” ต้อนรับแบบจำลองความคิดใหม่เพื่อเป็นเครื่องมือในบริบทที่กว้างขวาง เพียงเพื่อการเหยียดหยามวิทยาศาสตร์ จะทำให้ปรัชญาอ่อนแอ ขณะที่ตรรกะทางคอมพิวเตอร์จะสร้างเผ่าพันธ์มนุษย์และสัตว์ใหม่ขึ้นเพื่อการค้า ข้อสันนิษฐานการลดทอนลงไม่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยการนิเสท เราต้องการแบบจำลองทางความคิดที่แตกต่างเพื่อความคิดและการศึกษาที่แตกต่างกันด้วย สำหรับวิทยาศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์นั้น เสนอรายงานที่แสดงว่ากระบวนระบบทางตรรกะทำงานได้ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะ “รวน.. crashes" และต้องการเปลี่ยนเครื่องใหม่ เพื่อที่จะ “รวน” อีกต่อไปหลังจากนั้นอีก แทนที่จะดูถูกกระบวนระบบที่เป็นรูปธรรม เราควรรวบวงจรโดยรวมเอาไว้ทั้งหมดก่อน กระบวนระบบเกิดจาก การถูกใช้ และไหลย้อนกลับในสภาพแวดล้อมที่กว้างขวางที่เกี่ยวข้องกับการงานของคนทั้งหลาย สภาพแวดล้อมคือ หลัง-และ-เสมอ-อีก-ก่อน ในเชิงโครงสร้าง คำพูดในความหมายใหม่ทางวิทยาศาสตร์ ได้ถูกแนะให้เป็นคำรวมกันเป็นหนึ่งเดียวทั้งโลกทางวิทยาศาสตร์และโลกแห่งชีวิต ยุคหลังทันสมัยผิดตรงที่ขัดขวางแบบจำลองทางความคิดเหล่านี้ เราจึงติดกับดักของแบบจำลองวิทยาศาสตร์ทางวัตถุประสงค์นิยม และเป็นสิ่งใหญ่โตเพียงอย่างเดียว เราต้องการแบบจำลองอื่นอีกมากมาย เพื่อที่จะไม่ติดกับดักในแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ความจริง และวัตถุนิยม อย่างชนิดใหม่ คำกล่าวทั่วไปที่ว่า “ความจริง” และ “วัตถุนิยม” เป็นเรื่องกำกวมและสงสัยกันมาโดยตลอด – แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า ความจริงและวัตถุนิยม ไม่มี เพียงแต่มันต้องการมากกว่า—ต้องการความสมบูรณ์ครบครันจากอะไรเพื่อการดำรงชีวิตสืบไป ก่อนที่จะสามารถเลือกความหลากหลายของกิจกรรมที่พึงกระทำ แทนที่เป็นพหุนิยมที่เราสามารถสร้างสรรค์ในลักษณะของ “ความซับซ้อนของความจริงที่มากมาย” เท่านั้น มันเกี่ยวข้องถึงความต้องการและการนำทางที่ไม่เกิดความหลงผิดในการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยการประยุกต์ใช้ที่มากมายคล้องจองกันได้กับสภาพการณ์เฉพาะในขณะนั้นด้วย ไม่มีการกำหนด จากบนลงล่าง โดยเงื่อนไขทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ หรือภาษา มนุษย์อยู่ไม่ได้โดยปราศจากวัฒนธรรม แต่นี่ไม่ได้หมายความว่ามี“กำพืด” มาจากมัน สถานการณ์รอบตัวเรา (ประสบการณ์ การปฏิบัติ การพบปะกัน…) เป็นสิ่งไกลเกินกว่าความมีวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และภาษา ยุคหลังสมัยปฏิเสธการลดทอนทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็บ่อยครั้งที่ประมาณเอาเองใน “การลดทอนทางวัฒนธรรม” วัฒนธรรมถูกใช้อย่างผิดๆในแง่ “คำที่ครอบงำ.. master term” "วัฒนธรรม" คือ “การสร้างขึ้น” โดยคนนอกที่พยายามมองหา รูปแบบ/โครงสร้าง/ความหมายที่ตนเองไม่คุ้นเคย นั่นเอง การเริ่มต้นด้วยความสามารถตามสิ่งที่มีอยู่ของวัฒนธรรมและสิ่งที่มากกว่านั้น แต่ละวัฒนธรรมมีมิติการปรับปรุงในสิ่งที่วัฒนธรรมอื่นยังค้นหาไม่เจอทั้งหมดเป็นไปได้ที่เป็นการเกิดขึ้นใหม่ สาธกหนึ่งรายงานว่า “ความหายนะ” เกิดขึ้นเมื่อมีความพยายามที่จะประยุกต์แนวคิดแบบเครื่องจักรกล (อย่างเคร่งครัด) ของ “วัฒนธรรมอื่น” มาใช้กับคนในวัฒนธรรมของตน เราสามารถเข้าใจคนในวัฒนธรรมอื่นเมื่อเรายอมพบปะและพูดคุยกันด้วยประสบการณ์ของเขามากกว่าของเรา เป็นการเกี่ยวข้องผ่านในรูปแบบของกลุ่มที่เราไม่ได้รวบเอามารวมไว้ด้วยกัน ทุกวันนี้ คำปฏิเสธความเป็นธรรมชาติของมนุษย์สากล ดีกว่าในยุคล่าอาณานิคมของตะวันตก ซึ่งขณะนั้นอาจไม่มี “รูปแบบเป็นสากล” ก็ได้ มีความเป็นสากลได้นั้นก็คือ “ความเข้าใจวัฒนธรรมที่ต่างกัน… CROSS-CULTURAL UNDERSTANDING” เท่านั้น การแตกต่างกันนี้ ทำให้เกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมของตนและของผู้อื่นได้ละเอียดยิ่งขึ้น ประสบการณ์จากวัฒนธรรมต่างกันนี้ ช่วยเปิดเส้นทางของความคิดใหม่ และความเข้าใจบางสิ่งในลักษณะต่างกันและพร้อมที่จะต่างกันยิ่งขึ้นอีกต่อๆไป มันเป็นสิ่งผิดที่กล่าวว่าเราไม่สามารถพูดด้วยตนเองได้โดยไม่ยึดเอาความคิดเดิมของ “หัวข้อรื่อง” นั้น บางส่วนถือเอาความเห็นของพวกยุคหลังทันสมัย ที่ว่า เมื่อไม่มีหัวข้อเรื่อง ตนเองก็กลายเป็นผู้บรรยายที่อ่อนเปลี้ย เขาเน้นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์นั้นไม่คงที่หรือไม่มีอยู่จริงเสมอ จะเกี่ยวกับอะไรที่ “เคยเป็น” หรือ “เป็นอยู่” นั้นขึ้นอยู่กับว่าคนๆนั้นแปลความหมายอย่างไร และคนๆนั้นเจรจาและแสดงบทบาทต่อๆไปอย่างไรด้วย อีกความเห็นที่ว่าเหตุการณ์ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นไม่สามารถแสดงความหมายได้อย่างแน่นอน ทำได้เพียงอ้างถึงสิ่งตรงกันข้าม รู้ได้จากอดีตและรู้อะไรที่กำลังเป็นอยู่ขณะนั้น สำหรับความหมายนั้นเป็นบางสิ่งที่คนๆนั้น “เพิ่มเติม” เข้าไปด้วยประสบการณ์โดยไม่รู้ตัว เราต่างเข้าไปเกี่ยวพันการสนทนากันว่า – สิ่งที่มีชีวิตเกี่ยวข้องกันกับสิ่งอื่นๆ และเกี่ยวข้องมากไปอีกกับตัวเราเองจนเหนือการควบคุมของเราได้ ในการสนทนา มีสิ่งที่เกิดขึ้นมากจากตัวเรา มากกว่าสิ่งที่เรา “มีอยู่ใน” ตัวเราเสียอีก เรามองไปที่ข้อเขียนหรือเรื่องราวต่างๆในสิ่งที่เราต้องการและจะนำไปใช้ มีปรากฎการณ์และกระบวนทัศน์มากมายที่สามารถสืบต่อจากยุคหลังทันสมัยได้ ก่อนยุคหลังทันสมัย ข้อเขียนทางปรัชญาหลายเรื่อง ถูกอ่านด้วยความพยายามที่จะเห็นเป็นระบบหรือโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกัน บางคนรู้สึกทำให้อับอายโดย Dewey ในเรื่องคุณค่าที่ “ขาดหาย” ไปมากกว่าการมีขึ้นของเรื่องขบวนการ บางคนกลับเน้นที่ “วิธีการสืบค้นสากล” ของเขาเป็นการทดแทนกัน คนส่วนมากปกป้องปรากฏการณ์เพื่อให้เป็น “การพรรณนาที่บริสุทธิ์ชัดแจ้ง” สำหรับยุคหลังทันสมัยแล้ว บางคนรื้อจัดโครงสร้างของข้อเขียนใหม่ในขณะที่กำลังอ่านมัน มีบางสิ่งเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น เมื่อบางคนมองไปที่ข้อเขียนเหล่านี้ไม่เป็นแบบระบบปิด แต่เห็นว่านักปรัชญาที่เขียนเรื่องเหล่านั้นเข้าไปเกี่ยวข้องกับปริมณฑลที่เปิดรอไว้เสมอ เราพบว่าเขาไม่เพียงแต่ตระหนักในเรื่องนี้ แต่ “เป็นสิ่งที่เขาเอาใจใส่เป็นสำคัญ” ทีเดียว ไกลเกินกว่าที่จะถูกขุดค้นพบโดยยุคหลังทันสมัย รูปการณ์ทางปรัชญาเหล่านี้สามารถทำให้เราเคลื่อนและก้าวข้ามเลยไปได้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ศาสตร์และกระบวนทัศน์นั้น เราพิจารณาขั้นตอนสามลักษณะของ Peirce ซึ่งบางทีทำให้เราเคลื่อนเลยไปจากกับดักของยุคหลังทันสมัยได้อีก เหมือนเครื่องส่งสัญญาณรับสัญญาณได้แล้ว ในเรื่องปรากฏการณ์ศาสตร์กล่าวไว้ว่า คำกล่าวอ้างใดๆไม่มีความเท่าเทียมกันกับประสบการณ์ ปรากฏการณ์ สถานการณ์ การปฏิบัติ เหตุการณ์…แนวคิดใหม่ของปรากฏการณ์ศาสตร์สามารถครอบคลุมเรื่องเหล่านี้ จริงที่เดียวที่เพียงปรากฏการณ์ศาสตร์ก็สามารถเปิดเผยในลักษณะที่ประสบการณ์นั้นถูกสืบต่อด้วยคำพูดได้อย่างไร และให้ความคุ้นเคยกับเรา “ทั้งหมด” ด้วยความสัมพันธ์ในวงกว้างระหว่างประสบการณ์และคำกล่าวหรือถ้อยแถลงนั้นๆ นี่ไม่ใช่การปฏิวัติซ้อนต่อยุคหลังทันสมัย มันเป็นการสืบเนื่องของการปฏิวัติที่กำลังเกิดขึ้น การสนทนา (ในการประชุมครั้งนี้) นั้นไม่ซับซ้อน ไม่เหมือนชื่อเรื่อง (APM) ในรายงานที่นำเสนอ บางรายละเอียดอาจให้ประเด็นที่เป็นไปได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่นความจำเป็นที่ต้องข้ามเลยภาษาออกไป เราต้องกล่าวว่าเป็น “การเปิดโปง”—คำเดียวที่เข้าใจได้เพียง Heidegger หรือ? เราไม่สามารถ..เป็นเหมือนอย่าง Wittgenstein และ Heidegger ใช้คำใหม่สดขณะนี้กับคำว่า “เปิดโปง..disclosure” ในหลายๆวิธี (ตามแต่กรณีเป็นรายๆไป) โดยการเปิดเผยซึ่งอาจนำไปสู่การเผชิญหน้า ความคิดใหม่ การค้นพบ หรือการเปลี่ยนแปลงแบบรุนแรง ได้หรือไม่? เมื่อเป็นที่เข้าใจ การเปิดเผยสำหรับคำว่า “เปิดโปง” สามารถระลึกถึงลักษณะงานทางปรัชญาได้เลย และแล้วคำว่า “ปรัชญา” สามารถนำความหมายเดิมกลับมาใช้ได้อีก อย่างที่บางคนกล่าวว่า การขุดคุ้ยกระบวนทัศน์ใต้จิตสำนึก “จะคงดำเนินต่อไป—โดยเพียงวิชาปรัชญาทำได้แค่นั้นเอง” จำนวนผู้นิยมปรัชญาของ Wittgenstein เพิ่มจำนวนผู้นิยมโดยกลุ่ม Heideggerians มีหลายคนที่หยุดความคิดไปหลายปีระหว่างนั้นดูเหมือนว่า Wittgenstein คล้อยตามความคิดของนักปรัชญาแยกแยะ บางคน ถึงกลับไม่ยอมขัดขวางการรื้อฟื้น “รูปลักษณ์ของการวิเคราะห์” ขึ้นมา แต่ตัว Wittgenstein เองไม่ชอบที่เขาเองถูกเข้าใจผิดโดย Russell และสานุศิษย์ ว่าเขาสอนล่วงการก้าวข้ามเครื่องแบ่งกั้น บางครั้ง Wittgenstein แสดงการใช้คำๆเดียวในความหมายแปลกๆจำนวนเป็นโหลๆ—ด้วยความหมายที่ชัดเจนและใหม่ เกิดจากการนำไปใช้ในแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่เคยมีแนวคิด (ทางอภิปรัชญาและที่อื่น) ที่ถือเอาความหมายของคำต่างๆ คำเหล่านั้นหมายถึงผลที่กล่าวไว้—ในสถานการณ์—และที่ตรงนั้นมันสามารถหมายถึง “สิ่งนั้นๆในทุกชนิด” (ตามที่เคยกล่าวกัน) ไม่ใช่แค่ความหมายทั่วไปที่เคยใช้ ในเรื่องนี้แม้นักปรัชญาหลายคนสามารถเอาชนะแนวคิดเดิมของอภิปรัชญา ซึ่งไม่เคยบังคับในเรื่องความหมายของคำ เราอาจหลงไปเองกับความหมายทางอภิปรัชญา ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ “หลีกเลี่ยงไม่ได้”เอาเสียเลย อ้างถึงการรับรู้โดยกายสัมผัสนั้น บางคนอาจโต้แย้งว่ามนุษย์นั้นเป็นผลผลิตของสัตว์และพืชพันธ์—สรรพสิ่งที่มีชีวิตและตัวตนจัดการขบวนการของขั้นตอนชีวิตต่อไปด้วยตัวมันเอง กระบวนการของระบบจัดการตนเองนี้ เกี่ยวข้องกับส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ทีเดียว มันเคยถูกตั้งคำถามว่า กายสัมผัสเชื่อมกันกับจักรวาลโดยตรงได้อย่างไร? โลกทางวัฒนธรรม ความเชื่อโบราณ และสิ่งศักดิ์สิทธ์ สามารถทำความเข้าใจร่วมกันและขยายผลต่อไปได้ ความเชื่องมงายและนิยายเทวะ เป็นเรื่องทำนองเดียวกัน แล้วนิยายเทวะก็แยกออกมากลายเป็นตำนานของภาษา เดี๋ยวนี้มีคำที่ใช้แพร่หลาย “การฝึกฝน..training” เรียกเป็น “การเพ่งรวมจุด..focusing” ซึ่งนำไปใช้ในการสอนปรัชญากับบางคนที่จะเชื่อมกันกับการรับรู้โดยกายสัมผัสได้อย่างไร? จะพบความมีสติที่มั่นคงและตรงกันข้ามกับการประจักษ์แจ้งอย่างไร? และจะบอกได้อย่างไร? เมื่อความมีสตินั้นดำเนินต่อไป หรือหยุดลงแล้ว การนึกได้โดยปัจจุบันทันด่วนถูกยกมาเป็นตัวอย่างที่ดีอันหนึ่ง ในเรื่องดนตรีแจ๊สแสดงให้เห็นโครงสร้างที่คงที่ (ด้วยเสียงเพลงที่เข้ากัน) สามารถทำให้เกิดอำนาจการเคลื่อนตัวที่สร้างสรรค์มากกว่าการหยุดยั้งมันไว้ การนึกได้อย่างปัจจุบันทันด่วนในกลุ่มยังแสดงให้เห็นการสัมพันธ์แก่กันและกันในทันทีทันใดและเราสามารถผลิตมันขึ้นมาได้ การคงไว้ของการเล่นและความขบขันของยุคหลังทันสมัย ไม่ได้ถูกรักษาไว้อย่างดีนัก คนเราส่วนมากเคร่งขรึมกัน ซึ่งการเล่นนั้นบางคนเห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งของการรับรู้โดยกายสัมผัส อาจชี้ให้เห็นว่าสัตว์ก็เล่นเช่นกัน “ลองเฝ้าดูซิ มันยอกล้อกันและกัน—ท่านอาจสงสัยว่ามันกำลังทำอะไรกันอยู่นี่? ร่องรอยความยินดีปรีดาปรากฏที่ใบหน้าของมัน ก็อาจกล่าวได้เลยว่า “มันกำลังทำเรื่องน่าอาย..เรื่องห้าแต้มออกมาแล้ว” ในส่วนของวิทยาศาสตร์และตรรกะ อาจกล่าวได้ว่าเรากำลังอ่อนล้ากับการขุดคุ้ยเรื่องราวเก่าๆของวัตถุนิยม เพียงมาวิจารณ์ มาเยาะเย้ย หาความสัมพันธ์ มองค่อนไปทาง “การรวมตัวกันใหม่” ของปรัชญาวิทยาศาสตร์ กับวิทยาศาสตร์เอง กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ (ทุกกิจกรรม) เกิดขึ้นในกาลเวลาปัจจุบันขณะนั้น นี่เป็นการจัดการเองซึ่งไม่เคยเป็นวัตถุประสงค์สมบูรณ์ในความคิดธรรมดาตอนนั้น มีผู้มีส่วนร่วมการสัมมนาสามคน กำลังศึกษาแบบจำลองใหม่ของเวลาหลายๆแบบ ซึ่งไม่ใช่เป็นการลดทอนหรือแม้แต่มุ่งความสำเร็จ ให้เห็นกันได้โจ่งแจ้ง เป็นแค่ระบบเส้นตรงแทนเรื่องเวลา ที่ว่างรอบตัวและเวลา เป็นความสมดุลที่จบสิ้น และบ่อยครั้งถูกอธิบายในลักษณะของตัวเลขและแบบมิติ (แบบหนึ่งมิติ แบบสองมิติ Linear or Non-Linear..และอื่นๆ) การรวมกันของการแยกความสมดุลป์และการสร้างความสมดุล ทำให้เกิดความน่าฉงนโดยจบลงที่ตัวเลขทางมิติเป็นจำนวนเต็มและเปิดเผยจุดต่อเชื่อมทางมิติที่สร้างเป็นเหตุการณ์หนึ่งๆเกิดขึ้นมา ผลเชิงประจักษ์ขึ้นอยู่กับสมมติฐาน—ไม่ใช่ทั้งหมด แต่รวมบางสิ่งที่ตอบสนองด้วย—และมากด้วยความเที่ยงตรงเท่าที่เราได้มา ธรรมชาติมีระเบียบที่ประนีตกว่าที่จะเข้าใจได้ด้วยระบบทางความคิดเดียว มันค่อนไปทาง “ระเบียบการตอบสนองกลับ” ซึ่งสม่ำเสมอแต่ตอบสนองแตกต่างกันในแต่ละความแตกต่างของขั้นตอนทั้งหลาย แนวคิดนี้สามารถเป็นการบันทึกใหม่ของการค้นพบเชิงประจักษ์ ซึ่งเพิ่มมากขึ้นในสภาพแวดล้อมที่วิกฤต ดีกว่าใช้การปฏิเสธลมๆแล้งของยุคหลังสมัยที่ไม่เชื่อถือในวิทยาศาสตร์แบบสังเกตการณ์เดิมๆ วิทยาการสามารถเป็นเครื่องวัดสภาพแวดล้อมที่ถูกควบคุมในการพิสูจน์ได้สูงขึ้น รวมไปถึงความละเอียดในเรื่องสภาพแวดล้อมทางสังคม เพื่อสร้างงานค้นคว้าเกี่ยวกับผลกระทบความเป็นมนุษย์กับการประยุกต์ใช้ของวิทยาการใหม่ (ซึ่งเดี๋ยวนี้ทำกันอย่างหลวมๆขาดการเอาใจใส่จริงจัง ไม่ตรงตามขั้นตอน) และการค้นพบเดี๋ยวนี้กลับไปที่ “การค้นคว้าขั้นพื้นฐาน” ด้วยทุนอุดหนุนที่มากมายจากหลายบรรษัท แต่นโยบายทางด้านสังคมยังเป็นเรื่องของ “วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน” โดยไม่รู้ว่าการประยุกต์ใช้นั้นจะเป็นลักษณะใด ..อย่าว่าแต่จะทราบผลกระทบของประชาชนโดยรวมนั้นเป็นอย่างไรได้เลย มีข้อตกลงร่วมกันว่าจะยกเลิกการลดทอนกระบวนการของมนุษย์เพื่อ “ความสมบูรณ์ ตรงตามวัตถุประสงค์ชัดเจน” ตามคำที่ใช้กันในวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน แต่ยังคงยึดถือวิทยาศาสตร์และตรรกะต่อไป—ไม่ใช่ลักษณะตัวแทน แต่เป็นแค่เพียงการตระหนักถึงความเป็นเครื่องมือเฉพาะเท่านั้นเอง. เป็นไงบ้าง…มันดูเหมือนจะมีแนวคิดเรื่อง ดีคอนสตรั๊คชั่น แฝงอยู่ในแนวทางต่อจาก โพสท์โมเดิร์น อยู่เหมือนกัน หากเป็นมโนทัศน์ที่ได้รับแบบเลือนลาง พร่าๆมัวๆอยู่มาก เห็นต้อง..ติดตามศึกษาแนวคิดใหม่ๆพวกนี้ต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งแนวคิดของ Deconstruction กำลังโชติช่วงชัชวาลในงานออกแบบของสถาปนิกสำคัญสองคน คือ Peter Eisenman และ Bernard Tschumi …ที่น่าติดตาม …น่าติดตามจริงๆ |